ปัญหาที่ถูกยกขึ้นมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ก็คือ ปัญหาของภาวะโลกร้อน ที่แผ่กระจายไปทั่วโลก ทำให้ผู้คนต้องสูญเสียชีวิตไปไม่ใช่น้อย ทำให้ภูเขาน้ำแข็งในขั้วโลกละลาย ส่งผลให้ปริมาณและระดับน้ำในทะเลเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดคลื่นลม และพายุที่รุนแรง จนทำให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลพังทลาย และมีน้ำท่วมสูงขึ้นทุกวัน บางพื้นที่ของโลกเกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทำให้ภูเขาและดินโคลนถล่มท่วมทับบ้านเรือนพังพินาศ ทำให้รอยต่อของเปลือกโลกเคลื่อนตัว เป็นเหตุให้แผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นต้น นับเป็นภัยคุกคามที่ทำให้เกิดความสูญเสียแก่มนุษยชาติอย่างมหันต์ทีเดียว ภาวะโลกร้อนจึงเป็นมหันตภัยของโลกอย่างแท้จริง
เมื่อพูดถึงโลก ตามหลักธรรมะในพระพุทธศาสนา ท่านวิเคราะห์ศัพท์ไว้ว่า ลุจฺจตีติ โลโก สิ่งใดย่อมแตกสลายไป สิ่งนั้นเรียกว่าโลก โดยนัยนี้แสดงว่าโลกโดยตัวของมันย่อม เปลี่ยนแปลงและสลายไปในที่สุด แต่ถ้ามีปัจจัยภายนอกมา สนับสนุน ความเสื่อมสลายของโลกก็ย่อมจะรุนแรงขึ้น และใช้ระยะเวลาของความล่มสลาย และแตกทำลายได้เร็วกว่าที่ มันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
อนึ่ง ท่านยังได้จำแนกโลกออกเป็น ๓ ดังนี้ คือ
๑. สังขารโลก โลกคือสังขาร ได้แก่ สภาวธรรมที่อยู่ภาย ใต้เงื่อนไขของธรรมชาติ ที่ถูกปรุงแต่งไปตามเหตุปัจจัย เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ชื่อว่าสังขารโลก หรือกล่าวโดยสรุปแม้ตัวเราเองก็เป็นโลกโลกหนึ่งที่เราชอบพูดกันว่า โลกส่วนตัวของคนนั้นคนนี้ เป็นต้น พระพุทธเจ้าสอนมาสองพันกว่าปีแล้ว แต่เราเพิ่งจะรู้จัก และนำมาใช้ นอกจากนี้ สิ่งทั้งหลายที่เป็นภูเขา ทะเล ต้นไม้ ป่าไม้ ก้อนหิน เป็นต้น ล้วนจัดเป็นสังขารโลกทั้งสิ้น
๒. สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย จะเป็นคนเป็นสัตว์ เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ก็ตาม รวมเรียก ว่าสัตวโลกทั้งสิ้น เพราะตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขของความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกดับ หรือสลายไปในในที่สุด พูดสั้นๆ ก็คือ มนุษย์และสัตว์ เกิดมาแล้ว ก็ตั้งอยู่บนความแก่ และแตกสลาย ก็คือความตายนั่นเอง
๓. โอกาสโลก โลกคือ อวกาศ หรือท้องฟ้าที่มีความกว้างใหญ่ไพศาล คือชั้นของบรรยากาศ ที่นิยมเรียกกันว่า ห้วงจักรวาล รวมทั้งดวงดาวต่างๆ อันเป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์ในภพในภูมินั้นๆ
เพราะฉะนั้น ภาวะโลกร้อนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ล้วนเป็นภาวะคุกคาม สังขารโลก สัตวโลก และโอกาสโลกให้แตกสลายทำลายไปตามสภาวธรรมของธรรมชาติ และปัจจัยภายนอกที่เข้ามาสนับสนุน เช่น ไฟป่าโดยธรรมชาติ มนุษย์สามารถป้องกันหรือควบคุมให้อยู่ในพื้นที่อันจำกัดได้ แต่ไม่ทำและที่ร้ายไปกว่านั้น มนุษย์นั่นเองที่จุดไฟเผาป่าให้เกิดความสูญเสียมากกว่าไฟป่าตามธรรมชาติเสียอีก นี่เป็น ตัวอย่างหนึ่งของหลายตัวอย่าง ที่จะกล่าวในข้างหน้า
