การปล่อยวางคืออะไร? ยกตัวอย่างง่ายๆ คน เราเวลาแบกของหนักๆ นานๆ มันก็จะเกิดอาการเหนื่อยเมื่อยล้า กดดัน เมื่อทนไม่ไหวแล้วก็ต้องปล่อยของหนักพวกนั้นลง พอปล่อยลงได้มันก็เบา กายเบาใจปลอดโปร่งโล่งตัว หรืออย่างบางคนที่ต้อง รับผิดชอบงานอยู่ ต้องคลุกคลีอยู่ในเรื่องนั้นๆ เป็น เวลานานๆ เมื่องานนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นลงก็จะรู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจเบากายเบาใจเช่นกัน ทางด้านจิตใจภายในก็เหมือนกัน โดยปกติแล้วมนุษย์ปุถุชน มักจะมีการแบกเรื่องต่างๆ ไว้ในจิตใจอยู่เป็นประจำ ทำให้เกิดอาการหนักอกหนักใจอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าความยึดมั่นถือมั่น ไม่ว่าจะเป็นการยึดเรื่องลูก เรื่องภรรยาสามี เรื่องทรัพย์สินเงินทอง เรื่องการงาน และอีกหลายๆ อย่าง ความยึดมั่นพวกนี้เกิดจากกิเลสตัวสำคัญคือ โมหะ หรือ ความหลง ความไม่รู้ตามความเป็นจริงหรือโมหะนั่นล่ะทำให้เกิดการยึดมั่นถือมั่น แล้วสิ่งที่เรายึดก็เลยกลายเป็นสิ่งหนักหน่วงบีบคั้นจิตใจคนเรา ทำให้อึดอัด กังวล ห่วงใย ไม่ปลอดโปร่ง
ที่ว่าไม่รู้ตามความเป็นจริงนั้น คืออะไร ?..... การไม่รู้ตามความเป็นจริงก็คือ ไม่รู้ลักษณะของทุกสิ่งโดยความเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา หมายความว่า สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนมีลักษณะเป็น ทุกข์ ทนอยู่หรือคงสภาพอยู่ได้ยาก มันกดดันบีบคั้นอยู่ในตัวมันเอง ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอด เวลาและไม่มีความเป็นตัวตนของตนอย่างแท้จริง ยากที่ใครจะกำกับหรือบังคับให้เป็นไปตามอำเภอใจได้ จะต้องแปรเปลี่ยนสภาพไปในที่สุด แต่มนุษย์ เราทั้งๆ ที่รู้ก็มักจะหลงไปในทางตรงกันข้าม คือมองเห็นสรรพสิ่งเป็น สุขขัง นิจจัง อัตตา คือเป็น สิ่งที่น่าเป็นสุข น่ายินดี น่าชื่นชม เป็นสิ่งที่คงสภาพได้ ไม่เปลี่ยนแปลง สามารถเป็นไปได้ตามความต้อง การของตนและเป็นสิ่งที่มีสภาพแห่งตัวตนของตน ที่แท้จริง อย่างนี้จิตใจมนุษย์จึงได้เข้าไปยึดถือ จับฉวย ยึดมั่นถือมั่น เรียกว่า แบกมันไว้อย่างเต็มอกเต็มใจเลย แต่แล้วสิ่งเหล่านั้นมันก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของมัน โดยใครๆ หน้าไหนแม้แต่ผู้ที่คิดว่าตนเป็นเจ้าของมัน ก็ยังไม่มี สิทธิไปต้านทานมันไว้ได้ นั่นล่ะมันเลยแว้งมากัดเอา กัดตัวผู้เป็นเจ้าของนั่นเอง กัดตัวผู้เข้าไปยึดถือ ทำให้เกิดความทุกข์บีบคั้น กดดัน เพราะสิ่งเหล่านั้นมันไม่เป็นไปตามอำนาจที่ตนหลงคิดว่ามันควร จะเป็น
