วันนี้จะเทศน์เรื่องสิ่งทั้งปวงมารวมอันเดียวจึงจะสำเร็จ ถ้าหากไม่รวมในที่เดียวแล้วไม่สำเร็จ ในการที่จะสำเร็จนั้น จะเป็นไปในรูปใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าโลกว่าธรรม ต้องให้รวมเสียก่อน ดูใกล้ๆ ตัวเรานี่แหละ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม กระจัดกระจายกันอยู่ ไม่เป็นตนเป็นตัวหรอก เมื่อธาตุผสมกันเข้าพร้อมบริบูรณ์เมื่อไหร่ จึงค่อยเป็นตนเป็นตัวขึ้นมาค่อยเจริญเติบโตขึ้นมาโดยลำดับ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่หนีไปจากธาตุทั้งนั้น ถ้าหากกระจัดกระจายกันอยู่ เป็นแต่น้ำมันก็สำเร็จเป็นแค่น้ำเท่านั้น เพราะไม่มีไฟ ไม่มีลม เป็นดิน มันก็สำเร็จเป็นแค่ดินสิ่งอันเดียวมันไม่ครบพร้อมบริบูรณ์ บ้านหนึ่ง เมืองหนึ่ง ครอบครัวหนึ่งก็เหมือนกัน พ่อแม่ลูกเต้าหลายๆ คนมารวมกันเข้าค่อยเป็นบ้าน บ้านหลายๆบ้านมารวมกันเข้าจึงค่อยเป็นตำบล ก็หลายตำบลมารวมกันเข้าเป็นอำเภอ เป็นจังหวัด เป็นอะไรต่างๆเป็นขั้นเป็นตอนไป
ในทางธรรมก็ฉันเดียวกัน กิเลสต่างๆ มันไม่รวมกันเมื่อใด กระจัดกระจายกันอยู่ไม่พร้อมบริบูรณ์เมื่อใด มันก็ไม่สำเร็จมรรคผลนิพพานได้ ที่ท่านเรียกว่า “มรรคสมังคี” คือจิตที่ค้นคว้าแสวงหาเรื่องมรรคต่างๆ เรียกว่าค้นคว้า ปฏิบัติหาเหตุหาผล เรื่องราวต่างๆ จิตแน่วแน่รวมลงไป ในที่เดียว จึงค่อยประหัตประหารกิเลสทั้งหลายได้ แต่ละมรรคก็รวมลงได้อย่างนั้นเหมือนกัน
คนเรานั้นยากที่จะรวมกิเลสได้ คือเป็นไปตามแต่เรื่อง ของกิเลส ไม่รู้จักมูลฐานของกิเลส ไม่รู้จักที่ตั้งของกิเลส มันก็ละไม่ได้ ความเศร้าหมองเรียกว่ากิเลส มันทำให้จิตใจของเราไม่ผ่องใส
ความเศร้าหมองไม่มีใครอยากได้ อยากได้แต่ความผ่องใส อันความเศร้าหมองจะชำระด้วยประการใดแล้วแต่อุบายของตน อย่างเช่นความโกรธเกิดขึ้นมาจิตใจเศร้า หมองไม่ผ่องใส ไม่เบิกบาน ใครโกรธ ความโกรธมันก็วิ่งเข้ามาหา ใครโลภ ความโลภมันก็วิ่งเข้ามาหา ใครหลง ความหลงมันก็วิ่งเข้ามาหา มันวิ่งเข้ามาหาตัวใจนั่นแหละ จึงว่ามันรวมที่ใจ ถ้าไม่เห็นใจแล้วก็ไม่เห็นตัวกิเลส เราพิจารณาชำระใจของเราให้ผ่องใส จึงจะเห็นใจอันบริสุทธิ์ ใจที่บริสุทธิ์แล้วนั้นเอาปกติธรรมดานี่แหละ ระลึกถึงเรื่อง ปกติธรรมดานี่แหละ ในเมื่อผ่องใสอยู่ปกติธรรมดามันไม่ โกรธ ได้ความสุขความสบายใจชอบใจในที่นั้น ความโกรธ มันก็มืดมิดทุกสิ่งทุกอย่าง หาทางออกไม่ได้ ยิ่งดิ้นก็ยิ่งผูกมัดเข้าทุกที...
