ตอนที่ 28
เหนือความตาย...จากวิกฤตสู่โอกาส
เมื่อวันอังคารที่ 16 ตุลาคม 2550 ถอยหลังไปประมาณ 50 วัน พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต ที่มักเลือกจำพรรษาอยู่ที่วัดป่ามหาวัน บ้านตาดรินทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เพื่อรักษาป่ากว่า 3,500 ไร่ ควบคู่กับการทำงานและปฏิบัติธรรม เมตตารับกิจนิมนต์มาแสดงธรรมเรื่อง เหนือความตาย..จากวิกฤตสู่โอกาส เพื่ออนุเคราะห์ให้สมาชิกชมรมคนรู้ใจฟัง สรุปความตามที่ท่านกล่าวว่า ...
*ความตาย ดูจะเป็นสิ่งที่แน่นอนที่สุดสิ่งหนึ่งท่ามกลางความ ไม่แน่นอนทั้งหลายในโลก แต่ในความแน่นอนของความตายที่ทุกคน ต้องตายนั้น ก็มีความไม่แน่นอนอยู่ด้วย คือ เราไม่อาจรู้ได้ว่าตนเองจะตายเมื่อไหร่ ? ที่ไหน ? อย่างไร ?
สำหรับคนส่วนใหญ่ที่เคยชินกับการวางแผนกะเกณฑ์สิ่งต่างๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมายเพื่อความแน่นอน เมื่อไม่สามารถกำหนดความตายของตัวเองได้ ความตายจึงกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ใจหวั่นไหว เป็นสิ่งลึกลับน่าหวาดกลัว ไม่น่านึกถึง
เมื่อไม่กล้านึกถึง จึงประมาทในการใช้ชีวิต ปล่อยให้วิถีกรรมนำไปสู่ การ "ลืมตาย" และ "หลงตาย" คือ ตายอย่างไม่มีสติ ทุรนทุราย กระสับกระส่าย
จึงขอฝากคติข้อคิดบางประการเกี่ยวกับความตายไว้ว่า เป็นสิ่งสำคัญ ที่เราต้องทำความรู้จัก ดังที่มีคำกล่าวว่า "โลกนี้ไม่มีสิ่งที่น่ากลัว มีแต่สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ" เพราะเมื่อเข้าใจก็เหมือนมีแสงสว่างสาดส่องให้เห็นสิ่งนั้นได้ชัดเจน ทำให้ความน่ากลัวและความลี้ลับของสิ่งนั้นหายไป
เมื่อเข้าใจในความตายแล้ว ก็จะเห็นว่าความตายไม่น่ากลัวเท่าความกลัวตาย เพราะคนปกติเกิดมาชาติหนึ่งตายแค่ครั้งเดียว แต่หากกลัวความตาย เท่ากับต้องตายหลายครั้ง เพราะความกลัวตายสามารถติดตามคุกคามเราไปได้ตลอด เหมือนต้องตายครั้งแล้วครั้งเล่า
เช่นเดียวกับความทุกข์จากความตาย เมื่อคนที่เรารักหรือผูกพัน มาตายจากไป เราก็เศร้าเสียใจเป็นทุกข์เหมือนหัวใจสลาย หากไม่เข้าใจว่าในชีวิตอาจมีการพลัดพรากสูญเสียเช่นนี้หรือยิ่งกว่านี้อีกหลายครั้ง เราก็จะ หัวใจสลายทุกครั้งไป เป็นทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ในเมื่อไม่มีใครรู้ว่าความตายคอยเราอยู่ที่ไหน ดังนั้นเราจึงควรมีชีวิตอยู่โดยพร้อมที่จะเผชิญกับความตาย หมั่นฝึกซ้อมจนพร้อมเผชิญหน้า กับความตายได้ทุกกรณี เมื่อใดทำใจเช่นนี้ได้ เมื่อนั้นความตายก็จะไม่ น่ากลัวอีกต่อไป
การเข้าใจความตายนั้น คือ เห็นว่าความตายเป็นธรรมชาติ เป็นเรื่อง ธรรมดาที่ต้องเกิดแก่ทุกคนโดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือกำหนดได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ความตายจะเป็นวิกฤตของร่างกายที่ต้องแตกดับและสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไป แต่ก็เป็นโอกาสของจิตวิญญาณที่จะได้เรียนรู้ที่จะละวางสิ่งที่เคยมี เคยรัก เคยผูกพัน รวมทั้งสิ่งที่ทิ่มแทงใจ เช่น ความทุกข์ โกรธ เกลียด น้อยเนื้อต่ำใจ ฯลฯ ซึ่งจะกลายเป็นสิ่งเล็กน้อยจนเทียบ ไม่ได้กับความตาย
แม้เราจะหนีความตายไม่พ้น แต่เราสามารถฝึกใจให้ไม่ต้องทุกข์ทรมาน กับความตายได้ ดังเช่นในพุทธประวัติ พระสาวกหลายท่านก็บรรลุธรรมขั้นสูงได้ในยามเจ็บป่วยหรือในวาระสุดท้ายของชีวิต เพราะสามารถทำให้ใจสงบสว่างจนถึงขั้นหลุดพ้นได้
เมื่อตระหนักถึงความตายว่าจะต้องเกิดแก่เราอย่างแน่นอน เมื่อใดก็ได้ ก็ควรถามตัวเองด้วยว่าเราพร้อมจะเผชิญกับความตายหรือยัง ? เราได้ทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่และดีที่สุดหรือยัง ? ได้ทำความดีคุ้มค่ากับที่ได้เกิดมาหรือยัง ? ได้ฝึกจิตใจมากพอที่จะเผชิญความตายหรือยัง ?
