การทำบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การสร้างวัด สร้างศาลาที่พักคนเดินทาง หรือการพิมพ์หนังสือธรรมะเพื่อการเผยแพร่ เป็นต้น เราจะพบเห็นชื่อหรือรายชื่อของผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำบุญกุศลนั้นๆ ปรากฏอยู่ตามถาวรวัตถุที่ถูกสร้างขึ้น และในหนังสือธรรมะที่พิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้พบเห็นได้ทราบถึงบุญกิริยาวัตถุ แล้วก็จะได้อนุโมทนา ในส่วนบุญนั้นๆ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ร่วมยินดี ในบุญกุศลที่ตนได้กระทำลงไป โดยมิได้มุ่งหมายที่จะเป็นการแสวงหาชื่อเสียงแต่ประการใด แต่มุ่งที่จะให้เกิดประโยชน์ และความสงบสุขแก่สังคมอันเป็นส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ไม่ปรารภตน ไม่ปรารภโลก แต่ปรารภธรรมเป็นใหญ่ เป็นนักธรรมาธิปไตยที่แท้จริง
ครั้งนี้ผู้เขียนมีเรื่องราวของบุคคลสำคัญในพระพุทธศาสนาที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น มาเล่าสู่ท่านผู้อ่านพอเป็นคติเตือนใจได้กระมัง
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาในกรุงราชคฤห์นั้น ได้มีเศรษฐีท่าน หนึ่งชื่อว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านเป็นชาวเมืองสาวัตถี ไปทำการค้าขายในกรุงราชคฤห์ ได้มีโอกาสฟังธรรมะใน สำนักของพระพุทธเจ้า เมื่อฟังธรรมแล้วก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า และได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปโปรดที่นครสาวัตถีบ้าง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็รีบกลับนครสาวัตถี เพื่อเตรียมสร้างวัด เพื่อถวายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า ให้สมพระเกียรติ ของพระพุทธองค์
การสร้างวัดของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะต้องหาทำเลและสถานที่ที่เหมาะสมแก่ความเป็นสถานที่ที่พระสมณะจะพึงพำนักอย่างสงบ ไม่อึกทึกครึกโครม ทั้งต้องไม่ใกล้ไม่ไกลจากชุมชนจนเกินไป ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการบำเพ็ญสมณธรรม และการโคจรบิณฑบาตของพระสงฆ์ อีกทั้งประชาชนทั้งหลายก็จะไปมาหาสู่ฟังธรรมได้สะดวก ไม่มีอุปสรรคในการเดินทาง
นอกจากนั้นแล้ว สถานที่จะสร้างวัดต้องร่มรื่นด้วยร่มไม้ ไม่มีป่ารกชัฏรุงรังดูขัดนัยน์ตา ควรเป็นสถานที่ที่มีการตกแต่งด้วยธรรมชาติอันงดงามเป็นที่รื่นรมย์ แห่งใจ ใครได้เข้าไปแล้วก็มีความสบายใจ สถานที่ดังกล่าวนี้จะมีอยู่ก็เฉพาะสวนของเจ้าเชตเท่านั้น เพราะเจ้าเชตได้ตกแต่งสวนของท่านอย่างสวยงาม และท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็พึงพอใจสวนของเจ้าเชตเป็นอย่าง ยิ่ง จึงได้ติดต่อขอซื้อสวนจากเจ้าเชต
เจ้าเชตเป็นคนที่มั่งมีศรีสุข สมบัติพัสถานมีมากก็ไม่เดือดร้อนถึงกับต้องมาขายสวนที่งดงามของตนให้แก่ใครๆ ดังนั้น เมื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีขอซื้อที่แปลงนี้ เจ้าเชตก็โก่งราคาสูงสุด พูดแบบภาษาชาวบ้าน ก็คือบอกราคาไม่ขายนั่นเอง คือบอกราคาถึง 18 โกฏิ ตามมาตราการนับ 1 โกฏิเท่ากับ 10 ล้าน 18 โกฏิ ก็เท่ากับ 180 ล้าน ในอรรถกถา กล่าวว่า เท่ากับเอาทองคำมาปูเต็มพื้นที่ของเจ้าเชตทีเดียว
