โพชฌงค์เป็นนามธรรมจึงต้องใช้การตามรู้
ให้ตามรู้อารมณ์กรรมฐานที่ปรากฏง่ายๆ และเป็นสามัญไปก่อน
เช่นการระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของรูปกาย และการรู้จิต เป็นต้น
เมื่อสติปัญญาแก่กล้าแล้ว โพชฌงค์ก็จะเกิดขึ้น และสติปัญญาก็จะตามระลึก
และเข้าใจความเป็นไตรลักษณ์ของโพชฌงค์ได้เอง
ครั้งที่ 77
บทที่ 5 หัวใจกรรมฐาน
ตอน วิธีการรู้รูปนามในธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน
6.4.4 โพชฌงค์
โพชฌงค์คือองค์ธรรมที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้อริยสัจจ์ 4 หรือทำให้เกิดอริยมรรค องค์ธรรมของโพชฌงค์เป็นนามธรรมล้วนๆ ได้แก่ สติ ธัมมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา
สติสัมโพชฌงค์ คือสติเจตสิกที่ระลึกรู้อารมณ์รูปนามในสติปัฏฐาน 4 จนมีกำลังแก่กล้าเป็นสัมมาสติในอริยมรรค
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือปัญญาเจตสิกที่รู้ความจริงของรูปนามว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็น อนัตตา จนแก่กล้าเป็นสัมมาทิฏฐิในอริยมรรค
วิริยสัมโพชฌงค์ คือวิริยเจตสิกที่ทำกิจในการละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้ เกิดขึ้น ทำกุศลให้เกิดขึ้น และทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญขึ้น วิริยเจตสิกนี้เมื่อแก่กล้าขึ้นก็จะเป็นสัมมาวายามะในอริยมรรค
ปีติสัมโพชฌงค์ คือปีติเจตสิกหรือความอิ่มใจในการเจริญสติปัฏฐาน เป็นปีติที่เกิดขึ้นด้วย อำนาจของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน องค์ธรรม ได้แก่ปีติเจตสิกที่เกิดในจิต 34 ดวง คือ (1) มหากุศลจิตอันประกอบด้วยโสมนัส เวทนา และปัญญา ซึ่งเกิดได้ทั้งด้วยการชักชวนให้เกิดและเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ชักชวนให้เกิดรวม 2 ดวง (2) มหากิริยาจิตของพระอรหันต์ อันประกอบด้วยโสมนัส เวทนา และปัญญา ซึ่งเกิดได้ด้วยการชักชวนให้เกิดและเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ชักชวนให้เกิดรวม 2 ดวง (3) มหัคคตจิตในฌานที่ 1-3 ทั้งที่เป็นกุศล 3 ดวง เป็นกิริยาในพระอรหันต์อีก 3 ดวง และ (4) โลกุตตรจิตอันประกอบด้วยฌานที่ 1-3 ในพระอริยบุคคล 8 ประเภทอีก 24 ดวง
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือปัสสัทธิเจตสิกที่เป็นความสงบกาย สงบใจในการเจริญสติปัฏฐาน
สมาธิสัมโพชฌงค์ คือเอกัคคตาเจตสิกหรือความตั้งมั่นของจิตในการรู้อารมณ์รูปนาม จนแก่กล้าเป็นสัมมาสมาธิในอริยมรรค
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่ทำให้จิตเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้ายในรูปนามอันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้จิตดำเนินไปในทางสายกลางได้อย่างมั่นคง
โพชฌงค์เป็นนามธรรมจึงต้องใช้การตามรู้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า
"เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วย ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติ สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วจะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิ สัมโพชฌงค์ ฯลฯ เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขา สัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอุเบกขา สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย"
เมื่อตามรู้มากเข้าในที่สุดก็จะเห็นความจริงว่า สภาวธรรมทั้งหมดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา และทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้
อย่างไรก็ตามโพชฌงค์เป็นองค์ธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง และเกินจากเรื่องขันธ์ อายตนะ ธาตุ ซึ่งเป็นวิปัสสนาภูมิขั้นพื้นฐาน ผู้เขียนจึงขอเชิญชวนเพื่อนนักปฏิบัติให้ตามรู้อารมณ์กรรมฐานที่ปรากฏง่ายๆ และเป็นสามัญไปก่อน เช่น การระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของรูปกาย และการรู้จิตเป็นต้น เมื่อสติปัญญาแก่กล้าแล้ว โพชฌงค์ ก็จะเกิดขึ้น และสติปัญญาก็จะตามระลึกและเข้าใจความเป็นไตรลักษณ์ของโพชฌงค์ได้เอง
