๑.คำนำ
ทางแห่งความปรุงแต่งอันสุดโต่งมีสองฝั่ง คือ (๑) การปล่อย ตัวปล่อยใจไหลตามกิเลส หรือการหลง อยู่กับความปรุงแต่งฝ่ายอกุศล หรือกามสุขัลลิกานุโยค อันเป็นเหตุนำไปสู่ทุคติ และ (๒) การบังคับกดข่มกาย ใจอันเป็นการทำตนเองให้ลำบาก หรือการหลงอยู่กับความปรุงแต่งฝ่ายกุศล หรืออัตตกิลมถานุโยค อันเป็นเหตุนำไปสู่สุคติ ทางสองฝั่งนี้พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เว้นเสีย
พระพุทธเจ้าทรงประกาศทางสายกลางไว้ เพื่อให้จิตของผู้ดำเนินตามพ้น จากความปรุงแต่งทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล และโน้มน้อมไปสู่อมตธรรมคือ นิพพาน เหมือนสายน้ำที่ไหลไปสู่มหาสมุทรโดยไม่ติดนิ่งอยู่กับสองฝั่งของแม่น้ำ ทางสายกลางนี้คืออริยมรรค มีองค์ ๘ ประการ อันรวบย่อเข้ามาได้ ในศีล สมาธิ และปัญญา และทรงสอน วิธีการปฏิบัติตามทางสายกลางไว้อย่าง หมดจดงดงามในมหาสติปัฏฐานสูตร เพื่อให้ผู้ปฏิบัติตามเกิดสติและปัญญา จนจิตสามารถปลดปล่อยความถือมั่นในรูปนามหรือ “ตนเอง” ลงได้ แล้วประจักษ์กับนิพพานได้ในที่สุด
การจะเริ่มต้นเดินทางสายกลางได้ถูกต้อง จำเป็นต้อง รู้จักว่าต้นสายของทางสายนี้อยู่ที่ตรงไหน นี้เป็นเรื่องที่สำคัญและน่าสนใจยิ่งกว่าเรื่องที่ว่า จะกำหนดลมหายใจอย่างไร จะเดินท่าไหน จะนั่งท่าไหน หรือจะเอาจิตวางไว้ที่ตรงไหน ฯลฯ เสียอีก เพราะถ้าผู้ปฏิบัติเข้าใจและเข้าสู่ต้นทางของการปฏิบัติได้ โอกาสที่จะเดินถูกทางและไปถึง ปลายทางก็เป็นไปได้มากทีเดียว
ผู้เขียนได้สำรวจหาต้นทางของการปฏิบัติธรรม ทั้งด้วย การศึกษาพระปริยัติธรรม และด้วยการรับฟังคำสอนของครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติ แล้วได้นำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง เผื่อบางท่านจะเกิดความสนใจที่จะศึกษาปฏิบัติธรรมกันบ้าง ซึ่งถ้าเพื่อนชาวพุทธสนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมกันมากๆ พระพุทธศาสนาจะได้ตั้งมั่นเป็นสมบัติของชาวโลกสืบไปอีกนานๆ
๒. ทางสายนี้เรียบง่าย ลัดสั้น และน่ารื่นรมย์
เส้นทางธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ เป็นเส้นทางเล็กๆ สายหนึ่ง ในบรรดาเส้นทางนับไม่ถ้วนสาย ที่บรรดา นักปราชญ์ทั้งหลายทั้งในอดีตและปัจจุบันได้ค้นพบและประกาศกันไว้
ขอเชิญชวนให้เพื่อนนักปฏิบัติลองศึกษาพิจารณาถึงสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอไว้ในบทความนี้ แล้วทดลองเดินตามทางสายนี้ดูสักครั้งหนึ่ง ท่านไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรมาก นักหรอก เพราะ
(๑) เส้นทางสายนี้เรียบง่ายและธรรมดาอย่างยิ่ง คือ “เพียงลืมตาตื่น ก็เห็นได้แล้ว” ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนแสวง หาทางพ้นทุกข์ที่ไหนให้ไกลตัวเลย