เฉพาะแค่ความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเฉยๆ โดย ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพอะไรๆ เกิดขึ้นเลย มันก็เป็นความหนักหน่วงถ่วงจิตใจอยู่แล้ว สิ่งที่เรา ยึดจะกลายเป็นเครื่องพะรุงพะรัง เกาะเกี่ยวหน่วง เหนี่ยวจิตใจ ทำให้จิตใจเราไม่ปลอดโปร่ง ไม่เบากายเบาใจ เพราะบนความที่เรายึดมั่นถือมั่น เราก็ต้องเกิดความเป็นห่วง, กังวลใจ, ระแวดระวัง, คลางแคลงใจกลัวว่า สิ่งที่ไม่ต้องการ ไม่ปรารถนา มันจะเกิดขึ้นกับสิ่งที่เรายึด สิ่งเหล่านี้มันจึงทำให้หนัก เป็นทุกข์แบบละเอียดอยู่ในใจ แม้ยังไม่ใช่ทุกข์ที่รุนแรงอย่างเช่น ความผิดหวัง ความพลัดพราก แต่ก็เป็นทุกข์อันละเอียดที่คอยกดหน่วงถ่วงจิตใจไว้ แม้ว่าเราจะมีกายวิเวก จิตวิเวกอยู่ มันก็ยังทุกข์ ยังหน่วงจิตใจอยู่ได้ถ้าเรายังมีความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่ในขณะนั้น แต่ถ้าเราใช้ปัญญา อาศัยการพิจารณาทำความเข้าใจ ถึงสภาพแห่งสัจธรรมความจริงของสิ่งต่างๆ โดยอาศัยพื้นฐานความสงบทางกายวิเวก และจิตวิเวก ก็จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามความเป็น จริงได้ แล้วจึงค่อยๆ ผ่อนคลายความยึดมั่นถือมั่นนั้นลง
เหมือนกับเราจะจับก้านดอกกุหลาบที่เต็มไป ด้วยหนาม เราก็ต้องมีสติรู้และเข้าใจในธรรมชาติของหนามนั้นด้วยความตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น ค่อยๆ จับอย่างระมัดระวังไม่จับไม่กำแน่น จนเกินไปแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว ก็จะไม่ถูกหนามกุหลาบ นั้นตำมือ การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็เช่นกัน เราต้องใช้สติคือความรู้ตัว และปัญญาคือความรู้และความเข้าใจในธรรมชาติแท้จริงของสิ่งนั้น ไม่หลงเข้าไปยึดถือมันจนเกินไป เข้าไป ยุ่งกับมันจัดการกับมันโดยความเข้าใจในสภาพที่แท้จริงที่มันเป็นอยู่พอให้เกิดงานเกิดประโยชน์ได้ ไม่หลงระเริงยึดมั่นถือมั่น ไม่หลงใหล ในมันแบบไม่รู้เรื่องรู้ราวของ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา อย่างนี้ก็จะไม่เกิดความทุกข์ สิ่งเหล่านั้นมันก็จะไม่ สามารถกัดเราได้ ถ้าจะต้องจับต้องยึด ก็ต้องเข้าใจ ว่ากำลังยึดกำลังจับอยู่ ต้องเตรียมพร้อมที่จะปล่อย ได้ทุกเวลา มีสติปัญญาตั้งมั่นอยู่อย่างไม่ขาดสาย ไม่หลงเข้าไปยึดถือมันจนไม่สามารถปล่อยวางมันได้ ถ้าเป็นลักษณะนี้ เมื่อเกิดอาการหนักหน่วง ทุกข์กายทุกข์ใจขึ้นก็จะวางได้ทันที ปล่อยวางได้ง่าย