การเจริญมรณสติหรือการระลึกถึงความตายอยู่เสมอแม้ในยามที่ยังสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกตินั้น ไม่ใช่เพื่อให้ใจเกิดความหดหู่เศร้าหมอง แต่เป็นการฝึกใจให้พร้อมปล่อยวางทั้งสิ่งที่พอใจและไม่พอใจ เพื่อเผชิญกับความตายอย่างสงบและเป็นสุข อีกทั้งยังทำให้สามารถดำเนินชีวิต อย่างโปร่งเบา ไม่ประมาท มีคุณค่ามีความหมาย กระตือรือร้นทำสิ่งที่ควรทำ เช่น การดูแลครอบครัว การทำความดี และการปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการไขว่คว้าสะสมทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียง หรือการเที่ยวเตร่สนุกสนานไปวันๆ
ความตายเป็นครูที่ดุ คอยเคี่ยวเข็นไม่ให้เราประมาทและหลงมัวเมาในหลุมพรางต่างๆ ของโลกและชีวิต เราจึงควรระลึกถึงความตายอยู่เสมอทุกลมหายใจ เช่น เมื่อเดินทางก็เตือนใจตนเองว่าหากนี่เป็นการเดินทางครั้งสุดท้าย เราจะทำใจอย่างไร หากภัยพิบัติต่างๆ เกิดแก่คนใกล้ ตัวเราหรือตัวเราเอง เราพร้อมหรือยังและจะทำใจอย่างไร เวลาไปเยี่ยมคนป่วยหรือไปงานศพก็ถามตนเองว่าถ้าต่อไปเราต้องเป็นอย่างเขา แล้วเราพร้อมเผชิญกับมันหรือยัง? หากเราต้องจากพ่อแม่ ลูก ญาติมิตร เราพร้อมหรือยัง ? เราได้ดูแลเขาอย่างดีที่สุดหรือยัง ?
เมื่อต้องสูญเสียคนที่รักหรือทรัพย์สมบัติ ก็ให้คิดว่าเป็นสัญญาณเตือน และบททดสอบถึงการพลัดพรากสูญเสียที่อาจร้ายแรงกว่านี้ในอนาคต ถือเป็นเทวทูตให้เราเห็นสัจธรรมของความไม่เที่ยงแท้
การเจริญมรณสติ จึงเป็นการฝึกตายก่อนตาย คือตายจากกิเลส ความยึดถือในตัวตน รวมทั้งความห่วงกังวลต่างๆ เมื่อถึงเวลาที่ต้องตายจริงๆ ก็จะเป็นโอกาสให้เราใช้ทุกสิ่งที่ได้ฝึกฝนจิตใจมาเพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์ ความตายจึงไม่ใช่วิกฤต แต่เป็นโอกาสและเป็นพลังในการที่เราจะพัฒนาตนเองให้อยู่เหนือความตายนั่นเอง*
ของขวัญผูกโบให้กล้าเผชิญหน้ากับความจริงอีกชิ้นหนึ่งที่เราเตรียมมอบให้ก่อนสิ้นปี ในวันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2550 นี้ ณ หอประชุมพุทธคยา ชั้น 22 อัมรินทร์พลาซ่า คือ ปรากฏการณ์สอนใจจากชีวิตจริง เรื่อง ความตายใกล้นิดเดียว โดย พระอาจารย์พิพัฒน์ ปวฑฺฒโน และ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล โดยมี คุณนวพร สุปิงคลัด (ขวัญใจ คอธรรมะ) มาร่วมจับเข่าคุยกันในครอบครัวแบบคนกันเอง
แล้วพบกันนะคะ...
