วันที่ ๒๓ ตุลาคมนี้ ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาติไทย เพราะเป็นวันที่ปวงชนชาวไทย ทั่วทั้งแผ่นดินจักได้น้อมรำลึกและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เป็นคุณูปการแก่ประเทศไทยเป็นเอนกประการ ได้ทรง พัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปทุกด้านทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ
คุณูปการอันยิ่งใหญ่แห่งพระองค์ก็คือ ทรงประกาศเลิกทาสให้เป็นไท เป็นการพระราชทานอิสรเสรีภาพแก่ปวงทาสทั้งแผ่นดินให้กลับมามีอิสรเสรี มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เสมอเหมือนกับบุคลทั่วไป และการเลิกทาสของพระองค์ก็ไม่ต้อง มีใครเสียเลือดเสียเนื้อ หรือเสียชีวิต ดังเช่นบางประเทศที่มีการประกาศเลิกทาสแต่อย่างใด พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่นี้ ปวงอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลายจึงพร้อมใจกันถวายสมัญญานามของพระองค์ว่า “พระปิยมหาราช” คือพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย แม้ว่าพระองค์จะเสด็จสวรรคตไปนานแล้ว แต่พระมหากรุณาธิคุณแห่งพระองค์ยังสถิตดำรงมั่นอยู่ในดวงใจของชาวไทยทุกคนตราบเท่าทุกวันนี้
คำว่า “ทาส” ไม่ใช่เคยมีมาในเฉพาะ ๓๐๐-๔๐๐ ปี ที่ผ่านมา แต่ได้มีมานานหลายพันปีแล้วเมื่อเผ่าชนที่อพยพเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป คือ ประเทศอินเดีย ได้รุกไล่ชนพื้นเมืองให้ถอยร่นลงไปทางใต้ทุกทีๆ แล้วครอบครองพื้นที่ตั้งตนเป็นผู้ปกครอง เรียกตนเองว่าเป็น “อาริยกะ” หรือ “อารยัน” เป็นผู้ประเสริฐหรือผู้เจริญแล้ว เรียกชนพื้นเมืองว่า “พวกมิลักขะ” เป็นผู้ไม่เจริญ ป่าเถื่อน ล้าหลัง และเพื่อปกป้องเผ่าพันธุ์ของตนไม่ให้เกลือกกลั้วกับชนพื้นเมือง จึงได้บัญญัติการแบ่งชนชั้นไว้ ๔ วรรณะ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร แต่ละวรรณะจะแต่งงานกับคนต่างวรรณะไม่ได้ ใครอยู่วรรณะใดก็ต้องแต่งงาน ในวรรณะนั้น แต่ถ้าแต่งงานต่างวรรณะ ลูกที่เกิดมาจะถูกเรียกว่า “จัณฑาล” เป็นคนชั้นต่ำ เป็นพวกทาส เหมือนกับพวกวรรณะศูทรที่มีหน้าที่รับใช้คนวรรณะสูงก็คือเป็นทาสเหมือนกัน
การบัญญัติวรรณะ ๔ ของพวกอารยันจะไม่เป็นการยอมรับของคนทั่วไป วิธีที่แยบยลและฉลาดของพวกเขาก็คือ บรรจุวรรณะ ๔ ลงในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ จึงทำให้คนทั้งหลายเชื่อสนิทใจว่า นี่คือ โองการของพระผู้เป็นเจ้า หรือพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า และยอมรับโดยดุษณี
แต่เมื่อพระพุทธเจ้าออกประกาศพระศาสนา พระองค์ทรงปฏิเสธเรื่องวรรณะ ๔ โดยสิ้นเชิง พระองค์ทรงประกาศว่า มนุษย์มีความเสมอเท่าเทียมกัน โดยความเป็นมนุษย์ คนจะดีหรือเลว จะสูงหรือต่ำ ไม่ได้อยู่ที่วรรณะหรืออยู่ที่ชาติกำเนิด แต่อยู่ที่การกระทำของตน ถ้าทำดีก็เรียกว่า “อริยชน” ถ้าทำชั่วก็ เรียกว่า “อนารยชน” ไม่มีวรรณะใดที่เป็นใหญ่และไม่ มีวรรณะใดที่ต้องเป็นทาส ทุกคนเสมอกันหมด และประพฤติปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาได้เสมอเหมือนกัน โดยไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ
นี่ก็คือ การประกาศเลิกทาสของพระพุทธเจ้าเมื่อเกือบ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นการปลดแอกที่วางอยู่บนบ่าของชนผู้ถูกกำหนดมาให้เป็นทาสตั้งแต่กำเนิด ให้พ้นจากความเป็นทาส โดยสิ้นเชิง!!
พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงปฏิเสธเฉพาะการเป็นทาส โดยกำเนิดเท่านั้น แต่ทรงสอนให้คนหลุดพ้นจากความเป็นทาสของกิเลสตัณหา ที่เกิดขึ้นภายในใจของมนุษย์อีกด้วย จะเห็นได้จากเรื่องของพระรัฏฐปาละ ที่เมื่อครั้งเป็นฆราวาสนั้นท่านเป็นบุตรของเศรษฐี ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดศรัทธา จึงขอบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว ท่านกลับมาเยี่ยมโยมมารดา-บิดา และพักอยู่ในอุทยานของพระเจ้าโกรัพยะ และได้แสดงธรรมแก่พระเจ้าโกรัพยะที่ตรัสถามว่า บางคนออกบวชเพราะแก่ เพราะความเจ็บไข้ เสื่อมจากทรัพย์ ไม่มีญาติ ท่านออกบวชเพราะอะไร พระรัฏฐปาละจึงแสดงธัมมุเทส ๔ ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ ๑.โลกคือความชรานำไปไม่ยั่งยืน ๒.โลกไม่มีเครื่องต้านทานไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน ๓.โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป ๔. โลกพร่องอยู่เป็นนิจไม่รู้จักอิ่มเป็นทาสแห่งตัณหา และพระรัฏฐปาละได้ขยายความแห่งธรรมนี้ถวาย ทำให้พระเจ้าโกรัพยะทรงเสื่อมใสยิ่งนัก
ที่กล่าวมาแล้วนี้ แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนคนให้พ้นจากความเป็นทาสภายใน คือกิเลสตัณหาที่เป็นนายคอยควบคุมคนให้ตกอยู่ในอำนาจของมัน ซึ่งจำเป็นจะต้องขจัดให้หมดสิ้นไปโดยสิ้นเชิง ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรมและรู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมอย่างถ่องแท้
อย่ามัวแต่ตกเป็นทาสทางใจกันอยู่เลย
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 83 ต.ค. 50 โดย ธมฺมจรถ)
คุณูปการอันยิ่งใหญ่แห่งพระองค์ก็คือ ทรงประกาศเลิกทาสให้เป็นไท เป็นการพระราชทานอิสรเสรีภาพแก่ปวงทาสทั้งแผ่นดินให้กลับมามีอิสรเสรี มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เสมอเหมือนกับบุคลทั่วไป และการเลิกทาสของพระองค์ก็ไม่ต้อง มีใครเสียเลือดเสียเนื้อ หรือเสียชีวิต ดังเช่นบางประเทศที่มีการประกาศเลิกทาสแต่อย่างใด พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่นี้ ปวงอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลายจึงพร้อมใจกันถวายสมัญญานามของพระองค์ว่า “พระปิยมหาราช” คือพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย แม้ว่าพระองค์จะเสด็จสวรรคตไปนานแล้ว แต่พระมหากรุณาธิคุณแห่งพระองค์ยังสถิตดำรงมั่นอยู่ในดวงใจของชาวไทยทุกคนตราบเท่าทุกวันนี้
คำว่า “ทาส” ไม่ใช่เคยมีมาในเฉพาะ ๓๐๐-๔๐๐ ปี ที่ผ่านมา แต่ได้มีมานานหลายพันปีแล้วเมื่อเผ่าชนที่อพยพเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป คือ ประเทศอินเดีย ได้รุกไล่ชนพื้นเมืองให้ถอยร่นลงไปทางใต้ทุกทีๆ แล้วครอบครองพื้นที่ตั้งตนเป็นผู้ปกครอง เรียกตนเองว่าเป็น “อาริยกะ” หรือ “อารยัน” เป็นผู้ประเสริฐหรือผู้เจริญแล้ว เรียกชนพื้นเมืองว่า “พวกมิลักขะ” เป็นผู้ไม่เจริญ ป่าเถื่อน ล้าหลัง และเพื่อปกป้องเผ่าพันธุ์ของตนไม่ให้เกลือกกลั้วกับชนพื้นเมือง จึงได้บัญญัติการแบ่งชนชั้นไว้ ๔ วรรณะ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร แต่ละวรรณะจะแต่งงานกับคนต่างวรรณะไม่ได้ ใครอยู่วรรณะใดก็ต้องแต่งงาน ในวรรณะนั้น แต่ถ้าแต่งงานต่างวรรณะ ลูกที่เกิดมาจะถูกเรียกว่า “จัณฑาล” เป็นคนชั้นต่ำ เป็นพวกทาส เหมือนกับพวกวรรณะศูทรที่มีหน้าที่รับใช้คนวรรณะสูงก็คือเป็นทาสเหมือนกัน