แม้ว่าแพงแสนแพงอย่างไร อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็กล้าซื้อ เพราะไม่เดือดร้อนในเรื่องเงินทองแต่อย่างใด เพียงขอให้ได้ที่ดินแปลงนี้เท่านั้น เพื่อตนจะได้สร้างกุศลอย่างที่ตั้งใจไว้ได้สำเร็จ ตกลงเจ้าเชตก็ขายที่แก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี เพราะเห็นว่าท่านเศรษฐีจะซื้อที่ไป สร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า แต่มีข้อแม้ว่า ด้านหนึ่งของ วัดนี้ขอไว้สำหรับท่านจะได้สร้างซุ้มประตู จารึกชื่อตนถวายพระพุทธเจ้า เท่ากับว่าวัดเป็นชื่อของเจ้าเชต แต่คนสร้างจริงๆ คือท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งท่านเศรษฐีก็ยอมตามเจ้าเชต เพราะคิดว่าการสร้างวัดนี้ขึ้น มาก็ไม่หวังเอาดีเอาเด่นหรือแสวงหาเกียรติยศชื่อเสียงแต่อย่างใด ไม่ได้ทำบุญเพื่อเอาหน้าหรือเห็นแก่หน้า และก็ยินดีเสียอีกที่เจ้าเชตซึ่งเป็นคนสำคัญมีเงินทองมหาศาลหันมานับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับตน เท่ากับเป็นการเพิ่มกำลังอันสำคัญแก่พระพุทธศาสนา ไปในภายภาคหน้าด้วย วัดที่สร้างขึ้นมานี้จึงได้ชื่อว่า‘เชตวันมหาวิหาร’ นับเป็นวัดแรกของเมืองสาวัตถี ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับนานกว่าวัดใดๆ ในอินเดียทั้งหมด
การสร้างวัดพระเชตวันมหาวิหารในครั้งนั้นใช้เงินไป 18 โกฏิ ใช้เงินในการฉลองวัดอีก 18 โกฏิ รวมที่ซื้อที่ดินด้วยเป็นเงิน 54 โกฏิ หรือ 540 ล้านบาท นับว่าเป็นเงินมากมายมหาศาลจริงๆ แต่เมื่อนึกถึงผลที่ได้จากการลงทุนนี้ คือ การที่พระพุทธศาสนาได้ไปประดิษฐานในนครสาวัตถี จะทำให้ประชาชนยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธศาสนา ตั้งตนไว้ในทางที่ ถูกที่ควร งดเว้นในการประพฤติที่ผิดๆ ทำให้สังคมสงบสุขไม่เดือดร้อน ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้เราจะประเมินค่าเป็นเงินไม่ได้เลย
ในทางตรงข้าม คนที่มีเงินเป็นร้อยล้านพันล้าน จะซื้อวัตถุสิ่งของใดๆ ก็ซื้อได้ ซื้อสนามกอล์ฟ ซื้อสโมสร ฟุตบอล ซื้อได้หมด แต่ถามจริงๆเถอะ เงินที่มีนั้น ซื้อความชั่วในใจคนได้หรือไม่ ซื้อคนชั่วให้เป็นคนดี ซื้อความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมได้ไหม? ซื้อไม่ได้เลย นอกจากเงินซื้อความชั่วร้ายไม่ได้แล้ว เงินนั้นแหละจะเป็นผู้ร้ายตัวจริงให้เราได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้
การที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองไปสู่โลกกว้าง ไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ก็เป็นผลมาจากการสร้างวัดพระเชตวันมหาวิหาร และวัดอื่นๆ ซึ่งล้วนมีบทบาท ในการเผยแพร่พุทธศาสนาของพระสงฆ์ให้กว้างไกลออกไปจนทุกวันนี้
แม้วันนี้ วัดเชตวันมหาวิหารจะเหลือเพียงซากปรักหักพัง และแผ่นอิฐที่เรียงทับซ้อนกันเป็นโครง สร้างพระคันธกุฎีของพระพุทธเจ้า แต่กิตติศัพท์ความ ดีงามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาเศรษฐีผู้ยิ่งใหญ่ ก็ยังหอมหวนอยู่ในใจของชาวพุทธตลอดกาล และเป็นการตอบคำถามว่า “ทำบุญแล้วได้อะไร?”