(๒) เส้นทางสายนี้ลัดสั้น คือเห็นผลเร็ว หมายความว่าพอเริ่มปฏิบัติได้ถูกต้อง คือพอเกิดมีสติสัมปชัญญะที่แท้จริงขึ้นเท่านั้น ความทุกข์ทางใจก็จะหลุดร่วงไปเองต่อหน้าต่อตาอย่างฉับพลัน
(๓) เส้นทางสายนี้รื่นรมย์ คือไม่มีความยากลำบากหรือความเสี่ยงใดๆ เลย แถมยังมีความสุขความเบิกบาน ใจเกิดขึ้นเป็นระยะๆด้วย ด้วยเหตุนี้จึงขอเชิญชวนให้พวก เราทดลองเดินดูสักระยะหนึ่ง ถ้าทดลองแล้วไม่เห็นผลที่ น่าพอใจก็เลิกกันไป แต่ถ้าเกิดได้ผลก็นับว่าเป็นกำไรอย่าง มหาศาลแก่ผู้ทดลองทีเดียว เพราะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้ผลมากที่สุด
ความยากในการเดินตามเส้นทางสายนี้มีอันเดียว คือทำอย่างไรจะค้นพบจุดตั้งต้นหรือต้นทางของเส้นทางสาย นี้ได้ ถ้าจับได้ว่าต้นทางอยู่ที่ตรงไหน แล้วขึ้นต้นทางให้ถูกต้องเท่านั้น งานที่เหลือ จิตเขาจะดำเนินไปเองจนถึงความพ้นทุกข์ในที่สุด
๓. เครื่องขัดขวางการเรียนรู้ธรรม
ก่อนที่เราจะพิจารณาว่าต้นทางของเส้นทางการปฏิบัติธรรมอยู่ที่ตรงไหน ผู้เขียนขอเสนอให้เพื่อนนักปฏิบัติขจัดสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ๓ ประการ เรียกว่า ปปัญจธรรม อันเป็นกิเลสเครื่องเนิ่นช้า เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ และเปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริง กิเลส ๓ ประการนี้ ได้แก่
๓.๑ มานะ คือความถือตัวว่าเรารู้ดีแล้ว เราเก่งแล้ว หรือผู้แสดงธรรมท่านอื่นก็รู้พอๆกันกับเรา หรือเรามันโง่เขลาเบาปัญญาไม่มีทางที่จะเรียนรู้ธรรมได้เลย
๓.๒ ทิฏฐิ คือการมีความเชื่อมั่นหรือปักใจเชื่อในแนว ทางปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีอยู่เดิม คิดว่าแนวทางของเราที่ทำ อยู่นี้เท่านั้นถูกต้อง แนวทางอื่นๆไม่ถูกต้อง ความรู้สึกอย่างนี้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างมาก พอได้ฟังสิ่งใดที่ขัดแย้ง หรือแตกต่างจากความเชื่อเดิม ก็เกิดโทสะเสียแล้ว ทำให้การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ของตนเองทำไม่ได้ หรือพอได้รับฟังสิ่งใหม่ๆ ก็คิดเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมอยู่ ตลอดเวลา ทำให้ขาดความตั้งใจมั่นที่จะศึกษาสิ่งใหม่ๆ ด้วยเหตุนี้เองพวกเราจึงควรทำตนให้เป็นเสมือนถ้วยชาที่ว่างเปล่าเสียก่อน จึงจะเข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนจะกล่าวต่อไปนี้ได้อย่างง่ายดาย และเมื่อเข้าใจแล้วจะไม่เชื่อถือก็ไม่ว่ากัน อย่าเพิ่งปฏิเสธทั้งที่ยังไม่เข้าใจก็ขอบคุณมากแล้ว
๓.๓ ตัณหา คือความอยาก ในที่นี้หมายถึงความอยากที่จะปฏิบัติธรรม และความอยากที่จะบรรลุธรรม เมื่อมีความอยากก็เกิดการกระทำตามอำนาจของความอยากต่างๆนานา ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า “ตัณหาเป็นผู้สร้างภพ” คือสร้างความปรุงแต่งหรือการงานทางใจที่เรียกว่า “กรรมภพ” ขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพียรทำอะไรบางอย่างเพื่อละอกุศล และการเพียรทำอะไรบางอย่างเพื่อเจริญกุศล เช่นการพยายามทำสติ สมาธิ ปัญญา และวิมุตติให้เกิดขึ้น โดยเชื่อว่าถ้ามีความเพียรปฏิบัติและสร้างความปรุงแต่งฝ่ายกุศลให้เต็มที่แล้ว จะรู้ธรรมได้ในที่สุด