คนเราในเมื่อไม่มีโกรธ ไม่มีโลภ ไม่มีหลง มันก็สบายอยู่ ถ้ามันโลภ มันโกรธ มันหลง มันติดแน่นหมด ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าอย่างนั้นความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง จะไม่ดีหรือ
ความโกรธมันเกิดจากความไม่พอใจ เห็นสิ่งใดๆ ผิด หูผิดตาไปหมด อันนี้ก็พูดถึงใจเหมือนกัน ผิดหู ผิดตา ไม่ถูกหู ไม่ถูกตา มันก็ไม่ถูกใจนั่นแหละ ถ้าไม่มีใจแล้ว หู ตา มันไม่มีประโยชน์อะไรเลย หูก็ไม่ได้ยิน ตาก็ไม่ได้ เห็น ก็ตัวใจตัวเดียวนั่นแหละที่ไม่พอใจ เมื่อไม่พอใจแล้ว มันก็ขุ่น ขุ่นแล้วก็ไม่เห็นอะไร มันก็มืด มันก็เศร้าหมอง ความโกรธเกิดขึ้นแล้วย่อมประหารจิตใจของคนให้เป็นจุณมหาจุณ จึงให้หาหลัก คือใจเสียก่อนเป็นของสำคัญ
คนทั้งหมดในโลกนี้เกิดจากใจ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้เกิดจากใจ ที่เป็นตนเป็นตัววิ่งเต้นอยู่ตามโลก คือพลิก ไหวเคลื่อนไปมาอยู่ในโลกอันนี้ล้วนแต่มีใจทั้งนั้น ใจตัวนั้นแหละมันเป็นเหตุ ใครๆ ก็พูดเรื่องใจ แต่หากไม่เห็น ใจสักที ไม่ถูกใจ ไม่พอใจ น้อยใจ เสียใจ ดีใจ อะไรพูด ถึงใจทั้งนั้น พุทธศาสนาของเราจึงว่าสอนถึงใจ ไม่ได้สอน ที่อื่น ทำบุญสุนทานด้วยประการต่างๆ ก็ใจนั่นแหละ ใจเกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงค่อย ‘จาคะ’ บริจาคทำบุญ ใจบุญ ใจกุศล จึงค่อยทำทาน มีเจตนางดเว้นจากข้อนั้นๆ จึงเรียกว่า รักษาศีล ทำสมาธิภาวนา ก็รักษาสำรวมใจ ปัญญาก็ตัวใจนั่นแหละ ศาสนาพูดถึงใจอย่างนี้ โดยสรุปรวมแล้ว หากพูดถึงศีล สมาธิ ปัญญา มันจะมีอะไร มันก็พูดถึง ใจนั่นแหละ อย่างที่อธิบายมาแล้ว ถ้าหากเราถึงใจเมื่อใด ก็ถึงศาสนาเมื่อนั้น
พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ก็ตรัสรู้ที่หัวใจของพระองค์ คนที่ไปตกนรกหมกไหม้ก็เพราะใจนั่นเองเศร้าหมอง จะขึ้น สวรรค์ชั้นฟ้าก็เพราะใจนั่นเองผ่องใสสะอาด จึงว่าสิ่งทั้งปวงหมดในโลกนี้ ถ้าไม่รวมใจแล้ว ไม่สำเร็จประโยชน์
ปฏิบัติธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ปฏิบัติมากมายสักเท่าไร พิจารณารอบคอบรอบด้านแล้วมารวมที่ใจเป็นสมาธิภาวนานั่นแหละ เกิดสมาธิที่ตรงนั้น เป็นสมาธิภาวนาแน่วแน่ลงไป สมาธิภาวนานั่นแหละ ตัวทาน บ่อทาน ตัวอิ่มใจ มันจะอิ่มของมันเองหรอก มันเกิดปัญญาอุบายก็เกิดของมันเองหรอก เหมือนกับของภายนอกของภายในอันเดียวกัน โลกธรรมอันเดียวกัน เป็นแต่พิจารณาถึงเรื่องโลกมันไม่รวม แต่มันรวมอยู่ในตัวแล้ว แต่เราไม่รวม อันนั้นเรียกว่า ‘โลก’ ส่วน‘ธรรม’ นี้พิจารณารวมลงในที่เดียว รวมที่หัวใจแห่งเดียว มันจะเกิดอุบายปัญญาก็ตามหรือไม่เกิดก็ช่าง เรียกว่าเป็นธรรม แท้ทีเดียว ถ้าหากมันเกิดรู้แจ้งชัดเจนขึ้นมาในใจนั้นเป็นธรรมแท้ทีเดียว
