เมื่อกล่าวถึงฐานพระพุทธรูปในปัจจุบัน อาจนึกถึงฐานบัวเรียบๆที่มีลักษณะไม่แตกต่างกันนัก ทั้งนี้เพราะการสร้างตามคติความเชื่อตามพุทธประวัติมีการเปลี่ยนแปลงไป
การสร้างพระพุทธรูปจึงเน้นที่ความ งดงาม สมบูรณ์ และการแสดงปางของ พระพุทธรูปเท่านั้น ดังจะพบได้ว่าฐานส่วนใหญ่ที่พบนั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึง กันแทบทั้งสิ้น แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า ในอดีตฐานพระพุทธรูปถูกหยิบยกขึ้นมาสร้างสรรค์ให้มีความงดงาม มีเอกลักษณ์ และให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระพุทธรูปเลย
ที่ผ่านมามีการสร้างฐานพระพุทธรูปให้มีความ ต่างกันไปตามคติความเชื่อ และรสนิยมของแต่ละสกุลช่าง โดยทั่วไปพระพุทธรูปจะประดิษฐานบน ฐานบัว และต่อมาได้มีการออกแบบให้มีความแตกต่างกัน โดยมีการนำบุคคล สัตว์ หรือพันธุ์พฤกษา เข้ามาเป็นองค์ประกอบ
รูปแบบของฐานพระพุทธรูปนั้น มีความแตกต่างหรือมีความคล้ายคลึงกันในแต่ละยุคสมัย โดยสามารถแบ่งกลุ่มได้ดังนี้
๑.กลุ่มที่เป็นฐานบัว คือ อาจเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย กลุ่มนี้พบมากในสมัยโบราณเช่น ทวารวดี และลพบุรีจนถึงปัจจุบัน
๒.กลุ่มที่เป็นฐานสิงห์ คือมีการทำส่วนขาคล้ายแข้งสิงห์ ซึ่งปรับรูปแบบมาจากอินเดียที่เป็น ตัวสิงห์ กลุ่มนี้ยังพบอยู่ในปัจจุบัน
๓.กลุ่มที่เป็นฐานบัวเพิ่มมุม เป็นกลุ่มฐานที่มีการเพิ่มมุมของฐานล่างที่รองรับบัวอีกชั้นหนึ่ง พบมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา
๔.กลุ่มที่เป็นฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง เป็นกลุ่มฐาน ที่มีการประดับลวดลายได้อย่างวิจิตรตระการตา ลักษณะเด่น คือมีการประดับผ้าทิพย์ด้านหน้าฐานพระพุทธรูป ซึ่งเริ่ม สร้างมาแต่ครั้งอยุธยาตอนปลาย
๕.กลุ่มที่ประดับลวดลายพฤกษา ลายกระหนก กลุ่มนี้พบมากในรัตนโกสินทร์ตอนต้น
อย่างไรก็ดีฐานพระพุทธรูปนับว่ายังมีบทบาทและความ สำคัญ ส่งเสริมความงดงามให้แก่พระพุทธรูปอยู่มิน้อย ลวดลายในงานประดับตกแต่งยังแสดงถึงการให้ความสำคัญของส่วนฐานพระพุทธรูป ผนวกกับคติการสร้างที่มี ความแตกต่างออกไปตามความนิยม ณ ช่วงเวลาหนึ่งหรือ ในอาณาจักรหนึ่ง ซึ่งคติการสร้างนั้นจะเกี่ยวพ้องกับอิทธิพล ของวัฒนธรรมการนับถือพระพุทธศาสนาที่อาณาจักรนั้นๆให้การเคารพอยู่ และความนิยมในเรื่องราวตามพุทธประวัติเช่นกัน
ในศิลปะล้านนาขึ้นชื่อว่าเป็นศิลปะที่รับอิทธิพลมา จากภายนอกมาก เช่น สุโขทัย พม่า และอยุธยา มีความโดดเด่นในเรื่องของการประดับประดาส่วนฐานพระพุทธรูปให้มีความวิจิตรอลังกาเด่นชัด ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ อันเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านนา และพระพุทธศาสนา เจริญอย่างมากในช่วงเวลานั้น
ขอยกตัวอย่างศิลปะล้านนาสกุลช่างหนึ่ง ซึ่งมีรูปแบบการสร้างฐานพระพุทธรูปที่น่าสนใจ นั่นคือ สกุลช่างพะเยา
พระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา มีการประดับส่วนฐานอย่างน่าสนใจ กล่าวคือเป็นงานประดับด้วยเหล่าเทวดา และสัตว์ โดยทำเป็นฐานสูง ขนาดไม่ใหญ่มากนัก ซึ่งฐานในสกุลช่างพะเยานี้ มีความโดดเด่นที่การนำช้างมาประกอบเป็นสำคัญสามารถแบ่งรูปแบบออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ ฐานช้างที่เป็นประติมากรรมลอยตัว มีลักษณะเหมือนจริงทุกประการ และช้างที่เป็นประติมากรรมนูนสูง ประดับส่วนฐานพระพุทธรูป นอกจากนี้ยังพบการประดับด้วยเหล่าเทวดา สิงห์และม้า อีกด้วย
ช้าง เป็นสัตว์มงคลมาตั้งแต่ครั้งอินเดียโบราณ ช้างมีความผูกพันในเรื่องราวต่างๆ ของพระพุทธศาสนา ในงานประดับฐานพระพุทธรูป ซึ่งมีช้าง เป็นส่วนประกอบนั้น คงมีคติความเชื่อในเรื่องของช้างค้ำหรือช้างแบกในทางพระพุทธศาสนาอาจหมายถึง ช้างผู้ค้ำจุนพระพุทธศาสนาก็เป็นได้
ความนิยมในการประดับช้างในส่วนฐานนั้น พบมาก่อน แล้วในสถาปัตยกรรมของศิลปะสุโขทัยเด่นชัดที่สุด เช่น เจดีย์วัดช้างล้อม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งส่งอิทธิพลไปยังศิลปะล้านนา
นอกจากนี้ยังพบว่า ฐานพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่าง พะเยา ได้มีการประดับด้วยรูปบุคคล คือเหล่าเทวดาที่ราย ล้อมอยู่เป็นการสะท้อนทัศนคติของชาวล้านนาที่มีต่อพระพุทธศาสนา เพื่อสื่อความหมายของการน้อมสักการะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จากที่กล่าวมาข้างต้น งานประดับฐานด้วยเหล่าบุคคล สัตว์ ในศิลปะล้านนา เป็นการเน้นรูปแบบของการ สร้างฐานพระพุทธรูปในการแสดงออกถึงความเคารพสักการะ รวมถึงความเชื่อในเรื่องของสัตว์มงคล เช่นช้าง สิงห์ และม้า แต่ให้ความสำคัญกับช้างเพราะมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์มาแต่โบราณ และยังมีความหมายถึงการค้ำจุนพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความเหมาะสมในเรื่องตำแหน่งของการประดับด้วยเช่นกัน
เอกสารอ่านประกอบ
หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์.พระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทย.พระนคร:โรงพิมพ์พระจันทร์,๒๕๐๓.
หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล.ศิลปะในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,๒๕๔๖.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์.”ช้างประดับฐานพระพุทธรูปศิลปะล้านนาสกุลช่างพะเยา” ศิลปวัฒนธรรม.ปีที่๑๒ ฉบับที่๓ (มกราคม ๒๕๓๔)หน้า๖๔.
(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 72 พ.ย. 49 โดย นฤมล สารากรบริรักษ์)
การสร้างพระพุทธรูปจึงเน้นที่ความ งดงาม สมบูรณ์ และการแสดงปางของ พระพุทธรูปเท่านั้น ดังจะพบได้ว่าฐานส่วนใหญ่ที่พบนั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึง กันแทบทั้งสิ้น แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า ในอดีตฐานพระพุทธรูปถูกหยิบยกขึ้นมาสร้างสรรค์ให้มีความงดงาม มีเอกลักษณ์ และให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระพุทธรูปเลย
ที่ผ่านมามีการสร้างฐานพระพุทธรูปให้มีความ ต่างกันไปตามคติความเชื่อ และรสนิยมของแต่ละสกุลช่าง โดยทั่วไปพระพุทธรูปจะประดิษฐานบน ฐานบัว และต่อมาได้มีการออกแบบให้มีความแตกต่างกัน โดยมีการนำบุคคล สัตว์ หรือพันธุ์พฤกษา เข้ามาเป็นองค์ประกอบ
รูปแบบของฐานพระพุทธรูปนั้น มีความแตกต่างหรือมีความคล้ายคลึงกันในแต่ละยุคสมัย โดยสามารถแบ่งกลุ่มได้ดังนี้
๑.กลุ่มที่เป็นฐานบัว คือ อาจเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย กลุ่มนี้พบมากในสมัยโบราณเช่น ทวารวดี และลพบุรีจนถึงปัจจุบัน
๒.กลุ่มที่เป็นฐานสิงห์ คือมีการทำส่วนขาคล้ายแข้งสิงห์ ซึ่งปรับรูปแบบมาจากอินเดียที่เป็น ตัวสิงห์ กลุ่มนี้ยังพบอยู่ในปัจจุบัน
๓.กลุ่มที่เป็นฐานบัวเพิ่มมุม เป็นกลุ่มฐานที่มีการเพิ่มมุมของฐานล่างที่รองรับบัวอีกชั้นหนึ่ง พบมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา
๔.กลุ่มที่เป็นฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง เป็นกลุ่มฐาน ที่มีการประดับลวดลายได้อย่างวิจิตรตระการตา ลักษณะเด่น คือมีการประดับผ้าทิพย์ด้านหน้าฐานพระพุทธรูป ซึ่งเริ่ม สร้างมาแต่ครั้งอยุธยาตอนปลาย
๕.กลุ่มที่ประดับลวดลายพฤกษา ลายกระหนก กลุ่มนี้พบมากในรัตนโกสินทร์ตอนต้น