แท้จริงการมีความเพียรชอบนั้น ไม่ใช่เพียรโดยเอากำลังเข้าหักหาญกับกิเลสหรือพยายามบังคับให้กุศลเกิดขึ้น เพราะธรรมทั้งปวงทั้งฝ่ายกุศลและอกุศลต่างก็เป็นอนัตตาคือไม่อยู่ในอำนาจบังคับของใคร ความเพียรเช่นนั้นจึงไม่ใช่สัมมาวายามะหรือความเพียรชอบเพราะยังประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ว่าเราจะละอกุศลและทำให้ธรรมฝ่ายกุศลเกิดขึ้นได้ตามใจปรารถนา แต่เป็น มิจฉาวายามะอันมีตัณหาอยู่เบื้องหลังการปฏิบัติธรรมและมีความหลงผิดเป็นเครื่องชี้นำ ส่วนความเพียรชอบนั้นเพียง มีสติก็เกิดความเพียรชอบแล้ว คือทันทีที่สัมมาสติเกิดขึ้น อกุศลก็เป็นอันถูกละไปแล้ว และกุศลก็เริ่มเจริญขึ้นแล้ว สมดังที่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านสอนว่า “เมื่อใดมีสติเมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อใดขาดสติเมื่อนั้นขาดความเพียร” ดังนั้นแม้จะพยายามเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิตลอดวันตลอดคืน ถ้าไม่มีสติก็ยังไม่ได้ชื่อว่าทำความเพียรชอบ
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 80 ก.ค. 50 โดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
ทางแห่งความปรุงแต่งอันสุดโต่งมีสองฝั่ง คือ (๑) การปล่อย ตัวปล่อยใจไหลตามกิเลส หรือการหลง อยู่กับความปรุงแต่งฝ่ายอกุศล หรือกามสุขัลลิกานุโยค อันเป็นเหตุนำไปสู่ทุคติ และ (๒) การบังคับกดข่มกาย ใจอันเป็นการทำตนเองให้ลำบาก หรือการหลงอยู่กับความปรุงแต่งฝ่ายกุศล หรืออัตตกิลมถานุโยค อันเป็นเหตุนำไปสู่สุคติ ทางสองฝั่งนี้พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เว้นเสีย
พระพุทธเจ้าทรงประกาศทางสายกลางไว้ เพื่อให้จิตของผู้ดำเนินตามพ้น จากความปรุงแต่งทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล และโน้มน้อมไปสู่อมตธรรมคือ นิพพาน เหมือนสายน้ำที่ไหลไปสู่มหาสมุทรโดยไม่ติดนิ่งอยู่กับสองฝั่งของแม่น้ำ ทางสายกลางนี้คืออริยมรรค มีองค์ ๘ ประการ อันรวบย่อเข้ามาได้ ในศีล สมาธิ และปัญญา และทรงสอน วิธีการปฏิบัติตามทางสายกลางไว้อย่าง หมดจดงดงามในมหาสติปัฏฐานสูตร เพื่อให้ผู้ปฏิบัติตามเกิดสติและปัญญา จนจิตสามารถปลดปล่อยความถือมั่นในรูปนามหรือ “ตนเอง” ลงได้ แล้วประจักษ์กับนิพพานได้ในที่สุด
การจะเริ่มต้นเดินทางสายกลางได้ถูกต้อง จำเป็นต้อง รู้จักว่าต้นสายของทางสายนี้อยู่ที่ตรงไหน นี้เป็นเรื่องที่สำคัญและน่าสนใจยิ่งกว่าเรื่องที่ว่า จะกำหนดลมหายใจอย่างไร จะเดินท่าไหน จะนั่งท่าไหน หรือจะเอาจิตวางไว้ที่ตรงไหน ฯลฯ เสียอีก เพราะถ้าผู้ปฏิบัติเข้าใจและเข้าสู่ต้นทางของการปฏิบัติได้ โอกาสที่จะเดินถูกทางและไปถึง ปลายทางก็เป็นไปได้มากทีเดียว
ผู้เขียนได้สำรวจหาต้นทางของการปฏิบัติธรรม ทั้งด้วย การศึกษาพระปริยัติธรรม และด้วยการรับฟังคำสอนของครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติ แล้วได้นำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง เผื่อบางท่านจะเกิดความสนใจที่จะศึกษาปฏิบัติธรรมกันบ้าง ซึ่งถ้าเพื่อนชาวพุทธสนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมกันมากๆ พระพุทธศาสนาจะได้ตั้งมั่นเป็นสมบัติของชาวโลกสืบไปอีกนานๆ
๒. ทางสายนี้เรียบง่าย ลัดสั้น และน่ารื่นรมย์
เส้นทางธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ เป็นเส้นทางเล็กๆ สายหนึ่ง ในบรรดาเส้นทางนับไม่ถ้วนสาย ที่บรรดา นักปราชญ์ทั้งหลายทั้งในอดีตและปัจจุบันได้ค้นพบและประกาศกันไว้
ขอเชิญชวนให้เพื่อนนักปฏิบัติลองศึกษาพิจารณาถึงสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอไว้ในบทความนี้ แล้วทดลองเดินตามทางสายนี้ดูสักครั้งหนึ่ง ท่านไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรมาก นักหรอก เพราะ
(๑) เส้นทางสายนี้เรียบง่ายและธรรมดาอย่างยิ่ง คือ “เพียงลืมตาตื่น ก็เห็นได้แล้ว” ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนแสวง หาทางพ้นทุกข์ที่ไหนให้ไกลตัวเลย
(๒) เส้นทางสายนี้ลัดสั้น คือเห็นผลเร็ว หมายความว่าพอเริ่มปฏิบัติได้ถูกต้อง คือพอเกิดมีสติสัมปชัญญะที่แท้จริงขึ้นเท่านั้น ความทุกข์ทางใจก็จะหลุดร่วงไปเองต่อหน้าต่อตาอย่างฉับพลัน
(๓) เส้นทางสายนี้รื่นรมย์ คือไม่มีความยากลำบากหรือความเสี่ยงใดๆ เลย แถมยังมีความสุขความเบิกบาน ใจเกิดขึ้นเป็นระยะๆด้วย ด้วยเหตุนี้จึงขอเชิญชวนให้พวก เราทดลองเดินดูสักระยะหนึ่ง ถ้าทดลองแล้วไม่เห็นผลที่ น่าพอใจก็เลิกกันไป แต่ถ้าเกิดได้ผลก็นับว่าเป็นกำไรอย่าง มหาศาลแก่ผู้ทดลองทีเดียว เพราะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้ผลมากที่สุด
ความยากในการเดินตามเส้นทางสายนี้มีอันเดียว คือทำอย่างไรจะค้นพบจุดตั้งต้นหรือต้นทางของเส้นทางสาย นี้ได้ ถ้าจับได้ว่าต้นทางอยู่ที่ตรงไหน แล้วขึ้นต้นทางให้ถูกต้องเท่านั้น งานที่เหลือ จิตเขาจะดำเนินไปเองจนถึงความพ้นทุกข์ในที่สุด
๓. เครื่องขัดขวางการเรียนรู้ธรรม
ก่อนที่เราจะพิจารณาว่าต้นทางของเส้นทางการปฏิบัติธรรมอยู่ที่ตรงไหน ผู้เขียนขอเสนอให้เพื่อนนักปฏิบัติขจัดสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ๓ ประการ เรียกว่า ปปัญจธรรม อันเป็นกิเลสเครื่องเนิ่นช้า เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ และเปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริง กิเลส ๓ ประการนี้ ได้แก่
๓.๑ มานะ คือความถือตัวว่าเรารู้ดีแล้ว เราเก่งแล้ว หรือผู้แสดงธรรมท่านอื่นก็รู้พอๆกันกับเรา หรือเรามันโง่เขลาเบาปัญญาไม่มีทางที่จะเรียนรู้ธรรมได้เลย
