ได้คุยกับนักศึกษาหลาย คนเป็นนักศึกษาผู้ใหญ่แล้ว ได้ปริญญาโทแล้ว กำลังทำปริญญาเอกอยู่ บอกว่าโลกในสมัยนี้มันแข่งขัน กันในเรื่องการทำมาหากิน คนเราที่จะไปวัดไปวาเพื่อปฏิบัติตนไปนิพพานนั้นมันเป็นไปไม่ได้ เขาพูดว่าอย่างนั้น อาตมาได้ยินคำพูดเช่นนั้นก็นึกในใจ ว่า นี่ยังไม่เข้าใจความหมาย ยังไม่รู้จุดหมายแท้จริงของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนานั้นสอนให้เราปฏิบัติธรรมเพื่อให้เราอยู่ ในโลกได้อย่างชนิดที่เรียกว่าไม่ให้โลกมันทำร้ายเรา นี่ จุดหมายมันอยู่ตรงนี้
เราอยู่ในบ้านเรือนปฏิบัติ หน้าที่การงานเป็นปกติโดยไม่ต้องเจ็บช้ำน้ำใจ ไม่ได้หมายความว่าเมื่อปฏิบัติธรรมแล้วต้องทิ้งบ้านทิ้งช่องมาอยู่วัดวาอาราม หรือว่าไปอยู่ป่าดงอะไรอย่างนั้น ก็มีบ้างสำหรับบุคคลบางประเภท เช่นว่าผู้ที่มาบวชเป็นพระตั้งใจจะบวชอยู่ตลอดชีวิต ก็เพื่อจะได้ทำกิจพระศาสนา เพื่อศึกษาให้ลึกซึ้ง เพื่อปฏิบัติให้พ้นจากความทุกข์ได้ อย่างเด็ดขาด แล้วจะได้เป็นพี่เลี้ยงญาติโยมทั้งหลายต่อไป ช่วยตักเตือนแนะนำญาติทั้งหลายให้เกิดความรู้สึกนึกคิดในทางที่ถูกที่ชอบ อันจะช่วยให้ชีวิตเรียบร้อยก้าวหน้า นั่นเป็นประเภทหนึ่ง
แต่ว่าประเภทคนทั่วไปที่ยังคลุกคลีอยู่กับงาน ต้องทำการค้าขายธุรกิจ ติดต่อกับคนนั้นคนนี้ ทางศาสนาไม่ได้ห้าม ไม่ได้บอกว่าทำไม่ได้ แต่ว่าให้ทำอย่างผู้มีปัญญา ไม่ใช่ทำด้วยอารมณ์ที่เร่าร้อนวุ่นวาย จิตใจกระสับกระส่ายอยู่ตลอดเวลา ให้ทำด้วยจิตใจที่รู้เท่ารู้ทันต่อสิ่งนั้นตามสภาพที่เป็นจริง สิ่งนั้นไม่ทำให้เราเกิดเป็นปัญหา ไม่ให้เราต้องเป็นทุกข์ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ให้เราทำงานด้วยความเพลิดเพลินด้วยความสนุกสบาย ไม่ใช่ทำงานด้วยความทุกข์ใจด้วยความเดือดร้อนใจ หรือด้วยความกระวนกระวายด้วยประการต่างๆ แต่ให้ทำงานด้วยอารมณ์สดชื่นรื่นเริง มีความสะดวกสบายอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่างานที่เราทำนั้นจะเป็นงานหนักงานเบางานไกลงานใกล้ยากง่ายอย่างไรใจเราเป็นปกติคงเดิม ไม่ใช่ว่าพองานหนักแล้วใจมันหนักขึ้นมา พองานเบาก็เบาขึ้นมา ถ้าอย่างนั้นเรียกว่ายังไม่ถึงธรรมะ ยังไม่รู้เท่าทันของสิ่งที่เข้ามากระทบจิตใจเรา เมื่อใดเรามีความรู้สึกในใจว่างานหนักกับงาน เบาเท่ากัน เหมือนกันในแง่ที่ว่ามันเป็นงานเท่านั้นเอง แล้วเป็นงานที่ต้องใช้สมองใช้ ปัญญาคิดอ่าน เพื่อทำให้มันสำเร็จไป และในขณะที่เราทำนั้น เราไม่ได้ทำด้วยอารมณ์ รีบร้อน แต่เราทำด้วยใจสงบเย็น