เพราะความหลงความไม่รู้ตามสภาพความเป็นจริง(อวิชชา) ทำให้เกิดความอยาก ตัณหาความ อยากก็จะทำให้คนเราหลงปรุงแต่งต่างๆ นานาเพื่อ เข้าไปยึดถือในสิ่งนั้นๆ แล้วก็เกิดความทุกข์เพราะสิ่งที่เรายึดนั่นเอง การตัดความยึดมั่นถือมั่นแบบโลกๆ จึงต้องตัดที่ความอยากหรือตัณหาเพราะเห็นอาการได้ง่าย แต่ถ้ามีสติ สมาธิ ปัญญาดี ละเอียดแยบคาย ก็ตัดลงไปที่ความหลง ความไม่รู้เลยอันเป็นต้นเงื่อนหลัก เราต้องพิจารณาให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จนคลายความหลง คลายความยึดถือในสิ่งนั้นได้ ซึ่งต้องอาศัยกายและจิตที่สงบวิเวกเป็นสำคัญ อย่างนี้ก็จะเกิดอาการที่เรียกว่า การปล่อยวาง
จริงๆ แล้ว การปล่อยวางก็คือ การปล่อยให้ สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเองตามธรรมชาติของมัน หรือคือ การยอมรับสภาพของสิ่งนั้นๆ ในการที่มันมีอิสระที่จะเป็นไปตามธรรมชาติของมันเอง โดยไม่พยายามเข้าไปดัด ไปตัด ไปแต่งเติมธรรมชาติของมัน จนเกิดการหลงอุปโลกน'ว่ามันเป็น ของเรา หรือของใครทั้งสิ้น หรือหลงคิดว่ามันจะเป็นไปตามอำนาจของเราที่คิดที่หวังได้ อย่างนี้จึงจะเรียกว่า การปล่อยวาง หรือ การปลงใจ คือการ ยอมรับสภาพของสรรพสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ที่มันเป็น อันนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ทำอะไรเลย จะอยู่เฉยๆ ไม่ทำงาน ไม่ทำประโยชน์ มันไม่ใช่อย่างนั้น เราจะทำอะไรก็ทำไปตามเหตุตาม ปัจจัยที่ต้องทำหรือที่มีหน้าที่ให้ทำ แต่ก็ต้องตระหนักถึงสภาพความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้นไว้เสมอ ไม่เผลอใจ หลงเข้าไปยึดถือมัน ทำอะไรก็ทำด้วยสติปัญญา ด้วยเหตุผลที่สมควร ไม่ใช่ทำด้วยความหลง ทำด้วยความอยากหรือราคะตัณหา ต้องทำด้วยความเข้าใจ ความตระหนักถึงธรรมชาติ ของสรรพสิ่งโดยความเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา อย่างนี้จิตก็จะไม่ยึดมั่นถือมั่น จิตจะเบาโปร่ง ไม่หนักหน่วงและก็ไม่เป็นไปเพื่อความทุกข์
แต่ถ้าเราหลงทำไปแล้ว หลงยึดไปแล้ว จะทำอย่างไร?.... อันนี้ เราก็ต้องตั้งสติพิจารณาให้เกิด ความเข้าใจอย่างชัดแจ้งต่อสิ่งที่ตนหลงยึดนั้น ต้อง ใช้ปัญญาอันแยบคาย เฝ้าสังเกตและพิจารณาจนชัดแจ้งและหมั่นสอนจิตสอนใจของตนให้ยอมรับสภาพตามความเป็นจริง แทนที่จะไปหลงยึดมันด้วยอำนาจของโมหะ ทำอย่างนี้เรื่อยๆ บ่อยๆ อยู่เสมอๆ จนเกิดพลังที่จะปล่อยวางมันได้ มันจะค่อยๆ ปล่อยค่อยๆวางในสิ่งที่ตนยึดนั้น จนใน ที่สุดเราก็อยู่กับมันได้ ทำมันได้ตามความจำเป็นตามหน้าที่โดยเราไม่ยึด ไม่เกาะมัน สิ่งเหล่านั้นมันก็ไม่สามารถทำให้เราทุกข์ใจได้ ถ้าจิตใจเข้าถึงระดับนี้แล้ว มันจะโปร่งเบา สบาย ไม่หนักหน่วงถ่วงจิตด้วยสิ่งที่เราเคยยึดถือ ยิ่งปล่อยวางได้มาก ก็เบาได้มากขึ้น ถ้าจิตกลับมาเกาะติดเรื่องใดอยู่อีก