กล่าวคือเมื่อตามรู้รูปนามอยู่นั้นสติสัม-โพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น การตามรู้รูปนามก็คือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เมื่อสติเกิดเนืองๆ จิตก็ยิ่งขยันรู้รูปนามได้เร็วขึ้นๆ อกุศลที่มีอยู่ก็เป็นอันถูกละไปและอกุศลใหม่ก็ไม่เกิดขึ้น ธรรมฝ่ายกุศลที่ไม่เคยเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นและเจริญงอกงาม นี้คือวิริย สัมโพชฌงค์ เมื่อตามรู้ตามดูรูปนามเรื่อยไปจิตใจจะมีความสุข มีความอิ่มใจที่ได้มีสติระลึกรู้รูปนาม นี้คือปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อปีติเกิดขึ้นและสติระลึกรู้ปีตินั้น จิตก็เข้าสู่ความสงบระงับหรือปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ เมื่อจิตมีความสงบระงับและอิ่มเอิบใจอยู่นั้น สมาธิ
สัมโพชฌงค์คือความตั้งมั่นของจิตในการรู้รูปนามก็เกิดขึ้น แล้วสามารถรู้รูปนามได้ ด้วยจิตที่เป็นกลาง หากจิตไม่เป็นกลาง สติก็ระลึก รู้ความไม่เป็นกลางนั้น ความไม่เป็นกลางอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจของอกุศลก็จะดับไปเพราะการเจริญสติ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยอำนาจของการเจริญวิปัสสนา นี้คืออุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์เป็นองค์ธรรมที่จะเจริญขึ้นเพราะการเจริญสติปัฏฐาน และแม้โพชฌงค์จะเป็นองค์ธรรมอันดีเลิศ แต่เราก็ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อจะยึดถือ ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่เพียงการตามรู้และเข้าใจความเป็นจริงขององค์ธรรมในโพชฌงค์ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาเท่านั้น ก็ขนาดองค์ธรรมที่ดีเลิศปานนี้ยังไม่ยึดถือแล้ว จิตจะยึดถืออะไรได้อีกง่ายๆ เล่า ในที่สุดจิตก็จะปล่อยวางสภาวธรรม ทั้งปวง แล้วบรรลุมรรคผลนิพพานได้ต่อไป
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/อริยสัจจ์)
ให้ตามรู้อารมณ์กรรมฐานที่ปรากฏง่ายๆ และเป็นสามัญไปก่อน
เช่นการระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของรูปกาย และการรู้จิต เป็นต้น
เมื่อสติปัญญาแก่กล้าแล้ว โพชฌงค์ก็จะเกิดขึ้น และสติปัญญาก็จะตามระลึก
และเข้าใจความเป็นไตรลักษณ์ของโพชฌงค์ได้เอง
ครั้งที่ 77
บทที่ 5 หัวใจกรรมฐาน
ตอน วิธีการรู้รูปนามในธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน
6.4.4 โพชฌงค์
โพชฌงค์คือองค์ธรรมที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้อริยสัจจ์ 4 หรือทำให้เกิดอริยมรรค องค์ธรรมของโพชฌงค์เป็นนามธรรมล้วนๆ ได้แก่ สติ ธัมมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา
สติสัมโพชฌงค์ คือสติเจตสิกที่ระลึกรู้อารมณ์รูปนามในสติปัฏฐาน 4 จนมีกำลังแก่กล้าเป็นสัมมาสติในอริยมรรค
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือปัญญาเจตสิกที่รู้ความจริงของรูปนามว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็น อนัตตา จนแก่กล้าเป็นสัมมาทิฏฐิในอริยมรรค
วิริยสัมโพชฌงค์ คือวิริยเจตสิกที่ทำกิจในการละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้ เกิดขึ้น ทำกุศลให้เกิดขึ้น และทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญขึ้น วิริยเจตสิกนี้เมื่อแก่กล้าขึ้นก็จะเป็นสัมมาวายามะในอริยมรรค
ปีติสัมโพชฌงค์ คือปีติเจตสิกหรือความอิ่มใจในการเจริญสติปัฏฐาน เป็นปีติที่เกิดขึ้นด้วย อำนาจของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน องค์ธรรม ได้แก่ปีติเจตสิกที่เกิดในจิต 34 ดวง คือ (1) มหากุศลจิตอันประกอบด้วยโสมนัส เวทนา และปัญญา ซึ่งเกิดได้ทั้งด้วยการชักชวนให้เกิดและเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ชักชวนให้เกิดรวม 2 ดวง (2) มหากิริยาจิตของพระอรหันต์ อันประกอบด้วยโสมนัส เวทนา และปัญญา ซึ่งเกิดได้ด้วยการชักชวนให้เกิดและเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ชักชวนให้เกิดรวม 2 ดวง (3) มหัคคตจิตในฌานที่ 1-3 ทั้งที่เป็นกุศล 3 ดวง เป็นกิริยาในพระอรหันต์อีก 3 ดวง และ (4) โลกุตตรจิตอันประกอบด้วยฌานที่ 1-3 ในพระอริยบุคคล 8 ประเภทอีก 24 ดวง