อย่างไรก็ดีฐานพระพุทธรูปนับว่ายังมีบทบาทและความ สำคัญ ส่งเสริมความงดงามให้แก่พระพุทธรูปอยู่มิน้อย ลวดลายในงานประดับตกแต่งยังแสดงถึงการให้ความสำคัญของส่วนฐานพระพุทธรูป ผนวกกับคติการสร้างที่มี ความแตกต่างออกไปตามความนิยม ณ ช่วงเวลาหนึ่งหรือ ในอาณาจักรหนึ่ง ซึ่งคติการสร้างนั้นจะเกี่ยวพ้องกับอิทธิพล ของวัฒนธรรมการนับถือพระพุทธศาสนาที่อาณาจักรนั้นๆให้การเคารพอยู่ และความนิยมในเรื่องราวตามพุทธประวัติเช่นกัน
ในศิลปะล้านนาขึ้นชื่อว่าเป็นศิลปะที่รับอิทธิพลมา จากภายนอกมาก เช่น สุโขทัย พม่า และอยุธยา มีความโดดเด่นในเรื่องของการประดับประดาส่วนฐานพระพุทธรูปให้มีความวิจิตรอลังกาเด่นชัด ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ อันเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านนา และพระพุทธศาสนา เจริญอย่างมากในช่วงเวลานั้น
ขอยกตัวอย่างศิลปะล้านนาสกุลช่างหนึ่ง ซึ่งมีรูปแบบการสร้างฐานพระพุทธรูปที่น่าสนใจ นั่นคือ สกุลช่างพะเยา
พระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา มีการประดับส่วนฐานอย่างน่าสนใจ กล่าวคือเป็นงานประดับด้วยเหล่าเทวดา และสัตว์ โดยทำเป็นฐานสูง ขนาดไม่ใหญ่มากนัก ซึ่งฐานในสกุลช่างพะเยานี้ มีความโดดเด่นที่การนำช้างมาประกอบเป็นสำคัญสามารถแบ่งรูปแบบออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ ฐานช้างที่เป็นประติมากรรมลอยตัว มีลักษณะเหมือนจริงทุกประการ และช้างที่เป็นประติมากรรมนูนสูง ประดับส่วนฐานพระพุทธรูป นอกจากนี้ยังพบการประดับด้วยเหล่าเทวดา สิงห์และม้า อีกด้วย
ช้าง เป็นสัตว์มงคลมาตั้งแต่ครั้งอินเดียโบราณ ช้างมีความผูกพันในเรื่องราวต่างๆ ของพระพุทธศาสนา ในงานประดับฐานพระพุทธรูป ซึ่งมีช้าง เป็นส่วนประกอบนั้น คงมีคติความเชื่อในเรื่องของช้างค้ำหรือช้างแบกในทางพระพุทธศาสนาอาจหมายถึง ช้างผู้ค้ำจุนพระพุทธศาสนาก็เป็นได้
ความนิยมในการประดับช้างในส่วนฐานนั้น พบมาก่อน แล้วในสถาปัตยกรรมของศิลปะสุโขทัยเด่นชัดที่สุด เช่น เจดีย์วัดช้างล้อม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งส่งอิทธิพลไปยังศิลปะล้านนา
นอกจากนี้ยังพบว่า ฐานพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่าง พะเยา ได้มีการประดับด้วยรูปบุคคล คือเหล่าเทวดาที่ราย ล้อมอยู่เป็นการสะท้อนทัศนคติของชาวล้านนาที่มีต่อพระพุทธศาสนา เพื่อสื่อความหมายของการน้อมสักการะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จากที่กล่าวมาข้างต้น งานประดับฐานด้วยเหล่าบุคคล สัตว์ ในศิลปะล้านนา เป็นการเน้นรูปแบบของการ สร้างฐานพระพุทธรูปในการแสดงออกถึงความเคารพสักการะ รวมถึงความเชื่อในเรื่องของสัตว์มงคล เช่นช้าง สิงห์ และม้า แต่ให้ความสำคัญกับช้างเพราะมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์มาแต่โบราณ และยังมีความหมายถึงการค้ำจุนพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความเหมาะสมในเรื่องตำแหน่งของการประดับด้วยเช่นกัน
เอกสารอ่านประกอบ
หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์.พระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทย.พระนคร:โรงพิมพ์พระจันทร์,๒๕๐๓.
หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล.ศิลปะในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,๒๕๔๖.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์.”ช้างประดับฐานพระพุทธรูปศิลปะล้านนาสกุลช่างพะเยา” ศิลปวัฒนธรรม.ปีที่๑๒ ฉบับที่๓ (มกราคม ๒๕๓๔)หน้า๖๔.
(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 72 พ.ย. 49 โดย นฤมล สารากรบริรักษ์)