มีประเด็นที่น่าคิดอีกอย่างหนึ่งก็คือคนทั่วไปมักสำคัญว่า การกระทำและคำพูดได้แก่กายและวาจาที่เคลื่อนไหว(จิตตชรูป) เป็นตัวกรรมซึ่งเป็นความเข้าใจที่แพร่หลายมาก แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว การกระทำและคำพูดเป็นผลของกรรมชนิดสหชาตผล เจตนาเท่านั้นที่เป็นตัวกรรม สำหรับกรณีจิตตชรูปนี้ จิตกับเจตนาต้องทำกิจร่วมกันในการเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดการเคลื่อนไหวของรูป เหมือนสารถีกับสายบังเหียนร่วมกันบังคับม้าให้วิ่งไปในทิศใดๆ สารถีเปรียบเสมือนเจตนามุ่งจะไป(มุ่งจะทำกรรม) สายบังเหียนเปรียบเสมือนจิตคอยชักใยให้ร่างกายที่เคลื่อนไหว (จิตตัชชวาโยธาตุ) ม้ากับรถเปรียบเสมือนร่างกายที่เคลื่อนไหว จิตคิดจะทำสิ่งใดกายก็แล่นไปตาม จิตนั้น สรุปความว่าจิตตชรูป คือ ผลที่เกิดพร้อมกรรม ผลที่ให้พร้อมในขณะทำกรรม
ขอสรุปตรงนี้ว่า ในขณะทำกรรมนั้น
จิตที่เกิดร่วมกับเจตนา เป็นผลของกรรม ก็ด้วยเหตุว่าเป็นระดับของคุณธรรมความดีความชั่วที่พึงเกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ อันผู้กระทำกรรมพึงได้เสวยระดับคุณธรรมของจิตนั้นด้วยตนเอง
เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเจตนา เป็นผลของกรรม ก็ด้วยเหตุว่าสภาวะเดือดร้อนใจหรือสภาวะเย็นใจ อกุศลและกุศลสภาวะเป็นสิ่งอันผู้ทำกรรมพึงเสวย ณ ขณะกระทำ
จิตตชรูป ความเคลื่อนไหวไปของกายวาจา เป็นผลของกรรมก็ด้วยเหตุว่าเป็นเครื่องประกาศความดีความเลวให้ปรากฏแก่โลก
ในบรรดา สหชาตกรรม ทั้ง ๓ อย่างนี้ คนเราคุ้นเคยกับความรู้สึกเดือดร้อนใจเศร้าโศก กระสับกระส่าย ไม่สบายใจเมื่อทำบาป หรือรู้สึกเย็นใจ สบายใจ จิตใจสดใสปลอดโปร่งเมื่อทำบุญกุศล ถึงกับนำมาอธิบายพรรณาในยุคนี้ว่าเป็นผลของกรรม กล่าวเอาความสบายใจไม่สบายใจว่าเป็นผล กรรมมันก็ถูกเหมือนกัน ถึงแม้จะไม่ได้อธิบายรายละเอียดออกเป็นข้อย่อย แต่มามีปัญหาตรงที่ว่า เกิดเสนอมติยืนยันว่าผลของกรรมให้ผลในลักษณะนี้เท่านั้น ไม่ให้ผลในลักษณะอื่น ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องกฎแห่งกรรมอย่างกว้างขวางในตลาดธรรมะบ้านเรา
เคยไปได้ยินครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งอธิบายเรื่องกฎแห่งกรรมในงานปริวาสกรรมที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา จับความได้ว่า กรรมให้ผลทางความรู้สึกในใจ ให้ผลเป็นความเดือดร้อนใจ ความเย็นใจ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วเท่านั้น ไม่ให้ผลในรูปลักษณ์อื่นและให้อย่างเฉียบพลัน เป็น“อกาลิโก” ไม่ประกอบไปด้วยกาล ไม่ต้องรอเวลา ทำปุ๊บได้ปั๊บ เป็น“เอหิปัสสิโก” เรียกให้มาดูได้ คือ ดูความร้อนใจ เย็นใจของตัวเอง เป็น“ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ” ผลของกรรมเป็นสิ่งอันวิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตนเอง คือคนอื่นจะไม่ได้มารู้สึกร้อนใจหรือเย็นใจร่วมกับผู้กระทำ และเรื่องภพภูมิที่ผู้ทำกรรมต้องปฏิสนธิเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย มนุษย์ เทวดา พรหมนั้นเป็นการเกิดการตายทางใจ คือถ้าจิตใจมีโทสะขณะหนึ่ง ความเป็นสัตว์นรกก็เกิดทางใจขณะหนึ่ง เมื่อโทสะดับไปความเป็นสัตว์นรกก็ตายไปขณะหนึ่ง พอโทสะเกิดแล้วดับไปอีก สัตว์นรกก็เกิดแล้วตายไปอีก สุดแท้แต่จะเกิดกี่ครั้งต่อวัน โลภะ โมหะ ก็โดยนัยเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนจากสัตว์นรกมาเป็นเปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานตามลำดับ เมื่อใดจิตในใจมีหิริโอตตัปปะ ความเกรงกลัวบาปความละอายต่อบาป ความเป็นเทวดา ก็เกิดทางใจ พอหิริโอตตัปปะดับ ความเป็นเทวดาทางใจก็ตาย พอใจมีความเมตตาความเป็นพรหม ก็เกิดทางใจ พอเมตตาดับไปความเป็นพรหมก็ตาย ซึ่งมีแต่การเกิดการตายทางใจเท่านั้นการเกิด การตายในภพภูมิจริงๆไม่มี
ที่จริงแล้วคำว่า “อกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปนยิโก ปัจจัตตัง เวทิตพโพ วิญญูหีติ” นั้น เป็นกลุ่มคำที่ท่านผูกไว้ใช้พรรณนาธรรมหมวดอื่น ไม่ใช่ผูกไว้เพื่อพรรณนากฎแห่งกรรม กลุ่มคำเหล่านี้ท่านไว้ใช้พรรณนาเรื่อง วิปัสสนา มรรคผล นิพพาน มีความหมายว่าเมื่อมีมัคคจิตเกิดแล้ว ผลจิตย่อมเกิดตามมาโดยไม่มีระหว่างคั่น ผลจิตย่อมเกิดตามมาโดยฉับพลัน เป็น “อกาลิโก” ไม่ต้องรอเวลาอย่างหนึ่งหรือวิปัสสนานี้จะปฏิบัติเวลาไหนก็ได้ไม่ประกอบด้วยกาลเป็น “อกาลิโก” ส่วนคำว่า “เอหิปัสสิโก” หมายถึงว่ารูปนามขันธ์ ๕ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั่น ควรเรียกให้มาดู การดูรูปนามไตรลักษณ์ นั่นเป็นข้อปฏิบัติของวิปัสสนา ส่วนคำว่า “ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ” นั้น หมายถึงว่า ผู้ใดปฏิบัติ(เฝ้าดูแล้ว) ผู้นั้นก็เป็นผู้เห็นเองว่าสัจธรรม ความจริงของรูปนามขันธ์ ๕ คืออะไร คนอื่นจะเห็นแทนกันไม่ได้ ถ้าเราเอากลุ่มคำเหล่านี้มาใช้พรรณนาเรื่องกฎแห่ง กรรม ความหมายของกรรมและผลของกรรม ก็จะคลาดเคลื่อนไปจากหลักพระไตรปิฎกทันที เหมือนเราเอาคำที่ใช้พรรณนาก๋วยเตี๋ยวมาอธิบาย ลักษณะก๋วยจั๊บ หรือใช้คำที่พรรณาเสือมาอธิบาย ลักษณะของแมว
สำหรับเรื่องการเกิดตายทางใจนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ก่อนแล้วว่า มนุสสเนรยิโก, มนุสสเปโต, มนุสสติรจฉาโน, มนุสสเทโว, มนุสสพรหมโม หมายถึงว่า ถ้าบุคคลใดมีโทสะจิตเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้นเขามีกายเป็นมนุษย์แต่มีใจเป็นสัตว์นรก ถ้ามีโลภะจิตเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้นเขามีกายเป็นมนุษย์แต่มีใจเป็นเปรต ถ้าบุคคล โดมีหิริโอตตัปปะ มีเมตตาขณะใด ขณะนั้นกายเขาเป็นมนุษย์แต่ใจเป็นเทวดาเป็นพรหม แล้วแต่ ว่าขณะนั้นๆ กุศลหรืออกุศลจะเกิดขึ้น นี้เป็นนัยแรกที่ท่านได้ตรัสไว้ก่อนแล้ว ไม่มีใครคิดขึ้นได้ใหม่ ส่วนนัยที่ ๒ นั้นเป็นอุบัติภพ คือ การได้ปฏิสนธิขึ้นเป็นสัตว์ต่างๆ เหล่านั้นจริงๆ ตามอำนาจ กรรมที่ส่งผลโดยที่ท่านใช้คำว่า เมื่อสัตว์นั้นตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดา หรือพรหม คือสัตว์นั้นตายเพราะกายแตกจริงๆ ไม่ใช่ตายทางใจ เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือเทวดา พรหมจริงๆ ไม่ใช่เกิดทางใจ พระองค์ทรงใช้คำกุมความหมายไว้ไม่ให้ดิ้นได้ว่า สัตว์นั้นตายเพราะกายแตก ร่างกายสิ้นสภาพดับชีวิต แล้วจึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
