การแก้ปัญหาชีวิตประจำวันของเราแต่ละเรื่องแต่ละประการนั้น ควรจะอาศัยความรู้ความชำนาญ หรือประสบการณ์ในชีวิตเป็น เครื่องประกอบ ถ้าไม่มีความชำนาญหรือประสบการณ์ในชีวิตเป็นเครื่องประกอบ เราก็ไม่สามารถจะแก้ไขในเรื่องนั้นๆ ได้ เพราะเหตุนี้แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตักเตือนภิกษุบ้าง อุบาสกอุบาสิกาบ้าง ว่า ท่านทั้งหลายอย่าอยู่ด้วยความประมาท พึงมีสติ ปัญญาคอยกำหนดความเป็นอยู่ของตนไว้ตลอดเวลา
การมีสติปัญญาคอยกำหนดตนนั้น เป็นเรื่องสำคัญซึ่งเราพูดในภาษาไทยว่า มีความรู้สึก มีความสำนึก แล้วก็มีความคิดความเข้าใจในเรื่องนั้นเข้ามา
ในชั้นแรกก็มีความรู้สึกตัวก่อน ต่อไปก็มีความ สำนึกได้ แล้วก็ต่อไปก็เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ขึ้นมา ความรู้สึกนั้นเป็นพื้นฐานขั้นต้นๆ ที่เกิดขึ้นในใจของเรา เช่น เรามีความรู้สึกว่า เรากำลังทำอะไร กำลังพูดเรื่องอะไร กำลังจะไปไหน อันนี้มันเป็นเรื่องธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ เป็นความรู้สึกธรรมดาๆ ที่จะเกิดขึ้นแก่เรา เรียกว่าเป็น ‘ความรู้สึกตัว’
ความรู้สึกตัวนี้ถ้าเกิดบ่อยๆ มันก็เป็นนิสัย เป็นเครื่องห้ามกันบาปอกุศลไม่ให้เกิดขึ้นได้เหมือนกัน คนเราที่มีบาปมีอกุศลเกิดขึ้นในใจ ก็เพราะว่าขาด ความรู้สึกตัว คือไม่รู้ว่ากำลังคิดอะไร กำลังพูดเรื่องอะไร กำลังทำสิ่งใด หรือว่ากำลังจะไปในที่ใด หรือว่ากำลังคบหาสมาคมกับอะไร ไม่รู้ ไม่เข้าใจ คือไม่ได้รู้สึกในเรื่องนั้น เพราะไม่รู้สึกตัว จึงกระทำเรื่องนั้นลงไป จึงเป็นความเสียหาย แต่ถ้ามีความรู้สึกขึ้น ก็จัดการเรื่องนั้นได้ทันที คล้ายๆกับคนเราเดินถลำ ร่อง บางทีถลำลึก บางทีถลำไปนิดหน่อย คนที่ถลำลงไปนิดหน่อยนั้นก็เพราะรู้สึกตัว พอรู้สึกตัวก็รีบ ชักขึ้นมาเสีย มันก็ไม่ถลำลึกลงไป แต่คนที่ไม่รู้สึก ตัวในขณะนั้นก็ถลำลึกลงไปจมแข้งจมขาทำให้ถลอกปอกเปิก เกิดความเสียหาย
การพูดก็เหมือนกัน บางทีเราพูดอะไรเพลินไป โดยไม่รู้สึกว่ากำลังพูดอะไร พูดจนกลายเป็นโอษฐภัย ถูกตำรวจจับเอาไปขังก็มี อย่างนี้เพราะว่าไม่รู้สึกตัว ว่ากำลังพูดอะไรอยู่ หรือว่าทิฏฐิความคิด เห็นที่ก่อตัวอยู่ในใจของเรา เราก็รู้สึกว่าเรามีความคิดอย่างไร มีความเห็นในรูปใด ความคิดเห็นที่เกิดอยู่ นั้นมันเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
...เพราะฉะนั้นในชีวิตประจำวันของคนเรา จึงต้องศึกษาพิจารณาให้รอบคอบในเรื่องอะไรต่างๆ สำคัญอยู่ที่ความรู้สึกตัว เป็นเรื่องเบื้องต้น เรียกว่า รู้สึกตัวขึ้นมา พอรู้สึกตัวขึ้นมาก็กลับตัวได้ คล้ายๆ กับคนขับรถยนต์ในเวลาค่ำคืน อ่านป้ายถนนไม่เห็น แล้วก็เป็นทางไม่เคยไป พอผิดทางไป แทนที่จะไป สู่จุดที่เราต้องการมันผิดไป พอผิดไปก็สำนึกขึ้นมา ได้ว่าท่าจะไม่ใช่ทางนั้นเสียแล้วน่าจะผิดทางเสียแล้ว นี่เรียกว่ารู้สึกตัวขึ้นมา พอรู้สึกขึ้นมาอย่างนี้เรากลับรถมาทางเดิม แล้วก็มาถึงทางแยก แล้วก็เข้าทางใหม่ต่อไป มันก็ไม่เสียหายเพราะรู้สึกตัวได้ว่าเรามันผิดไปเสียแล้ว ก็เลยกลับใจมาได้
