"ภิกษุทั้งหลาย! เราได้พ้นแล้วจากบ่วง เครื่องรึงรัดทั้งปวง ทั้งที่ เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของ มนุษย์ แม้ท่านทั้งหลายก็เช่นกัน ท่านทั้งหลายจงเที่ยวไปในชนบท เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนเป็นอันมาก ต่างรูปต่างไป แต่ละทิศละทาง อย่าไปรวมกัน ๒ รูป ในทางเดียวกัน จงแสดงธรรมประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิบริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสบังปัญญา ดุจธุลีในจักษุน้อย มีอยู่ เพราะโทษที่ไม่ได้ฟังธรรม ย่อมเสื่อมจากคุณที่จะพึงได้พึงถึง แล้วผู้ตรัสรู้ธรรม จักมีขึ้นตามโดยลำดับ แม้เราก็จักไปยังอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรมเช่นกัน” (พุทธดำรัสในการส่งพระสาวกไปเผยแผ่พุทธธรรมในคามนิคมครั้งแรก)
“คนดีทำให้คนอื่นดีได้ หมายความว่าคนดีทำให้เกิดความดีในสังคม คนอื่นก็ดีไปด้วย ความเลวนั้น จะทำให้คนดีเป็นคนเลวก็ยาก แต่เป็นไปได้ ถ้าคนดีเข้มแข็งในความดี จะให้คนเลวมาทำให้คนดีเป็นคนเลวยาก สำคัญอยู่ที่ความเข้มแข็งของคนดี คนเลวมิได้อยากให้ คนอื่นเลว เพราะว่าถ้าคนอื่นเลว คนเลวนั้นแหละจะเดือดร้อน เขารู้ดีว่าถ้าคนเลวทำให้คนอื่นเลว ก็หมายความว่าคนนั้นจะเบียดเบียนตัวเขาเอง ก็คือเบียดเบียนคนที่เลวทำให้ยิ่งแย่เข้า ไม่มีใครอยาก ฉะนั้นที่มีความหวังว่าอีก ๕๐ ปีข้างหน้านี่ จำนวนคนเลวจะน้อยกว่าคนดี เพราะว่าคนเลวจะทำให้คนดีเป็นคนเลวยาก ส่วนคนดีจะทำให้คนเลวเป็นดี ก็ไม่พ้นวิสัยทำได้ จึงมีหวังว่าอนาคตจะแจ่มใส แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องให้คนในสังคมนี้มีความตั้งใจ ถ้าไม่ มีความตั้งใจแล้ว ก็เชื่อว่าตัวคนดีจะกลายเป็นคนเลวด้วยตัวเอง ไม่ต้องให้ใครมาชักชวนมันก็เลวไป ก็ลงเหวลงนรก...”(พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิดาลัย ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙)
งานเผยแผ่พุทธธรรมเพื่อสร้างสรรค์คนดีให้มีมากขึ้นในสังคม เป็นภารธุระที่คณะสงฆ์ไทยได้ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย พระองค์ทรงนำพระพุทธศาสนามาปรับประยุกต์เป็นวิถีวัฒนธรรมประเพณีไทย วัดเป็นศูนย์กลางแห่งการสร้างสรรค์สรรพวิชาการทั้งปวงของไทย ชายไทยที่ผ่านการบวชเรียนจึงมี ความเหมาะสมที่จะเข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า จริยธรรมแห่งความกตัญญูกตเวที ถือสัตย์ จึงเป็นปกติธรรมของข้าราชการไทยในครั้งนั้น
งานการศึกษาของชาติไทยจึงอยู่ที่วัดตลอดมา ในครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลก คณะสงฆ์อันมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นประธาน ได้เป็นกำลังหลักในการปฏิรูปการศึกษาครั้งนั้น ต่อมาเมื่อรัฐบาลมีนโยบายแยกการศึกษาจากวัด โดยเปิดเป็นโรงเรียนขึ้น ความห่างเหินจากพุทธธรรมของนักเรียนก็เพิ่มมากขึ้น จากความคุ้นเคยกับขนบธรรมเนียม ประเพณีอันเป็นวัฒนธรรมของชาติผ่านวัด ก็กลายเป็นวิชาหน้าที่ศีลธรรมในหลักสูตรการศึกษา และวิชานี้ก็สูญหายไปจากระบบการศึกษาของชาติ พร้อมกับการเจริญของความเสื่อม ในจริยธรรมของบุคคลในสังคมไทย ดังปัญหาสังคมไทยที่ปรากฏในปัจจุบัน
แม้คณะสงฆ์จะถูกลดบทบาททางการศึกษา แต่งานเผยแผ่พุทธธรรมเพื่อสร้างสรรค์คนดีให้มีมากขึ้นในสังคม ยังคงดำเนินต่อมา วิธีการเผยแผ่รูปแบบหนึ่งที่ปัจจุบันได้ผลมาก คือการสอนธรรมศึกษา ซึ่งมีจุดเริ่มต้นดังนี้
พ.ศ. ๒๔๗๑ การศึกษานักธรรม เป็นที่นิยมและเป็นที่ยกย่องทั้งในวงการคณะสงฆ์และในทางราชการ ผู้ที่สอบได้ประโยคนักธรรม เมื่อลาสิกขาออกไป ก็สามารถรับราชการเป็นครู สอนตามโรงเรียนต่างๆ เมื่อมีการสอบเลื่อนวิทยฐานะครู ผู้สอบได้ประโยคนักธรรมก็ได้รับสิทธิพิเศษ โดยได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องสอบ ๑ ชุดวิชา เพราะประโยคนักธรรมชั้นตรีจัดเป็นชุดวิชาหนึ่งสำหรับการเลื่อนวิทยฐานะ คณะครูในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีหนังสือถึงมหาเถรสมาคม ขออนุญาตให้ฆราวาสได้สอบธรรมสนามหลวงตามหลักสูตรนักธรรม
มหาเถรสมาคม อันมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นประธาน มีมติตั้งหลักสูตรประโยคนักธรรมสำหรับฆราวาส เรียกว่า “ธรรมศึกษาตรี” ประกอบด้วยวิชาที่ต้องสอบเช่นเดียวกันกับหลักสูตรนักธรรมชั้นตรีสำหรับภิกษุสามเณร ยกเว้นวิชาวินัยบัญญัติ ใช้เบญจศีล เบญจธรรม และอุโบสถศีลแทน และอนุญาตให้ครูทั้งหญิงและชายสอบธรรมสนามหลวง ตามหลักสูตรนี้ได้ โดยเปิดสอบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ ปรากฏว่ามีฆราวาส ทั้งชายและหญิงสมัครสอบกันเป็นจำนวนมาก
พ.ศ. ๒๔๗๓ มหาเถรสมาคมอนุมัติหลักสูตรธรรมศึกษาโท เพื่อเป็นการขยายการศึกษา ธรรมสำหรับฆราวาสให้กว้างขวางยิ่งขึ้น อันเป็นการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาทางหนึ่ง หลักสูตรธรรมศึกษาโทประกอบด้วยวิชาธรรมวิภาค อนุพุทธประวัติ และเรียงความแก้กระทู้ธรรม เช่นเดียวกับหลักสูตรนักธรรมชั้นโทสำหรับภิกษุสามเณร ยกเว้นวินัยบัญญัติ และจัดให้มีการสอบในปีนี้
พ.ศ. ๒๔๗๘ มหาเถรสมาคมอนุมัติหลักสูตรธรรมศึกษาเอก ประกอบด้วยวิชา ธรรมวิภาค พุทธานุพุทธประวัติ และเรียงความแก้กระทู้ธรรม เช่นเดียวกับหลักสูตรนักธรรมชั้นเอกสำหรับภิกษุสามเณร ยกเว้นวินัยบัญญัติ และจัดให้มีการสอบในปีนี้
พ.ศ. ๒๕๔๖ มหาเถรสมาคมมีมติปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษาให้มีเนื้อหาที่เหมาะสม แก่ผู้เรียน ทำให้หลักสูตรธรรมศึกษามีเนื้อหาวิชาที่แตกต่างจากหลักสูตรนักธรรมอย่างชัดเจน
การเรียนธรรมศึกษา ประกอบด้วยวิชาดังนี้
ธรรมศึกษาชั้น ตรี ๔ วิชา คือ
๑. วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม (๑)
๒. วิชา ธรรมวิภาค (๑)
๓. วิชา พุทธประวัติ - ศาสนพิธี
๔. วิชา เบญจศีล - เบญจธรรม
ธรรมศึกษาชั้น โท ๔ วิชา คือ
๑. วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม (๒)
๒. วิชา ธรรมวิภาค (๒)
๓. วิชา อนุพุทธประวัติ - ศาสนพิธี
๔. วิชา อุโบสถศีล
ธรรมศึกษาชั้น เอก ๔ วิชา คือ
๑. วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม (๓)
๒. วิชา ธรรมวิจารณ์
๓. วิชา พุทธานุพุทธประวัติ
๔. วิชา กรรมบถ
เมื่อนักเรียนเรียนจบหลักสูตรแล้ว วัดต้นสังกัดจะทำบัญชีรายชื่อนักเรียนส่งสมัครสอบ ธรรมสนามหลวงประจำปี ตามกำหนดการที่สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงกำหนด
คำว่า “สอบธรรมสนามหลวง” มีที่มาจากการสอบบาลีครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่จะจัด สอบ ณ วัดอันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมสอบในพระบรมมหาราชวังเป็นบางครั้ง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะทรงฟังการแปลพระไตรปิฎก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประชุมสอบในพระบรมมหาราชวังทุกครั้ง ดังนั้นจึงเรียกสนามสอบนี้ในกาลต่อมาว่า “สนามหลวง” ซึ่งในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๓ พ.ศ. ๒๔๕๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีการใช้คำว่า หลักสูตรของสนามหลวง, กรรมการสนามหลวง แล้ว
จากสถิติสนามสอบธรรมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ พบว่า มีสนามสอบธรรมศึกษาทั่วประเทศ ๒,๖๙๑ สนาม จำแนกเป็น สนามสอบในวัด ๑,๐๒๔ สนาม สนามสอบที่เป็นโรงเรียน ๑,๕๑๒ สนาม สนามสอบในสังกัดกรมราชทัณฑ์ ๑๒๒ สนาม สนามสอบในสถาบันอุดมศึกษา ๒๓ สนาม สนามสอบอื่นๆ ๑๐ สนาม เช่น ชุมชน ศูนย์ฝึกอบรม เป็นต้น (สนามสอบธรรมศึกษา จะต้องมีนักเรียนสอบตั้งแต่ ๒๐๐ คนขึ้นไป)
นักเรียนธรรมศึกษา สามารถจำแนกได้ ดังนี้
๑. นักเรียนจากกระทรวงศึกษาธิการ คณะสงฆ์ได้จัดสอนนักเรียนในโรงเรียนมาเป็นเวลานาน และขยายการสอนเพิ่ม ขึ้นทุกปี เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักพุทธธรรมที่เป็นรากฐาน ของวัฒนธรรมประเพณี และมีความเข้าใจในหลักธรรมที่จะนำพาตนไปสู่ความสำเร็จในชีวิตที่ประสงค์ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ แจ้งสถานศึกษา ให้บันทึกผลการสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-โท-เอก ของนักเรียน นักศึกษาที่สอบได้ ลงในเอกสารระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรขั้นพื้นฐาน (ป.พ. ๑) เพื่อเป็นการทำให้ผู้เรียนเห็น ความสำคัญและเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และเป็นการนำนโยบายคุณธรรมนำความรู้ สู่การปฏิบัติของสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
๒. นักเรียนจากกรมราชทัณฑ์ คณะสงฆ์จัดพระสงฆ์ไปสอนธรรมศึกษาแก่นักโทษ ตามที่ผู้บังคับบัญชาเรือนจำได้อนุมัติให้จัดการเรียนธรรมศึกษา กรมราชทัณฑ์มีนโยบายการสอนธรรมศึกษา ด้วยพิจารณาเห็นว่า ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ ที่ถูกคุมขังในเรือนจำและทัณฑสถาน เป็นผู้บกพร่องทางจิตใจเพราะขาดการศึกษาอบรมทางด้านศีลธรรม เพื่อแก้ไขปรับปรุงผู้ต้องขังเหล่านี้ให้มีความรู้สึกสำนึกผิดชอบ มีสติสัมปชัญญะเหนี่ยวรั้งจิตใจ และกลับประพฤติชอบตามหลักศีลธรรม ไม่เป็นภัยต่อสังคม จำเป็นจะต้องให้เขาเหล่านั้นได้รับการอบรมศีลธรรมทางศาสนาให้มากที่สุด ควบคู่กันไปกับการศึกษาวิชาสามัญและวิชาชีพ จึงเห็นว่าวิชาธรรมศึกษาตามหลักสูตรของคณะสงฆ์ เป็นวิชาทฤษฎีทางธรรมที่จะนำ ไปสู่การปฏิบัติ มีลักษณะที่ว่า “เรียนไป รู้ไป และปฏิบัติตามไปโดยอัตโนมัติ” ฉะนั้น กรมราชทัณฑ์จึงมีนโยบายให้เรือนจำและทัณฑสถานทุกแห่ง จัดให้ผู้ต้องขังเรียนธรรมศึกษา และพยายามจัดให้เปิดเรียนทุกชั้น ทั้งธรรมศึกษาตรี - โท - เอก
๓. นักเรียนทั่วไป คณะสงฆ์ในแต่ละวัดที่มีความสามารถในการสอนธรรมศึกษา จะจัดการสอนธรรมศึกษา ในรูปแบบ ศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ศูนย์ธรรมศึกษา ซึ่งมีนักเรียนในโรงเรียนที่ไม่มีการสอนธรรมศึกษา แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา ที่สนใจสมัครเข้าเรียน นอกจากนี้ยังมีการสอนใน ศูนย์ฝึกอบรมเด็ก เยาวชน พนักงานบริษัท ตามคำร้องขอของต้นสังกัด เช่น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์จำกัด เป็นองค์กร เอกชนที่มุ่งพัฒนาจริยธรรมคุณธรรมของพนักงานด้วยการจัดสอนธรรมศึกษาแก่พนักงาน ส่งสอบธรรมสนามหลวงใน สังกัดวัดบวรนิเวศวิหาร บริษัทจัดสนามสอบ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พนักงาน จัดเป็นกิจกรรมความรู้คู่คุณธรรม แดนมหามงคล อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นสถาบันเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในความอำนวยการของอุบาสิกาบงกช สิทธิพล มีอุบาสกอุบาสิกาสนใจปฏิบัติธรรมและเรียน ธรรมศึกษามาก จนคณะสงฆ์จังหวัดกาญจนบุรีขอตั้งเป็นสนามสอบธรรมศึกษา
งานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทย เกิดขึ้นด้วยอิทธิบาทธรรมของพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิธรรมอันควรแก่การสอนธรรมศึกษา ดังนั้นการขยายงานธรรมศึกษาจนมีนักเรียนมากเกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นมา จึงเป็นภาระที่พระสงฆ์ต้องดำเนินการบนพื้นฐาน แห่งสมณวิสัย ความขาดแคลนงบประมาณในการบริหารการ ศึกษาส่วนนี้ เป็นเรื่องปกติที่พระท่านชินแล้ว แต่เรื่องที่น่าเป็นห่วงคือ การขาดความรู้ทักษะในการใช้ภาษาไทยของนักเรียนในระบบการศึกษาของรัฐ ที่เริ่มมีมากขึ้นทุกปี แต่รัฐไม่เคยสนใจในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม มัวแต่ ห่วงความแอ็บแบ๊วของวัยรุ่นที่มีปัญหา อันเป็นนักเรียนกลุ่มน้อยของระบบการศึกษาของชาติ แล้วจะหวังรอให้ระบบ
การศึกษาของรัฐให้สร้างคนดีแก่สังคมได้อย่างไร
นักเรียนธรรมศึกษา ได้ชื่อว่าเป็นผู้รับมรดกที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ เพราะได้เรียนรู้ถึงธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคีและเป็นบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย อันเป็นตัวอย่างแห่งการทำความดีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล การสอบธรรมศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของสุจริตธรรม อันเป็นความดีที่สามารถ แสดงถึงพุทธจริยธรรมในจิตใจของบุคคล ควรที่นักเรียนจักตั้งใจสอบธรรมศึกษา เพื่อน้อมถวายอานิสงส์เป็นพระราชกุศล ด้วยใจกตัญญูกตเวที อันเป็นเครื่องหมายของคนดี
พุทธศาสนิกชนผู้สนใจสมัครสอบธรรมศึกษา สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่วัดใกล้บ้าน หรือ สำนักงาน แม่กองธรรมสนามหลวง อาคารหอสมุดมหามกุฎราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร เลขที่ ๒๘๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ โทร.๐-๒๒๘๐-๗๖๘๒, ๐-๒๖๒๙-๐๙๖๑, ๐-๒๖๒๙-๐๙๖๒ ต่อ ๑๑๖, ๑๑๗ โทรสาร. ๐-๒๖๒๙-๐๙๖๓ หรือเวบไซต์www.gongtham.org
กำหนดการสอบธรรมสนามหลวง
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง กำหนดการสอบวัดความรู้การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมตามหลักสูตรของคณะสงฆ์ พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันและเวลา ดังนี้
นักธรรมชั้นโท-เอก
• วันจันทร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สอบวิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม
• วันอังคารที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สอบวิชา ธรรม
• วันพุธที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สอบวิชา พุทธ
• วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สอบวิชา วินัย
ธรรมศึกษาชั้นตรี - โท - เอก
• วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๑.๓๐ น. สอบวิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น. สอบวิชา ธรรม
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๕๐ น. สอบวิชา พุทธ