การทำด้วยอารมณ์รีบร้อนกับการกระทำด้วยใจสงบเย็นนั้นมันผิดกัน ให้สังเกตง่ายๆ อย่างนี้ก็แล้วกัน เวลาเราเดินทางไปไหนๆ ถ้าเราเดินด้วยความรีบร้อนมันเหนื่อยมาก แต่ถ้าเราเดินตามปกติมันก็ถึงจุดหมายปลายทางเหมือนกัน แต่ว่าจิตใจ นั้นไม่เหน็ดเหนื่อย เรามีปกติทางด้านจิตใจ หรืองานอะไรอื่นก็เหมือนกัน ถ้าเราทำ ด้วยความรีบร้อนนั่งเป็นทุกข์ ตัวอย่างง่ายๆ เช่นเราหุงข้าว ถ้าเราหิวเราจะรู้สึกว่ามันเดือดช้า เอาหม้อไฟฟ้าใส่ข้าวใส่น้ำเสียบปลั๊ก เรากำลังหิวก็นั่งมองหม้อข้าวว่าทำไมมันเดือดช้าจริงๆ แรงไฟวันนี้มันเป็นอย่างไร ทำไมมันไม่เดือดเสียที ใจมันต้องการไวๆ มันไม่ทันใจก็เกิดความทุกข์ ใครมา พูดจาขวางหูเข้าเดี๋ยว ก็เปรี้ยงปร้างเข้าให้เท่านั้นเอง นี่คือใจมันไม่ดี เพราะว่าไม่รู้จักบังคับใจตัวเอง
แต่ถ้าหากว่าเรารู้จักบังคับใจ ตัวเองได้ เราก็เสียบปลั๊กเข้าไปแล้ว ก็นั่งเฉยๆมันร้อนของมันเอง แรงไฟ มันวิ่งของมันเอง แลัวพอร้อนหม้อ ข้าวสุกมันตัดไฟของมันโดยอัตโนมัติ เราไม่ต้องร้อนใจ เตรียมชามไว้ตักข้าว เตรียมช้อนเตรียมซ่อมๆไว้กินก็แล้วกัน อย่างนี้มันก็ไม่ยุ่งใจ อาการเช่นนี้มีแก่เราหรือไม่ ลองนึกเอามันก็มีเหมือนอย่างที่ท่านว่านั่นแหละ มีเอาบ่อยๆ เช่นขับรถไปไหนๆ บางทีก็ขับด้วยความร้อนใจ พอรถติดก็ยิ่งร้อนใจใหญ่ เพราะว่าไปไม่ได้ แล้วเวลาที่รถติดนั้นเราร้อนใจ แล้ว มันไปได้หรือเปล่า ก็ไปไม่ได้ ยังติดอยู่นั่นแหละ เพราะว่ารถข้างหน้ามันไม่เคลื่อนเราจะเคลื่อนไปได้อย่างไร แต่ว่าใจมันไปก่อนรถนี่แหละที่มันยุ่งใจ ความต้องการมันวิ่งไปข้างหน้า วัตถุยังไม่เคลื่อนแต่ใจของเราเคลื่อน เสียแล้ว จึงได้สร้างปัญหาสร้างความทุกข์ความเดือดร้อนขึ้นในใจด้วยประการต่างๆ
การปฏิบัติธรรมะก็เพื่อจะให้มีปัญญา ได้ระงับยับยั้งชั่งใจ ไม่ให้เกิดความร้อน เกิดความกระวนกระวายในสิ่งต่างๆ ที่เรายังไม่ได้ยังไม่มี เราต้องรู้จักรอต่อสิ่งนั้น ว่าเมื่อไหร่มันจะถึงเวลา รอด้วยความสงบเยือกเย็น ผู้ใดมีใจสงบมีใจเยือกเย็นผู้นั้นย่อมเป็นสุขในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ แต่ถ้าเกิดอารมณ์ร้อนเมื่อไหร่แล้วก็ไม่ สบายใจ แล้วสังเกตดูว่าคนที่มีความร้อนในทางจิตใจบ่อยๆ นั้น ร่างกายมักจะผิดปกติ เช่นว่ามือไม้สั่นบ้าง ศีรษะสั่นบ้าง ประสาทมันเสียนั่นเอง เพราะเราไปเผา มันบ่อยๆทำให้ส่วนต่างๆ ในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป คือโทษในทางกาย แล้วก็เป็น ทุกข์ต่อไป แต่ถ้าเราใจสงบเย็นแล้ว ไม่มีเรื่องอะไรที่จะให้เกิดปัญหา เพราะฉะนั้นต้องหัดในเรื่องนี้ ...
