ปัจจุบัน กระแสของศาสตร์แพทย์ทางเลือก ซึ่งไม่ได้รักษาด้วยการใช้ยาเพียงอย่างเดียวนั้น ได้แพร่หลายไปทั่วโลก เพราะเป็นการดูแลรักษาสุขภาพทางหนึ่งที่คนโบราณใช้กันมานมนาน ตั้งแต่ยุคกรีก-โรมัน กันเลยทีเดียว ดังนั้น ฉบับนี้จึงขอนำเรื่องราวของศาสตร์แพทย์ทางเลือกเกี่ยวกับเรื่องใบหน้าบอกโรคมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
การสังเกตโรคจากใบหน้าถือเป็นขั้นตอนหนึ่งในการรักษาโรคตามแนวทางแพทย์ทาง เลือก ที่สามารถบ่งบอกอาการผิดปกติของร่างกายจากการสังเกตลักษณะบนใบหน้า ซึ่งแบ่ง ออกได้เป็นศาสตร์แบบจีนและอินเดีย ที่น่าเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง ขนาดที่องค์การอนามัยโรค เองก็ยังมีความสนใจนำศาสตร์แพทย์ทางเลือกเหล่านี้ไปใช้ประกอบการรักษาโรคให้คนไข้ ควบคู่ไปกับการแพทย์แผนปัจจุบันด้วย เพื่อให้การรักษาโรคสัมฤทธิ์ผลมากที่สุดนั่นเอง
ศาสตร์แบบแพทย์แผนจีนสำหรับการรักษาโรคด้วยการใช้วิธีสังเกตใบหน้านั้น มีความ เชื่อว่า ลักษณะของอวัยวะต่างๆที่อยู่บนใบหน้า สามารถใช้เป็นแผนที่บ่งบอกถึงความผิดปกติหรือไม่ปกติของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้เกือบทั้งหมด ซึ่งแพทย์ผู้รักษาจะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการดู เพื่อทำการวินิจฉัยโรคตามแบบจีนโบราณวินิจฉัยไปพร้อมๆ กับขั้นตอนวินิจฉัยอื่นๆ ได้แก่ การฟัง การดมกลิ่น การซักถามอาการคนไข้อย่างเป็นระบบ การคลำดูว่ามีอาการผิดปกติของร่างกายที่ใดบ้างและการคลำชีพจร
การตรวจเบื้องต้นตามแผนจีนนี้จะวินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยขั้นตอนข้างต้นเสียก่อน จากนั้นจึงจะลงมือทำการรักษาดังนี้ คือ ปรับวิถีการดำเนินชีวิต หันมาใช้ชีวิตอย่างเต๋า หรือตามวิถีพุทธ, ใช้การนวดแบบจีน, ใช้วิธีการฝังเข็ม, ใช้สมุนไพรในการรักษา
โดยการรักษาแบบจีนนี้ ถ้าต้องการให้ได้ผลดีนั้น ภายหลังจากที่วินิจฉัยโรคครบทุกขั้นตอนแล้ว แพทย์จะต้องเลือกใช้วิธีการรักษาคนไข้อย่างน้อย 2 วิธี เช่น เลือกใช้การฝังเข็มร่วมกับการนวด หรือการใช้สมุนไพรร่วมกับการฝังเข็ม เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อการรักษาตามศาสตร์ของจีนให้เป็นไปอย่างสัมฤทธิ์ผลที่สุด
ส่วนการดูลักษณะใบหน้าที่บ่งชี้ไปถึงสุขภาพภายในของร่างกายนั้น มีหลักทั่วไปที่ สามารถเห็นได้ชัดเจน ดังนี้
เส้นตั้งระหว่างคิ้วข้างซ้าย หมายถึงตับ ส่วนข้างขวา หมายถึง ม้าม ถุงใต้ตา สื่อถึง ไต จมูก หมายถึง ปอด ปลายจมูก คือ หัวใจ ส่วนเส้นแนวนอนบนหน้าผาก คือ ลำไส้ ปาก คือกระเพาะอาหาร และร่องใต้จมูกคืออวัยวะเพศชาย เมื่อทราบถึงตำแหน่งบนใบหน้าที่บ่งชี้ ถึงอวัยวะภายในกันแล้ว