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือปัสสัทธิเจตสิกที่เป็นความสงบกาย สงบใจในการเจริญสติปัฏฐาน
สมาธิสัมโพชฌงค์ คือเอกัคคตาเจตสิกหรือความตั้งมั่นของจิตในการรู้อารมณ์รูปนาม จนแก่กล้าเป็นสัมมาสมาธิในอริยมรรค
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่ทำให้จิตเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้ายในรูปนามอันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้จิตดำเนินไปในทางสายกลางได้อย่างมั่นคง
โพชฌงค์เป็นนามธรรมจึงต้องใช้การตามรู้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า
"เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วย ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติ สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วจะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิ สัมโพชฌงค์ ฯลฯ เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขา สัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอุเบกขา สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย"
เมื่อตามรู้มากเข้าในที่สุดก็จะเห็นความจริงว่า สภาวธรรมทั้งหมดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา และทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้
อย่างไรก็ตามโพชฌงค์เป็นองค์ธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง และเกินจากเรื่องขันธ์ อายตนะ ธาตุ ซึ่งเป็นวิปัสสนาภูมิขั้นพื้นฐาน ผู้เขียนจึงขอเชิญชวนเพื่อนนักปฏิบัติให้ตามรู้อารมณ์กรรมฐานที่ปรากฏง่ายๆ และเป็นสามัญไปก่อน เช่น การระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของรูปกาย และการรู้จิตเป็นต้น เมื่อสติปัญญาแก่กล้าแล้ว โพชฌงค์ ก็จะเกิดขึ้น และสติปัญญาก็จะตามระลึกและเข้าใจความเป็นไตรลักษณ์ของโพชฌงค์ได้เอง
กล่าวคือเมื่อตามรู้รูปนามอยู่นั้นสติสัม-โพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น การตามรู้รูปนามก็คือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เมื่อสติเกิดเนืองๆ จิตก็ยิ่งขยันรู้รูปนามได้เร็วขึ้นๆ อกุศลที่มีอยู่ก็เป็นอันถูกละไปและอกุศลใหม่ก็ไม่เกิดขึ้น ธรรมฝ่ายกุศลที่ไม่เคยเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นและเจริญงอกงาม นี้คือวิริย สัมโพชฌงค์ เมื่อตามรู้ตามดูรูปนามเรื่อยไปจิตใจจะมีความสุข มีความอิ่มใจที่ได้มีสติระลึกรู้รูปนาม นี้คือปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อปีติเกิดขึ้นและสติระลึกรู้ปีตินั้น จิตก็เข้าสู่ความสงบระงับหรือปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ เมื่อจิตมีความสงบระงับและอิ่มเอิบใจอยู่นั้น สมาธิ
สัมโพชฌงค์คือความตั้งมั่นของจิตในการรู้รูปนามก็เกิดขึ้น แล้วสามารถรู้รูปนามได้ ด้วยจิตที่เป็นกลาง หากจิตไม่เป็นกลาง สติก็ระลึก รู้ความไม่เป็นกลางนั้น ความไม่เป็นกลางอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจของอกุศลก็จะดับไปเพราะการเจริญสติ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยอำนาจของการเจริญวิปัสสนา นี้คืออุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์เป็นองค์ธรรมที่จะเจริญขึ้นเพราะการเจริญสติปัฏฐาน และแม้โพชฌงค์จะเป็นองค์ธรรมอันดีเลิศ แต่เราก็ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อจะยึดถือ ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่เพียงการตามรู้และเข้าใจความเป็นจริงขององค์ธรรมในโพชฌงค์ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาเท่านั้น ก็ขนาดองค์ธรรมที่ดีเลิศปานนี้ยังไม่ยึดถือแล้ว จิตจะยึดถืออะไรได้อีกง่ายๆ เล่า ในที่สุดจิตก็จะปล่อยวางสภาวธรรม ทั้งปวง แล้วบรรลุมรรคผลนิพพานได้ต่อไป
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/อริยสัจจ์)