ก็ต้องนำเรื่องนั้นกลับมาพิจารณา ใช้ปัญญาอันแยบคายสอนตนอีกอยู่เสมอๆ ไปเรื่อยๆ จนแจ้งชัดประจักษ์ในความจริงของมันอีกก็จะปล่อยวางมันได้ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ มันอาจวนเวียนอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็จะหลุดจากสิ่งที่ตนยึดที่ตนหลงนั้นได้ถาวร ยิ่งเรื่องที่ตนติดมาก ยึดมาก หลงมาก มันก็ยิ่งต้องทำบ่อยๆ หลายๆ รอบกว่าจะหลุดออกจากมันได้อย่างแท้จริง เพราะมันอยู่ที่ปัญญาอันละเอียดแยบคายในเรื่องเหล่านั้น ยิ่งเราหลงมากก็หมายความว่ากิเลสมันก็ละเอียดซับซ้อนมากเช่นกัน ดังนั้น สติ สมาธิ ปัญญา จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง แต่ยังไงๆ มันก็ไม่เสียเปล่าเพราะถึงแม้เราจะอยู่ในอาการที่ยึดแล้วปล่อย ปล่อยแล้วยึด ติดๆ หลุดๆ วนเวียนอยู่อย่างนี้ แต่ครั้งหนึ่งที่เราปล่อยวางมันได้ มันก็จะประสบกับความสุขความสงบใจอย่างที่สุด มันเป็นความสุขที่โปร่งเบา ความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อน ที่เราเองจะหาไม่ได้จากความสุขแบบทั่วๆ ไปเลย และเมื่อพิจารณาบ่อยขึ้น เข้าใจได้มากขึ้น ปัญญาละเอียดแยบคายขึ้น ก็จะยิ่งปล่อยวางมันได้มากขึ้นๆๆ จนในที่สุดก็หลุดจากมัน หลุดจากสิ่งที่ตนหลงยึด แล้วสิ่งนั้นมันจะไม่สามารถมาทำให้เราทุกข์ใจได้อีกต่อไป
สาเหตุหลักของการยึดติดก็เพราะเรายังมีความหลง จิตของเรายังหลงยึด หลงติด หลงอยากอยู่ ดังนั้นการแก้ไขที่ต้นขั้วของมัน คือแก้ไขที่ความหลงโดยตรง จะช่วยให้หลุดจากมันได้ง่ายกว่า แต่ก็ต้องอาศัยปัญญาอันแยบคายอย่างยิ่งพิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์คือความเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา โดยตรง จึงจะหลุด จึงจะปล่อยได้ง่ายและถาวร ดังนั้น สัจธรรมแห่งทุกขัง อนิจจัง อนัตตา จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ไม่ว่าใครๆ ก็ตามที่หวังจะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง จำเป็นต้องรู้และตระหนักถึงไว้อยู่เสมอ อย่างที่เรียกว่า ไม่ว่าจะดูอะไร ทางไหน ก็มีแต่ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตาทั้งนั้น
การปล่อยวางเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์เราทุกๆ คน ถ้ามนุษย์เราปลงไม่ได้ ปล่อยวางไม่ได้บ้างเลย ก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ มันต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสเจียนตาย เราจะปล่อยให้ความทุกข์บีบคั้นจนแทบตายก่อนหรือแล้วจึงค่อยปล่อยวาง หรือว่าเราจะฝึกสอนตน ปฏิบัติตนเพื่อให้ปล่อยวางได้ก่อนที่จะทุกข์ อันไหนมันจะดีกว่ากัน?