การบัญญัติวรรณะ ๔ ของพวกอารยันจะไม่เป็นการยอมรับของคนทั่วไป วิธีที่แยบยลและฉลาดของพวกเขาก็คือ บรรจุวรรณะ ๔ ลงในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ จึงทำให้คนทั้งหลายเชื่อสนิทใจว่า นี่คือ โองการของพระผู้เป็นเจ้า หรือพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า และยอมรับโดยดุษณี
แต่เมื่อพระพุทธเจ้าออกประกาศพระศาสนา พระองค์ทรงปฏิเสธเรื่องวรรณะ ๔ โดยสิ้นเชิง พระองค์ทรงประกาศว่า มนุษย์มีความเสมอเท่าเทียมกัน โดยความเป็นมนุษย์ คนจะดีหรือเลว จะสูงหรือต่ำ ไม่ได้อยู่ที่วรรณะหรืออยู่ที่ชาติกำเนิด แต่อยู่ที่การกระทำของตน ถ้าทำดีก็เรียกว่า “อริยชน” ถ้าทำชั่วก็ เรียกว่า “อนารยชน” ไม่มีวรรณะใดที่เป็นใหญ่และไม่ มีวรรณะใดที่ต้องเป็นทาส ทุกคนเสมอกันหมด และประพฤติปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาได้เสมอเหมือนกัน โดยไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ
นี่ก็คือ การประกาศเลิกทาสของพระพุทธเจ้าเมื่อเกือบ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นการปลดแอกที่วางอยู่บนบ่าของชนผู้ถูกกำหนดมาให้เป็นทาสตั้งแต่กำเนิด ให้พ้นจากความเป็นทาส โดยสิ้นเชิง!!
พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงปฏิเสธเฉพาะการเป็นทาส โดยกำเนิดเท่านั้น แต่ทรงสอนให้คนหลุดพ้นจากความเป็นทาสของกิเลสตัณหา ที่เกิดขึ้นภายในใจของมนุษย์อีกด้วย จะเห็นได้จากเรื่องของพระรัฏฐปาละ ที่เมื่อครั้งเป็นฆราวาสนั้นท่านเป็นบุตรของเศรษฐี ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดศรัทธา จึงขอบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว ท่านกลับมาเยี่ยมโยมมารดา-บิดา และพักอยู่ในอุทยานของพระเจ้าโกรัพยะ และได้แสดงธรรมแก่พระเจ้าโกรัพยะที่ตรัสถามว่า บางคนออกบวชเพราะแก่ เพราะความเจ็บไข้ เสื่อมจากทรัพย์ ไม่มีญาติ ท่านออกบวชเพราะอะไร พระรัฏฐปาละจึงแสดงธัมมุเทส ๔ ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ ๑.โลกคือความชรานำไปไม่ยั่งยืน ๒.โลกไม่มีเครื่องต้านทานไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน ๓.โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป ๔. โลกพร่องอยู่เป็นนิจไม่รู้จักอิ่มเป็นทาสแห่งตัณหา และพระรัฏฐปาละได้ขยายความแห่งธรรมนี้ถวาย ทำให้พระเจ้าโกรัพยะทรงเสื่อมใสยิ่งนัก
ที่กล่าวมาแล้วนี้ แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนคนให้พ้นจากความเป็นทาสภายใน คือกิเลสตัณหาที่เป็นนายคอยควบคุมคนให้ตกอยู่ในอำนาจของมัน ซึ่งจำเป็นจะต้องขจัดให้หมดสิ้นไปโดยสิ้นเชิง ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรมและรู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมอย่างถ่องแท้
อย่ามัวแต่ตกเป็นทาสทางใจกันอยู่เลย
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 83 ต.ค. 50 โดย ธมฺมจรถ)