(อ่านต่อฉบับหน้า)
ขอสรุปตรงนี้ว่า ในขณะทำกรรมนั้น
จิตที่เกิดร่วมกับเจตนา เป็นผลของกรรม ก็ด้วยเหตุว่าเป็นระดับของคุณธรรมความดีความชั่วที่พึงเกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ อันผู้กระทำกรรมพึงได้เสวยระดับคุณธรรมของจิตนั้นด้วยตนเอง
เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเจตนา เป็นผลของกรรม ก็ด้วยเหตุว่าสภาวะเดือดร้อนใจหรือสภาวะเย็นใจ อกุศลและกุศลสภาวะเป็นสิ่งอันผู้ทำกรรมพึงเสวย ณ ขณะกระทำ
จิตตชรูป ความเคลื่อนไหวไปของกายวาจา เป็นผลของกรรมก็ด้วยเหตุว่าเป็นเครื่องประกาศความดีความเลวให้ปรากฏแก่โลก
ในบรรดา สหชาตกรรม ทั้ง ๓ อย่างนี้ คนเราคุ้นเคยกับความรู้สึกเดือดร้อนใจเศร้าโศก กระสับกระส่าย ไม่สบายใจเมื่อทำบาป หรือรู้สึกเย็นใจ สบายใจ จิตใจสดใสปลอดโปร่งเมื่อทำบุญกุศล ถึงกับนำมาอธิบายพรรณาในยุคนี้ว่าเป็นผลของกรรม กล่าวเอาความสบายใจไม่สบายใจว่าเป็นผล กรรมมันก็ถูกเหมือนกัน ถึงแม้จะไม่ได้อธิบายรายละเอียดออกเป็นข้อย่อย แต่มามีปัญหาตรงที่ว่า เกิดเสนอมติยืนยันว่าผลของกรรมให้ผลในลักษณะนี้เท่านั้น ไม่ให้ผลในลักษณะอื่น ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องกฎแห่งกรรมอย่างกว้างขวางในตลาดธรรมะบ้านเรา
เคยไปได้ยินครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งอธิบายเรื่องกฎแห่งกรรมในงานปริวาสกรรมที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา จับความได้ว่า กรรมให้ผลทางความรู้สึกในใจ ให้ผลเป็นความเดือดร้อนใจ ความเย็นใจ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วเท่านั้น ไม่ให้ผลในรูปลักษณ์อื่นและให้อย่างเฉียบพลัน เป็น“อกาลิโก” ไม่ประกอบไปด้วยกาล ไม่ต้องรอเวลา ทำปุ๊บได้ปั๊บ เป็น“เอหิปัสสิโก” เรียกให้มาดูได้ คือ ดูความร้อนใจ เย็นใจของตัวเอง เป็น“ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ” ผลของกรรมเป็นสิ่งอันวิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตนเอง คือคนอื่นจะไม่ได้มารู้สึกร้อนใจหรือเย็นใจร่วมกับผู้กระทำ และเรื่องภพภูมิที่ผู้ทำกรรมต้องปฏิสนธิเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย มนุษย์ เทวดา พรหมนั้นเป็นการเกิดการตายทางใจ คือถ้าจิตใจมีโทสะขณะหนึ่ง ความเป็นสัตว์นรกก็เกิดทางใจขณะหนึ่ง เมื่อโทสะดับไปความเป็นสัตว์นรกก็ตายไปขณะหนึ่ง พอโทสะเกิดแล้วดับไปอีก สัตว์นรกก็เกิดแล้วตายไปอีก สุดแท้แต่จะเกิดกี่ครั้งต่อวัน โลภะ โมหะ ก็โดยนัยเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนจากสัตว์นรกมาเป็นเปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานตามลำดับ เมื่อใดจิตในใจมีหิริโอตตัปปะ ความเกรงกลัวบาปความละอายต่อบาป ความเป็นเทวดา ก็เกิดทางใจ พอหิริโอตตัปปะดับ ความเป็นเทวดาทางใจก็ตาย พอใจมีความเมตตาความเป็นพรหม ก็เกิดทางใจ พอเมตตาดับไปความเป็นพรหมก็ตาย ซึ่งมีแต่การเกิดการตายทางใจเท่านั้นการเกิด การตายในภพภูมิจริงๆไม่มี