ความสุขที่แท้ความสุขที่ละเอียดไม่ใช่ความสุขแบบโลกๆ อันเป็นความสุขที่ทำให้จิตใจเราสุกไหม้เกรียมด้วยความทุกข์ที่แฝงตัวมากับมัน ความ ทุกข์แห่งความกลัว ความกังวล ความบีบคั้นที่คอย เผาใจเราควบคู่กับความหลงว่าสุขนั้น ความสุขที่แท้ ต้องเป็นความสุขที่บริสุทธิ์กว่า คือ เป็นความสุขที่สงบเย็น โปร่งเบา ไม่เป็นภาระไม่หนักหน่วงจิตใจ และที่ยิ่งกว่าความสุขทั้งปวงนั้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง สู่สภาวะที่ไม่มีความทุกข์อีกเลยไม่ว่ากรณีใดๆ ตลอดไป
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/อิทธิบาท 4)
ที่ว่าไม่รู้ตามความเป็นจริงนั้น คืออะไร ?..... การไม่รู้ตามความเป็นจริงก็คือ ไม่รู้ลักษณะของทุกสิ่งโดยความเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา หมายความว่า สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนมีลักษณะเป็น ทุกข์ ทนอยู่หรือคงสภาพอยู่ได้ยาก มันกดดันบีบคั้นอยู่ในตัวมันเอง ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอด เวลาและไม่มีความเป็นตัวตนของตนอย่างแท้จริง ยากที่ใครจะกำกับหรือบังคับให้เป็นไปตามอำเภอใจได้ จะต้องแปรเปลี่ยนสภาพไปในที่สุด แต่มนุษย์ เราทั้งๆ ที่รู้ก็มักจะหลงไปในทางตรงกันข้าม คือมองเห็นสรรพสิ่งเป็น สุขขัง นิจจัง อัตตา คือเป็น สิ่งที่น่าเป็นสุข น่ายินดี น่าชื่นชม เป็นสิ่งที่คงสภาพได้ ไม่เปลี่ยนแปลง สามารถเป็นไปได้ตามความต้อง การของตนและเป็นสิ่งที่มีสภาพแห่งตัวตนของตน ที่แท้จริง อย่างนี้จิตใจมนุษย์จึงได้เข้าไปยึดถือ จับฉวย ยึดมั่นถือมั่น เรียกว่า แบกมันไว้อย่างเต็มอกเต็มใจเลย แต่แล้วสิ่งเหล่านั้นมันก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของมัน โดยใครๆ หน้าไหนแม้แต่ผู้ที่คิดว่าตนเป็นเจ้าของมัน ก็ยังไม่มี สิทธิไปต้านทานมันไว้ได้ นั่นล่ะมันเลยแว้งมากัดเอา กัดตัวผู้เป็นเจ้าของนั่นเอง กัดตัวผู้เข้าไปยึดถือ ทำให้เกิดความทุกข์บีบคั้น กดดัน เพราะสิ่งเหล่านั้นมันไม่เป็นไปตามอำนาจที่ตนหลงคิดว่ามันควร จะเป็น
เฉพาะแค่ความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเฉยๆ โดย ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพอะไรๆ เกิดขึ้นเลย มันก็เป็นความหนักหน่วงถ่วงจิตใจอยู่แล้ว สิ่งที่เรา ยึดจะกลายเป็นเครื่องพะรุงพะรัง เกาะเกี่ยวหน่วง เหนี่ยวจิตใจ ทำให้จิตใจเราไม่ปลอดโปร่ง ไม่เบากายเบาใจ เพราะบนความที่เรายึดมั่นถือมั่น เราก็ต้องเกิดความเป็นห่วง, กังวลใจ, ระแวดระวัง, คลางแคลงใจกลัวว่า สิ่งที่ไม่ต้องการ ไม่ปรารถนา มันจะเกิดขึ้นกับสิ่งที่เรายึด สิ่งเหล่านี้มันจึงทำให้หนัก เป็นทุกข์แบบละเอียดอยู่ในใจ แม้ยังไม่ใช่ทุกข์ที่รุนแรงอย่างเช่น ความผิดหวัง ความพลัดพราก แต่ก็เป็นทุกข์อันละเอียดที่คอยกดหน่วงถ่วงจิตใจไว้ แม้ว่าเราจะมีกายวิเวก จิตวิเวกอยู่ มันก็ยังทุกข์ ยังหน่วงจิตใจอยู่ได้ถ้าเรายังมีความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่ในขณะนั้น แต่ถ้าเราใช้ปัญญา อาศัยการพิจารณาทำความเข้าใจ ถึงสภาพแห่งสัจธรรมความจริงของสิ่งต่างๆ โดยอาศัยพื้นฐานความสงบทางกายวิเวก และจิตวิเวก ก็จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามความเป็น จริงได้ แล้วจึงค่อยๆ ผ่อนคลายความยึดมั่นถือมั่นนั้นลง
เหมือนกับเราจะจับก้านดอกกุหลาบที่เต็มไป ด้วยหนาม เราก็ต้องมีสติรู้และเข้าใจในธรรมชาติของหนามนั้นด้วยความตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น ค่อยๆ จับอย่างระมัดระวังไม่จับไม่กำแน่น จนเกินไปแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว ก็จะไม่ถูกหนามกุหลาบ นั้นตำมือ การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็เช่นกัน เราต้องใช้สติคือความรู้ตัว และปัญญาคือความรู้และความเข้าใจในธรรมชาติแท้จริงของสิ่งนั้น ไม่หลงเข้าไปยึดถือมันจนเกินไป เข้าไป ยุ่งกับมันจัดการกับมันโดยความเข้าใจในสภาพที่แท้จริงที่มันเป็นอยู่พอให้เกิดงานเกิดประโยชน์ได้ ไม่หลงระเริงยึดมั่นถือมั่น ไม่หลงใหล ในมันแบบไม่รู้เรื่องรู้ราวของ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา อย่างนี้ก็จะไม่เกิดความทุกข์ สิ่งเหล่านั้นมันก็จะไม่ สามารถกัดเราได้ ถ้าจะต้องจับต้องยึด ก็ต้องเข้าใจ ว่ากำลังยึดกำลังจับอยู่ ต้องเตรียมพร้อมที่จะปล่อย ได้ทุกเวลา มีสติปัญญาตั้งมั่นอยู่อย่างไม่ขาดสาย ไม่หลงเข้าไปยึดถือมันจนไม่สามารถปล่อยวางมันได้ ถ้าเป็นลักษณะนี้ เมื่อเกิดอาการหนักหน่วง ทุกข์กายทุกข์ใจขึ้นก็จะวางได้ทันที ปล่อยวางได้ง่าย
เพราะความหลงความไม่รู้ตามสภาพความเป็นจริง(อวิชชา) ทำให้เกิดความอยาก ตัณหาความ อยากก็จะทำให้คนเราหลงปรุงแต่งต่างๆ นานาเพื่อ เข้าไปยึดถือในสิ่งนั้นๆ แล้วก็เกิดความทุกข์เพราะสิ่งที่เรายึดนั่นเอง การตัดความยึดมั่นถือมั่นแบบโลกๆ จึงต้องตัดที่ความอยากหรือตัณหาเพราะเห็นอาการได้ง่าย แต่ถ้ามีสติ สมาธิ ปัญญาดี ละเอียดแยบคาย ก็ตัดลงไปที่ความหลง ความไม่รู้เลยอันเป็นต้นเงื่อนหลัก เราต้องพิจารณาให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จนคลายความหลง คลายความยึดถือในสิ่งนั้นได้ ซึ่งต้องอาศัยกายและจิตที่สงบวิเวกเป็นสำคัญ อย่างนี้ก็จะเกิดอาการที่เรียกว่า การปล่อยวาง