การที่เราจะควบคุมจิตใจของเรานั้นเป็นเรื่องสำคัญ การควบคุมจิตใจก็ควบคุม สิ่งที่มากระทบ ไม่ให้มันเกิดอะไรขึ้นมา คุมบ่อยๆ ทำบ่อยๆ แล้วก็ค่อยดีขึ้นเอง มันดีขึ้นโดยไม่รู้ตัวเป็นอัตโนมัติ ถ้าเราหมั่นทำบ่อยๆ คือหัดให้มีสติคอยควบคุมตัวเองไว้ ยับยั้งชั่งใจ อะไรมากระทบก็ไม่ให้เกิดอะไรวู่วาม อย่างนี้จะสบายใจได้ประการหนึ่ง คือการต่อสู้กับสิ่งที่เรียกว่าความสุขความทุกข์ในชีวิตประจำวัน
(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙)
(หมายเหตุกองบรรณาธิการ : พระพรหมมังคลาจารย์ หรือหลวงพ่อปัญญา ได้มรณภาพแล้ว เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ สิริอายุรวม ๙๖ ปี ๗๗ พรรษา กองบรรณาธิการธรรมลีลาขอกราบคารวะและขอร่วมไว้อาลัยแด่ท่านเจ้าคุณปัญญา พระนักเทศน์ผู้ยิ่งใหญ่อีกรูปหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ มา ณ ที่นี้ และกองบรรณาธิการ จะนำธรรมะที่ท่านได้เคยแสดงไว้ในวาระและโอกาสต่างๆมาเสนอต่อไปเฉกเช่นที่ได้เคยปฏิบัติมา เพื่อสืบสานอุดมการณ์ของท่านที่ประสงค์จะให้ผู้คนได้นำธรรมะไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 84 พ.ย 50 โดยพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)
เราอยู่ในบ้านเรือนปฏิบัติ หน้าที่การงานเป็นปกติโดยไม่ต้องเจ็บช้ำน้ำใจ ไม่ได้หมายความว่าเมื่อปฏิบัติธรรมแล้วต้องทิ้งบ้านทิ้งช่องมาอยู่วัดวาอาราม หรือว่าไปอยู่ป่าดงอะไรอย่างนั้น ก็มีบ้างสำหรับบุคคลบางประเภท เช่นว่าผู้ที่มาบวชเป็นพระตั้งใจจะบวชอยู่ตลอดชีวิต ก็เพื่อจะได้ทำกิจพระศาสนา เพื่อศึกษาให้ลึกซึ้ง เพื่อปฏิบัติให้พ้นจากความทุกข์ได้ อย่างเด็ดขาด แล้วจะได้เป็นพี่เลี้ยงญาติโยมทั้งหลายต่อไป ช่วยตักเตือนแนะนำญาติทั้งหลายให้เกิดความรู้สึกนึกคิดในทางที่ถูกที่ชอบ อันจะช่วยให้ชีวิตเรียบร้อยก้าวหน้า นั่นเป็นประเภทหนึ่ง
แต่ว่าประเภทคนทั่วไปที่ยังคลุกคลีอยู่กับงาน ต้องทำการค้าขายธุรกิจ ติดต่อกับคนนั้นคนนี้ ทางศาสนาไม่ได้ห้าม ไม่ได้บอกว่าทำไม่ได้ แต่ว่าให้ทำอย่างผู้มีปัญญา ไม่ใช่ทำด้วยอารมณ์ที่เร่าร้อนวุ่นวาย จิตใจกระสับกระส่ายอยู่ตลอดเวลา ให้ทำด้วยจิตใจที่รู้เท่ารู้ทันต่อสิ่งนั้นตามสภาพที่เป็นจริง สิ่งนั้นไม่ทำให้เราเกิดเป็นปัญหา ไม่ให้เราต้องเป็นทุกข์ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ให้เราทำงานด้วยความเพลิดเพลินด้วยความสนุกสบาย