คราวนี้ หากต้องการจะสังเกตด้วยตัวเอง ก็มีวิธีการง่ายๆ ดังนี้ค่ะ
1. เมื่อกินอาหารรสเผ็ดแล้ว มักจะมีเหงื่อออกตรงหน้าผาก แสดงว่าลำไส้คุณอาจจะมีปัญหาได้
2. หากริ้วรอยที่เกิดเป็นเส้นตั้งและเส้นตะแคง ตรงบริเวณหน้าผาก แสดงว่าตับของคุณไม่ดี
3. ถ้าเกิดรอยคล้ำที่ดำผิดปกติ ตรงบริเวณใต้ตา ทั้งที่ตัวคุณเองก็ไม่ได้อดหลับอดนอน อาจจะสันนิษฐานได้ว่า มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับไตทั้ง 2 ข้างได้
4. ลองสังเกตที่ใบหูทั้ง 2 ข้าง ถ้าใบหูแดงกว่าใบหน้า ก็อย่า!ชะล่าใจเป็นอันขาดเพราะอาจมีความผิดปกติของไตเกิดขึ้น
5. สำหรับลูกนัยน์ตาของคนเรา ศาสตร์แพทย์แผนจีน ให้ข้อสังเกตไว้ว่า เราสามารถ เห็นตาขาวได้ถึง 3 ด้าน นอกเหนือจากตาขาวฝั่งซ้าย-ขวา ของตาดำ ที่เป็นปกติ นั่นคือ
การเห็นตาขาวด้านที่ 3 เพิ่มขึ้นมา สำหรับคนที่เห็นตาขาวด้านที่ 3 อยู่ด้านล่างของตาดำ นั้นเป็นอาการบ่งชี้ว่า คุณอาจจะรับประทานอาการจำพวกโปรตีนมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ตามมาได้ ส่วนใครที่สามารถสังเกตเห็นตาขาวด้านที่ 3 อยู่ข้างบนตาดำ นั่นแสดงว่า คุณเป็นคนที่ไวต่ออาหารรสหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้น้ำตาลสูง หรืออาหารจำพวกแป้งบ้าง ก็จะเกิดผลดีต่อสุขภาพมากกว่า
นอกจากนี้ ศาสตร์แพทย์แผนจีนยังอธิบายเพิ่มเติมถึงการสังเกตลักษณะบนใบหน้าด้วยว่า โครงหน้าของคนเรานั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นแบบหยิน และหยาง กล่าวคือ ใบหน้าแบบ ‘หยาง’ ซึ่งมีลักษณะข้างบนเล็กแหลม คางกว้าง จะสันทัดในภาคปฏิบัติและมีความอดทนมากกว่าการใช้สมอง และมักมีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย จึงเหมาะมากที่จะใช้ศิลปะเข้ามา ช่วยสร้างความสมดุล อาทิ การใช้ดนตรีเข้าช่วยขัดเกลาอารมณ์ ส่วนผู้ที่มีลักษณะตรงกันข้ามแบบ ‘หยิน’ คือ มีหน้าผากกว้าง ปลายคางเล็กแหลม จะบ่งบอกได้ว่าเป็นคนที่มีความฉลาด ถนัดเรื่องการคิด แต่ขาดความอดทน คนลักษณะแบบนี้จึงต้องเสริมเรื่องการออกกำลังกายให้มากขึ้น เพื่อสร้างสมดุลในการใช้ชีวิต ขณะเดียวกันก็เป็นการกระตุ้นให้ร่างกาย แข็งแรงจากการออกกำลังกายได้มากขึ้นด้วย
ส่วนการสังเกตโรคจากใบหน้าตามศาสตร์แพทย์อินเดีย ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการ ตรวจวินิจฉัยโรคตามวิธีของอินเดียเช่นกัน เพราะถ้าจะต้องรักษาโรคกันแบบครบสูตรเพื่อให้คนไข้หายดีแล้ว วิธีการของอินเดียจะมีขั้นตอนมากมายอยู่พอสมควรค่ะ โดยหลักใหญ่นั้น วิธีการรักษาจะเน้นให้แพทย์ทำความรู้จักกับคนให้ถ่องแท้เสียก่อน ด้วยเชื่อว่า ถ้าจะรักษาคนแล้ว ถ้ายังไม่รู้จักคนอย่างดีพอก็เป็นการยากที่จะรักษาโรคได้ดี ซึ่งการแพทย์ของอินเดีย นั้นไม่ได้ปักใจว่าการมองเพียงใบหน้าและดวงตา จะสามารถบ่งชี้ถึงสุขภาพภายในได้ทั้งหมด แต่ต้องสังเกตถึงน้ำเสียงที่พูดออกมา ลิ้น ผิวพรรณ อุจจาระ ปัสสาวะและการจับชีพจร แต่การจับชีพจรของอินเดียจะไม่บอกอะไรลึกซึ้งมากเท่ากับศาสตร์ของจีนแต่อย่างใด เพราะตาม แบบอินเดียนั้นการจับชีพจรก็เพื่อจับจังหวะการเต้นของหัวใจ คล้ายกับการแพทย์แผนปัจจุบัน จากนั้นเมื่อสังเกตสิ่งต่างๆข้างต้นแล้ว การวินิจฉัยขั้นต่อไปอย่างลงรายละเอียด นั่นคือ
1. พิจารณาถึงสภาพแวดล้อม ถิ่นกำเนิดของผู้ป่วย
2. ซักประวัติถึงวิถีชีวิตของคนไข้ว่าเบี่ยงเบนไปจากกิจวัตรที่ควรจะเป็นหรือไม่ เช่น มักจะนอนดึกบ่อยครั้ง หรืออาจจะกินข้าวไม่ตรงเวลา เป็นต้น
3. สังเกตลักษณะเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ ไขมัน กระดูก
4. ความดึงดูดทางเพศ เพราะถ้ามีฮอร์โมนเพศและเนื้อเยื่อที่เหมาะสม ไม่ผิดปกติแล้ว ร่างกายก็จะแข็งแรงตามมา และไม่กระทบกับการเข้าสังคมอีกด้วย
5. สังเกตสัดส่วน โดยเปรียบเทียบกันระหว่างความยาวของแขนเมื่อกางออก กับความสูง ซึ่งผู้ที่มีสัดส่วนทั้งสองยาวเท่ากันจะเป็นคนที่รักษาโรคได้ง่ายกว่า
6. พิจารณาร่างกายจากความแกร่งในทุกสภาวะ ซึ่งถ้าใครสามารถปรับตัวได้ดีร่างกายก็จะทนต่อโรคภัยไข้เจ็บได้มากกว่า
7. สังเกตจากสภาวะทางอารมณ์
8. ดูลักษณะไฟธาตุ ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงลักษณะนิสัยและอารมณ์ได้
9. สังเกตความอ่อนเยาว์ของใบหน้าของคนที่มีอายุเท่ากัน คนที่หน้าอ่อนเยาว์กว่า ก็จะรักษาให้หายได้เร็วกว่านั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม ศาสตร์แบบอินเดีย ก็ยังเชื่อด้วยว่า เฉพาะปากของคนเรายังสามารถ บอกถึงระบบการย่อยอาหารได้ทั้งหมด กล่าวคือ ริมฝีปากบน บอกถึงกระเพาะอาหาร ริมฝีปากล่างแสดงการทำงานของลำไส้ เช่น คนที่มีริมฝีปากล่างหนา จะบ่งบอกว่าในอนาคต แนวโน้มสุขภาพจะไม่ค่อยดี ส่วนบริเวณมุมปาก บอกเกี่ยวกับไต ดังนั้น หากเกิดร้อนใน ตรงบริเวณมุมปาก ก็อาจจะบ่งชี้ถึงสุขภาพไตได้เหมือนกัน
แต่ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์ชาติไหน สรุปง่ายๆว่า หลักของธรรมชาติบำบัดนอกเหนือวิธีการ สังเกตโรคจากใบหน้าแล้ว ต้องจำไว้เสมอว่า...
การรักษาโรคสำหรับคนหนึ่ง อาจใช้ไม่ได้กับอีกคนหนึ่งค่ะ ขณะเดียวกันจะรักษาให้หายดี ในเชิงลึก ก็ต้องให้ความสำคัญ ทั้งร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณและสิ่งแวดล้อมเท่าๆกัน พร้อมกันนี้ตัวคุณเองก็ต้องมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีเยียวยารักษาตัวเองด้วยทุกครั้ง โดยไม่ลืมว่า วิธีต่างๆที่เลือกมารักษาอาการเจ็บป่วยนั้น ทั้งหมดล้วนแต่เป็นการช่วยร่างกายให้สามารถหายจากโรคด้วยตัวมันเองค่ะ
บทสรุปจากรื่องนี้ คือตามีไว้มอง สมองมีไว้คิด ไม่ว่าโรคไหนจะมาเยือน การตัดสินใจเลือกวิธีรักษา เป็นของคุณค่ะ
(หมายเหตุ : เรียบเรียงจากการบรรยายของ นพ.อำนาจ ชัยชลทรัพย์ ในงานอุทยานอนุรักษ์สุขภาพ ครั้งที่ 19 ณ บ้านเจ้าพระยา จัดโดยโครงการผู้จัดการสุขภาพ)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 82 ก.ย. 50 โดยอันดาภา)
การสังเกตโรคจากใบหน้าถือเป็นขั้นตอนหนึ่งในการรักษาโรคตามแนวทางแพทย์ทาง เลือก ที่สามารถบ่งบอกอาการผิดปกติของร่างกายจากการสังเกตลักษณะบนใบหน้า ซึ่งแบ่ง ออกได้เป็นศาสตร์แบบจีนและอินเดีย ที่น่าเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง ขนาดที่องค์การอนามัยโรค เองก็ยังมีความสนใจนำศาสตร์แพทย์ทางเลือกเหล่านี้ไปใช้ประกอบการรักษาโรคให้คนไข้ ควบคู่ไปกับการแพทย์แผนปัจจุบันด้วย เพื่อให้การรักษาโรคสัมฤทธิ์ผลมากที่สุดนั่นเอง
ศาสตร์แบบแพทย์แผนจีนสำหรับการรักษาโรคด้วยการใช้วิธีสังเกตใบหน้านั้น มีความ เชื่อว่า ลักษณะของอวัยวะต่างๆที่อยู่บนใบหน้า สามารถใช้เป็นแผนที่บ่งบอกถึงความผิดปกติหรือไม่ปกติของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้เกือบทั้งหมด ซึ่งแพทย์ผู้รักษาจะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการดู เพื่อทำการวินิจฉัยโรคตามแบบจีนโบราณวินิจฉัยไปพร้อมๆ กับขั้นตอนวินิจฉัยอื่นๆ ได้แก่ การฟัง การดมกลิ่น การซักถามอาการคนไข้อย่างเป็นระบบ การคลำดูว่ามีอาการผิดปกติของร่างกายที่ใดบ้างและการคลำชีพจร
การตรวจเบื้องต้นตามแผนจีนนี้จะวินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยขั้นตอนข้างต้นเสียก่อน จากนั้นจึงจะลงมือทำการรักษาดังนี้ คือ ปรับวิถีการดำเนินชีวิต หันมาใช้ชีวิตอย่างเต๋า หรือตามวิถีพุทธ, ใช้การนวดแบบจีน, ใช้วิธีการฝังเข็ม, ใช้สมุนไพรในการรักษา
โดยการรักษาแบบจีนนี้ ถ้าต้องการให้ได้ผลดีนั้น ภายหลังจากที่วินิจฉัยโรคครบทุกขั้นตอนแล้ว แพทย์จะต้องเลือกใช้วิธีการรักษาคนไข้อย่างน้อย 2 วิธี เช่น เลือกใช้การฝังเข็มร่วมกับการนวด หรือการใช้สมุนไพรร่วมกับการฝังเข็ม เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อการรักษาตามศาสตร์ของจีนให้เป็นไปอย่างสัมฤทธิ์ผลที่สุด
ส่วนการดูลักษณะใบหน้าที่บ่งชี้ไปถึงสุขภาพภายในของร่างกายนั้น มีหลักทั่วไปที่ สามารถเห็นได้ชัดเจน ดังนี้
เส้นตั้งระหว่างคิ้วข้างซ้าย หมายถึงตับ ส่วนข้างขวา หมายถึง ม้าม ถุงใต้ตา สื่อถึง ไต จมูก หมายถึง ปอด ปลายจมูก คือ หัวใจ ส่วนเส้นแนวนอนบนหน้าผาก คือ ลำไส้ ปาก คือกระเพาะอาหาร และร่องใต้จมูกคืออวัยวะเพศชาย เมื่อทราบถึงตำแหน่งบนใบหน้าที่บ่งชี้ ถึงอวัยวะภายในกันแล้ว
คราวนี้ หากต้องการจะสังเกตด้วยตัวเอง ก็มีวิธีการง่ายๆ ดังนี้ค่ะ
1. เมื่อกินอาหารรสเผ็ดแล้ว มักจะมีเหงื่อออกตรงหน้าผาก แสดงว่าลำไส้คุณอาจจะมีปัญหาได้
2. หากริ้วรอยที่เกิดเป็นเส้นตั้งและเส้นตะแคง ตรงบริเวณหน้าผาก แสดงว่าตับของคุณไม่ดี
3. ถ้าเกิดรอยคล้ำที่ดำผิดปกติ ตรงบริเวณใต้ตา ทั้งที่ตัวคุณเองก็ไม่ได้อดหลับอดนอน อาจจะสันนิษฐานได้ว่า มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับไตทั้ง 2 ข้างได้
4. ลองสังเกตที่ใบหูทั้ง 2 ข้าง ถ้าใบหูแดงกว่าใบหน้า ก็อย่า!ชะล่าใจเป็นอันขาดเพราะอาจมีความผิดปกติของไตเกิดขึ้น
5. สำหรับลูกนัยน์ตาของคนเรา ศาสตร์แพทย์แผนจีน ให้ข้อสังเกตไว้ว่า เราสามารถ เห็นตาขาวได้ถึง 3 ด้าน นอกเหนือจากตาขาวฝั่งซ้าย-ขวา ของตาดำ ที่เป็นปกติ นั่นคือ
การเห็นตาขาวด้านที่ 3 เพิ่มขึ้นมา สำหรับคนที่เห็นตาขาวด้านที่ 3 อยู่ด้านล่างของตาดำ นั้นเป็นอาการบ่งชี้ว่า คุณอาจจะรับประทานอาการจำพวกโปรตีนมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ตามมาได้ ส่วนใครที่สามารถสังเกตเห็นตาขาวด้านที่ 3 อยู่ข้างบนตาดำ นั่นแสดงว่า คุณเป็นคนที่ไวต่ออาหารรสหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้น้ำตาลสูง หรืออาหารจำพวกแป้งบ้าง ก็จะเกิดผลดีต่อสุขภาพมากกว่า
นอกจากนี้ ศาสตร์แพทย์แผนจีนยังอธิบายเพิ่มเติมถึงการสังเกตลักษณะบนใบหน้าด้วยว่า โครงหน้าของคนเรานั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นแบบหยิน และหยาง กล่าวคือ ใบหน้าแบบ ‘หยาง’ ซึ่งมีลักษณะข้างบนเล็กแหลม คางกว้าง จะสันทัดในภาคปฏิบัติและมีความอดทนมากกว่าการใช้สมอง และมักมีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย จึงเหมาะมากที่จะใช้ศิลปะเข้ามา ช่วยสร้างความสมดุล อาทิ การใช้ดนตรีเข้าช่วยขัดเกลาอารมณ์ ส่วนผู้ที่มีลักษณะตรงกันข้ามแบบ ‘หยิน’ คือ มีหน้าผากกว้าง ปลายคางเล็กแหลม จะบ่งบอกได้ว่าเป็นคนที่มีความฉลาด ถนัดเรื่องการคิด แต่ขาดความอดทน คนลักษณะแบบนี้จึงต้องเสริมเรื่องการออกกำลังกายให้มากขึ้น เพื่อสร้างสมดุลในการใช้ชีวิต ขณะเดียวกันก็เป็นการกระตุ้นให้ร่างกาย แข็งแรงจากการออกกำลังกายได้มากขึ้นด้วย
ส่วนการสังเกตโรคจากใบหน้าตามศาสตร์แพทย์อินเดีย ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการ ตรวจวินิจฉัยโรคตามวิธีของอินเดียเช่นกัน เพราะถ้าจะต้องรักษาโรคกันแบบครบสูตรเพื่อให้คนไข้หายดีแล้ว วิธีการของอินเดียจะมีขั้นตอนมากมายอยู่พอสมควรค่ะ โดยหลักใหญ่นั้น วิธีการรักษาจะเน้นให้แพทย์ทำความรู้จักกับคนให้ถ่องแท้เสียก่อน ด้วยเชื่อว่า ถ้าจะรักษาคนแล้ว ถ้ายังไม่รู้จักคนอย่างดีพอก็เป็นการยากที่จะรักษาโรคได้ดี ซึ่งการแพทย์ของอินเดีย นั้นไม่ได้ปักใจว่าการมองเพียงใบหน้าและดวงตา จะสามารถบ่งชี้ถึงสุขภาพภายในได้ทั้งหมด แต่ต้องสังเกตถึงน้ำเสียงที่พูดออกมา ลิ้น ผิวพรรณ อุจจาระ ปัสสาวะและการจับชีพจร แต่การจับชีพจรของอินเดียจะไม่บอกอะไรลึกซึ้งมากเท่ากับศาสตร์ของจีนแต่อย่างใด เพราะตาม แบบอินเดียนั้นการจับชีพจรก็เพื่อจับจังหวะการเต้นของหัวใจ คล้ายกับการแพทย์แผนปัจจุบัน จากนั้นเมื่อสังเกตสิ่งต่างๆข้างต้นแล้ว การวินิจฉัยขั้นต่อไปอย่างลงรายละเอียด นั่นคือ
