ศาสนาทุกศาสนาล้วนมีคำสอนที่ตรงกันประการหนึ่ง ก็คือ สอนให้คนมีศรัทธา ความเชื่อในศาสนา ในศาสนาที่มีพระเจ้าหรือนับถือพระเจ้าเป็น ศาสดาสูงสุด ก็จะสอนให้เคารพนับถือใน พระเจ้า และสอนให้เชื่อว่าพระเจ้านั้นสามารถดลบันดาลให้มนุษย์มีความสุขได้ ดังปรารถนา ถ้ามนุษย์บูชาและบวงสรวง พระผู้เป็นเจ้า ในทางตรงข้ามถ้ามนุษย์ไม่ เคารพบูชา หรือดูหมิ่นพระเจ้า ก็อาจจะได้รับทุกข์เดือดร้อนได้ สรุปก็คือ มนุษย์จะสุขจะทุกข์ก็อยู่ที่พระเจ้าจะดลบันดาลให้เป็นไป จะเป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้นเองโดย ลำพังก็หาไม่
จึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมมนุษย์จึงต้องเซ่นสรวงบูชาพระเจ้า หรือแสวงหาความศักดิ์สิทธิ์จากพระเจ้า ด้วยการทำพิธี กรรมต่างๆ เพื่อให้พระเจ้าทรงโปรดปราน จะได้ประทานพรแก่ตน
แต่สำหรับในพระพุทธศาสนาแล้ว คำว่า ‘ศรัทธา’ ความเชื่อนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ หรือสอน ให้เชื่อถึงสาระและความเป็นจริงของชีวิต โดยให้มีความเชื่อด้วยเหตุผล ในเรื่องที่จะเชื่อทุกเรื่องต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาว่า ควรเชื่อหรือไม่ อย่าเชื่อโดยไม่มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาโดยเด็ดขาด เพราะการเชื่อเช่นนั้น จะทำให้คนเรา หลงผิด เข้าใจผิด และทำให้ปฏิบัติผิดตามไปด้วย
ถึงแม้ว่า พระพุทธศาสนาจะสอนให้คนมีศรัทธาใน ศาสนาก็จริง แต่ก็มีข้อความหลายตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า จงอย่าเชื่อแม้ว่าจะเป็นพระดำรัสของพระองค์ก็ตาม แต่จงเชื่อเมื่อนำไปพินิจพิจารณา นำไปปฏิบัติแล้วจะเห็นได้เองว่า สิ่งที่พระองค์ตรัสไว้นั้นเป็นความ จริง ถ้าคนมีศรัทธาความเชื่อดังกล่าวมานี้ จะเป็นผู้ที่มีศรัทธามั่นคงในพระศาสนา เป็นศรัทธาที่ไม่คลอน แคลนหรือโยกคลอน นี่คือ ศรัทธาที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระประสงค์ เรียกว่า ‘อจลศรัทธา’
หลักศรัทธา ความเชื่อในพระพุทธศาสนา สอนให้ เชื่อให้หลักความจริงอันประเสริฐ คือ อริยสัจ ๔ คือ ‘ทุกข์’ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ‘สมุทัย’ ต้นเหตุแห่งการเกิดทุกข์ ‘นิโรธ’ ความดับทุกข์ และ‘มรรค’คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันจะดำเนินไปสู่ความหลุดจากกิเลสทั้งปวง อันเป็นผลสูงสุดในพระพุทธศาสนา
นอกจากนั้น ทรงสอนให้เชื่อกรรม คือ การกระทำ และผลของการกระทำ “ทำกรรมเช่นไรไว้ ก็ย่อมได้รับผลแห่งการกระทำนั้น เหมือนชาวนาหว่านเมล็ดพืช ใดลงไปในนา ก็ย่อมได้รับผลแห่งเมล็ดพืชชนิดนั้น”
ด้วยเหตุนี้ ความสุขที่มนุษย์ได้รับก็ดี ความทุกข์ยากลำเค็ญในชีวิตก็ดี ล้วนมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งนั้น มิใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพระเจ้าจะดลบันดาลให้เป็นไป
โดยนัยนี้จะเห็นได้ว่า ความสุขและความทุกข์นั้น เกิดมาจากภายใน คือตัวของมนุษย์นั่นเอง หาเกิดมาจากสิ่งภายนอกที่พระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลให้เป็นไปไม่ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นได้จริง มนุษย์ก็ไม่ต้องทำ การงานให้เหน็ดเหนื่อย อาศัยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพระเจ้าก็จะสบายกว่ากันเยอะเลย แต่เมื่อบวง-สรวงเซ่นไหว้ไปแล้ว มนุษย์ก็ต้องพยายามจนสุดฤทธิ์ เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนปรารถนานั้นมิใช่หรือ ?