คนเรานี่ถ้าสมมติว่าทำอะไรผิดไป หรือเสียหาย ไป พอรู้สึกตัวแล้วไม่กลับก็ไม่ได้เหมือนกัน ไม่มีทางที่จะแก้ไข เพราะฉะนั้นถ้ารู้สึกตัวแล้วก็ต้องกลับใจ เปลี่ยนใจ เข้าหาแนวทางที่ถูกที่ชอบต่อไป ความรู้สึกเป็นเรื่องที่ดีประการหนึ่ง คนเราจะเกิดความรู้สึกในเรื่องเช่นนี้ได้ ก็ต้องอาศัยการหมั่นกระทำในเรื่องหนึ่ง คือหมั่นคิดว่ามันเรื่องถูกหรือผิด มันจะดีหรือชั่ว จะเสื่อมหรือเจริญ สิ่งนี้มันจะเกิดอะไรขึ้นแก่เรา ให้หมั่นคิดไว้ในรูปอย่างนี้บ่อยๆจิตใจก็จะเคยชินกับความรู้สึกในเรื่องต่างๆ พอทำ อะไรก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า ไม่ได้แล้ว เราจะต้อง เปลี่ยนแปลงแล้ว
...คนเราเมื่อมีความรู้สึกตัวดังที่กล่าวมาแล้ว เป็น เหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตได้ ในบางครั้ง บาง
คราวความรู้สึกตัวมันเกิดขึ้นแล้วมันก็หายไป จึงต้อง มีอีกอย่างหนึ่งเข้ามาช่วยเรียกว่า ‘ความสำนึก’
ความสำนึกมันเกิดขึ้นในใจ อาจจะเกิดขึ้นเพราะ
อะไรก็ได้ เช่นเกิดขึ้นเพราะได้เห็นซากศพ เกิดเพราะเห็นการกระทำของคนอื่นที่ไม่เหมาะไม่ควร แล้วก็ เกิดความสำนึกว่ามันไม่ดีในการที่จะทำเช่นนั้น ทำแล้วเกิดความทุกข์ความเดือดร้อน แล้วก็เปลี่ยนจิต เปลี่ยนใจไม่ทำเรื่องนั้นต่อไป
เพราะพอเกิดความสำนึก ความละอายเกิดตาม มา ความกลัวเกิดตามมา ความยับยั้งชั่งใจก็เกิดตามมา มันก็เกิดผลขึ้นแก่บุคคลผู้นั้น อันนี้เขา เรียกว่า ผู้ร้ายกลับใจ โจรผู้ร้ายกลับใจได้ หรือว่าคนที่ทำผิดไม่ดีไม่งามกลับใจได้ เพราะความสำนึกขึ้น มาอย่างนี้
แต่คนเราบางทีได้พบอะไรเป็นเครื่องเตือนใจ มันก็อย่างนั้น ได้พบแล้วมันก็ผ่านไปเฉยๆ ไม่มีความสำนึกอะไรเกิดขึ้นในใจ ที่เขาเรียกว่า มันยังไม่สุก บุญบารมียังไม่มี แต่ว่าคนบางคนเขาเรียกว่า มันสุกรอบ คล้ายกับผลไม้มันสุกหล่นได้ทันที พอได้ยินได้ฟังอะไรก็สำนึกขึ้นได้ เลิกเลย เปลี่ยน ชีวิตจิตใจเข้าหาความดีงาม
พระองคุลีมาลนั้นก็เหมือนกัน เคยเป็นโจรแต่ได้เกิดความสำนึกขึ้นมาเพราะพระพุทธเจ้า พระ-พุทธเจ้าบอกว่าเราหยุดจากการกระทำความชั่วแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด ก็เกิดสำนึกขึ้นในใจทันที ก้มลง กราบพระพุทธเจ้า แล้วก็ทิ้งดาบ แสดงตนเป็นพุทธมามกะ นี้เขาเรียกว่าเกิดความสำนึกขึ้นในใจ
คนเราถ้าเกิดความสำนึกแล้ว รักษาความสำนึก อันนั้นไว้ในใจตลอดเวลา รับรองว่าจะพ้นจากบาป อกุศล ไม่มีความเสียหายแก่ชีวิตต่อไป...
(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๐)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 83 ต.ค. 50 โดยพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)
การมีสติปัญญาคอยกำหนดตนนั้น เป็นเรื่องสำคัญซึ่งเราพูดในภาษาไทยว่า มีความรู้สึก มีความสำนึก แล้วก็มีความคิดความเข้าใจในเรื่องนั้นเข้ามา
ในชั้นแรกก็มีความรู้สึกตัวก่อน ต่อไปก็มีความ สำนึกได้ แล้วก็ต่อไปก็เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ขึ้นมา ความรู้สึกนั้นเป็นพื้นฐานขั้นต้นๆ ที่เกิดขึ้นในใจของเรา เช่น เรามีความรู้สึกว่า เรากำลังทำอะไร กำลังพูดเรื่องอะไร กำลังจะไปไหน อันนี้มันเป็นเรื่องธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ เป็นความรู้สึกธรรมดาๆ ที่จะเกิดขึ้นแก่เรา เรียกว่าเป็น ‘ความรู้สึกตัว’
ความรู้สึกตัวนี้ถ้าเกิดบ่อยๆ มันก็เป็นนิสัย เป็นเครื่องห้ามกันบาปอกุศลไม่ให้เกิดขึ้นได้เหมือนกัน คนเราที่มีบาปมีอกุศลเกิดขึ้นในใจ ก็เพราะว่าขาด ความรู้สึกตัว คือไม่รู้ว่ากำลังคิดอะไร กำลังพูดเรื่องอะไร กำลังทำสิ่งใด หรือว่ากำลังจะไปในที่ใด หรือว่ากำลังคบหาสมาคมกับอะไร ไม่รู้ ไม่เข้าใจ คือไม่ได้รู้สึกในเรื่องนั้น เพราะไม่รู้สึกตัว จึงกระทำเรื่องนั้นลงไป จึงเป็นความเสียหาย แต่ถ้ามีความรู้สึกขึ้น ก็จัดการเรื่องนั้นได้ทันที คล้ายๆกับคนเราเดินถลำ ร่อง บางทีถลำลึก บางทีถลำไปนิดหน่อย คนที่ถลำลงไปนิดหน่อยนั้นก็เพราะรู้สึกตัว พอรู้สึกตัวก็รีบ ชักขึ้นมาเสีย มันก็ไม่ถลำลึกลงไป แต่คนที่ไม่รู้สึก ตัวในขณะนั้นก็ถลำลึกลงไปจมแข้งจมขาทำให้ถลอกปอกเปิก เกิดความเสียหาย
การพูดก็เหมือนกัน บางทีเราพูดอะไรเพลินไป โดยไม่รู้สึกว่ากำลังพูดอะไร พูดจนกลายเป็นโอษฐภัย ถูกตำรวจจับเอาไปขังก็มี อย่างนี้เพราะว่าไม่รู้สึกตัว ว่ากำลังพูดอะไรอยู่ หรือว่าทิฏฐิความคิด เห็นที่ก่อตัวอยู่ในใจของเรา เราก็รู้สึกว่าเรามีความคิดอย่างไร มีความเห็นในรูปใด ความคิดเห็นที่เกิดอยู่ นั้นมันเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
...เพราะฉะนั้นในชีวิตประจำวันของคนเรา จึงต้องศึกษาพิจารณาให้รอบคอบในเรื่องอะไรต่างๆ สำคัญอยู่ที่ความรู้สึกตัว เป็นเรื่องเบื้องต้น เรียกว่า รู้สึกตัวขึ้นมา พอรู้สึกตัวขึ้นมาก็กลับตัวได้ คล้ายๆ กับคนขับรถยนต์ในเวลาค่ำคืน อ่านป้ายถนนไม่เห็น แล้วก็เป็นทางไม่เคยไป พอผิดทางไป แทนที่จะไป สู่จุดที่เราต้องการมันผิดไป พอผิดไปก็สำนึกขึ้นมา ได้ว่าท่าจะไม่ใช่ทางนั้นเสียแล้วน่าจะผิดทางเสียแล้ว นี่เรียกว่ารู้สึกตัวขึ้นมา พอรู้สึกขึ้นมาอย่างนี้เรากลับรถมาทางเดิม แล้วก็มาถึงทางแยก แล้วก็เข้าทางใหม่ต่อไป มันก็ไม่เสียหายเพราะรู้สึกตัวได้ว่าเรามันผิดไปเสียแล้ว ก็เลยกลับใจมาได้