จริงๆ แล้ว การปล่อยวางก็คือ การปล่อยให้ สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเองตามธรรมชาติของมัน หรือคือ การยอมรับสภาพของสิ่งนั้นๆ ในการที่มันมีอิสระที่จะเป็นไปตามธรรมชาติของมันเอง โดยไม่พยายามเข้าไปดัด ไปตัด ไปแต่งเติมธรรมชาติของมัน จนเกิดการหลงอุปโลกน'ว่ามันเป็น ของเรา หรือของใครทั้งสิ้น หรือหลงคิดว่ามันจะเป็นไปตามอำนาจของเราที่คิดที่หวังได้ อย่างนี้จึงจะเรียกว่า การปล่อยวาง หรือ การปลงใจ คือการ ยอมรับสภาพของสรรพสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ที่มันเป็น อันนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ทำอะไรเลย จะอยู่เฉยๆ ไม่ทำงาน ไม่ทำประโยชน์ มันไม่ใช่อย่างนั้น เราจะทำอะไรก็ทำไปตามเหตุตาม ปัจจัยที่ต้องทำหรือที่มีหน้าที่ให้ทำ แต่ก็ต้องตระหนักถึงสภาพความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้นไว้เสมอ ไม่เผลอใจ หลงเข้าไปยึดถือมัน ทำอะไรก็ทำด้วยสติปัญญา ด้วยเหตุผลที่สมควร ไม่ใช่ทำด้วยความหลง ทำด้วยความอยากหรือราคะตัณหา ต้องทำด้วยความเข้าใจ ความตระหนักถึงธรรมชาติ ของสรรพสิ่งโดยความเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา อย่างนี้จิตก็จะไม่ยึดมั่นถือมั่น จิตจะเบาโปร่ง ไม่หนักหน่วงและก็ไม่เป็นไปเพื่อความทุกข์
แต่ถ้าเราหลงทำไปแล้ว หลงยึดไปแล้ว จะทำอย่างไร?.... อันนี้ เราก็ต้องตั้งสติพิจารณาให้เกิด ความเข้าใจอย่างชัดแจ้งต่อสิ่งที่ตนหลงยึดนั้น ต้อง ใช้ปัญญาอันแยบคาย เฝ้าสังเกตและพิจารณาจนชัดแจ้งและหมั่นสอนจิตสอนใจของตนให้ยอมรับสภาพตามความเป็นจริง แทนที่จะไปหลงยึดมันด้วยอำนาจของโมหะ ทำอย่างนี้เรื่อยๆ บ่อยๆ อยู่เสมอๆ จนเกิดพลังที่จะปล่อยวางมันได้ มันจะค่อยๆ ปล่อยค่อยๆวางในสิ่งที่ตนยึดนั้น จนใน ที่สุดเราก็อยู่กับมันได้ ทำมันได้ตามความจำเป็นตามหน้าที่โดยเราไม่ยึด ไม่เกาะมัน สิ่งเหล่านั้นมันก็ไม่สามารถทำให้เราทุกข์ใจได้ ถ้าจิตใจเข้าถึงระดับนี้แล้ว มันจะโปร่งเบา สบาย ไม่หนักหน่วงถ่วงจิตด้วยสิ่งที่เราเคยยึดถือ ยิ่งปล่อยวางได้มาก ก็เบาได้มากขึ้น ถ้าจิตกลับมาเกาะติดเรื่องใดอยู่อีก ก็ต้องนำเรื่องนั้นกลับมาพิจารณา ใช้ปัญญาอันแยบคายสอนตนอีกอยู่เสมอๆ ไปเรื่อยๆ จนแจ้งชัดประจักษ์ในความจริงของมันอีกก็จะปล่อยวางมันได้ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ มันอาจวนเวียนอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็จะหลุดจากสิ่งที่ตนยึดที่ตนหลงนั้นได้ถาวร ยิ่งเรื่องที่ตนติดมาก ยึดมาก หลงมาก มันก็ยิ่งต้องทำบ่อยๆ หลายๆ รอบกว่าจะหลุดออกจากมันได้อย่างแท้จริง เพราะมันอยู่ที่ปัญญาอันละเอียดแยบคายในเรื่องเหล่านั้น ยิ่งเราหลงมากก็หมายความว่ากิเลสมันก็ละเอียดซับซ้อนมากเช่นกัน