3.2.3 การพยายามทำกุศลให้เกิดขึ้น
เพื่อนนักปฏิบัติมีธรรมชาติที่รักกุศล อยากให้กุศลเกิดขึ้น เช่น เมื่อจิตไม่มีสติก็พยายามจะทำให้มีสติ เมื่อจิตไม่สงบหรือไม่ตั้งมั่นก็พยายามทำให้สงบหรือตั้งมั่น และเมื่อจิตไม่มีปัญญารู้รูปนามตรงตามความเป็นจริง ก็พยายามช่วยจิตคิดพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญา เป็นต้น เมื่อพูดมาถึงตรงนี้เพื่อนบางท่านอาจจะเกิดความสับสนว่า แล้ว เราไม่ต้องพยายามทำสติ สัมมาสมาธิ และปัญญาให้เกิดขึ้นหรือ ขอตอบว่าสติ สัมมาสมาธิ และปัญญาต่างก็มีลักษณะเป็นอนัตตา ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นได้ตามใจชอบ แต่ถ้าเราทำเหตุใกล้ของ สติ สัมมาสมาธิ และปัญญาให้เกิดขึ้นได้แล้ว สติ สัมมาสมาธิ และปัญญาก็จะเกิดขึ้นได้ตามเหตุนั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะเราอยากให้เกิดและทำให้เกิดขึ้นได้โดยตรง
เหตุใกล้ให้เกิดสติคือการที่จิตจดจำสภาว-ธรรมหรือรูปนามได้แม่นยำ หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจึงไม่ใช่การพยายามทำสติให้เกิดขึ้น แต่จะต้องหมั่นตามรู้กายตามรู้ใจของตนเนืองๆซึ่งได้แก่การเจริญสติปัฏฐานที่มีรูปนามเป็นอารมณ์ จนจิตจดจำ สภาวะของรูปนามได้ พอสภาวะที่จิตจำได้แล้วปรากฏขึ้น สติก็จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องชักชวนให้เกิด เช่นเมื่อหมั่นตามรู้จิตเนืองๆ จนรู้จักว่าความเผลอ ความโลภ ความโกรธ ฯลฯ เป็นอย่างไร เมื่อจิตเกิดความเผลอ ความโลภ หรือความโกรธขึ้น สติจะเกิดขึ้นรู้เท่าทันว่าเผลอไปแล้ว โลภไปแล้ว หรือโกรธไปแล้ว ทั้งนี้สติ (ในที่นี้หมายถึงสัมมาสติ) จะ เป็นเครื่องระลึกรู้สภาวะของรูปนาม ที่ปรากฏขึ้น และเมื่อสติเกิดขึ้นนั้น สติจะทำหน้าที่ อารักขาคือคุ้มครองจิตให้เป็นกุศล จิตที่เป็นกุศลจะมีสภาวะรู้ ตื่น เบิกบาน สงบ สะอาด สว่างอยู่ใน ตัวเอง หรือกล่าวได้ว่าสติเกิดขึ้นเมื่อใด จิตจะมีความสุขด้วยโสมนัสเวทนาหรืออุเบกขา-เวทนาเมื่อนั้น
เหตุใกล้ของสมาธิคือความสุข หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจึงไม่ใช่การพยายามบังคับจิตให้สงบ ถ้าปรารถนาความสงบด้วยการทำสมถกรรมฐาน ก็ต้องหาอารมณ์ที่เมื่อสติไประลึกรู้เข้าแล้วเกิดความสุขมาเป็นเหยื่อล่อจิต เช่นบางท่านกำหนดลมหายใจแล้วเกิดความสุข จิตชอบกำหนดลมหายใจ ก็ให้มีสติระลึกรู้ลมหายใจไปอย่างสบายๆ ไม่นานจิตก็จะเกิดความสงบสุขขึ้นเองโดยไม่ต้องพยายามบังคับ เพราะยิ่งพยายามบังคับกดข่มจิต จิตก็ยิ่งไม่มีความสุข เมื่อไม่มีความสุขสมาธิก็เกิด ขึ้นไม่ได้ ส่วนท่านที่ต้องการสัมมาสมาธิอันเป็นความตั้งมั่นของจิตในการระลึกรู้อารมณ์รูปนามก็ไม่ยากอะไรนัก เพียงมีสัมมาสติหรือสติที่ระลึกรู้รูปนาม จิตจะเกิดเป็นกุศลและมีความสุขที่ได้รู้อารมณ์รูปนามโดยอัตโนมัติ เมื่อจิตมีความสุขเพราะรู้อารมณ์รูปนาม สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นในการรู้อารมณ์รูปนามก็จะเกิดขึ้นมาเองชั่วขณะ