สิ่งที่น่าคิดก็คือ โลกที่ร้อนมันร้อนขึ้นมาได้อย่างไร อะไรทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น ในพระพุทธศาสนาได้กล่าวว่าไฟ ภายในจิตใจของมนุษย์ ที่แผดเผาและแผ่ความร้อนออกไปสู่ภายนอก อันเป็นมหันตภัยคุกคามโลกไว้ ๓ อย่าง คือ
ราคัคคิ ไฟคือราคะ ได้แก่ความกำหนัดยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่น่าใคร่น่าปรารถนา เมื่อไม่ได้ชื่นชมย่อมทุรนทุราย ไขว่คว้าแสวงหา ครั้นได้มาแล้วก็ไม่สมอยาก ยังอยากต่อไป หรือการตามตรึกถึงอารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนาที่เคยเสพสุขมาในอดีต ก็เกิดเผาลนจิตให้โหยหา ไม่เว้นว่าง ไฟคือราคะตามนัยนี้ ท่านมุ่งสอนพระ เพราะมุ่งความหลุดพ้น แต่ราคะที่สอนชาวบ้านนั้น ท่านเรียกว่า ความโลภ คืออยากได้ไม่มีสิ้นสุด มีเท่าไรไม่รู้จักพอ และที่เดือดร้อนมาก ก็คือ การรุกล้ำกล้ำเกินในสิทธิของคนอื่นในอันที่จะได้มาอยู่ในความครอบครองของตน เช่น รุกล้ำที่สาธารณะ เผาป่าเพื่อยึดครองที่ดินทำกิน ตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำลำธาร บุกรุกป่าชายเลน เป็นต้น แม้ในการทำอุตสาหกรรม ก็ไม่คำนึงถึงศีลธรรม จริยธรรม ก่อให้เกิดการเบียดเบียนทำลาย ธรรมชาติ เช่น ปล่อยน้ำเสียลงคูคลองสาธารณะ ปล่อยก๊าซ เรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศของโลก นี่คือต้นเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน
โทสัคคิ ไฟคือโทสะ ได้แก่ความไม่พึงพอใจ หรือความ ขัดเคืองใจ เมื่อคนอื่นทำอะไรให้ตนไม่พอใจ หรือปรารถนา สิ่งใดไว้แต่มีคนมาแย่งชิงไปเสียก่อน ก็เกิดความแค้นเคือง เผาลนจิตของตนอยู่ตลอดเวลา อดทนอยู่ไม่ได้ ก็มีการต่อสู้ ประหัตประหารกัน สงครามใหญ่น้อย การรบราฆ่าฟันกัน นอกจากจะเกิดจากความโลภแล้วยังมีโทสะเป็นเครื่องสนับสนุนอีกด้วย โลกจึงร้อนไปด้วยเสียงปืน เสียงระเบิดนานาชนิด และขยายวงกว้างออกไปทุกทีๆ ไม่มีสัญญาณจะยุติลงง่ายๆ
โมหัคคิ ไฟคือโมหะ ความหลง ความไม่รู้จริงในสภาวะทั้งปวง ก่อให้เกิดการคิดผิด ทำผิด พูดผิด ยึดเอาความเห็น ของตนเป็นใหญ่ สำคัญตนเองว่าเลิศประเสริฐกว่าคนอื่น มองคนอื่นว่าเลวกว่าตน เป็นต้น ยึดถือในความเป็นตัวตนสูงมาก บางครั้งอาจเซื่องซึม แต่บางครั้งก็ฟุ้งซ่านเกินเหตุ จน ควบคุมไม่ได้ และกลายเป็นปัจจัยสนับสนุนไฟคือราคะและไฟคือโทสะให้ทวีความรุนแรงขึ้น จึงเห็นได้ว่า ทำไมคนทำชั่วแล้วยังทำชั่วซ้ำซาก ก็เพราะไฟคือโมหะนี้แหละ เป็นตัวปิดกั้นไม่ให้เขาเห็นความถูกต้อง โลกจึงเดือดร้อนเพราะคนพวกนี้อยู่ไม่น้อย
เพราะฉะนั้น ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ไม่ใช่เกิด จากเงื่อนไขตามธรรมชาติอย่างเดียว แต่มนุษย์นี้แหละตัวดี เป็นตัวการทำให้โลกร้อน และเป็นมหันตภัยคุกคามไปตราบ เท่าที่กิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง ยังลุกโชนอยู่ในจิตใจของมนุษย์
โลกย่อมถึงกาลแตกสลายอย่างแน่นอน!!
(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 81 ส.ค. 50 โดย ธมฺมจรถ)
เมื่อพูดถึงโลก ตามหลักธรรมะในพระพุทธศาสนา ท่านวิเคราะห์ศัพท์ไว้ว่า ลุจฺจตีติ โลโก สิ่งใดย่อมแตกสลายไป สิ่งนั้นเรียกว่าโลก โดยนัยนี้แสดงว่าโลกโดยตัวของมันย่อม เปลี่ยนแปลงและสลายไปในที่สุด แต่ถ้ามีปัจจัยภายนอกมา สนับสนุน ความเสื่อมสลายของโลกก็ย่อมจะรุนแรงขึ้น และใช้ระยะเวลาของความล่มสลาย และแตกทำลายได้เร็วกว่าที่ มันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
อนึ่ง ท่านยังได้จำแนกโลกออกเป็น ๓ ดังนี้ คือ
๑. สังขารโลก โลกคือสังขาร ได้แก่ สภาวธรรมที่อยู่ภาย ใต้เงื่อนไขของธรรมชาติ ที่ถูกปรุงแต่งไปตามเหตุปัจจัย เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ชื่อว่าสังขารโลก หรือกล่าวโดยสรุปแม้ตัวเราเองก็เป็นโลกโลกหนึ่งที่เราชอบพูดกันว่า โลกส่วนตัวของคนนั้นคนนี้ เป็นต้น พระพุทธเจ้าสอนมาสองพันกว่าปีแล้ว แต่เราเพิ่งจะรู้จัก และนำมาใช้ นอกจากนี้ สิ่งทั้งหลายที่เป็นภูเขา ทะเล ต้นไม้ ป่าไม้ ก้อนหิน เป็นต้น ล้วนจัดเป็นสังขารโลกทั้งสิ้น
๒. สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย จะเป็นคนเป็นสัตว์ เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ก็ตาม รวมเรียก ว่าสัตวโลกทั้งสิ้น เพราะตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขของความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกดับ หรือสลายไปในในที่สุด พูดสั้นๆ ก็คือ มนุษย์และสัตว์ เกิดมาแล้ว ก็ตั้งอยู่บนความแก่ และแตกสลาย ก็คือความตายนั่นเอง
๓. โอกาสโลก โลกคือ อวกาศ หรือท้องฟ้าที่มีความกว้างใหญ่ไพศาล คือชั้นของบรรยากาศ ที่นิยมเรียกกันว่า ห้วงจักรวาล รวมทั้งดวงดาวต่างๆ อันเป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์ในภพในภูมินั้นๆ
เพราะฉะนั้น ภาวะโลกร้อนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ล้วนเป็นภาวะคุกคาม สังขารโลก สัตวโลก และโอกาสโลกให้แตกสลายทำลายไปตามสภาวธรรมของธรรมชาติ และปัจจัยภายนอกที่เข้ามาสนับสนุน เช่น ไฟป่าโดยธรรมชาติ มนุษย์สามารถป้องกันหรือควบคุมให้อยู่ในพื้นที่อันจำกัดได้ แต่ไม่ทำและที่ร้ายไปกว่านั้น มนุษย์นั่นเองที่จุดไฟเผาป่าให้เกิดความสูญเสียมากกว่าไฟป่าตามธรรมชาติเสียอีก นี่เป็น ตัวอย่างหนึ่งของหลายตัวอย่าง ที่จะกล่าวในข้างหน้า
สิ่งที่น่าคิดก็คือ โลกที่ร้อนมันร้อนขึ้นมาได้อย่างไร อะไรทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น ในพระพุทธศาสนาได้กล่าวว่าไฟ ภายในจิตใจของมนุษย์ ที่แผดเผาและแผ่ความร้อนออกไปสู่ภายนอก อันเป็นมหันตภัยคุกคามโลกไว้ ๓ อย่าง คือ