คนเรานี่ถ้าสมมติว่าทำอะไรผิดไป หรือเสียหาย ไป พอรู้สึกตัวแล้วไม่กลับก็ไม่ได้เหมือนกัน ไม่มีทางที่จะแก้ไข เพราะฉะนั้นถ้ารู้สึกตัวแล้วก็ต้องกลับใจ เปลี่ยนใจ เข้าหาแนวทางที่ถูกที่ชอบต่อไป ความรู้สึกเป็นเรื่องที่ดีประการหนึ่ง คนเราจะเกิดความรู้สึกในเรื่องเช่นนี้ได้ ก็ต้องอาศัยการหมั่นกระทำในเรื่องหนึ่ง คือหมั่นคิดว่ามันเรื่องถูกหรือผิด มันจะดีหรือชั่ว จะเสื่อมหรือเจริญ สิ่งนี้มันจะเกิดอะไรขึ้นแก่เรา ให้หมั่นคิดไว้ในรูปอย่างนี้บ่อยๆจิตใจก็จะเคยชินกับความรู้สึกในเรื่องต่างๆ พอทำ อะไรก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า ไม่ได้แล้ว เราจะต้อง เปลี่ยนแปลงแล้ว
...คนเราเมื่อมีความรู้สึกตัวดังที่กล่าวมาแล้ว เป็น เหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตได้ ในบางครั้ง บาง
คราวความรู้สึกตัวมันเกิดขึ้นแล้วมันก็หายไป จึงต้อง มีอีกอย่างหนึ่งเข้ามาช่วยเรียกว่า ‘ความสำนึก’
ความสำนึกมันเกิดขึ้นในใจ อาจจะเกิดขึ้นเพราะ
อะไรก็ได้ เช่นเกิดขึ้นเพราะได้เห็นซากศพ เกิดเพราะเห็นการกระทำของคนอื่นที่ไม่เหมาะไม่ควร แล้วก็ เกิดความสำนึกว่ามันไม่ดีในการที่จะทำเช่นนั้น ทำแล้วเกิดความทุกข์ความเดือดร้อน แล้วก็เปลี่ยนจิต เปลี่ยนใจไม่ทำเรื่องนั้นต่อไป
เพราะพอเกิดความสำนึก ความละอายเกิดตาม มา ความกลัวเกิดตามมา ความยับยั้งชั่งใจก็เกิดตามมา มันก็เกิดผลขึ้นแก่บุคคลผู้นั้น อันนี้เขา เรียกว่า ผู้ร้ายกลับใจ โจรผู้ร้ายกลับใจได้ หรือว่าคนที่ทำผิดไม่ดีไม่งามกลับใจได้ เพราะความสำนึกขึ้น มาอย่างนี้
แต่คนเราบางทีได้พบอะไรเป็นเครื่องเตือนใจ มันก็อย่างนั้น ได้พบแล้วมันก็ผ่านไปเฉยๆ ไม่มีความสำนึกอะไรเกิดขึ้นในใจ ที่เขาเรียกว่า มันยังไม่สุก บุญบารมียังไม่มี แต่ว่าคนบางคนเขาเรียกว่า มันสุกรอบ คล้ายกับผลไม้มันสุกหล่นได้ทันที พอได้ยินได้ฟังอะไรก็สำนึกขึ้นได้ เลิกเลย เปลี่ยน ชีวิตจิตใจเข้าหาความดีงาม
พระองคุลีมาลนั้นก็เหมือนกัน เคยเป็นโจรแต่ได้เกิดความสำนึกขึ้นมาเพราะพระพุทธเจ้า พระ-พุทธเจ้าบอกว่าเราหยุดจากการกระทำความชั่วแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด ก็เกิดสำนึกขึ้นในใจทันที ก้มลง กราบพระพุทธเจ้า แล้วก็ทิ้งดาบ แสดงตนเป็นพุทธมามกะ นี้เขาเรียกว่าเกิดความสำนึกขึ้นในใจ
คนเราถ้าเกิดความสำนึกแล้ว รักษาความสำนึก อันนั้นไว้ในใจตลอดเวลา รับรองว่าจะพ้นจากบาป อกุศล ไม่มีความเสียหายแก่ชีวิตต่อไป...
(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๐)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 83 ต.ค. 50 โดยพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)