เหนือความตาย...จากวิกฤตสู่โอกาส
เมื่อวันอังคารที่ 16 ตุลาคม 2550 ถอยหลังไปประมาณ 50 วัน พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต ที่มักเลือกจำพรรษาอยู่ที่วัดป่ามหาวัน บ้านตาดรินทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เพื่อรักษาป่ากว่า 3,500 ไร่ ควบคู่กับการทำงานและปฏิบัติธรรม เมตตารับกิจนิมนต์มาแสดงธรรมเรื่อง เหนือความตาย..จากวิกฤตสู่โอกาส เพื่ออนุเคราะห์ให้สมาชิกชมรมคนรู้ใจฟัง สรุปความตามที่ท่านกล่าวว่า ...
*ความตาย ดูจะเป็นสิ่งที่แน่นอนที่สุดสิ่งหนึ่งท่ามกลางความ ไม่แน่นอนทั้งหลายในโลก แต่ในความแน่นอนของความตายที่ทุกคน ต้องตายนั้น ก็มีความไม่แน่นอนอยู่ด้วย คือ เราไม่อาจรู้ได้ว่าตนเองจะตายเมื่อไหร่ ? ที่ไหน ? อย่างไร ?
สำหรับคนส่วนใหญ่ที่เคยชินกับการวางแผนกะเกณฑ์สิ่งต่างๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมายเพื่อความแน่นอน เมื่อไม่สามารถกำหนดความตายของตัวเองได้ ความตายจึงกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ใจหวั่นไหว เป็นสิ่งลึกลับน่าหวาดกลัว ไม่น่านึกถึง
เมื่อไม่กล้านึกถึง จึงประมาทในการใช้ชีวิต ปล่อยให้วิถีกรรมนำไปสู่ การ "ลืมตาย" และ "หลงตาย" คือ ตายอย่างไม่มีสติ ทุรนทุราย กระสับกระส่าย
จึงขอฝากคติข้อคิดบางประการเกี่ยวกับความตายไว้ว่า เป็นสิ่งสำคัญ ที่เราต้องทำความรู้จัก ดังที่มีคำกล่าวว่า "โลกนี้ไม่มีสิ่งที่น่ากลัว มีแต่สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ" เพราะเมื่อเข้าใจก็เหมือนมีแสงสว่างสาดส่องให้เห็นสิ่งนั้นได้ชัดเจน ทำให้ความน่ากลัวและความลี้ลับของสิ่งนั้นหายไป
เมื่อเข้าใจในความตายแล้ว ก็จะเห็นว่าความตายไม่น่ากลัวเท่าความกลัวตาย เพราะคนปกติเกิดมาชาติหนึ่งตายแค่ครั้งเดียว แต่หากกลัวความตาย เท่ากับต้องตายหลายครั้ง เพราะความกลัวตายสามารถติดตามคุกคามเราไปได้ตลอด เหมือนต้องตายครั้งแล้วครั้งเล่า
เช่นเดียวกับความทุกข์จากความตาย เมื่อคนที่เรารักหรือผูกพัน มาตายจากไป เราก็เศร้าเสียใจเป็นทุกข์เหมือนหัวใจสลาย หากไม่เข้าใจว่าในชีวิตอาจมีการพลัดพรากสูญเสียเช่นนี้หรือยิ่งกว่านี้อีกหลายครั้ง เราก็จะ หัวใจสลายทุกครั้งไป เป็นทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ในเมื่อไม่มีใครรู้ว่าความตายคอยเราอยู่ที่ไหน ดังนั้นเราจึงควรมีชีวิตอยู่โดยพร้อมที่จะเผชิญกับความตาย หมั่นฝึกซ้อมจนพร้อมเผชิญหน้า กับความตายได้ทุกกรณี เมื่อใดทำใจเช่นนี้ได้ เมื่อนั้นความตายก็จะไม่ น่ากลัวอีกต่อไป
การเข้าใจความตายนั้น คือ เห็นว่าความตายเป็นธรรมชาติ เป็นเรื่อง ธรรมดาที่ต้องเกิดแก่ทุกคนโดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือกำหนดได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ความตายจะเป็นวิกฤตของร่างกายที่ต้องแตกดับและสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไป แต่ก็เป็นโอกาสของจิตวิญญาณที่จะได้เรียนรู้ที่จะละวางสิ่งที่เคยมี เคยรัก เคยผูกพัน รวมทั้งสิ่งที่ทิ่มแทงใจ เช่น ความทุกข์ โกรธ เกลียด น้อยเนื้อต่ำใจ ฯลฯ ซึ่งจะกลายเป็นสิ่งเล็กน้อยจนเทียบ ไม่ได้กับความตาย
แม้เราจะหนีความตายไม่พ้น แต่เราสามารถฝึกใจให้ไม่ต้องทุกข์ทรมาน กับความตายได้ ดังเช่นในพุทธประวัติ พระสาวกหลายท่านก็บรรลุธรรมขั้นสูงได้ในยามเจ็บป่วยหรือในวาระสุดท้ายของชีวิต เพราะสามารถทำให้ใจสงบสว่างจนถึงขั้นหลุดพ้นได้
เมื่อตระหนักถึงความตายว่าจะต้องเกิดแก่เราอย่างแน่นอน เมื่อใดก็ได้ ก็ควรถามตัวเองด้วยว่าเราพร้อมจะเผชิญกับความตายหรือยัง ? เราได้ทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่และดีที่สุดหรือยัง ? ได้ทำความดีคุ้มค่ากับที่ได้เกิดมาหรือยัง ? ได้ฝึกจิตใจมากพอที่จะเผชิญความตายหรือยัง ?
การเจริญมรณสติหรือการระลึกถึงความตายอยู่เสมอแม้ในยามที่ยังสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกตินั้น ไม่ใช่เพื่อให้ใจเกิดความหดหู่เศร้าหมอง แต่เป็นการฝึกใจให้พร้อมปล่อยวางทั้งสิ่งที่พอใจและไม่พอใจ เพื่อเผชิญกับความตายอย่างสงบและเป็นสุข อีกทั้งยังทำให้สามารถดำเนินชีวิต อย่างโปร่งเบา ไม่ประมาท มีคุณค่ามีความหมาย กระตือรือร้นทำสิ่งที่ควรทำ เช่น การดูแลครอบครัว การทำความดี และการปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการไขว่คว้าสะสมทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียง หรือการเที่ยวเตร่สนุกสนานไปวันๆ
ความตายเป็นครูที่ดุ คอยเคี่ยวเข็นไม่ให้เราประมาทและหลงมัวเมาในหลุมพรางต่างๆ ของโลกและชีวิต เราจึงควรระลึกถึงความตายอยู่เสมอทุกลมหายใจ เช่น เมื่อเดินทางก็เตือนใจตนเองว่าหากนี่เป็นการเดินทางครั้งสุดท้าย เราจะทำใจอย่างไร หากภัยพิบัติต่างๆ เกิดแก่คนใกล้ ตัวเราหรือตัวเราเอง เราพร้อมหรือยังและจะทำใจอย่างไร เวลาไปเยี่ยมคนป่วยหรือไปงานศพก็ถามตนเองว่าถ้าต่อไปเราต้องเป็นอย่างเขา แล้วเราพร้อมเผชิญกับมันหรือยัง? หากเราต้องจากพ่อแม่ ลูก ญาติมิตร เราพร้อมหรือยัง ? เราได้ดูแลเขาอย่างดีที่สุดหรือยัง ?
เมื่อต้องสูญเสียคนที่รักหรือทรัพย์สมบัติ ก็ให้คิดว่าเป็นสัญญาณเตือน และบททดสอบถึงการพลัดพรากสูญเสียที่อาจร้ายแรงกว่านี้ในอนาคต ถือเป็นเทวทูตให้เราเห็นสัจธรรมของความไม่เที่ยงแท้
การเจริญมรณสติ จึงเป็นการฝึกตายก่อนตาย คือตายจากกิเลส ความยึดถือในตัวตน รวมทั้งความห่วงกังวลต่างๆ เมื่อถึงเวลาที่ต้องตายจริงๆ ก็จะเป็นโอกาสให้เราใช้ทุกสิ่งที่ได้ฝึกฝนจิตใจมาเพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์ ความตายจึงไม่ใช่วิกฤต แต่เป็นโอกาสและเป็นพลังในการที่เราจะพัฒนาตนเองให้อยู่เหนือความตายนั่นเอง*
ของขวัญผูกโบให้กล้าเผชิญหน้ากับความจริงอีกชิ้นหนึ่งที่เราเตรียมมอบให้ก่อนสิ้นปี ในวันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2550 นี้ ณ หอประชุมพุทธคยา ชั้น 22 อัมรินทร์พลาซ่า คือ ปรากฏการณ์สอนใจจากชีวิตจริง เรื่อง ความตายใกล้นิดเดียว โดย พระอาจารย์พิพัฒน์ ปวฑฺฒโน และ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล โดยมี คุณนวพร สุปิงคลัด (ขวัญใจ คอธรรมะ) มาร่วมจับเข่าคุยกันในครอบครัวแบบคนกันเอง
แล้วพบกันนะคะ...