(แสดงธรรม ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๒๔)
หลวงปู่อบรมนั่งสมาธิ
นั่งสมาธิ ทำภาวนาเบื้องต้น ต้องทำสมาธิภาวนาด้วยคำบริกรรมเสียก่อน คำบริกรรม เช่น อาณาปานสติ ระลึกถึงลมหายใจเข้าออก นี่เป็นเครื่องล่อสำหรับให้จิตมาอยู่กับลมนั้น จิตไม่มีตนมีตัว ให้มันอยู่อันเดียว เสียก่อน ให้เชื่อมั่นว่าคำบริกรรมอันนี้เป็นของดี พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนั้น เราค้นหาจิตไม่ได้ จะไป หาที่ไหนก็ไม่เห็นตนเห็นตัว จึงใช้คำบริกรรมอาณาปานสติ คือ ลมหายใจเข้าออก แล้วก็คำอาณาปานสติ ก็เป็นของดี คือหายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกมันก็ตาย มันอยู่ไม่ได้หรอก หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้ามันก็ตาย มันเห็นความตายในตัว มันเห็นใกล้ที่สุด มันกลัวตายมันก็วางหมดทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะส่งส่ายไป ทำไม มันก็ต้องอยู่คงที่ นั่นแหละเรียกว่าจิตเป็นสมาธิ อยู่พักหนึ่งเสียก่อน คือมันอยู่ในคำบริกรรม เมื่ออยู่ในที่นั้นแล้ว ผู้ที่จิตมาอยู่ในคำบริกรรมนั่นนะ จิตอันหนึ่ง คำบริกรรมอันหนึ่ง คำบริกรรมคือลมหายใจเข้าออก อันนั้นเป็นคำบริกรรมอาณาปานสติ ผู้นึกผู้คิดนั่นแหละเป็นจิต คิดนึกส่งส่ายสารพัดทุกอย่าง ปรุงแต่งทุกประการ ไม่หยุดไม่ยั้ง
คนเราอยู่คงที่ไม่ได้ มีจิตต้องคิดต้องนึก ผู้คิดผู้นึกตามรู้ตามเห็น ตามเข้าใจตามเรื่องของมัน เอาสติไปคุม สติมาจากไหน ก็มาจากใจ คุมจิตก็ใจนั่นแหละ จิตใจอันเดียวกันนั่นแหละ แต่ว่าลักษณะมันต่างกัน สติคือผู้ระวังผู้กำหนดรู้อยู่ ควบคุมอยู่ สติไปควบคุมจิต พอพิจารณาเข้ามาอย่างนี้ สิ่งที่มันส่งออกมันก็น้อยเข้าๆ และผลที่สุดมันก็จะหายเงียบไป ความคิดอันนั้นจิตไม่มีแล้วคราวนี้ มี แต่สติ จิตเลยกลายเป็นใจ
ใจคือผู้อยู่ คือผู้เฉย มีความรู้สึกเฉยๆอยู่ แต่ไม่คิด ไม่นึก ไม่ส่งส่าย อันนั้นเรียกว่าใจ มันออกมาจากใจทั้งหมด สติก็ใจ จิตก็ออกมาจากใจ รักษาตัวนั้นไว้ให้มันอยู่ เฉยๆ เสียก่อน ความเป็นกลางๆ ความว่าง ความเปล่า ไม่คิดส่งส่ายไปหน้ามาหลัง อันนั้นแหละตัวใจ เห็นใจแล้ว คราวนี้ เมื่อเห็นใจแล้ว จะนั่งสมาธิอยู่ก็ดี มองเห็นใจอยู่ ตลอดเวลา ใครเป็นคนมองเห็น ก็ใจนั่นแหละมองเห็นใจ ยืน เดิน นั่ง นอน มองเห็นอยู่ทุกอิริยาบถ ทำการทำงาน อะไรต่างๆ ก็มองเห็นอยู่ แต่นี้ใจเห็นใจแล้ว คราวนี้อยู่ด้วยอาการอย่างนี้เรื่อยไป หัดอย่างนี้ให้มันชำนาญ ให้มันได้ทุกอิริยาบถ
เรื่องสิ่งต่างๆมันจะมากระทบอย่างความโกรธ ความหลงใครเขาดูถูกดูหมิ่นนินทาสารพัดทุกอย่าง ถ้ามันเข้าไม่ถึงใจ มันเป็นจิต มันไปรับเอาของพวกนั้น เอามาปรุงมาแต่ง มาคิดมานึก มันจึงค่อยโกรธ ค่อยโลภ ค่อยหลง ครั้นถึงตัวใจแล้วไม่มีอะไร ท่านจึงว่า ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ จิตเป็นของผ่องใสทุกเมื่อ อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ กิเลสเป็นของจรมา คือมารับรู้เอากิเลสนั่นเอง คือจิตมันวิ่งออกไปรับรู้เอา จึงเป็นกิเลส จรมา ใจของคนเราเป็นของผ่องใสบริสุทธิ์อยู่แต่ไหนแต่ไรมา แต่จิตมันวิ่งไปรับเอากิเลสเข้ามาคลุมไว้มืดมิดหมด เพราะเหตุนี้แหละ ทุกๆคนจึงสามารถทำใจให้บริสุทธิ์ได้ ให้ถึงมรรคผลนิพพานได้ ถ้าจิตแท้มันเศร้าหมองเสียแล้ว ไม่สามารถทำให้ถึงมรรคผลนิพพาน ได้หรอก
เหตุนั้นจึงว่า เมื่อเข้าถึงใจแล้ว มันใกล้แล้ว เข้าถึง ความผ่องใสแล้ว มันใกล้จะเห็นเงาของตนแล้ว เห็นตัวของตนแล้ว กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นมาเห็นตรงนั้นแหละ ชำระสะสางให้สะอาดผ่องใสบริสุทธิ์ก็ตรงนี้แหละ สะอาดบริสุทธิ์บางครั้งบางคราวก็ยังดี ถ้าหากทำให้ ชำนิชำนาญมันก็เป็นประโยชน์ต่อเรา
ในทางธรรมก็ฉันเดียวกัน กิเลสต่างๆ มันไม่รวมกันเมื่อใด กระจัดกระจายกันอยู่ไม่พร้อมบริบูรณ์เมื่อใด มันก็ไม่สำเร็จมรรคผลนิพพานได้ ที่ท่านเรียกว่า “มรรคสมังคี” คือจิตที่ค้นคว้าแสวงหาเรื่องมรรคต่างๆ เรียกว่าค้นคว้า ปฏิบัติหาเหตุหาผล เรื่องราวต่างๆ จิตแน่วแน่รวมลงไป ในที่เดียว จึงค่อยประหัตประหารกิเลสทั้งหลายได้ แต่ละมรรคก็รวมลงได้อย่างนั้นเหมือนกัน
คนเรานั้นยากที่จะรวมกิเลสได้ คือเป็นไปตามแต่เรื่อง ของกิเลส ไม่รู้จักมูลฐานของกิเลส ไม่รู้จักที่ตั้งของกิเลส มันก็ละไม่ได้ ความเศร้าหมองเรียกว่ากิเลส มันทำให้จิตใจของเราไม่ผ่องใส
ความเศร้าหมองไม่มีใครอยากได้ อยากได้แต่ความผ่องใส อันความเศร้าหมองจะชำระด้วยประการใดแล้วแต่อุบายของตน อย่างเช่นความโกรธเกิดขึ้นมาจิตใจเศร้า หมองไม่ผ่องใส ไม่เบิกบาน ใครโกรธ ความโกรธมันก็วิ่งเข้ามาหา ใครโลภ ความโลภมันก็วิ่งเข้ามาหา ใครหลง ความหลงมันก็วิ่งเข้ามาหา มันวิ่งเข้ามาหาตัวใจนั่นแหละ จึงว่ามันรวมที่ใจ ถ้าไม่เห็นใจแล้วก็ไม่เห็นตัวกิเลส เราพิจารณาชำระใจของเราให้ผ่องใส จึงจะเห็นใจอันบริสุทธิ์ ใจที่บริสุทธิ์แล้วนั้นเอาปกติธรรมดานี่แหละ ระลึกถึงเรื่อง ปกติธรรมดานี่แหละ ในเมื่อผ่องใสอยู่ปกติธรรมดามันไม่ โกรธ ได้ความสุขความสบายใจชอบใจในที่นั้น ความโกรธ มันก็มืดมิดทุกสิ่งทุกอย่าง หาทางออกไม่ได้ ยิ่งดิ้นก็ยิ่งผูกมัดเข้าทุกที...
คนเราในเมื่อไม่มีโกรธ ไม่มีโลภ ไม่มีหลง มันก็สบายอยู่ ถ้ามันโลภ มันโกรธ มันหลง มันติดแน่นหมด ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าอย่างนั้นความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง จะไม่ดีหรือ
ความโกรธมันเกิดจากความไม่พอใจ เห็นสิ่งใดๆ ผิด หูผิดตาไปหมด อันนี้ก็พูดถึงใจเหมือนกัน ผิดหู ผิดตา ไม่ถูกหู ไม่ถูกตา มันก็ไม่ถูกใจนั่นแหละ ถ้าไม่มีใจแล้ว หู ตา มันไม่มีประโยชน์อะไรเลย หูก็ไม่ได้ยิน ตาก็ไม่ได้ เห็น ก็ตัวใจตัวเดียวนั่นแหละที่ไม่พอใจ เมื่อไม่พอใจแล้ว มันก็ขุ่น ขุ่นแล้วก็ไม่เห็นอะไร มันก็มืด มันก็เศร้าหมอง ความโกรธเกิดขึ้นแล้วย่อมประหารจิตใจของคนให้เป็นจุณมหาจุณ จึงให้หาหลัก คือใจเสียก่อนเป็นของสำคัญ
คนทั้งหมดในโลกนี้เกิดจากใจ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้เกิดจากใจ ที่เป็นตนเป็นตัววิ่งเต้นอยู่ตามโลก คือพลิก ไหวเคลื่อนไปมาอยู่ในโลกอันนี้ล้วนแต่มีใจทั้งนั้น ใจตัวนั้นแหละมันเป็นเหตุ ใครๆ ก็พูดเรื่องใจ แต่หากไม่เห็น ใจสักที ไม่ถูกใจ ไม่พอใจ น้อยใจ เสียใจ ดีใจ อะไรพูด ถึงใจทั้งนั้น พุทธศาสนาของเราจึงว่าสอนถึงใจ ไม่ได้สอน ที่อื่น ทำบุญสุนทานด้วยประการต่างๆ ก็ใจนั่นแหละ ใจเกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงค่อย ‘จาคะ’ บริจาคทำบุญ ใจบุญ ใจกุศล จึงค่อยทำทาน มีเจตนางดเว้นจากข้อนั้นๆ จึงเรียกว่า รักษาศีล ทำสมาธิภาวนา ก็รักษาสำรวมใจ ปัญญาก็ตัวใจนั่นแหละ ศาสนาพูดถึงใจอย่างนี้ โดยสรุปรวมแล้ว หากพูดถึงศีล สมาธิ ปัญญา มันจะมีอะไร มันก็พูดถึง ใจนั่นแหละ อย่างที่อธิบายมาแล้ว ถ้าหากเราถึงใจเมื่อใด ก็ถึงศาสนาเมื่อนั้น
พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ก็ตรัสรู้ที่หัวใจของพระองค์ คนที่ไปตกนรกหมกไหม้ก็เพราะใจนั่นเองเศร้าหมอง จะขึ้น สวรรค์ชั้นฟ้าก็เพราะใจนั่นเองผ่องใสสะอาด จึงว่าสิ่งทั้งปวงหมดในโลกนี้ ถ้าไม่รวมใจแล้ว ไม่สำเร็จประโยชน์
ปฏิบัติธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ปฏิบัติมากมายสักเท่าไร พิจารณารอบคอบรอบด้านแล้วมารวมที่ใจเป็นสมาธิภาวนานั่นแหละ เกิดสมาธิที่ตรงนั้น เป็นสมาธิภาวนาแน่วแน่ลงไป สมาธิภาวนานั่นแหละ ตัวทาน บ่อทาน ตัวอิ่มใจ มันจะอิ่มของมันเองหรอก มันเกิดปัญญาอุบายก็เกิดของมันเองหรอก เหมือนกับของภายนอกของภายในอันเดียวกัน โลกธรรมอันเดียวกัน เป็นแต่พิจารณาถึงเรื่องโลกมันไม่รวม แต่มันรวมอยู่ในตัวแล้ว แต่เราไม่รวม อันนั้นเรียกว่า ‘โลก’ ส่วน‘ธรรม’ นี้พิจารณารวมลงในที่เดียว รวมที่หัวใจแห่งเดียว มันจะเกิดอุบายปัญญาก็ตามหรือไม่เกิดก็ช่าง เรียกว่าเป็นธรรม แท้ทีเดียว ถ้าหากมันเกิดรู้แจ้งชัดเจนขึ้นมาในใจนั้นเป็นธรรมแท้ทีเดียว
(แสดงธรรม ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๒๔)
หลวงปู่อบรมนั่งสมาธิ
นั่งสมาธิ ทำภาวนาเบื้องต้น ต้องทำสมาธิภาวนาด้วยคำบริกรรมเสียก่อน คำบริกรรม เช่น อาณาปานสติ ระลึกถึงลมหายใจเข้าออก นี่เป็นเครื่องล่อสำหรับให้จิตมาอยู่กับลมนั้น จิตไม่มีตนมีตัว ให้มันอยู่อันเดียว เสียก่อน ให้เชื่อมั่นว่าคำบริกรรมอันนี้เป็นของดี พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนั้น เราค้นหาจิตไม่ได้ จะไป หาที่ไหนก็ไม่เห็นตนเห็นตัว จึงใช้คำบริกรรมอาณาปานสติ คือ ลมหายใจเข้าออก แล้วก็คำอาณาปานสติ ก็เป็นของดี คือหายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกมันก็ตาย มันอยู่ไม่ได้หรอก หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้ามันก็ตาย มันเห็นความตายในตัว มันเห็นใกล้ที่สุด มันกลัวตายมันก็วางหมดทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะส่งส่ายไป ทำไม มันก็ต้องอยู่คงที่ นั่นแหละเรียกว่าจิตเป็นสมาธิ อยู่พักหนึ่งเสียก่อน คือมันอยู่ในคำบริกรรม เมื่ออยู่ในที่นั้นแล้ว ผู้ที่จิตมาอยู่ในคำบริกรรมนั่นนะ จิตอันหนึ่ง คำบริกรรมอันหนึ่ง คำบริกรรมคือลมหายใจเข้าออก อันนั้นเป็นคำบริกรรมอาณาปานสติ ผู้นึกผู้คิดนั่นแหละเป็นจิต คิดนึกส่งส่ายสารพัดทุกอย่าง ปรุงแต่งทุกประการ ไม่หยุดไม่ยั้ง
คนเราอยู่คงที่ไม่ได้ มีจิตต้องคิดต้องนึก ผู้คิดผู้นึกตามรู้ตามเห็น ตามเข้าใจตามเรื่องของมัน เอาสติไปคุม สติมาจากไหน ก็มาจากใจ คุมจิตก็ใจนั่นแหละ จิตใจอันเดียวกันนั่นแหละ แต่ว่าลักษณะมันต่างกัน สติคือผู้ระวังผู้กำหนดรู้อยู่ ควบคุมอยู่ สติไปควบคุมจิต พอพิจารณาเข้ามาอย่างนี้ สิ่งที่มันส่งออกมันก็น้อยเข้าๆ และผลที่สุดมันก็จะหายเงียบไป ความคิดอันนั้นจิตไม่มีแล้วคราวนี้ มี แต่สติ จิตเลยกลายเป็นใจ
ใจคือผู้อยู่ คือผู้เฉย มีความรู้สึกเฉยๆอยู่ แต่ไม่คิด ไม่นึก ไม่ส่งส่าย อันนั้นเรียกว่าใจ มันออกมาจากใจทั้งหมด สติก็ใจ จิตก็ออกมาจากใจ รักษาตัวนั้นไว้ให้มันอยู่ เฉยๆ เสียก่อน ความเป็นกลางๆ ความว่าง ความเปล่า ไม่คิดส่งส่ายไปหน้ามาหลัง อันนั้นแหละตัวใจ เห็นใจแล้ว คราวนี้ เมื่อเห็นใจแล้ว จะนั่งสมาธิอยู่ก็ดี มองเห็นใจอยู่ ตลอดเวลา ใครเป็นคนมองเห็น ก็ใจนั่นแหละมองเห็นใจ ยืน เดิน นั่ง นอน มองเห็นอยู่ทุกอิริยาบถ ทำการทำงาน อะไรต่างๆ ก็มองเห็นอยู่ แต่นี้ใจเห็นใจแล้ว คราวนี้อยู่ด้วยอาการอย่างนี้เรื่อยไป หัดอย่างนี้ให้มันชำนาญ ให้มันได้ทุกอิริยาบถ
เรื่องสิ่งต่างๆมันจะมากระทบอย่างความโกรธ ความหลงใครเขาดูถูกดูหมิ่นนินทาสารพัดทุกอย่าง ถ้ามันเข้าไม่ถึงใจ มันเป็นจิต มันไปรับเอาของพวกนั้น เอามาปรุงมาแต่ง มาคิดมานึก มันจึงค่อยโกรธ ค่อยโลภ ค่อยหลง ครั้นถึงตัวใจแล้วไม่มีอะไร ท่านจึงว่า ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ จิตเป็นของผ่องใสทุกเมื่อ อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ กิเลสเป็นของจรมา คือมารับรู้เอากิเลสนั่นเอง คือจิตมันวิ่งออกไปรับรู้เอา จึงเป็นกิเลส จรมา ใจของคนเราเป็นของผ่องใสบริสุทธิ์อยู่แต่ไหนแต่ไรมา แต่จิตมันวิ่งไปรับเอากิเลสเข้ามาคลุมไว้มืดมิดหมด เพราะเหตุนี้แหละ ทุกๆคนจึงสามารถทำใจให้บริสุทธิ์ได้ ให้ถึงมรรคผลนิพพานได้ ถ้าจิตแท้มันเศร้าหมองเสียแล้ว ไม่สามารถทำให้ถึงมรรคผลนิพพาน ได้หรอก
เหตุนั้นจึงว่า เมื่อเข้าถึงใจแล้ว มันใกล้แล้ว เข้าถึง ความผ่องใสแล้ว มันใกล้จะเห็นเงาของตนแล้ว เห็นตัวของตนแล้ว กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นมาเห็นตรงนั้นแหละ ชำระสะสางให้สะอาดผ่องใสบริสุทธิ์ก็ตรงนี้แหละ สะอาดบริสุทธิ์บางครั้งบางคราวก็ยังดี ถ้าหากทำให้ ชำนิชำนาญมันก็เป็นประโยชน์ต่อเรา