ไม่ใช่ทำงานด้วยความทุกข์ใจด้วยความเดือดร้อนใจ หรือด้วยความกระวนกระวายด้วยประการต่างๆ แต่ให้ทำงานด้วยอารมณ์สดชื่นรื่นเริง มีความสะดวกสบายอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่างานที่เราทำนั้นจะเป็นงานหนักงานเบางานไกลงานใกล้ยากง่ายอย่างไรใจเราเป็นปกติคงเดิม ไม่ใช่ว่าพองานหนักแล้วใจมันหนักขึ้นมา พองานเบาก็เบาขึ้นมา ถ้าอย่างนั้นเรียกว่ายังไม่ถึงธรรมะ ยังไม่รู้เท่าทันของสิ่งที่เข้ามากระทบจิตใจเรา เมื่อใดเรามีความรู้สึกในใจว่างานหนักกับงาน เบาเท่ากัน เหมือนกันในแง่ที่ว่ามันเป็นงานเท่านั้นเอง แล้วเป็นงานที่ต้องใช้สมองใช้ ปัญญาคิดอ่าน เพื่อทำให้มันสำเร็จไป และในขณะที่เราทำนั้น เราไม่ได้ทำด้วยอารมณ์ รีบร้อน แต่เราทำด้วยใจสงบเย็น
การทำด้วยอารมณ์รีบร้อนกับการกระทำด้วยใจสงบเย็นนั้นมันผิดกัน ให้สังเกตง่ายๆ อย่างนี้ก็แล้วกัน เวลาเราเดินทางไปไหนๆ ถ้าเราเดินด้วยความรีบร้อนมันเหนื่อยมาก แต่ถ้าเราเดินตามปกติมันก็ถึงจุดหมายปลายทางเหมือนกัน แต่ว่าจิตใจ นั้นไม่เหน็ดเหนื่อย เรามีปกติทางด้านจิตใจ หรืองานอะไรอื่นก็เหมือนกัน ถ้าเราทำ ด้วยความรีบร้อนนั่งเป็นทุกข์ ตัวอย่างง่ายๆ เช่นเราหุงข้าว ถ้าเราหิวเราจะรู้สึกว่ามันเดือดช้า เอาหม้อไฟฟ้าใส่ข้าวใส่น้ำเสียบปลั๊ก เรากำลังหิวก็นั่งมองหม้อข้าวว่าทำไมมันเดือดช้าจริงๆ แรงไฟวันนี้มันเป็นอย่างไร ทำไมมันไม่เดือดเสียที ใจมันต้องการไวๆ มันไม่ทันใจก็เกิดความทุกข์ ใครมา พูดจาขวางหูเข้าเดี๋ยว ก็เปรี้ยงปร้างเข้าให้เท่านั้นเอง นี่คือใจมันไม่ดี เพราะว่าไม่รู้จักบังคับใจตัวเอง
แต่ถ้าหากว่าเรารู้จักบังคับใจ ตัวเองได้ เราก็เสียบปลั๊กเข้าไปแล้ว ก็นั่งเฉยๆมันร้อนของมันเอง แรงไฟ มันวิ่งของมันเอง แลัวพอร้อนหม้อ ข้าวสุกมันตัดไฟของมันโดยอัตโนมัติ เราไม่ต้องร้อนใจ เตรียมชามไว้ตักข้าว เตรียมช้อนเตรียมซ่อมๆไว้กินก็แล้วกัน อย่างนี้มันก็ไม่ยุ่งใจ อาการเช่นนี้มีแก่เราหรือไม่ ลองนึกเอามันก็มีเหมือนอย่างที่ท่านว่านั่นแหละ มีเอาบ่อยๆ เช่นขับรถไปไหนๆ บางทีก็ขับด้วยความร้อนใจ พอรถติดก็ยิ่งร้อนใจใหญ่ เพราะว่าไปไม่ได้ แล้วเวลาที่รถติดนั้นเราร้อนใจ แล้ว มันไปได้หรือเปล่า ก็ไปไม่ได้ ยังติดอยู่นั่นแหละ เพราะว่ารถข้างหน้ามันไม่เคลื่อนเราจะเคลื่อนไปได้อย่างไร แต่ว่าใจมันไปก่อนรถนี่แหละที่มันยุ่งใจ ความต้องการมันวิ่งไปข้างหน้า วัตถุยังไม่เคลื่อนแต่ใจของเราเคลื่อน เสียแล้ว จึงได้สร้างปัญหาสร้างความทุกข์ความเดือดร้อนขึ้นในใจด้วยประการต่างๆ
