2.3 นิมิต
คำว่า "นิมิต" ในที่นี้ไม่ได้หมายความถึงสิ่งที่ จิตไปรู้ไปเห็นหรือปรุงแต่งขึ้น เช่นภาพผี ภาพเปรต ภาพเทวดา เสียง กลิ่น รส สัมผัสต่างๆ ตลอดจน สิ่งที่ใจไปรู้เข้าเช่นอดีตและอนาคต ซึ่งนักปฏิบัติผู้เจริญสมถกรรมฐานได้พบเห็นกันมาก แต่นิมิตในที่นี้หมายถึง "ตัวอารมณ์กรรมฐาน" นั่นเอง สามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะคือ
บริกรรมนิมิต คำว่า "บริกรรม" แปลว่าท่องบ่นหรือกำหนดไว้ในใจ ส่วนบริกรรมนิมิตได้แก่อารมณ์ของสมถกรรมฐานทั้งหมด ที่ใช้เป็นเครื่องล่อจิตให้มาสนใจอยู่ในสิ่งเดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่นๆ เช่นเมื่อจะทำอานาปานสติ ก็ใช้ลมหายใจเป็นบริกรรม-นิมิต เมื่อจะเพ่งไฟก็ใช้ไฟเป็นบริกรรมนิมิต เมื่อจะเจริญพุทธานุสติก็ใช้ความคิดถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นบริกรรมนิมิต เป็นต้น
อุคคหนิมิต มี 2 อย่างคือ (1) ถ้าเพ่งบริกรรม นิมิตที่เป็นรูปร่างสีสันวรรณะ เช่นเมื่อเพ่งเปลวเทียนหรือศพ จนหลับตาก็เห็นภาพเปลวเทียนหรือ ศพนั้นเหมือนจริงเมื่อลืมตาเห็น ภาพที่หลับตาก็เห็น เหมือนจริงนี่แหละเรียกว่าอุคคหนิมิต จัดว่าเป็นนิมิตติดตา และ (2) ถ้าเพ่งบริกรรมนิมิตด้วยใจ ไม่ได้ใช้ตาเพ่ง เช่นการเจริญอนุสติมีพุทธานุสติเป็นต้น เมื่อจิตเกิดความซาบซึ้งในสิ่งที่คิดพิจารณา นั้นอย่างชัดเจน เช่นคิดจนซาบซึ้งถึงคุณของพระพุทธเจ้า ก็เรียกว่าอุคคหนิมิตเหมือนกัน แต่เป็นนิมิตติดใจ เป็นความรู้สึก ไม่มีรูปร่างแสงสีใดๆ
ปฏิภาคนิมิต ก็คือภาพของอุคคหนิมิตบางอย่างที่พัฒนาต่อไปจนเป็นความใสกระจ่างปราศจากริ้วรอย และสามารถย่อหรือขยายภาพนั้นได้ตามใจปรารถนา เช่นเมื่อเพ่งศพอันเป็นบริกรรมนิมิต จนจิตจำภาพศพนั้นได้ แม้หลับตาก็เห็นภาพ นั้นเหมือนลืมตา จัดเป็นอุคคหนิมิตประเภทนิมิตติดตา เมื่อเพ่งอุคคหนิมิตไปเรื่อยๆ ภาพศพที่ติดตา กลายเป็นแสงสว่างรูปศพ ไม่มีหน้าตาหรือรายละเอียดอีกต่อไป ถัดจากนั้นแสงสว่างจะรวมตัวเข้า เป็นดวงสว่างซึ่งจะกำหนดจิตให้ดวงนั้นเล็กหรือใหญ่ก็ได้ อย่างนี้เรียกว่าปฏิภาคนิมิต นักปฏิบัติบางท่านไม่ได้เพ่งศพจริงๆ แต่คิดพิจารณากายว่าเป็นอวัยวะน้อยใหญ่หรืออาการ 32 อันเป็นการเจริญกายคตาสติ คิดไปจนจิตเกิดความซาบซึ้งสลด สังเวชใจก็จัดเป็นอุคคหนิมิตประเภทนิมิตติดใจ เมื่อพิจารณากายส่วนใดส่วนหนึ่งหรือพิจารณากาย ทั้งกายต่อไปก็เกิดปฏิภาคนิมิตได้ คือกายสลายตัวไปหมดเหลือแต่แสงสว่าง อันนี้ก็เป็นปฏิภาคนิมิต สามารถข่มกามฉันทนิวรณ์ลงได้ แต่ก็ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ
กรรมฐานทั้ง 40 อย่างสามารถเป็นได้ทั้งบริกรรมนิมิตและอุคคหนิมิต แต่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นได้กับกรรมฐาน 22 อย่าง คือกสิณ 10 อสุภะ 10 กายคตาสติและอานาปานสติเท่านั้น แม้แต่อัปมัญญา 4 และ อรูป 4 ที่ใช้ทำฌานหรืออัปปนาภาวนาได้ ก็เป็นได้เพียงอุคคหนิมิต ไม่ถึงปฏิภาคนิมิต
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/ระดับของความสงบ)