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น. สอบวิชา วินัย
(หมายเหตุ ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ มีสนาม สอบนักธรรมชั้นโท-เอก จำนวน ๑๔๓ สนาม สนามสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-โท-เอก จำนวน ๒,๗๙๒ สนาม)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 84 พ.ย 50 โดย ปภาโสภิกฺขุ (โต))
“คนดีทำให้คนอื่นดีได้ หมายความว่าคนดีทำให้เกิดความดีในสังคม คนอื่นก็ดีไปด้วย ความเลวนั้น จะทำให้คนดีเป็นคนเลวก็ยาก แต่เป็นไปได้ ถ้าคนดีเข้มแข็งในความดี จะให้คนเลวมาทำให้คนดีเป็นคนเลวยาก สำคัญอยู่ที่ความเข้มแข็งของคนดี คนเลวมิได้อยากให้ คนอื่นเลว เพราะว่าถ้าคนอื่นเลว คนเลวนั้นแหละจะเดือดร้อน เขารู้ดีว่าถ้าคนเลวทำให้คนอื่นเลว ก็หมายความว่าคนนั้นจะเบียดเบียนตัวเขาเอง ก็คือเบียดเบียนคนที่เลวทำให้ยิ่งแย่เข้า ไม่มีใครอยาก ฉะนั้นที่มีความหวังว่าอีก ๕๐ ปีข้างหน้านี่ จำนวนคนเลวจะน้อยกว่าคนดี เพราะว่าคนเลวจะทำให้คนดีเป็นคนเลวยาก ส่วนคนดีจะทำให้คนเลวเป็นดี ก็ไม่พ้นวิสัยทำได้ จึงมีหวังว่าอนาคตจะแจ่มใส แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องให้คนในสังคมนี้มีความตั้งใจ ถ้าไม่ มีความตั้งใจแล้ว ก็เชื่อว่าตัวคนดีจะกลายเป็นคนเลวด้วยตัวเอง ไม่ต้องให้ใครมาชักชวนมันก็เลวไป ก็ลงเหวลงนรก...”(พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิดาลัย ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙)
งานเผยแผ่พุทธธรรมเพื่อสร้างสรรค์คนดีให้มีมากขึ้นในสังคม เป็นภารธุระที่คณะสงฆ์ไทยได้ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย พระองค์ทรงนำพระพุทธศาสนามาปรับประยุกต์เป็นวิถีวัฒนธรรมประเพณีไทย วัดเป็นศูนย์กลางแห่งการสร้างสรรค์สรรพวิชาการทั้งปวงของไทย ชายไทยที่ผ่านการบวชเรียนจึงมี ความเหมาะสมที่จะเข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า จริยธรรมแห่งความกตัญญูกตเวที ถือสัตย์ จึงเป็นปกติธรรมของข้าราชการไทยในครั้งนั้น
งานการศึกษาของชาติไทยจึงอยู่ที่วัดตลอดมา ในครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลก คณะสงฆ์อันมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นประธาน ได้เป็นกำลังหลักในการปฏิรูปการศึกษาครั้งนั้น ต่อมาเมื่อรัฐบาลมีนโยบายแยกการศึกษาจากวัด โดยเปิดเป็นโรงเรียนขึ้น ความห่างเหินจากพุทธธรรมของนักเรียนก็เพิ่มมากขึ้น จากความคุ้นเคยกับขนบธรรมเนียม ประเพณีอันเป็นวัฒนธรรมของชาติผ่านวัด ก็กลายเป็นวิชาหน้าที่ศีลธรรมในหลักสูตรการศึกษา และวิชานี้ก็สูญหายไปจากระบบการศึกษาของชาติ พร้อมกับการเจริญของความเสื่อม ในจริยธรรมของบุคคลในสังคมไทย ดังปัญหาสังคมไทยที่ปรากฏในปัจจุบัน
แม้คณะสงฆ์จะถูกลดบทบาททางการศึกษา แต่งานเผยแผ่พุทธธรรมเพื่อสร้างสรรค์คนดีให้มีมากขึ้นในสังคม ยังคงดำเนินต่อมา วิธีการเผยแผ่รูปแบบหนึ่งที่ปัจจุบันได้ผลมาก คือการสอนธรรมศึกษา ซึ่งมีจุดเริ่มต้นดังนี้
พ.ศ. ๒๔๗๑ การศึกษานักธรรม เป็นที่นิยมและเป็นที่ยกย่องทั้งในวงการคณะสงฆ์และในทางราชการ ผู้ที่สอบได้ประโยคนักธรรม เมื่อลาสิกขาออกไป ก็สามารถรับราชการเป็นครู สอนตามโรงเรียนต่างๆ เมื่อมีการสอบเลื่อนวิทยฐานะครู ผู้สอบได้ประโยคนักธรรมก็ได้รับสิทธิพิเศษ โดยได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องสอบ ๑ ชุดวิชา เพราะประโยคนักธรรมชั้นตรีจัดเป็นชุดวิชาหนึ่งสำหรับการเลื่อนวิทยฐานะ คณะครูในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีหนังสือถึงมหาเถรสมาคม ขออนุญาตให้ฆราวาสได้สอบธรรมสนามหลวงตามหลักสูตรนักธรรม