เหตุใกล้ให้เกิดปัญญาคือสัมมาสมาธิ หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจึงไม่ใช่การพยายามศึกษาหาความรู้จากตำรับตำราหรือครูบาอาจารย์ และไม่ใช่การคิด พิจารณารูปนามกายใจแต่อย่างใด ถ้าปรารถนาปัญญาที่เป็นวิปัสสนาปัญญาก็มีทางเดียว คือจะต้องมีสติระลึกรู้รูปนามกายใจ แล้วจิตจะเกิดความ ตั้งมั่นในการรู้รูปนามกายใจ เมื่อรู้แล้วรู้อีกถึงจุดหนึ่งก็จะเกิดความเข้าใจความเป็นจริงของรูปนามกายใจ ซึ่งความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับรูปนามกายใจนี้เองคือ วิปัสสนาปัญญา อย่างไรก็ตามเนื่องจากพวกเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า เราจึงต้องอาศัยการศึกษาตำรับตำราและฟังคำสอนของครูบาอาจารย์ เพื่อให้ทราบวิธีการเจริญสติเจริญปัญญาที่ถูกต้องเสียก่อน จึงจะลงมือเจริญสติปัญญาได้อย่างถูกต้อง
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/การพยายามรักษา
และพัฒนากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว)
เพื่อนนักปฏิบัติมีธรรมชาติที่รักกุศล อยากให้กุศลเกิดขึ้น เช่น เมื่อจิตไม่มีสติก็พยายามจะทำให้มีสติ เมื่อจิตไม่สงบหรือไม่ตั้งมั่นก็พยายามทำให้สงบหรือตั้งมั่น และเมื่อจิตไม่มีปัญญารู้รูปนามตรงตามความเป็นจริง ก็พยายามช่วยจิตคิดพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญา เป็นต้น เมื่อพูดมาถึงตรงนี้เพื่อนบางท่านอาจจะเกิดความสับสนว่า แล้ว เราไม่ต้องพยายามทำสติ สัมมาสมาธิ และปัญญาให้เกิดขึ้นหรือ ขอตอบว่าสติ สัมมาสมาธิ และปัญญาต่างก็มีลักษณะเป็นอนัตตา ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นได้ตามใจชอบ แต่ถ้าเราทำเหตุใกล้ของ สติ สัมมาสมาธิ และปัญญาให้เกิดขึ้นได้แล้ว สติ สัมมาสมาธิ และปัญญาก็จะเกิดขึ้นได้ตามเหตุนั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะเราอยากให้เกิดและทำให้เกิดขึ้นได้โดยตรง
เหตุใกล้ให้เกิดสติคือการที่จิตจดจำสภาว-ธรรมหรือรูปนามได้แม่นยำ หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจึงไม่ใช่การพยายามทำสติให้เกิดขึ้น แต่จะต้องหมั่นตามรู้กายตามรู้ใจของตนเนืองๆซึ่งได้แก่การเจริญสติปัฏฐานที่มีรูปนามเป็นอารมณ์ จนจิตจดจำ สภาวะของรูปนามได้ พอสภาวะที่จิตจำได้แล้วปรากฏขึ้น สติก็จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องชักชวนให้เกิด