คำว่า "นิมิต" ในที่นี้ไม่ได้หมายความถึงสิ่งที่ จิตไปรู้ไปเห็นหรือปรุงแต่งขึ้น เช่นภาพผี ภาพเปรต ภาพเทวดา เสียง กลิ่น รส สัมผัสต่างๆ ตลอดจน สิ่งที่ใจไปรู้เข้าเช่นอดีตและอนาคต ซึ่งนักปฏิบัติผู้เจริญสมถกรรมฐานได้พบเห็นกันมาก แต่นิมิตในที่นี้หมายถึง "ตัวอารมณ์กรรมฐาน" นั่นเอง สามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะคือ
บริกรรมนิมิต คำว่า "บริกรรม" แปลว่าท่องบ่นหรือกำหนดไว้ในใจ ส่วนบริกรรมนิมิตได้แก่อารมณ์ของสมถกรรมฐานทั้งหมด ที่ใช้เป็นเครื่องล่อจิตให้มาสนใจอยู่ในสิ่งเดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่นๆ เช่นเมื่อจะทำอานาปานสติ ก็ใช้ลมหายใจเป็นบริกรรม-นิมิต เมื่อจะเพ่งไฟก็ใช้ไฟเป็นบริกรรมนิมิต เมื่อจะเจริญพุทธานุสติก็ใช้ความคิดถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นบริกรรมนิมิต เป็นต้น
อุคคหนิมิต มี 2 อย่างคือ (1) ถ้าเพ่งบริกรรม นิมิตที่เป็นรูปร่างสีสันวรรณะ เช่นเมื่อเพ่งเปลวเทียนหรือศพ จนหลับตาก็เห็นภาพเปลวเทียนหรือ ศพนั้นเหมือนจริงเมื่อลืมตาเห็น ภาพที่หลับตาก็เห็น เหมือนจริงนี่แหละเรียกว่าอุคคหนิมิต จัดว่าเป็นนิมิตติดตา และ (2) ถ้าเพ่งบริกรรมนิมิตด้วยใจ ไม่ได้ใช้ตาเพ่ง เช่นการเจริญอนุสติมีพุทธานุสติเป็นต้น เมื่อจิตเกิดความซาบซึ้งในสิ่งที่คิดพิจารณา นั้นอย่างชัดเจน เช่นคิดจนซาบซึ้งถึงคุณของพระพุทธเจ้า ก็เรียกว่าอุคคหนิมิตเหมือนกัน แต่เป็นนิมิตติดใจ เป็นความรู้สึก ไม่มีรูปร่างแสงสีใดๆ
ปฏิภาคนิมิต ก็คือภาพของอุคคหนิมิตบางอย่างที่พัฒนาต่อไปจนเป็นความใสกระจ่างปราศจากริ้วรอย และสามารถย่อหรือขยายภาพนั้นได้ตามใจปรารถนา เช่นเมื่อเพ่งศพอันเป็นบริกรรมนิมิต จนจิตจำภาพศพนั้นได้ แม้หลับตาก็เห็นภาพ นั้นเหมือนลืมตา จัดเป็นอุคคหนิมิตประเภทนิมิตติดตา เมื่อเพ่งอุคคหนิมิตไปเรื่อยๆ ภาพศพที่ติดตา กลายเป็นแสงสว่างรูปศพ ไม่มีหน้าตาหรือรายละเอียดอีกต่อไป ถัดจากนั้นแสงสว่างจะรวมตัวเข้า เป็นดวงสว่างซึ่งจะกำหนดจิตให้ดวงนั้นเล็กหรือใหญ่ก็ได้ อย่างนี้เรียกว่าปฏิภาคนิมิต นักปฏิบัติบางท่านไม่ได้เพ่งศพจริงๆ แต่คิดพิจารณากายว่าเป็นอวัยวะน้อยใหญ่หรืออาการ 32 อันเป็นการเจริญกายคตาสติ คิดไปจนจิตเกิดความซาบซึ้งสลด สังเวชใจก็จัดเป็นอุคคหนิมิตประเภทนิมิตติดใจ เมื่อพิจารณากายส่วนใดส่วนหนึ่งหรือพิจารณากาย ทั้งกายต่อไปก็เกิดปฏิภาคนิมิตได้ คือกายสลายตัวไปหมดเหลือแต่แสงสว่าง อันนี้ก็เป็นปฏิภาคนิมิต สามารถข่มกามฉันทนิวรณ์ลงได้ แต่ก็ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ
กรรมฐานทั้ง 40 อย่างสามารถเป็นได้ทั้งบริกรรมนิมิตและอุคคหนิมิต แต่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นได้กับกรรมฐาน 22 อย่าง คือกสิณ 10 อสุภะ 10 กายคตาสติและอานาปานสติเท่านั้น แม้แต่อัปมัญญา 4 และ อรูป 4 ที่ใช้ทำฌานหรืออัปปนาภาวนาได้ ก็เป็นได้เพียงอุคคหนิมิต ไม่ถึงปฏิภาคนิมิต
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/ระดับของความสงบ)