มหาเถรสมาคม อันมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นประธาน มีมติตั้งหลักสูตรประโยคนักธรรมสำหรับฆราวาส เรียกว่า “ธรรมศึกษาตรี” ประกอบด้วยวิชาที่ต้องสอบเช่นเดียวกันกับหลักสูตรนักธรรมชั้นตรีสำหรับภิกษุสามเณร ยกเว้นวิชาวินัยบัญญัติ ใช้เบญจศีล เบญจธรรม และอุโบสถศีลแทน และอนุญาตให้ครูทั้งหญิงและชายสอบธรรมสนามหลวง ตามหลักสูตรนี้ได้ โดยเปิดสอบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ ปรากฏว่ามีฆราวาส ทั้งชายและหญิงสมัครสอบกันเป็นจำนวนมาก
พ.ศ. ๒๔๗๓ มหาเถรสมาคมอนุมัติหลักสูตรธรรมศึกษาโท เพื่อเป็นการขยายการศึกษา ธรรมสำหรับฆราวาสให้กว้างขวางยิ่งขึ้น อันเป็นการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาทางหนึ่ง หลักสูตรธรรมศึกษาโทประกอบด้วยวิชาธรรมวิภาค อนุพุทธประวัติ และเรียงความแก้กระทู้ธรรม เช่นเดียวกับหลักสูตรนักธรรมชั้นโทสำหรับภิกษุสามเณร ยกเว้นวินัยบัญญัติ และจัดให้มีการสอบในปีนี้
พ.ศ. ๒๔๗๘ มหาเถรสมาคมอนุมัติหลักสูตรธรรมศึกษาเอก ประกอบด้วยวิชา ธรรมวิภาค พุทธานุพุทธประวัติ และเรียงความแก้กระทู้ธรรม เช่นเดียวกับหลักสูตรนักธรรมชั้นเอกสำหรับภิกษุสามเณร ยกเว้นวินัยบัญญัติ และจัดให้มีการสอบในปีนี้
พ.ศ. ๒๕๔๖ มหาเถรสมาคมมีมติปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษาให้มีเนื้อหาที่เหมาะสม แก่ผู้เรียน ทำให้หลักสูตรธรรมศึกษามีเนื้อหาวิชาที่แตกต่างจากหลักสูตรนักธรรมอย่างชัดเจน
การเรียนธรรมศึกษา ประกอบด้วยวิชาดังนี้
ธรรมศึกษาชั้น ตรี ๔ วิชา คือ
๑. วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม (๑)
๒. วิชา ธรรมวิภาค (๑)
๓. วิชา พุทธประวัติ - ศาสนพิธี
๔. วิชา เบญจศีล - เบญจธรรม
ธรรมศึกษาชั้น โท ๔ วิชา คือ
๑. วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม (๒)
๒. วิชา ธรรมวิภาค (๒)
๓. วิชา อนุพุทธประวัติ - ศาสนพิธี
๔. วิชา อุโบสถศีล
ธรรมศึกษาชั้น เอก ๔ วิชา คือ
๑. วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม (๓)
๒. วิชา ธรรมวิจารณ์
๓. วิชา พุทธานุพุทธประวัติ
๔. วิชา กรรมบถ
เมื่อนักเรียนเรียนจบหลักสูตรแล้ว วัดต้นสังกัดจะทำบัญชีรายชื่อนักเรียนส่งสมัครสอบ ธรรมสนามหลวงประจำปี ตามกำหนดการที่สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงกำหนด
คำว่า “สอบธรรมสนามหลวง” มีที่มาจากการสอบบาลีครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่จะจัด สอบ ณ วัดอันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมสอบในพระบรมมหาราชวังเป็นบางครั้ง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะทรงฟังการแปลพระไตรปิฎก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประชุมสอบในพระบรมมหาราชวังทุกครั้ง ดังนั้นจึงเรียกสนามสอบนี้ในกาลต่อมาว่า “สนามหลวง” ซึ่งในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๓ พ.ศ. ๒๔๕๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีการใช้คำว่า หลักสูตรของสนามหลวง, กรรมการสนามหลวง แล้ว
จากสถิติสนามสอบธรรมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ พบว่า มีสนามสอบธรรมศึกษาทั่วประเทศ ๒,๖๙๑ สนาม จำแนกเป็น สนามสอบในวัด ๑,๐๒๔ สนาม สนามสอบที่เป็นโรงเรียน ๑,๕๑๒ สนาม สนามสอบในสังกัดกรมราชทัณฑ์ ๑๒๒ สนาม สนามสอบในสถาบันอุดมศึกษา ๒๓ สนาม สนามสอบอื่นๆ ๑๐ สนาม เช่น ชุมชน ศูนย์ฝึกอบรม เป็นต้น (สนามสอบธรรมศึกษา จะต้องมีนักเรียนสอบตั้งแต่ ๒๐๐ คนขึ้นไป)
นักเรียนธรรมศึกษา สามารถจำแนกได้ ดังนี้
๑. นักเรียนจากกระทรวงศึกษาธิการ คณะสงฆ์ได้จัดสอนนักเรียนในโรงเรียนมาเป็นเวลานาน และขยายการสอนเพิ่ม ขึ้นทุกปี เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักพุทธธรรมที่เป็นรากฐาน ของวัฒนธรรมประเพณี และมีความเข้าใจในหลักธรรมที่จะนำพาตนไปสู่ความสำเร็จในชีวิตที่ประสงค์ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ แจ้งสถานศึกษา ให้บันทึกผลการสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-โท-เอก ของนักเรียน นักศึกษาที่สอบได้ ลงในเอกสารระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรขั้นพื้นฐาน (ป.พ. ๑) เพื่อเป็นการทำให้ผู้เรียนเห็น ความสำคัญและเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และเป็นการนำนโยบายคุณธรรมนำความรู้ สู่การปฏิบัติของสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
๒. นักเรียนจากกรมราชทัณฑ์ คณะสงฆ์จัดพระสงฆ์ไปสอนธรรมศึกษาแก่นักโทษ ตามที่ผู้บังคับบัญชาเรือนจำได้อนุมัติให้จัดการเรียนธรรมศึกษา กรมราชทัณฑ์มีนโยบายการสอนธรรมศึกษา ด้วยพิจารณาเห็นว่า ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ ที่ถูกคุมขังในเรือนจำและทัณฑสถาน เป็นผู้บกพร่องทางจิตใจเพราะขาดการศึกษาอบรมทางด้านศีลธรรม เพื่อแก้ไขปรับปรุงผู้ต้องขังเหล่านี้ให้มีความรู้สึกสำนึกผิดชอบ มีสติสัมปชัญญะเหนี่ยวรั้งจิตใจ และกลับประพฤติชอบตามหลักศีลธรรม ไม่เป็นภัยต่อสังคม จำเป็นจะต้องให้เขาเหล่านั้นได้รับการอบรมศีลธรรมทางศาสนาให้มากที่สุด ควบคู่กันไปกับการศึกษาวิชาสามัญและวิชาชีพ จึงเห็นว่าวิชาธรรมศึกษาตามหลักสูตรของคณะสงฆ์ เป็นวิชาทฤษฎีทางธรรมที่จะนำ ไปสู่การปฏิบัติ มีลักษณะที่ว่า “เรียนไป รู้ไป และปฏิบัติตามไปโดยอัตโนมัติ” ฉะนั้น กรมราชทัณฑ์จึงมีนโยบายให้เรือนจำและทัณฑสถานทุกแห่ง จัดให้ผู้ต้องขังเรียนธรรมศึกษา และพยายามจัดให้เปิดเรียนทุกชั้น ทั้งธรรมศึกษาตรี - โท - เอก
๓. นักเรียนทั่วไป คณะสงฆ์ในแต่ละวัดที่มีความสามารถในการสอนธรรมศึกษา จะจัดการสอนธรรมศึกษา ในรูปแบบ ศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ศูนย์ธรรมศึกษา ซึ่งมีนักเรียนในโรงเรียนที่ไม่มีการสอนธรรมศึกษา แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา ที่สนใจสมัครเข้าเรียน นอกจากนี้ยังมีการสอนใน ศูนย์ฝึกอบรมเด็ก เยาวชน พนักงานบริษัท ตามคำร้องขอของต้นสังกัด เช่น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์จำกัด เป็นองค์กร เอกชนที่มุ่งพัฒนาจริยธรรมคุณธรรมของพนักงานด้วยการจัดสอนธรรมศึกษาแก่พนักงาน ส่งสอบธรรมสนามหลวงใน สังกัดวัดบวรนิเวศวิหาร บริษัทจัดสนามสอบ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พนักงาน จัดเป็นกิจกรรมความรู้คู่คุณธรรม แดนมหามงคล อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นสถาบันเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในความอำนวยการของอุบาสิกาบงกช สิทธิพล มีอุบาสกอุบาสิกาสนใจปฏิบัติธรรมและเรียน ธรรมศึกษามาก จนคณะสงฆ์จังหวัดกาญจนบุรีขอตั้งเป็นสนามสอบธรรมศึกษา
งานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทย เกิดขึ้นด้วยอิทธิบาทธรรมของพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิธรรมอันควรแก่การสอนธรรมศึกษา ดังนั้นการขยายงานธรรมศึกษาจนมีนักเรียนมากเกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นมา จึงเป็นภาระที่พระสงฆ์ต้องดำเนินการบนพื้นฐาน แห่งสมณวิสัย ความขาดแคลนงบประมาณในการบริหารการ ศึกษาส่วนนี้ เป็นเรื่องปกติที่พระท่านชินแล้ว แต่เรื่องที่น่าเป็นห่วงคือ การขาดความรู้ทักษะในการใช้ภาษาไทยของนักเรียนในระบบการศึกษาของรัฐ ที่เริ่มมีมากขึ้นทุกปี แต่รัฐไม่เคยสนใจในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม มัวแต่ ห่วงความแอ็บแบ๊วของวัยรุ่นที่มีปัญหา อันเป็นนักเรียนกลุ่มน้อยของระบบการศึกษาของชาติ แล้วจะหวังรอให้ระบบ
การศึกษาของรัฐให้สร้างคนดีแก่สังคมได้อย่างไร
นักเรียนธรรมศึกษา ได้ชื่อว่าเป็นผู้รับมรดกที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ เพราะได้เรียนรู้ถึงธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคีและเป็นบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย อันเป็นตัวอย่างแห่งการทำความดีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล การสอบธรรมศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของสุจริตธรรม อันเป็นความดีที่สามารถ แสดงถึงพุทธจริยธรรมในจิตใจของบุคคล ควรที่นักเรียนจักตั้งใจสอบธรรมศึกษา เพื่อน้อมถวายอานิสงส์เป็นพระราชกุศล ด้วยใจกตัญญูกตเวที อันเป็นเครื่องหมายของคนดี
พุทธศาสนิกชนผู้สนใจสมัครสอบธรรมศึกษา สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่วัดใกล้บ้าน หรือ สำนักงาน แม่กองธรรมสนามหลวง อาคารหอสมุดมหามกุฎราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร เลขที่ ๒๘๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ โทร.๐-๒๒๘๐-๗๖๘๒, ๐-๒๖๒๙-๐๙๖๑, ๐-๒๖๒๙-๐๙๖๒ ต่อ ๑๑๖, ๑๑๗ โทรสาร. ๐-๒๖๒๙-๐๙๖๓ หรือเวบไซต์www.gongtham.org
กำหนดการสอบธรรมสนามหลวง
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง กำหนดการสอบวัดความรู้การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมตามหลักสูตรของคณะสงฆ์ พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันและเวลา ดังนี้
นักธรรมชั้นโท-เอก
• วันจันทร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สอบวิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม
• วันอังคารที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สอบวิชา ธรรม
• วันพุธที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สอบวิชา พุทธ
• วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สอบวิชา วินัย
ธรรมศึกษาชั้นตรี - โท - เอก
• วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๑.๓๐ น. สอบวิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น. สอบวิชา ธรรม
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๕๐ น. สอบวิชา พุทธ
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น. สอบวิชา วินัย
(หมายเหตุ ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ มีสนาม สอบนักธรรมชั้นโท-เอก จำนวน ๑๔๓ สนาม สนามสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-โท-เอก จำนวน ๒,๗๙๒ สนาม)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 84 พ.ย 50 โดย ปภาโสภิกฺขุ (โต))