๓.๒ ทิฏฐิ คือการมีความเชื่อมั่นหรือปักใจเชื่อในแนว ทางปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีอยู่เดิม คิดว่าแนวทางของเราที่ทำ อยู่นี้เท่านั้นถูกต้อง แนวทางอื่นๆไม่ถูกต้อง ความรู้สึกอย่างนี้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างมาก พอได้ฟังสิ่งใดที่ขัดแย้ง หรือแตกต่างจากความเชื่อเดิม ก็เกิดโทสะเสียแล้ว ทำให้การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ของตนเองทำไม่ได้ หรือพอได้รับฟังสิ่งใหม่ๆ ก็คิดเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมอยู่ ตลอดเวลา ทำให้ขาดความตั้งใจมั่นที่จะศึกษาสิ่งใหม่ๆ ด้วยเหตุนี้เองพวกเราจึงควรทำตนให้เป็นเสมือนถ้วยชาที่ว่างเปล่าเสียก่อน จึงจะเข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนจะกล่าวต่อไปนี้ได้อย่างง่ายดาย และเมื่อเข้าใจแล้วจะไม่เชื่อถือก็ไม่ว่ากัน อย่าเพิ่งปฏิเสธทั้งที่ยังไม่เข้าใจก็ขอบคุณมากแล้ว
๓.๓ ตัณหา คือความอยาก ในที่นี้หมายถึงความอยากที่จะปฏิบัติธรรม และความอยากที่จะบรรลุธรรม เมื่อมีความอยากก็เกิดการกระทำตามอำนาจของความอยากต่างๆนานา ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า “ตัณหาเป็นผู้สร้างภพ” คือสร้างความปรุงแต่งหรือการงานทางใจที่เรียกว่า “กรรมภพ” ขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพียรทำอะไรบางอย่างเพื่อละอกุศล และการเพียรทำอะไรบางอย่างเพื่อเจริญกุศล เช่นการพยายามทำสติ สมาธิ ปัญญา และวิมุตติให้เกิดขึ้น โดยเชื่อว่าถ้ามีความเพียรปฏิบัติและสร้างความปรุงแต่งฝ่ายกุศลให้เต็มที่แล้ว จะรู้ธรรมได้ในที่สุด
แท้จริงการมีความเพียรชอบนั้น ไม่ใช่เพียรโดยเอากำลังเข้าหักหาญกับกิเลสหรือพยายามบังคับให้กุศลเกิดขึ้น เพราะธรรมทั้งปวงทั้งฝ่ายกุศลและอกุศลต่างก็เป็นอนัตตาคือไม่อยู่ในอำนาจบังคับของใคร ความเพียรเช่นนั้นจึงไม่ใช่สัมมาวายามะหรือความเพียรชอบเพราะยังประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ว่าเราจะละอกุศลและทำให้ธรรมฝ่ายกุศลเกิดขึ้นได้ตามใจปรารถนา แต่เป็น มิจฉาวายามะอันมีตัณหาอยู่เบื้องหลังการปฏิบัติธรรมและมีความหลงผิดเป็นเครื่องชี้นำ ส่วนความเพียรชอบนั้นเพียง มีสติก็เกิดความเพียรชอบแล้ว คือทันทีที่สัมมาสติเกิดขึ้น อกุศลก็เป็นอันถูกละไปแล้ว และกุศลก็เริ่มเจริญขึ้นแล้ว สมดังที่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านสอนว่า “เมื่อใดมีสติเมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อใดขาดสติเมื่อนั้นขาดความเพียร” ดังนั้นแม้จะพยายามเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิตลอดวันตลอดคืน ถ้าไม่มีสติก็ยังไม่ได้ชื่อว่าทำความเพียรชอบ
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 80 ก.ค. 50 โดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)