ดังนั้น สติ สมาธิ ปัญญา จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง แต่ยังไงๆ มันก็ไม่เสียเปล่าเพราะถึงแม้เราจะอยู่ในอาการที่ยึดแล้วปล่อย ปล่อยแล้วยึด ติดๆ หลุดๆ วนเวียนอยู่อย่างนี้ แต่ครั้งหนึ่งที่เราปล่อยวางมันได้ มันก็จะประสบกับความสุขความสงบใจอย่างที่สุด มันเป็นความสุขที่โปร่งเบา ความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อน ที่เราเองจะหาไม่ได้จากความสุขแบบทั่วๆ ไปเลย และเมื่อพิจารณาบ่อยขึ้น เข้าใจได้มากขึ้น ปัญญาละเอียดแยบคายขึ้น ก็จะยิ่งปล่อยวางมันได้มากขึ้นๆๆ จนในที่สุดก็หลุดจากมัน หลุดจากสิ่งที่ตนหลงยึด แล้วสิ่งนั้นมันจะไม่สามารถมาทำให้เราทุกข์ใจได้อีกต่อไป
สาเหตุหลักของการยึดติดก็เพราะเรายังมีความหลง จิตของเรายังหลงยึด หลงติด หลงอยากอยู่ ดังนั้นการแก้ไขที่ต้นขั้วของมัน คือแก้ไขที่ความหลงโดยตรง จะช่วยให้หลุดจากมันได้ง่ายกว่า แต่ก็ต้องอาศัยปัญญาอันแยบคายอย่างยิ่งพิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์คือความเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา โดยตรง จึงจะหลุด จึงจะปล่อยได้ง่ายและถาวร ดังนั้น สัจธรรมแห่งทุกขัง อนิจจัง อนัตตา จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ไม่ว่าใครๆ ก็ตามที่หวังจะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง จำเป็นต้องรู้และตระหนักถึงไว้อยู่เสมอ อย่างที่เรียกว่า ไม่ว่าจะดูอะไร ทางไหน ก็มีแต่ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตาทั้งนั้น
การปล่อยวางเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์เราทุกๆ คน ถ้ามนุษย์เราปลงไม่ได้ ปล่อยวางไม่ได้บ้างเลย ก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ มันต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสเจียนตาย เราจะปล่อยให้ความทุกข์บีบคั้นจนแทบตายก่อนหรือแล้วจึงค่อยปล่อยวาง หรือว่าเราจะฝึกสอนตน ปฏิบัติตนเพื่อให้ปล่อยวางได้ก่อนที่จะทุกข์ อันไหนมันจะดีกว่ากัน?
ความสุขที่แท้ความสุขที่ละเอียดไม่ใช่ความสุขแบบโลกๆ อันเป็นความสุขที่ทำให้จิตใจเราสุกไหม้เกรียมด้วยความทุกข์ที่แฝงตัวมากับมัน ความ ทุกข์แห่งความกลัว ความกังวล ความบีบคั้นที่คอย เผาใจเราควบคู่กับความหลงว่าสุขนั้น ความสุขที่แท้ ต้องเป็นความสุขที่บริสุทธิ์กว่า คือ เป็นความสุขที่สงบเย็น โปร่งเบา ไม่เป็นภาระไม่หนักหน่วงจิตใจ และที่ยิ่งกว่าความสุขทั้งปวงนั้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง สู่สภาวะที่ไม่มีความทุกข์อีกเลยไม่ว่ากรณีใดๆ ตลอดไป
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/อิทธิบาท 4)