พระพุทธรูปปางพระเกศธาตุเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้าย วางหงายบนพระเพลา (ตัก)พระหัตถ์ขวายกขึ้นเหนือพระเศียร คล้ายกับกิริยาเสยพระเกศา สร้างขึ้นเป็นตอนต่อเนื่องจากที่พระพุทธองค์ทรงรับสัตตุก้อน สัตตุผงแล้ว
ตามประวัติกล่าวว่าหลังจากสองพ่อค้าคือ ตปุสสะและภัลลิกะถวายสัตตุก้อน สัตตุผงพร้อมกับปวารณาตนเป็นอุบาสกคู่แรกของพระพุทธศาสนาแล้ว ได้ทูลขอ สิ่งซึ่งควรค่าแก่การสักการบูชา ต่างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระพุทธองค์ทรงลูบพระเศียรด้วยพระหัตถ์ขวา มีพระเกศา ๘ เส้นอยู่บนฝ่า พระหัตถ์ จึงโปรดประทานพระเกศาทั้ง ๘ เส้นนั้นแก่ตปุสสะและภัลลิกะ เมื่อพ่อค้า ทั้งสองกลับยังบ้านของตนจึงได้สร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระเกศาไว้บูชา
การบูชาพระเกศธาตุเป็นหนึ่งในการบูชาพระธาตุต่างๆของพระพุทธเจ้า กล่าวคือเรียกตามพระธาตุส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธองค์ อย่างเช่น พระทันตธาตุหรือพระทาฐธาตุ(ฟัน หรือ เขี้ยวของพระพุทธเจ้า) พระเกศธาตุ(เส้นพระเกศาของ พระพุทธเจ้า) เช่นนี้เป็นต้น
พระพุทธรูปปางนี้ มิได้สร้างกันอย่างแพร่หลาย จึงทำให้ผู้ไม่รู้เข้าใจว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ กระทั่งไปเรียกกันผิดๆเมื่อไม่นานมานี้ว่า ‘ปางตะเบ๊ะ’ ดังนั้น
จึงจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาพุทธประวัติประกอบด้วย เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น
(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 77 เม.ษ. 50 โดย กีรติกร)