เช่นเมื่อหมั่นตามรู้จิตเนืองๆ จนรู้จักว่าความเผลอ ความโลภ ความโกรธ ฯลฯ เป็นอย่างไร เมื่อจิตเกิดความเผลอ ความโลภ หรือความโกรธขึ้น สติจะเกิดขึ้นรู้เท่าทันว่าเผลอไปแล้ว โลภไปแล้ว หรือโกรธไปแล้ว ทั้งนี้สติ (ในที่นี้หมายถึงสัมมาสติ) จะ เป็นเครื่องระลึกรู้สภาวะของรูปนาม ที่ปรากฏขึ้น และเมื่อสติเกิดขึ้นนั้น สติจะทำหน้าที่ อารักขาคือคุ้มครองจิตให้เป็นกุศล จิตที่เป็นกุศลจะมีสภาวะรู้ ตื่น เบิกบาน สงบ สะอาด สว่างอยู่ใน ตัวเอง หรือกล่าวได้ว่าสติเกิดขึ้นเมื่อใด จิตจะมีความสุขด้วยโสมนัสเวทนาหรืออุเบกขา-เวทนาเมื่อนั้น
เหตุใกล้ของสมาธิคือความสุข หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจึงไม่ใช่การพยายามบังคับจิตให้สงบ ถ้าปรารถนาความสงบด้วยการทำสมถกรรมฐาน ก็ต้องหาอารมณ์ที่เมื่อสติไประลึกรู้เข้าแล้วเกิดความสุขมาเป็นเหยื่อล่อจิต เช่นบางท่านกำหนดลมหายใจแล้วเกิดความสุข จิตชอบกำหนดลมหายใจ ก็ให้มีสติระลึกรู้ลมหายใจไปอย่างสบายๆ ไม่นานจิตก็จะเกิดความสงบสุขขึ้นเองโดยไม่ต้องพยายามบังคับ เพราะยิ่งพยายามบังคับกดข่มจิต จิตก็ยิ่งไม่มีความสุข เมื่อไม่มีความสุขสมาธิก็เกิด ขึ้นไม่ได้ ส่วนท่านที่ต้องการสัมมาสมาธิอันเป็นความตั้งมั่นของจิตในการระลึกรู้อารมณ์รูปนามก็ไม่ยากอะไรนัก เพียงมีสัมมาสติหรือสติที่ระลึกรู้รูปนาม จิตจะเกิดเป็นกุศลและมีความสุขที่ได้รู้อารมณ์รูปนามโดยอัตโนมัติ เมื่อจิตมีความสุขเพราะรู้อารมณ์รูปนาม สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นในการรู้อารมณ์รูปนามก็จะเกิดขึ้นมาเองชั่วขณะ
เหตุใกล้ให้เกิดปัญญาคือสัมมาสมาธิ หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจึงไม่ใช่การพยายามศึกษาหาความรู้จากตำรับตำราหรือครูบาอาจารย์ และไม่ใช่การคิด พิจารณารูปนามกายใจแต่อย่างใด ถ้าปรารถนาปัญญาที่เป็นวิปัสสนาปัญญาก็มีทางเดียว คือจะต้องมีสติระลึกรู้รูปนามกายใจ แล้วจิตจะเกิดความ ตั้งมั่นในการรู้รูปนามกายใจ เมื่อรู้แล้วรู้อีกถึงจุดหนึ่งก็จะเกิดความเข้าใจความเป็นจริงของรูปนามกายใจ ซึ่งความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับรูปนามกายใจนี้เองคือ วิปัสสนาปัญญา อย่างไรก็ตามเนื่องจากพวกเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า เราจึงต้องอาศัยการศึกษาตำรับตำราและฟังคำสอนของครูบาอาจารย์ เพื่อให้ทราบวิธีการเจริญสติเจริญปัญญาที่ถูกต้องเสียก่อน จึงจะลงมือเจริญสติปัญญาได้อย่างถูกต้อง
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/การพยายามรักษา
และพัฒนากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว)