พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส แก่คณะบุคคลในโอกาสต่างๆ หลายองค์ ในแต่ละองค์กอปรด้วยสาระอรรถประโยชน์ สอดคล้องกับ สัปปุริสธรรม อันเป็นหลักแห่งความประพฤติของคนดี ที่ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ คือ ๑. รู้จักเหตุ ๒. รู้จักผล ๓. รู้จักตน ๔. รู้จักประมาณ ๕. รู้จักกาลเวลา ๖. รู้จักประชุมชน ๗. รู้จักเลือกบุคคล
การได้ศึกษาพระบรมราโชวาทในแต่ ละองค์ จะช่วยให้ผู้ศึกษาได้คติธรรมที่นำตนไปสู่ความสำเร็จ ตามรอยพระยุคลบาทได้ในที่สุด เพราะเหตุนี้ พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส จึงเป็นประดุจ ‘ถ้อยธรรม คำพ่อ’ ของพสกนิกรผู้จงรักภักดีตลอดกาล
วันที่ ๑๖ มกราคมนี้ เป็นวันครู ขอบูชาคุณแห่งครู ด้วยถ้อยธรรม คำพ่อ เรื่องครู ดังนี้
“....การศึกษาเป็นสิ่งที่ยาก และเป็น สิ่งที่ต้องมีความเพียร ความพยายาม และความรอบคอบ ทั้งต้องมีการยั้งสติ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ฟุ้งเฟ้อ งานของครูจึงเป็นงานที่น่าสนใจและสำคัญ จึงต้องมี กำลังใจ กำลังกายแข็งแรง
ผลที่ได้จากงานการศึกษานี้ ก็เป็นผลที่จะเป็นความเป็นความตายของบ้านเมือง เพราะว่าต่อไปถ้าอนุชนรุ่นหลังมีความรู้พอ ก็จะสามารถที่จะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ สามารถที่จะอยู่ด้วยกันเป็นปึกแผ่น ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทุกสิ่งทุกอย่างนี้ จะต้องมาจากการสั่งสอน โดยเฉพาะการสั่งสอนในโรงเรียน ฉะนั้น การศึกษานี้จะต้องส่งเสริม แต่ผลนี้ แม้จะเป็นผลที่ใหญ่โตมาก ก็มักมองไม่ใคร่เห็น แล้วก็ผลงานครู มักเป็น ผลงานที่ไม่ได้รับการยกย่องพอ เพราะว่าเป็นผลงานย่อยๆ ลูกศิษย์ทุกคนจะได้รับสิ่งที่ดีจากครู แต่สิ่งที่ดีจากครูนั้นเองก็มองไม่ใคร่เห็น ฉะนั้นผลที่จะประเมินจากงานของครูนั้นจะดูยากที่สุด ทำให้งานของครูเป็นงานที่ทำให้ยิ่งยากขึ้น เพราะว่าผลงานนี้เราต้องใช้เวลานาน พอดู แต่ถ้าครูแต่ละคนมีกำลังใจเข้มแข็งและจิตใจที่บริสุทธิ์ ที่งาม ก็เชื่อได้แน่ว่า ผลนี้มีแน่ และจะทำให้บ้านเมืองอยู่ได้ต่อไป งานที่ทำนี้เป็นงานสำคัญ เรารู้ดี แล้ว ผลงานสำคัญเรารู้ดีแล้ว แต่ไม่ค่อย เห็น จะต้องทำให้เหตุนี้สภาพนี้ไม่เป็นสิ่ง ที่ทำให้ครูท้อใจ จะต้องทำให้ครูนึกถึงว่า งานที่ทำแม้ผลไม่ค่อยเห็นนี้ก็เป็นเกียรติอย่างสูงที่สุด เพราะเรารู้ผล ฉะนั้นก็ขอ ให้ได้ปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็ง ชักชวนเพื่อนฝูงที่เป็นครูด้วยกัน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในด้านนี้ ด้วยการให้มีกำลังใจ ส่งเสริมให้ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทำด้วยความเข้มแข็ง....
....ที่ฝาง มีโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งมีครูอยู่ ๖ คน แล้วมีนักเรียน ๑๒๓ คน เขาลำบาก เขาฝืดเคือง เพราะว่ารับเงินอุดหนุนน้อย ทั้งเป็นโรงเรียนราษฎร์ ก็รับเงินอุดหนุนจากนักเรียนคนละ ๓๐ บาทต่อเทอมเท่านั้นเอง ถ้าได้แค่นั้น ก็คงจะทำกิจการได้ต่อไป แต่โดยที่เจ้าของและครูไม่เป็นคนหน้าเลือด เป็นครูแท้ จึงไม่ค่อยได้รับเงิน ๓๐ บาทต่อเทอมของนักเรียน เพราะว่านักเรียนเป็นคน จน....ทราบว่านักเรียนในโรงเรียนนั้นซึ่ง จนซึ่งลำบาก เป็นเด็กที่มีมรรยาทดี มี ความรู้ดีพอควร....คนที่มีจิตใจที่จะช่วย เด็กๆให้มีความรู้นั้น อย่างไรๆก็ทำได้ แม้จะต้องเดือดร้อนลำบาก เขาก็ทำ และก็เมื่อเขาทำแล้ว แสดงให้เห็นผลงานในทางที่เด็กเป็นเด็กดี มีมรรยาทดี มีความรู้พอควรเช่นนี้ก็ต้องเห็นว่ามีคนอย่างนั้นอยู่ ทั้งอดทน ทั้งตั้งใจ....
....ความพอใจที่ได้ทำหน้าที่ ความพอใจที่มีความนับถือในตนเองได้ มีผู้ที่
เราได้ช่วยให้มีความรู้นับถือเรา อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญของครู คำว่า “ครู” เดี๋ยวนี้ก็อาจล้าสมัยไปหน่อย เพราะชอบใช้คำว่า “อาจารย์” แต่ขอให้เป็นครู อย่าเป็นอาจารย์ เป็นครูดีกว่า เป็นครูนี่เป็นคนที่มีเกียรติ มีเกียรติในตัวจริงๆ เพราะว่าเป็นคนที่ทำให้บ้านเมืองต่อเนื่องกันไปได้ ทำให้มนุษย์ต่อเนื่องกันไปได้ มีชีวิตอยู่ได้ ที่เขาพูดถึงว่าให้นับถือครู บาอาจารย์ ก็เพราะพ่อแม่ให้ชีวิต ครู เป็นผู้ที่ให้ความรู้ ก็คือให้ชีวิตเหมือนกัน ขอให้ถือหลักเหล่านี้ อย่าไปถือหลักอย่างอื่น จึงจะเป็นความเจริญและมีความสุขจริง....”
(พระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖)
“....งานของครูเป็นงานพิเศษ ผิดแปลกกว่างานอื่นๆ กล่าวในแง่หนึ่งที่สำคัญ ก็คือว่า ครูจะหวังผลตอบแทน เป็นยศศักดิ์ ความร่ำรวย หรือประโยชน์ทางวัตถุเป็นที่ตั้งไม่ได้ ผลได้ส่วนสำคัญ จะเป็นผลทางใจ ซึ่งผู้เป็นครูแท้ก็พึงใจ และภูมิใจอยู่แล้ว ดูเหมือนจะภูมิใจยิ่งกว่าข้าวของเงินทองและยศศักดิ์เสียอีก ถึงแม้ผู้ใดใครก็ตาม เมื่อมองให้ลึกซึ้งแล้ว ก็ย่อมเห็นว่าเป็นความจริงอย่างนั้น เพราะความมั่งมีและความยิ่งใหญ่ ไม่อาจบันดาลหรือซื้อหาความผูกพันทางใจอันแท้จริงจากผู้ใดได้ แต่ความเป็นครูนั้น ผูกพันใจคนไว้ได้โดยอัตโนมัติไม่ต้องซื้อหาหรือใช้อำนาจราชศักดิ์ข่มขู่เอามา ขึ้นชื่อว่าครูกับศิษย์แล้ว ที่จะลืมกันได้นั้นยากนัก ผู้ที่ไม่รู้จัก ไม่เอื้อเฟื้อครู ดูเหมือนจะมีแต่คนที่กำลังลืมตัวมัวเมาในลาภยศอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เท่านั้น ฉะนั้น ครูจึงไม่มีเหตุอันใดที่จะต้องแสวงหาความพอใจในประโยชน์ทางวัตถุให้มากเกินจำเป็น เพราะหากหันมาหาประโยชน์ทางวัตถุเกินไปแล้ว ก็จะทำหน้าที่ครูหรือเป็นครู ได้ไม่เต็มที่
ในทุกวันนี้ การปฏิบัติของครูบางหมู่ ทำให้รู้สึกกันทั่วไปว่า ครูไม่ค่อยห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง หันไปห่วงยศ ห่วงตำแหน่ง ห่วงสิทธิ และที่ค่อนข้างจะร้ายอยู่ก็คือห่วงรายได้ ความห่วงสิ่งเหล่านี้ ถ้าปล่อยไว้ จะค่อยๆ เข้ามาทำลายความเป็นครูทีละเล็กละน้อย ซึ่งเชื่อว่าที่สุดจะสามารถบั่นทอนทำลายความมีน้ำใจ ความเมตตา ความเสียสละทุกอย่างได้ ทำให้กลายเป็นคนขาดน้ำใจ ละโมบ เห็นแก่ตัว ลืมประโยชน์ของศิษย์ กล่าวสั้นคือ จะไม่มีอะไรดีเหลือพอที่จะเคารพนับถือกันได้ เป็นที่น่าวิตกว่า ครู เหล่านั้นจะผูกพันใจใครไว้ได้อย่างไร จะทำงานของตัวให้บรรลุผลสำเร็จที่แท้ จริงได้อย่างไร และจะมีอะไรเกิดขึ้นแก่ การศึกษาของเรา....”
(พระราชดำรัส ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖)
....
อ่านจบแล้ว ชวนให้คิดคำนึงว่า ขณะนี้ประเทศไทยเรามีครูที่แท้จริงอยู่สักกี่คนหนอ? แล้วอนาคตของลูกหลานไทย ในภายหน้าจะเป็นเช่นไร? ถ้าเรามีแต่อาจารย์เท่านั้น
คงไม่สายเกินไปสำหรับคนที่ทำหน้าที่ครู จักได้ปรับปรุงตนให้เป็นครูอย่างแท้จริงตามพระราชดำรัสที่ยกมานี้แล
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 86 ม.ค. 51 โดยปภาโสภิกขุ (โต))
การได้ศึกษาพระบรมราโชวาทในแต่ ละองค์ จะช่วยให้ผู้ศึกษาได้คติธรรมที่นำตนไปสู่ความสำเร็จ ตามรอยพระยุคลบาทได้ในที่สุด เพราะเหตุนี้ พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส จึงเป็นประดุจ ‘ถ้อยธรรม คำพ่อ’ ของพสกนิกรผู้จงรักภักดีตลอดกาล
วันที่ ๑๖ มกราคมนี้ เป็นวันครู ขอบูชาคุณแห่งครู ด้วยถ้อยธรรม คำพ่อ เรื่องครู ดังนี้
“....การศึกษาเป็นสิ่งที่ยาก และเป็น สิ่งที่ต้องมีความเพียร ความพยายาม และความรอบคอบ ทั้งต้องมีการยั้งสติ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ฟุ้งเฟ้อ งานของครูจึงเป็นงานที่น่าสนใจและสำคัญ จึงต้องมี กำลังใจ กำลังกายแข็งแรง
ผลที่ได้จากงานการศึกษานี้ ก็เป็นผลที่จะเป็นความเป็นความตายของบ้านเมือง เพราะว่าต่อไปถ้าอนุชนรุ่นหลังมีความรู้พอ ก็จะสามารถที่จะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ สามารถที่จะอยู่ด้วยกันเป็นปึกแผ่น ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทุกสิ่งทุกอย่างนี้ จะต้องมาจากการสั่งสอน โดยเฉพาะการสั่งสอนในโรงเรียน ฉะนั้น การศึกษานี้จะต้องส่งเสริม แต่ผลนี้ แม้จะเป็นผลที่ใหญ่โตมาก ก็มักมองไม่ใคร่เห็น แล้วก็ผลงานครู มักเป็น ผลงานที่ไม่ได้รับการยกย่องพอ เพราะว่าเป็นผลงานย่อยๆ ลูกศิษย์ทุกคนจะได้รับสิ่งที่ดีจากครู แต่สิ่งที่ดีจากครูนั้นเองก็มองไม่ใคร่เห็น ฉะนั้นผลที่จะประเมินจากงานของครูนั้นจะดูยากที่สุด ทำให้งานของครูเป็นงานที่ทำให้ยิ่งยากขึ้น เพราะว่าผลงานนี้เราต้องใช้เวลานาน พอดู แต่ถ้าครูแต่ละคนมีกำลังใจเข้มแข็งและจิตใจที่บริสุทธิ์ ที่งาม ก็เชื่อได้แน่ว่า ผลนี้มีแน่ และจะทำให้บ้านเมืองอยู่ได้ต่อไป งานที่ทำนี้เป็นงานสำคัญ เรารู้ดี แล้ว ผลงานสำคัญเรารู้ดีแล้ว แต่ไม่ค่อย เห็น จะต้องทำให้เหตุนี้สภาพนี้ไม่เป็นสิ่ง ที่ทำให้ครูท้อใจ จะต้องทำให้ครูนึกถึงว่า งานที่ทำแม้ผลไม่ค่อยเห็นนี้ก็เป็นเกียรติอย่างสูงที่สุด เพราะเรารู้ผล ฉะนั้นก็ขอ ให้ได้ปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็ง ชักชวนเพื่อนฝูงที่เป็นครูด้วยกัน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในด้านนี้ ด้วยการให้มีกำลังใจ ส่งเสริมให้ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทำด้วยความเข้มแข็ง....
....ที่ฝาง มีโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งมีครูอยู่ ๖ คน แล้วมีนักเรียน ๑๒๓ คน เขาลำบาก เขาฝืดเคือง เพราะว่ารับเงินอุดหนุนน้อย ทั้งเป็นโรงเรียนราษฎร์ ก็รับเงินอุดหนุนจากนักเรียนคนละ ๓๐ บาทต่อเทอมเท่านั้นเอง ถ้าได้แค่นั้น ก็คงจะทำกิจการได้ต่อไป แต่โดยที่เจ้าของและครูไม่เป็นคนหน้าเลือด เป็นครูแท้ จึงไม่ค่อยได้รับเงิน ๓๐ บาทต่อเทอมของนักเรียน เพราะว่านักเรียนเป็นคน จน....ทราบว่านักเรียนในโรงเรียนนั้นซึ่ง จนซึ่งลำบาก เป็นเด็กที่มีมรรยาทดี มี ความรู้ดีพอควร....คนที่มีจิตใจที่จะช่วย เด็กๆให้มีความรู้นั้น อย่างไรๆก็ทำได้ แม้จะต้องเดือดร้อนลำบาก เขาก็ทำ และก็เมื่อเขาทำแล้ว แสดงให้เห็นผลงานในทางที่เด็กเป็นเด็กดี มีมรรยาทดี มีความรู้พอควรเช่นนี้ก็ต้องเห็นว่ามีคนอย่างนั้นอยู่ ทั้งอดทน ทั้งตั้งใจ....
....ความพอใจที่ได้ทำหน้าที่ ความพอใจที่มีความนับถือในตนเองได้ มีผู้ที่
เราได้ช่วยให้มีความรู้นับถือเรา อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญของครู คำว่า “ครู” เดี๋ยวนี้ก็อาจล้าสมัยไปหน่อย เพราะชอบใช้คำว่า “อาจารย์” แต่ขอให้เป็นครู อย่าเป็นอาจารย์ เป็นครูดีกว่า เป็นครูนี่เป็นคนที่มีเกียรติ มีเกียรติในตัวจริงๆ เพราะว่าเป็นคนที่ทำให้บ้านเมืองต่อเนื่องกันไปได้ ทำให้มนุษย์ต่อเนื่องกันไปได้ มีชีวิตอยู่ได้ ที่เขาพูดถึงว่าให้นับถือครู บาอาจารย์ ก็เพราะพ่อแม่ให้ชีวิต ครู เป็นผู้ที่ให้ความรู้ ก็คือให้ชีวิตเหมือนกัน ขอให้ถือหลักเหล่านี้ อย่าไปถือหลักอย่างอื่น จึงจะเป็นความเจริญและมีความสุขจริง....”
(พระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖)
“....งานของครูเป็นงานพิเศษ ผิดแปลกกว่างานอื่นๆ กล่าวในแง่หนึ่งที่สำคัญ ก็คือว่า ครูจะหวังผลตอบแทน เป็นยศศักดิ์ ความร่ำรวย หรือประโยชน์ทางวัตถุเป็นที่ตั้งไม่ได้ ผลได้ส่วนสำคัญ จะเป็นผลทางใจ ซึ่งผู้เป็นครูแท้ก็พึงใจ และภูมิใจอยู่แล้ว ดูเหมือนจะภูมิใจยิ่งกว่าข้าวของเงินทองและยศศักดิ์เสียอีก ถึงแม้ผู้ใดใครก็ตาม เมื่อมองให้ลึกซึ้งแล้ว ก็ย่อมเห็นว่าเป็นความจริงอย่างนั้น เพราะความมั่งมีและความยิ่งใหญ่ ไม่อาจบันดาลหรือซื้อหาความผูกพันทางใจอันแท้จริงจากผู้ใดได้ แต่ความเป็นครูนั้น ผูกพันใจคนไว้ได้โดยอัตโนมัติไม่ต้องซื้อหาหรือใช้อำนาจราชศักดิ์ข่มขู่เอามา ขึ้นชื่อว่าครูกับศิษย์แล้ว ที่จะลืมกันได้นั้นยากนัก ผู้ที่ไม่รู้จัก ไม่เอื้อเฟื้อครู ดูเหมือนจะมีแต่คนที่กำลังลืมตัวมัวเมาในลาภยศอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เท่านั้น ฉะนั้น ครูจึงไม่มีเหตุอันใดที่จะต้องแสวงหาความพอใจในประโยชน์ทางวัตถุให้มากเกินจำเป็น เพราะหากหันมาหาประโยชน์ทางวัตถุเกินไปแล้ว ก็จะทำหน้าที่ครูหรือเป็นครู ได้ไม่เต็มที่
ในทุกวันนี้ การปฏิบัติของครูบางหมู่ ทำให้รู้สึกกันทั่วไปว่า ครูไม่ค่อยห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง หันไปห่วงยศ ห่วงตำแหน่ง ห่วงสิทธิ และที่ค่อนข้างจะร้ายอยู่ก็คือห่วงรายได้ ความห่วงสิ่งเหล่านี้ ถ้าปล่อยไว้ จะค่อยๆ เข้ามาทำลายความเป็นครูทีละเล็กละน้อย ซึ่งเชื่อว่าที่สุดจะสามารถบั่นทอนทำลายความมีน้ำใจ ความเมตตา ความเสียสละทุกอย่างได้ ทำให้กลายเป็นคนขาดน้ำใจ ละโมบ เห็นแก่ตัว ลืมประโยชน์ของศิษย์ กล่าวสั้นคือ จะไม่มีอะไรดีเหลือพอที่จะเคารพนับถือกันได้ เป็นที่น่าวิตกว่า ครู เหล่านั้นจะผูกพันใจใครไว้ได้อย่างไร จะทำงานของตัวให้บรรลุผลสำเร็จที่แท้ จริงได้อย่างไร และจะมีอะไรเกิดขึ้นแก่ การศึกษาของเรา....”
(พระราชดำรัส ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖)
....
อ่านจบแล้ว ชวนให้คิดคำนึงว่า ขณะนี้ประเทศไทยเรามีครูที่แท้จริงอยู่สักกี่คนหนอ? แล้วอนาคตของลูกหลานไทย ในภายหน้าจะเป็นเช่นไร? ถ้าเรามีแต่อาจารย์เท่านั้น
คงไม่สายเกินไปสำหรับคนที่ทำหน้าที่ครู จักได้ปรับปรุงตนให้เป็นครูอย่างแท้จริงตามพระราชดำรัสที่ยกมานี้แล
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 86 ม.ค. 51 โดยปภาโสภิกขุ (โต))