1. พิจารณาถึงสภาพแวดล้อม ถิ่นกำเนิดของผู้ป่วย
2. ซักประวัติถึงวิถีชีวิตของคนไข้ว่าเบี่ยงเบนไปจากกิจวัตรที่ควรจะเป็นหรือไม่ เช่น มักจะนอนดึกบ่อยครั้ง หรืออาจจะกินข้าวไม่ตรงเวลา เป็นต้น
3. สังเกตลักษณะเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ ไขมัน กระดูก
4. ความดึงดูดทางเพศ เพราะถ้ามีฮอร์โมนเพศและเนื้อเยื่อที่เหมาะสม ไม่ผิดปกติแล้ว ร่างกายก็จะแข็งแรงตามมา และไม่กระทบกับการเข้าสังคมอีกด้วย
5. สังเกตสัดส่วน โดยเปรียบเทียบกันระหว่างความยาวของแขนเมื่อกางออก กับความสูง ซึ่งผู้ที่มีสัดส่วนทั้งสองยาวเท่ากันจะเป็นคนที่รักษาโรคได้ง่ายกว่า
6. พิจารณาร่างกายจากความแกร่งในทุกสภาวะ ซึ่งถ้าใครสามารถปรับตัวได้ดีร่างกายก็จะทนต่อโรคภัยไข้เจ็บได้มากกว่า
7. สังเกตจากสภาวะทางอารมณ์
8. ดูลักษณะไฟธาตุ ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงลักษณะนิสัยและอารมณ์ได้
9. สังเกตความอ่อนเยาว์ของใบหน้าของคนที่มีอายุเท่ากัน คนที่หน้าอ่อนเยาว์กว่า ก็จะรักษาให้หายได้เร็วกว่านั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม ศาสตร์แบบอินเดีย ก็ยังเชื่อด้วยว่า เฉพาะปากของคนเรายังสามารถ บอกถึงระบบการย่อยอาหารได้ทั้งหมด กล่าวคือ ริมฝีปากบน บอกถึงกระเพาะอาหาร ริมฝีปากล่างแสดงการทำงานของลำไส้ เช่น คนที่มีริมฝีปากล่างหนา จะบ่งบอกว่าในอนาคต แนวโน้มสุขภาพจะไม่ค่อยดี ส่วนบริเวณมุมปาก บอกเกี่ยวกับไต ดังนั้น หากเกิดร้อนใน ตรงบริเวณมุมปาก ก็อาจจะบ่งชี้ถึงสุขภาพไตได้เหมือนกัน
แต่ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์ชาติไหน สรุปง่ายๆว่า หลักของธรรมชาติบำบัดนอกเหนือวิธีการ สังเกตโรคจากใบหน้าแล้ว ต้องจำไว้เสมอว่า...
การรักษาโรคสำหรับคนหนึ่ง อาจใช้ไม่ได้กับอีกคนหนึ่งค่ะ ขณะเดียวกันจะรักษาให้หายดี ในเชิงลึก ก็ต้องให้ความสำคัญ ทั้งร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณและสิ่งแวดล้อมเท่าๆกัน พร้อมกันนี้ตัวคุณเองก็ต้องมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีเยียวยารักษาตัวเองด้วยทุกครั้ง โดยไม่ลืมว่า วิธีต่างๆที่เลือกมารักษาอาการเจ็บป่วยนั้น ทั้งหมดล้วนแต่เป็นการช่วยร่างกายให้สามารถหายจากโรคด้วยตัวมันเองค่ะ
บทสรุปจากรื่องนี้ คือตามีไว้มอง สมองมีไว้คิด ไม่ว่าโรคไหนจะมาเยือน การตัดสินใจเลือกวิธีรักษา เป็นของคุณค่ะ
(หมายเหตุ : เรียบเรียงจากการบรรยายของ นพ.อำนาจ ชัยชลทรัพย์ ในงานอุทยานอนุรักษ์สุขภาพ ครั้งที่ 19 ณ บ้านเจ้าพระยา จัดโดยโครงการผู้จัดการสุขภาพ)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 82 ก.ย. 50 โดยอันดาภา)