(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 80 ก.ค. 50 โดย ธมฺมจรถ)
ครั้งนี้ผู้เขียนมีเรื่องราวของบุคคลสำคัญในพระพุทธศาสนาที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น มาเล่าสู่ท่านผู้อ่านพอเป็นคติเตือนใจได้กระมัง
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาในกรุงราชคฤห์นั้น ได้มีเศรษฐีท่าน หนึ่งชื่อว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านเป็นชาวเมืองสาวัตถี ไปทำการค้าขายในกรุงราชคฤห์ ได้มีโอกาสฟังธรรมะใน สำนักของพระพุทธเจ้า เมื่อฟังธรรมแล้วก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า และได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปโปรดที่นครสาวัตถีบ้าง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็รีบกลับนครสาวัตถี เพื่อเตรียมสร้างวัด เพื่อถวายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า ให้สมพระเกียรติ ของพระพุทธองค์
การสร้างวัดของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะต้องหาทำเลและสถานที่ที่เหมาะสมแก่ความเป็นสถานที่ที่พระสมณะจะพึงพำนักอย่างสงบ ไม่อึกทึกครึกโครม ทั้งต้องไม่ใกล้ไม่ไกลจากชุมชนจนเกินไป ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการบำเพ็ญสมณธรรม และการโคจรบิณฑบาตของพระสงฆ์ อีกทั้งประชาชนทั้งหลายก็จะไปมาหาสู่ฟังธรรมได้สะดวก ไม่มีอุปสรรคในการเดินทาง
นอกจากนั้นแล้ว สถานที่จะสร้างวัดต้องร่มรื่นด้วยร่มไม้ ไม่มีป่ารกชัฏรุงรังดูขัดนัยน์ตา ควรเป็นสถานที่ที่มีการตกแต่งด้วยธรรมชาติอันงดงามเป็นที่รื่นรมย์ แห่งใจ ใครได้เข้าไปแล้วก็มีความสบายใจ สถานที่ดังกล่าวนี้จะมีอยู่ก็เฉพาะสวนของเจ้าเชตเท่านั้น เพราะเจ้าเชตได้ตกแต่งสวนของท่านอย่างสวยงาม และท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็พึงพอใจสวนของเจ้าเชตเป็นอย่าง ยิ่ง จึงได้ติดต่อขอซื้อสวนจากเจ้าเชต
เจ้าเชตเป็นคนที่มั่งมีศรีสุข สมบัติพัสถานมีมากก็ไม่เดือดร้อนถึงกับต้องมาขายสวนที่งดงามของตนให้แก่ใครๆ ดังนั้น เมื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีขอซื้อที่แปลงนี้ เจ้าเชตก็โก่งราคาสูงสุด พูดแบบภาษาชาวบ้าน ก็คือบอกราคาไม่ขายนั่นเอง คือบอกราคาถึง 18 โกฏิ ตามมาตราการนับ 1 โกฏิเท่ากับ 10 ล้าน 18 โกฏิ ก็เท่ากับ 180 ล้าน ในอรรถกถา กล่าวว่า เท่ากับเอาทองคำมาปูเต็มพื้นที่ของเจ้าเชตทีเดียว