ที่จริงแล้วคำว่า “อกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปนยิโก ปัจจัตตัง เวทิตพโพ วิญญูหีติ” นั้น เป็นกลุ่มคำที่ท่านผูกไว้ใช้พรรณนาธรรมหมวดอื่น ไม่ใช่ผูกไว้เพื่อพรรณนากฎแห่งกรรม กลุ่มคำเหล่านี้ท่านไว้ใช้พรรณนาเรื่อง วิปัสสนา มรรคผล นิพพาน มีความหมายว่าเมื่อมีมัคคจิตเกิดแล้ว ผลจิตย่อมเกิดตามมาโดยไม่มีระหว่างคั่น ผลจิตย่อมเกิดตามมาโดยฉับพลัน เป็น “อกาลิโก” ไม่ต้องรอเวลาอย่างหนึ่งหรือวิปัสสนานี้จะปฏิบัติเวลาไหนก็ได้ไม่ประกอบด้วยกาลเป็น “อกาลิโก” ส่วนคำว่า “เอหิปัสสิโก” หมายถึงว่ารูปนามขันธ์ ๕ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั่น ควรเรียกให้มาดู การดูรูปนามไตรลักษณ์ นั่นเป็นข้อปฏิบัติของวิปัสสนา ส่วนคำว่า “ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ” นั้น หมายถึงว่า ผู้ใดปฏิบัติ(เฝ้าดูแล้ว) ผู้นั้นก็เป็นผู้เห็นเองว่าสัจธรรม ความจริงของรูปนามขันธ์ ๕ คืออะไร คนอื่นจะเห็นแทนกันไม่ได้ ถ้าเราเอากลุ่มคำเหล่านี้มาใช้พรรณนาเรื่องกฎแห่ง กรรม ความหมายของกรรมและผลของกรรม ก็จะคลาดเคลื่อนไปจากหลักพระไตรปิฎกทันที เหมือนเราเอาคำที่ใช้พรรณนาก๋วยเตี๋ยวมาอธิบาย ลักษณะก๋วยจั๊บ หรือใช้คำที่พรรณาเสือมาอธิบาย ลักษณะของแมว
สำหรับเรื่องการเกิดตายทางใจนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ก่อนแล้วว่า มนุสสเนรยิโก, มนุสสเปโต, มนุสสติรจฉาโน, มนุสสเทโว, มนุสสพรหมโม หมายถึงว่า ถ้าบุคคลใดมีโทสะจิตเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้นเขามีกายเป็นมนุษย์แต่มีใจเป็นสัตว์นรก ถ้ามีโลภะจิตเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้นเขามีกายเป็นมนุษย์แต่มีใจเป็นเปรต ถ้าบุคคล โดมีหิริโอตตัปปะ มีเมตตาขณะใด ขณะนั้นกายเขาเป็นมนุษย์แต่ใจเป็นเทวดาเป็นพรหม แล้วแต่ ว่าขณะนั้นๆ กุศลหรืออกุศลจะเกิดขึ้น นี้เป็นนัยแรกที่ท่านได้ตรัสไว้ก่อนแล้ว ไม่มีใครคิดขึ้นได้ใหม่ ส่วนนัยที่ ๒ นั้นเป็นอุบัติภพ คือ การได้ปฏิสนธิขึ้นเป็นสัตว์ต่างๆ เหล่านั้นจริงๆ ตามอำนาจ กรรมที่ส่งผลโดยที่ท่านใช้คำว่า เมื่อสัตว์นั้นตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดา หรือพรหม คือสัตว์นั้นตายเพราะกายแตกจริงๆ ไม่ใช่ตายทางใจ เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือเทวดา พรหมจริงๆ ไม่ใช่เกิดทางใจ พระองค์ทรงใช้คำกุมความหมายไว้ไม่ให้ดิ้นได้ว่า สัตว์นั้นตายเพราะกายแตก ร่างกายสิ้นสภาพดับชีวิต แล้วจึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
(อ่านต่อฉบับหน้า)