การปฏิบัติธรรมะก็เพื่อจะให้มีปัญญา ได้ระงับยับยั้งชั่งใจ ไม่ให้เกิดความร้อน เกิดความกระวนกระวายในสิ่งต่างๆ ที่เรายังไม่ได้ยังไม่มี เราต้องรู้จักรอต่อสิ่งนั้น ว่าเมื่อไหร่มันจะถึงเวลา รอด้วยความสงบเยือกเย็น ผู้ใดมีใจสงบมีใจเยือกเย็นผู้นั้นย่อมเป็นสุขในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ แต่ถ้าเกิดอารมณ์ร้อนเมื่อไหร่แล้วก็ไม่ สบายใจ แล้วสังเกตดูว่าคนที่มีความร้อนในทางจิตใจบ่อยๆ นั้น ร่างกายมักจะผิดปกติ เช่นว่ามือไม้สั่นบ้าง ศีรษะสั่นบ้าง ประสาทมันเสียนั่นเอง เพราะเราไปเผา มันบ่อยๆทำให้ส่วนต่างๆ ในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป คือโทษในทางกาย แล้วก็เป็น ทุกข์ต่อไป แต่ถ้าเราใจสงบเย็นแล้ว ไม่มีเรื่องอะไรที่จะให้เกิดปัญหา เพราะฉะนั้นต้องหัดในเรื่องนี้ ...
การที่เราจะควบคุมจิตใจของเรานั้นเป็นเรื่องสำคัญ การควบคุมจิตใจก็ควบคุม สิ่งที่มากระทบ ไม่ให้มันเกิดอะไรขึ้นมา คุมบ่อยๆ ทำบ่อยๆ แล้วก็ค่อยดีขึ้นเอง มันดีขึ้นโดยไม่รู้ตัวเป็นอัตโนมัติ ถ้าเราหมั่นทำบ่อยๆ คือหัดให้มีสติคอยควบคุมตัวเองไว้ ยับยั้งชั่งใจ อะไรมากระทบก็ไม่ให้เกิดอะไรวู่วาม อย่างนี้จะสบายใจได้ประการหนึ่ง คือการต่อสู้กับสิ่งที่เรียกว่าความสุขความทุกข์ในชีวิตประจำวัน
(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙)
(หมายเหตุกองบรรณาธิการ : พระพรหมมังคลาจารย์ หรือหลวงพ่อปัญญา ได้มรณภาพแล้ว เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ สิริอายุรวม ๙๖ ปี ๗๗ พรรษา กองบรรณาธิการธรรมลีลาขอกราบคารวะและขอร่วมไว้อาลัยแด่ท่านเจ้าคุณปัญญา พระนักเทศน์ผู้ยิ่งใหญ่อีกรูปหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ มา ณ ที่นี้ และกองบรรณาธิการ จะนำธรรมะที่ท่านได้เคยแสดงไว้ในวาระและโอกาสต่างๆมาเสนอต่อไปเฉกเช่นที่ได้เคยปฏิบัติมา เพื่อสืบสานอุดมการณ์ของท่านที่ประสงค์จะให้ผู้คนได้นำธรรมะไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 84 พ.ย 50 โดยพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)