แม้ว่าแพงแสนแพงอย่างไร อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็กล้าซื้อ เพราะไม่เดือดร้อนในเรื่องเงินทองแต่อย่างใด เพียงขอให้ได้ที่ดินแปลงนี้เท่านั้น เพื่อตนจะได้สร้างกุศลอย่างที่ตั้งใจไว้ได้สำเร็จ ตกลงเจ้าเชตก็ขายที่แก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี เพราะเห็นว่าท่านเศรษฐีจะซื้อที่ไป สร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า แต่มีข้อแม้ว่า ด้านหนึ่งของ วัดนี้ขอไว้สำหรับท่านจะได้สร้างซุ้มประตู จารึกชื่อตนถวายพระพุทธเจ้า เท่ากับว่าวัดเป็นชื่อของเจ้าเชต แต่คนสร้างจริงๆ คือท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งท่านเศรษฐีก็ยอมตามเจ้าเชต เพราะคิดว่าการสร้างวัดนี้ขึ้น มาก็ไม่หวังเอาดีเอาเด่นหรือแสวงหาเกียรติยศชื่อเสียงแต่อย่างใด ไม่ได้ทำบุญเพื่อเอาหน้าหรือเห็นแก่หน้า และก็ยินดีเสียอีกที่เจ้าเชตซึ่งเป็นคนสำคัญมีเงินทองมหาศาลหันมานับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับตน เท่ากับเป็นการเพิ่มกำลังอันสำคัญแก่พระพุทธศาสนา ไปในภายภาคหน้าด้วย วัดที่สร้างขึ้นมานี้จึงได้ชื่อว่า‘เชตวันมหาวิหาร’ นับเป็นวัดแรกของเมืองสาวัตถี ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับนานกว่าวัดใดๆ ในอินเดียทั้งหมด
การสร้างวัดพระเชตวันมหาวิหารในครั้งนั้นใช้เงินไป 18 โกฏิ ใช้เงินในการฉลองวัดอีก 18 โกฏิ รวมที่ซื้อที่ดินด้วยเป็นเงิน 54 โกฏิ หรือ 540 ล้านบาท นับว่าเป็นเงินมากมายมหาศาลจริงๆ แต่เมื่อนึกถึงผลที่ได้จากการลงทุนนี้ คือ การที่พระพุทธศาสนาได้ไปประดิษฐานในนครสาวัตถี จะทำให้ประชาชนยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธศาสนา ตั้งตนไว้ในทางที่ ถูกที่ควร งดเว้นในการประพฤติที่ผิดๆ ทำให้สังคมสงบสุขไม่เดือดร้อน ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้เราจะประเมินค่าเป็นเงินไม่ได้เลย
ในทางตรงข้าม คนที่มีเงินเป็นร้อยล้านพันล้าน จะซื้อวัตถุสิ่งของใดๆ ก็ซื้อได้ ซื้อสนามกอล์ฟ ซื้อสโมสร ฟุตบอล ซื้อได้หมด แต่ถามจริงๆเถอะ เงินที่มีนั้น ซื้อความชั่วในใจคนได้หรือไม่ ซื้อคนชั่วให้เป็นคนดี ซื้อความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมได้ไหม? ซื้อไม่ได้เลย นอกจากเงินซื้อความชั่วร้ายไม่ได้แล้ว เงินนั้นแหละจะเป็นผู้ร้ายตัวจริงให้เราได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้
การที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองไปสู่โลกกว้าง ไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ก็เป็นผลมาจากการสร้างวัดพระเชตวันมหาวิหาร และวัดอื่นๆ ซึ่งล้วนมีบทบาท ในการเผยแพร่พุทธศาสนาของพระสงฆ์ให้กว้างไกลออกไปจนทุกวันนี้
แม้วันนี้ วัดเชตวันมหาวิหารจะเหลือเพียงซากปรักหักพัง และแผ่นอิฐที่เรียงทับซ้อนกันเป็นโครง สร้างพระคันธกุฎีของพระพุทธเจ้า แต่กิตติศัพท์ความ ดีงามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาเศรษฐีผู้ยิ่งใหญ่ ก็ยังหอมหวนอยู่ในใจของชาวพุทธตลอดกาล และเป็นการตอบคำถามว่า “ทำบุญแล้วได้อะไร?”
(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 80 ก.ค. 50 โดย ธมฺมจรถ)