ถ้าคนเรามีความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนาว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ก็คงจะเลือกทำความดี เพราะกรรมดีนั้น มีผลเป็นความสุข อยู่ที่ไหน อยู่ในฐานะเช่นไร ก็มีความสุข ไม่มีทุกข์ หรือมีเวรภัยต่อใคร ตรงกันข้ามกับกรรมชั่ว ที่ใครทำแล้วย่อมมีผลทำให้ทุกข์ร้อนใจ อยู่ไม่ติดที่ ทุรนทุรายกระสับ กระส่าย ผุดลุกผุดนั่ง คนโบราณเขาเรียก ว่า นั่งไม่ติดที่ คือเดือดร้อนใจอยู่ตลอดเวลา
เคยเห็นหมาขี้เรื้อนไหม มันเป็นขี้เรื้อน ทั้งตัวทุกข์ทรมานมาก เพราะมันคันไม่หยุดหย่อน เวลาคันมันก็จะเกาและร้อง ครางไปด้วย เพราะมันเจ็บแสบแผลที่มันเกา ที่น่าขำไปกว่านั้นก็คือ มันจะวิ่งไป นอนตรงนี้ที ตรงนั้นที แล้วมันก็เห่าที่ที่มันนอน เพราะมันเข้าใจว่า ที่ที่มันนอน นั้นทำให้มันคัน มันไม่รู้ว่าความจริงโรค คันอยู่ที่ตัวมันเอง มันไม่ได้อยู่ที่ที่มันนอน แต่ว่ามันเป็นหมาก็คิดได้แค่นั้นเอง ก็น่าเห็นใจ ก็เหมือนคนทำกรรมชั่ว พอกรรม มันให้ผลก็ทุรนทุรายไปทุกที่ คิดว่าที่ที่ไป จะทำให้ตนมีความสุขได้
แต่การที่คนเราต้องทำกรรมชั่ว หรือทำ ความผิดพลาดนั้น โดยพื้นฐานทางจิตใจคงไม่อยากทำสักเท่าไหร่ แต่มันมีสิ่งเร้า สิ่งยั่วยุเข้ามาลวงล่อ ทำให้มองเห็นสิ่งไม่ดีว่าเป็นความดี และมองว่าความไม่ดีเป็น ความดี ก็เลยถลำตัวทำชั่วลงไป ถ้าทำชั่วน้อยก็พอทำเนา ถ้าทำชั่วมาก เพราะมีผล เสียต่อสังคมมนุษย์ ต่อประเทศชาติบ้านเมือง เวลาผลกรรมมันตอบสนองจะมีโทษ มาก จนแผ่นดินรับไว้ไม่ได้ ถูกธรณีสูบไป ก็มี ตัวอย่างเช่นพระเทวทัต เป็นต้น
อีกประการหนึ่ง คนที่ทำกรรมชั่วนั้น มักคิดว่า กรรมชั่วคงไม่ให้ผล หรือบางทีอาจเป็นไปได้ว่า เขาไม่เชื่อหลักกรรมตามที่พระพุทธศาสนาสอนก็เป็นได้ และคนทำกรรมชั่วนั้น ก็จะร่าเริง บันเทิงใจ ตลอดระยะเวลาที่กรรมชั่วไม่ให้ผล แต่เมื่อใดกรรมชั่วให้ผล เมื่อนั้นคนที่ทำกรรมชั่วจะซบเซาเศร้าหมอง หาความสุขไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้น คนเราเกิดมาแล้วชาติหนึ่ง ก็ควรจะสร้างกรรมดีเอาไว้ให้มาก เพราะกรรมดีนั้น ทำให้ตน เองเป็นคนดี ถ้าเป็นลูกก็เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ถ้าเป็น พ่อแม่ก็จะเป็นพ่อแม่ที่ดีของลูก เป็นศิษย์ที่ดีของครู บาอาจารย์ หรือเป็นอาจารย์ที่ดีของลูกศิษย์ และเป็นคนดีของสังคมประเทศชาติ ทำให้คนใกล้ชิดมีความสุข เพราะความดีมีผลเป็นความร่มเย็น ความบันเทิงร่าเริง เป็นที่นิยมรักใคร่ของผู้พบเห็นโดยทั่วไป ใครๆ ก็อยากจะผูกมิตรด้วย
จึงอยากจะฝากข้อความที่ปรากฏใน ‘วาเสฏฐสูตร’ เป็นเครื่องเตือนใจว่า
“บุคคลไม่ได้เป็นคนชั่ว ไม่ได้เป็นคนดี เพราะชาติ กำเนิด หากเป็นเพราะการกระทำ บุคคลเป็นชาวนา เป็นศิลปิน เป็นพ่อค้า เป็นคนรับใช้ เป็นโจร เป็นทหาร เป็นนักแสวงบุญ เป็นพระเจ้า ก็เพราะการกระทำ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม สัตว์ทั้งหลายผูกพันอยู่ที่กรรม เหมือนกับสลักลิ่มเป็นเครื่องยึดรถที่แล่นไป ฉะนั้น”
จึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมมนุษย์จึงต้องเซ่นสรวงบูชาพระเจ้า หรือแสวงหาความศักดิ์สิทธิ์จากพระเจ้า ด้วยการทำพิธี กรรมต่างๆ เพื่อให้พระเจ้าทรงโปรดปราน จะได้ประทานพรแก่ตน
แต่สำหรับในพระพุทธศาสนาแล้ว คำว่า ‘ศรัทธา’ ความเชื่อนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ หรือสอน ให้เชื่อถึงสาระและความเป็นจริงของชีวิต โดยให้มีความเชื่อด้วยเหตุผล ในเรื่องที่จะเชื่อทุกเรื่องต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาว่า ควรเชื่อหรือไม่ อย่าเชื่อโดยไม่มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาโดยเด็ดขาด เพราะการเชื่อเช่นนั้น จะทำให้คนเรา หลงผิด เข้าใจผิด และทำให้ปฏิบัติผิดตามไปด้วย
ถึงแม้ว่า พระพุทธศาสนาจะสอนให้คนมีศรัทธาใน ศาสนาก็จริง แต่ก็มีข้อความหลายตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า จงอย่าเชื่อแม้ว่าจะเป็นพระดำรัสของพระองค์ก็ตาม แต่จงเชื่อเมื่อนำไปพินิจพิจารณา นำไปปฏิบัติแล้วจะเห็นได้เองว่า สิ่งที่พระองค์ตรัสไว้นั้นเป็นความ จริง ถ้าคนมีศรัทธาความเชื่อดังกล่าวมานี้ จะเป็นผู้ที่มีศรัทธามั่นคงในพระศาสนา เป็นศรัทธาที่ไม่คลอน แคลนหรือโยกคลอน นี่คือ ศรัทธาที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระประสงค์ เรียกว่า ‘อจลศรัทธา’
หลักศรัทธา ความเชื่อในพระพุทธศาสนา สอนให้ เชื่อให้หลักความจริงอันประเสริฐ คือ อริยสัจ ๔ คือ ‘ทุกข์’ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ‘สมุทัย’ ต้นเหตุแห่งการเกิดทุกข์ ‘นิโรธ’ ความดับทุกข์ และ‘มรรค’คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันจะดำเนินไปสู่ความหลุดจากกิเลสทั้งปวง อันเป็นผลสูงสุดในพระพุทธศาสนา
นอกจากนั้น ทรงสอนให้เชื่อกรรม คือ การกระทำ และผลของการกระทำ “ทำกรรมเช่นไรไว้ ก็ย่อมได้รับผลแห่งการกระทำนั้น เหมือนชาวนาหว่านเมล็ดพืช ใดลงไปในนา ก็ย่อมได้รับผลแห่งเมล็ดพืชชนิดนั้น”
ด้วยเหตุนี้ ความสุขที่มนุษย์ได้รับก็ดี ความทุกข์ยากลำเค็ญในชีวิตก็ดี ล้วนมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งนั้น มิใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพระเจ้าจะดลบันดาลให้เป็นไป
โดยนัยนี้จะเห็นได้ว่า ความสุขและความทุกข์นั้น เกิดมาจากภายใน คือตัวของมนุษย์นั่นเอง หาเกิดมาจากสิ่งภายนอกที่พระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลให้เป็นไปไม่ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นได้จริง มนุษย์ก็ไม่ต้องทำ การงานให้เหน็ดเหนื่อย อาศัยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพระเจ้าก็จะสบายกว่ากันเยอะเลย แต่เมื่อบวง-สรวงเซ่นไหว้ไปแล้ว มนุษย์ก็ต้องพยายามจนสุดฤทธิ์ เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนปรารถนานั้นมิใช่หรือ ?
ถ้าคนเรามีความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนาว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ก็คงจะเลือกทำความดี เพราะกรรมดีนั้น มีผลเป็นความสุข อยู่ที่ไหน อยู่ในฐานะเช่นไร ก็มีความสุข ไม่มีทุกข์ หรือมีเวรภัยต่อใคร ตรงกันข้ามกับกรรมชั่ว ที่ใครทำแล้วย่อมมีผลทำให้ทุกข์ร้อนใจ อยู่ไม่ติดที่ ทุรนทุรายกระสับ กระส่าย ผุดลุกผุดนั่ง คนโบราณเขาเรียก ว่า นั่งไม่ติดที่ คือเดือดร้อนใจอยู่ตลอดเวลา
เคยเห็นหมาขี้เรื้อนไหม มันเป็นขี้เรื้อน ทั้งตัวทุกข์ทรมานมาก เพราะมันคันไม่หยุดหย่อน เวลาคันมันก็จะเกาและร้อง ครางไปด้วย เพราะมันเจ็บแสบแผลที่มันเกา ที่น่าขำไปกว่านั้นก็คือ มันจะวิ่งไป นอนตรงนี้ที ตรงนั้นที แล้วมันก็เห่าที่ที่มันนอน เพราะมันเข้าใจว่า ที่ที่มันนอน นั้นทำให้มันคัน มันไม่รู้ว่าความจริงโรค คันอยู่ที่ตัวมันเอง มันไม่ได้อยู่ที่ที่มันนอน แต่ว่ามันเป็นหมาก็คิดได้แค่นั้นเอง ก็น่าเห็นใจ ก็เหมือนคนทำกรรมชั่ว พอกรรม มันให้ผลก็ทุรนทุรายไปทุกที่ คิดว่าที่ที่ไป จะทำให้ตนมีความสุขได้
แต่การที่คนเราต้องทำกรรมชั่ว หรือทำ ความผิดพลาดนั้น โดยพื้นฐานทางจิตใจคงไม่อยากทำสักเท่าไหร่ แต่มันมีสิ่งเร้า สิ่งยั่วยุเข้ามาลวงล่อ ทำให้มองเห็นสิ่งไม่ดีว่าเป็นความดี และมองว่าความไม่ดีเป็น ความดี ก็เลยถลำตัวทำชั่วลงไป ถ้าทำชั่วน้อยก็พอทำเนา ถ้าทำชั่วมาก เพราะมีผล เสียต่อสังคมมนุษย์ ต่อประเทศชาติบ้านเมือง เวลาผลกรรมมันตอบสนองจะมีโทษ มาก จนแผ่นดินรับไว้ไม่ได้ ถูกธรณีสูบไป ก็มี ตัวอย่างเช่นพระเทวทัต เป็นต้น
อีกประการหนึ่ง คนที่ทำกรรมชั่วนั้น มักคิดว่า กรรมชั่วคงไม่ให้ผล หรือบางทีอาจเป็นไปได้ว่า เขาไม่เชื่อหลักกรรมตามที่พระพุทธศาสนาสอนก็เป็นได้ และคนทำกรรมชั่วนั้น ก็จะร่าเริง บันเทิงใจ ตลอดระยะเวลาที่กรรมชั่วไม่ให้ผล แต่เมื่อใดกรรมชั่วให้ผล เมื่อนั้นคนที่ทำกรรมชั่วจะซบเซาเศร้าหมอง หาความสุขไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้น คนเราเกิดมาแล้วชาติหนึ่ง ก็ควรจะสร้างกรรมดีเอาไว้ให้มาก เพราะกรรมดีนั้น ทำให้ตน เองเป็นคนดี ถ้าเป็นลูกก็เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ถ้าเป็น พ่อแม่ก็จะเป็นพ่อแม่ที่ดีของลูก เป็นศิษย์ที่ดีของครู บาอาจารย์ หรือเป็นอาจารย์ที่ดีของลูกศิษย์ และเป็นคนดีของสังคมประเทศชาติ ทำให้คนใกล้ชิดมีความสุข เพราะความดีมีผลเป็นความร่มเย็น ความบันเทิงร่าเริง เป็นที่นิยมรักใคร่ของผู้พบเห็นโดยทั่วไป ใครๆ ก็อยากจะผูกมิตรด้วย
จึงอยากจะฝากข้อความที่ปรากฏใน ‘วาเสฏฐสูตร’ เป็นเครื่องเตือนใจว่า
“บุคคลไม่ได้เป็นคนชั่ว ไม่ได้เป็นคนดี เพราะชาติ กำเนิด หากเป็นเพราะการกระทำ บุคคลเป็นชาวนา เป็นศิลปิน เป็นพ่อค้า เป็นคนรับใช้ เป็นโจร เป็นทหาร เป็นนักแสวงบุญ เป็นพระเจ้า ก็เพราะการกระทำ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม สัตว์ทั้งหลายผูกพันอยู่ที่กรรม เหมือนกับสลักลิ่มเป็นเครื่องยึดรถที่แล่นไป ฉะนั้น”