4.4.1 ความหมายของสมาธิ
ก่อนที่จะกล่าวถึงประเภทและการทำงานของ "สัมมาสมาธิ" อันเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา พวกเราควรทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า "สมาธิ" เสียก่อน ดังนี้
องค์ธรรมของสมาธิได้แก่เอกัคคตาเจตสิก คือความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
เอกัคคตาเจตสิก (1) มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ (2) มีการรวบรวมสหชาตธรรมเป็นกิจ คือสมาธิเป็นที่รวมของสภาวธรรมที่เกิดร่วมกัน เช่น เป็นที่รวมองค์ทั้ง 7 ของมรรคให้ทำกิจร่วมกันในการรู้รูปนามตามความเป็นจริงจนเกิดอริยมรรคขึ้น เป็นต้น (3) มีความสงบ (อุปสมะ) เป็นผล และ (4) มีสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิด
เอกัคคตาเจตสิก เป็นเจตสิก (หรือสภาวธรรม ที่ประกอบกับจิต) ชนิดที่เรียกว่าสัพพจิตสาธารณ-เจตสิก ซึ่งเป็นเจตสิกชนิดที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง จึงเกิดขึ้นได้แม้ในขณะที่จิตเป็นอกุศล ดังนั้นพวกเราจึงควรระมัดระวังในเรื่องการทำสมาธิกันให้ดี เพราะไม่จำเป็นว่าถ้าทำสมาธิได้แล้วจะเกิดปัญญาเสมอไป ต้องเป็นสัมมาสมาธิเท่านั้นจึงจะเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ส่วนสมาธิประเภทที่เกิด ร่วมกับอกุศล เช่นเกิดร่วมกับโมหะคือสมาธิประเภทลืมเนื้อลืมตัว หรือจิตเที่ยวฟุ้งซ่านออกไป รู้อะไรๆ ภายนอก และสมาธิที่เกิดร่วมกับโลภะคือ สมาธิประเภทเพลิดเพลินยินดีไปในความสุขความสงบ สมาธิเหล่านี้ไม่สามารถสนับสนุนให้เกิด ปัญญาได้ มีแต่จะกดถ่วงปิดกั้นการเจริญปัญญาเสียด้วยซ้ำไป
4.4.2 ประเภทของสมาธิ
สมาธิจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สมาธิธรรมดาโดยทั่วไปหรือมิจฉาสมาธิ กับสมาธิ ในองค์มรรคหรือสัมมาสมาธิ
สมาธิธรรมดาหรือมิจฉาสมาธิไม่ใช่สิ่งที่ดีหรือ เลวในตัวของมันเอง เพราะสมาธิสามารถเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ และเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นกุศล แต่ขาดปัญญาก็ได้ ความหมายของสมาธิประเภทนี้มีตั้งแต่อย่างกว้าง คือ
(1) หมายถึงเอกัคคตาเจตสิกที่ทำให้จิตทุกดวงสามารถรู้อารมณ์ได้เพียงอย่างเดียว คือทำให้ จิตจับหรือตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียว เช่น จิตที่ทำหน้าที่ฟังก็ฟังได้อย่างเดียว คือรู้เสียง ได้อย่างเดียว จะคิดไม่ได้ เป็นต้น สมาธิในความ-หมายนี้เกิดร่วมกับจิตได้ทุกดวงทุกประเภท เพื่อนนักปฏิบัติบางท่านจึงมองข้ามความสำคัญของสัมมาสมาธิ เพราะไปคิดว่าเอกัคคตาเจตสิกคือสัมมาสมาธิ จึงเห็นว่าแม้ไม่ต้องอบรมสัมมาสมาธิ ก็มีสัมมาสมาธิอยู่แล้ว ความจริง ถ้าสัมมาสมาธิเกิดได้ง่ายอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็คงไม่ต้องทรงสอน เรื่องจิตสิกขาเอาไว้เลย ในความเป็นจริง สัมมาสมาธิไม่ได้เป็นเพียงเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกดวง หากแต่มีลักษณะเฉพาะบางประการ ซึ่งยากมากที่จะเกิดขึ้นได้
และ (2) ความหมายของสมาธิในอีกลักษณะหนึ่งก็คือ การที่จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่กับการ งานอันใดอันหนึ่ง เช่นตั้งมั่นในการอ่านหนังสือ ทำให้อ่านได้รู้เรื่องเป็นอย่างดี และตั้งมั่นในการขับรถ ทำให้ขับได้ดี เป็นต้น สมาธิในลักษณะนี้แหละที่ทำให้พวกเรามักพูดกันว่า วันนี้จิตมีสมาธิ วันนี้จิตไม่มีสมาธิ หรือพูดว่าเด็กคนนี้มีสมาธิสั้น ส่วนเด็กอีกคนหนึ่งมีสมาธิดี เป็นต้น สมาธิใน ความหมายนี้จึงไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลากับจิตทุกดวง แต่เป็นสิ่งที่ต้องฝึก ต้องพัฒนาให้มีขึ้น อย่างไรก็ตามสมาธิอย่างนี้ก็ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิอีกเช่นกัน แต่เป็นสมาธิอย่างโลกๆ ธรรมดาๆ และเอาไว้ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่กับโลกเท่านั้นเอง
ยังมีสมาธิอีกอย่างหนึ่งคือสัมมาสมาธิซึ่งเป็นสมาธิในองค์มรรค สมาธิประเภทนี้แหละที่เราต้องสนใจศึกษาและพัฒนาขึ้นมาให้ได้
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า
ลักษณะสำคัญของสัมมาสมาธิ)
ก่อนที่จะกล่าวถึงประเภทและการทำงานของ "สัมมาสมาธิ" อันเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา พวกเราควรทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า "สมาธิ" เสียก่อน ดังนี้
องค์ธรรมของสมาธิได้แก่เอกัคคตาเจตสิก คือความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
เอกัคคตาเจตสิก (1) มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ (2) มีการรวบรวมสหชาตธรรมเป็นกิจ คือสมาธิเป็นที่รวมของสภาวธรรมที่เกิดร่วมกัน เช่น เป็นที่รวมองค์ทั้ง 7 ของมรรคให้ทำกิจร่วมกันในการรู้รูปนามตามความเป็นจริงจนเกิดอริยมรรคขึ้น เป็นต้น (3) มีความสงบ (อุปสมะ) เป็นผล และ (4) มีสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิด
เอกัคคตาเจตสิก เป็นเจตสิก (หรือสภาวธรรม ที่ประกอบกับจิต) ชนิดที่เรียกว่าสัพพจิตสาธารณ-เจตสิก ซึ่งเป็นเจตสิกชนิดที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง จึงเกิดขึ้นได้แม้ในขณะที่จิตเป็นอกุศล ดังนั้นพวกเราจึงควรระมัดระวังในเรื่องการทำสมาธิกันให้ดี เพราะไม่จำเป็นว่าถ้าทำสมาธิได้แล้วจะเกิดปัญญาเสมอไป ต้องเป็นสัมมาสมาธิเท่านั้นจึงจะเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ส่วนสมาธิประเภทที่เกิด ร่วมกับอกุศล เช่นเกิดร่วมกับโมหะคือสมาธิประเภทลืมเนื้อลืมตัว หรือจิตเที่ยวฟุ้งซ่านออกไป รู้อะไรๆ ภายนอก และสมาธิที่เกิดร่วมกับโลภะคือ สมาธิประเภทเพลิดเพลินยินดีไปในความสุขความสงบ สมาธิเหล่านี้ไม่สามารถสนับสนุนให้เกิด ปัญญาได้ มีแต่จะกดถ่วงปิดกั้นการเจริญปัญญาเสียด้วยซ้ำไป
4.4.2 ประเภทของสมาธิ
สมาธิจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สมาธิธรรมดาโดยทั่วไปหรือมิจฉาสมาธิ กับสมาธิ ในองค์มรรคหรือสัมมาสมาธิ
สมาธิธรรมดาหรือมิจฉาสมาธิไม่ใช่สิ่งที่ดีหรือ เลวในตัวของมันเอง เพราะสมาธิสามารถเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ และเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นกุศล แต่ขาดปัญญาก็ได้ ความหมายของสมาธิประเภทนี้มีตั้งแต่อย่างกว้าง คือ
(1) หมายถึงเอกัคคตาเจตสิกที่ทำให้จิตทุกดวงสามารถรู้อารมณ์ได้เพียงอย่างเดียว คือทำให้ จิตจับหรือตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียว เช่น จิตที่ทำหน้าที่ฟังก็ฟังได้อย่างเดียว คือรู้เสียง ได้อย่างเดียว จะคิดไม่ได้ เป็นต้น สมาธิในความ-หมายนี้เกิดร่วมกับจิตได้ทุกดวงทุกประเภท เพื่อนนักปฏิบัติบางท่านจึงมองข้ามความสำคัญของสัมมาสมาธิ เพราะไปคิดว่าเอกัคคตาเจตสิกคือสัมมาสมาธิ จึงเห็นว่าแม้ไม่ต้องอบรมสัมมาสมาธิ ก็มีสัมมาสมาธิอยู่แล้ว ความจริง ถ้าสัมมาสมาธิเกิดได้ง่ายอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็คงไม่ต้องทรงสอน เรื่องจิตสิกขาเอาไว้เลย ในความเป็นจริง สัมมาสมาธิไม่ได้เป็นเพียงเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกดวง หากแต่มีลักษณะเฉพาะบางประการ ซึ่งยากมากที่จะเกิดขึ้นได้
และ (2) ความหมายของสมาธิในอีกลักษณะหนึ่งก็คือ การที่จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่กับการ งานอันใดอันหนึ่ง เช่นตั้งมั่นในการอ่านหนังสือ ทำให้อ่านได้รู้เรื่องเป็นอย่างดี และตั้งมั่นในการขับรถ ทำให้ขับได้ดี เป็นต้น สมาธิในลักษณะนี้แหละที่ทำให้พวกเรามักพูดกันว่า วันนี้จิตมีสมาธิ วันนี้จิตไม่มีสมาธิ หรือพูดว่าเด็กคนนี้มีสมาธิสั้น ส่วนเด็กอีกคนหนึ่งมีสมาธิดี เป็นต้น สมาธิใน ความหมายนี้จึงไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลากับจิตทุกดวง แต่เป็นสิ่งที่ต้องฝึก ต้องพัฒนาให้มีขึ้น อย่างไรก็ตามสมาธิอย่างนี้ก็ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิอีกเช่นกัน แต่เป็นสมาธิอย่างโลกๆ ธรรมดาๆ และเอาไว้ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่กับโลกเท่านั้นเอง
ยังมีสมาธิอีกอย่างหนึ่งคือสัมมาสมาธิซึ่งเป็นสมาธิในองค์มรรค สมาธิประเภทนี้แหละที่เราต้องสนใจศึกษาและพัฒนาขึ้นมาให้ได้
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า
ลักษณะสำคัญของสัมมาสมาธิ)