ราคัคคิ ไฟคือราคะ ได้แก่ความกำหนัดยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่น่าใคร่น่าปรารถนา เมื่อไม่ได้ชื่นชมย่อมทุรนทุราย ไขว่คว้าแสวงหา ครั้นได้มาแล้วก็ไม่สมอยาก ยังอยากต่อไป หรือการตามตรึกถึงอารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนาที่เคยเสพสุขมาในอดีต ก็เกิดเผาลนจิตให้โหยหา ไม่เว้นว่าง ไฟคือราคะตามนัยนี้ ท่านมุ่งสอนพระ เพราะมุ่งความหลุดพ้น แต่ราคะที่สอนชาวบ้านนั้น ท่านเรียกว่า ความโลภ คืออยากได้ไม่มีสิ้นสุด มีเท่าไรไม่รู้จักพอ และที่เดือดร้อนมาก ก็คือ การรุกล้ำกล้ำเกินในสิทธิของคนอื่นในอันที่จะได้มาอยู่ในความครอบครองของตน เช่น รุกล้ำที่สาธารณะ เผาป่าเพื่อยึดครองที่ดินทำกิน ตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำลำธาร บุกรุกป่าชายเลน เป็นต้น แม้ในการทำอุตสาหกรรม ก็ไม่คำนึงถึงศีลธรรม จริยธรรม ก่อให้เกิดการเบียดเบียนทำลาย ธรรมชาติ เช่น ปล่อยน้ำเสียลงคูคลองสาธารณะ ปล่อยก๊าซ เรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศของโลก นี่คือต้นเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน
โทสัคคิ ไฟคือโทสะ ได้แก่ความไม่พึงพอใจ หรือความ ขัดเคืองใจ เมื่อคนอื่นทำอะไรให้ตนไม่พอใจ หรือปรารถนา สิ่งใดไว้แต่มีคนมาแย่งชิงไปเสียก่อน ก็เกิดความแค้นเคือง เผาลนจิตของตนอยู่ตลอดเวลา อดทนอยู่ไม่ได้ ก็มีการต่อสู้ ประหัตประหารกัน สงครามใหญ่น้อย การรบราฆ่าฟันกัน นอกจากจะเกิดจากความโลภแล้วยังมีโทสะเป็นเครื่องสนับสนุนอีกด้วย โลกจึงร้อนไปด้วยเสียงปืน เสียงระเบิดนานาชนิด และขยายวงกว้างออกไปทุกทีๆ ไม่มีสัญญาณจะยุติลงง่ายๆ
โมหัคคิ ไฟคือโมหะ ความหลง ความไม่รู้จริงในสภาวะทั้งปวง ก่อให้เกิดการคิดผิด ทำผิด พูดผิด ยึดเอาความเห็น ของตนเป็นใหญ่ สำคัญตนเองว่าเลิศประเสริฐกว่าคนอื่น มองคนอื่นว่าเลวกว่าตน เป็นต้น ยึดถือในความเป็นตัวตนสูงมาก บางครั้งอาจเซื่องซึม แต่บางครั้งก็ฟุ้งซ่านเกินเหตุ จน ควบคุมไม่ได้ และกลายเป็นปัจจัยสนับสนุนไฟคือราคะและไฟคือโทสะให้ทวีความรุนแรงขึ้น จึงเห็นได้ว่า ทำไมคนทำชั่วแล้วยังทำชั่วซ้ำซาก ก็เพราะไฟคือโมหะนี้แหละ เป็นตัวปิดกั้นไม่ให้เขาเห็นความถูกต้อง โลกจึงเดือดร้อนเพราะคนพวกนี้อยู่ไม่น้อย
เพราะฉะนั้น ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ไม่ใช่เกิด จากเงื่อนไขตามธรรมชาติอย่างเดียว แต่มนุษย์นี้แหละตัวดี เป็นตัวการทำให้โลกร้อน และเป็นมหันตภัยคุกคามไปตราบ เท่าที่กิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง ยังลุกโชนอยู่ในจิตใจของมนุษย์
โลกย่อมถึงกาลแตกสลายอย่างแน่นอน!!
(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 81 ส.ค. 50 โดย ธมฺมจรถ)