พุทธศาสนิกชนมักจะได้ยินคำว่า ‘ทำวัตรสวดมนต์’ กันจนชินหู และหลายคนรู้เพียงว่า พระเณรท่านต้องลงโบสถ์เช้าเย็นก็เพื่อไปทำวัตรสวดมนต์ ขณะที่บางคนได้ยินคำนี้ เป็น ‘ทำวัดสวดมนต์’ ซึ่งคำว่า ‘วัตร’ นั้น แปลว่า ข้อปฏิบัติ หรือความประพฤติ ส่วนคำว่า ‘วัด’ แปลว่า สถานที่ทางศาสนา
เพื่อให้เข้าใจคำนี้ได้ดียิ่งขึ้น จึงขอนำความหมายของคำว่า “ทำวัตรสวดมนต์”
ซึ่งคณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง ได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือศาสนพิธี เล่ม 2 ฉบับมาตรฐาน มาบอกเล่ากันไว้ในครั้งนี้ โดยได้แยกคำอธิบายเป็น 3 หัวข้อ คือการทำวัตร การสวดมนต์ และการทำวัตรสวดมนต์
การทำวัตร
การทำวัตร หมายถึง การทำกิจวัตรของพระภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกา ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำกิจที่จะต้องทำเป็นประจำจนเกิดเป็นวัตรปฏิบัติ เรียกสั้นๆ ว่า “ทำวัตร” พระภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกา ผู้เข้าอยู่ในวัดเพื่อรักษาพระธรรม วินัยและศีลอุโบสถเป็นประจำแล้ว มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเป็นประจำอย่างหนึ่ง คือ ทำวัตร ทำวัตรนั้น ต้องทำเป็นประจำวันละ 2 เวลา คือ เวลาเช้ากับเวลาเย็น กิจที่จะต้องกระทำในการทำวัตร คือ สวดสรรเสริญพระรัตนตรัย สวดปัจจเวกขณวิธี เพื่อพิจารณาปัจจัยทั้ง 4 ที่บริโภคทุกวันตามหน้าที่ สวดเจริญกรรมฐานตามสมควร สวดอนุโมทนาทานของทายก และสวดแผ่ส่วนกุศล คำสวดเหล่านี้กำหนดเป็นแบบ แผนนิยมไว้เฉพาะแต่ละวัดบ้าง สามัญทั่วไปบ้าง
การสวดมนต์
การสวดมนต์ หมายถึง การสาธยายบทพระพุทธมนต์ต่างๆ ที่เป็นส่วนของพระสูตรก็มี ที่เป็นส่วนของพระปริตรก็มี ที่เป็นส่วนเฉพาะคาถา อันนิยมกำหนดให้นำมาสวดประกอบในการสวดมนต์เป็นประจำนอกเหนือจากบทสวดทำวัตรก็มี เมื่อเรียกรวมการสวดทั้งสองนี้เข้าด้วยกัน ก็เรียกว่า“ทำวัตรสวดมนต์”
ทำวัตรสวดมนต์
จุดมุ่งหมายของการทำวัตรสวดมนต์นี้บัณฑิตถือว่า เป็นอุบายสงบจิต ไม่ให้คิดวุ่นวายไปตามอารมณ์ได้ชั่วขณะที่ทำการสวดมนต์ เมื่อทำเป็นประจำวันละ 2 เวลาทั้งเช้ากับเย็น เวลาประมาณครั้งละครึ่งชั่วโมง หรือชั่วโมงหนึ่งเป็นอย่างน้อย ก็เท่า กับได้ใช้เวลาสงบจิตได้วันละไม่ต่ำกว่า 1 ใน 24 ชั่วโมง จิตใจที่สงบได้แล้ว แม้เป็นเพียงเวลาเล็กน้อย ก็มีผล ทำให้เยือกเย็นสุขุมไปหลายชั่วโมง เหมือนถ่านไฟที่ลุกโชนเมื่อจุ่มลงน้ำดับสนิท กว่าจะติดไฟลุกโชนขึ้นใหม่ได้ต้องใช้เวลานาน ฉะนั้น อุบายนี้ จึงเป็นที่นิยมสำหรับสมณะ หรือผู้ปฏิบัติใกล้ต่อสมณะ
นอกจากเป็นอุบายดังกล่าวนี้ การทำวัตรสวดมนต์ยังมีผลทางพระวินัย คือเปลื้องมลทินบางอย่างในการบริโภคปัจจัยโดยไม่ทันพิจารณาได้ และมีผลในการอนุโมทนาปัจจัยไทยธรรมที่ทายกถวายมาเป็นประจำกับเป็นโอกาสได้แผ่ส่วนบุญของตนให้แก่ผู้อื่นด้วยจิตใจบริสุทธิ์
เพราะความมุ่งหมายและเหตุผลมีเช่นนี้ บัณฑิตจึงกำหนดระเบียบและแบบการทำวัตรสวดมนต์ขึ้นใช้โดยเฉพาะ แยกประเภทบุคคลได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆ คือ แบบใช้สำหรับพระภิกษุสามเณรแบบหนึ่ง แบบใช้สำหรับอุบาสกอุบาสิกาแบบหนึ่ง และแบบใช้สำหรับเด็กนักเรียนในโรงเรียนเป็นพิเศษอีกแบบหนึ่ง
เพื่อให้เข้าใจคำนี้ได้ดียิ่งขึ้น จึงขอนำความหมายของคำว่า “ทำวัตรสวดมนต์”
ซึ่งคณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง ได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือศาสนพิธี เล่ม 2 ฉบับมาตรฐาน มาบอกเล่ากันไว้ในครั้งนี้ โดยได้แยกคำอธิบายเป็น 3 หัวข้อ คือการทำวัตร การสวดมนต์ และการทำวัตรสวดมนต์
การทำวัตร
การทำวัตร หมายถึง การทำกิจวัตรของพระภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกา ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำกิจที่จะต้องทำเป็นประจำจนเกิดเป็นวัตรปฏิบัติ เรียกสั้นๆ ว่า “ทำวัตร” พระภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกา ผู้เข้าอยู่ในวัดเพื่อรักษาพระธรรม วินัยและศีลอุโบสถเป็นประจำแล้ว มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเป็นประจำอย่างหนึ่ง คือ ทำวัตร ทำวัตรนั้น ต้องทำเป็นประจำวันละ 2 เวลา คือ เวลาเช้ากับเวลาเย็น กิจที่จะต้องกระทำในการทำวัตร คือ สวดสรรเสริญพระรัตนตรัย สวดปัจจเวกขณวิธี เพื่อพิจารณาปัจจัยทั้ง 4 ที่บริโภคทุกวันตามหน้าที่ สวดเจริญกรรมฐานตามสมควร สวดอนุโมทนาทานของทายก และสวดแผ่ส่วนกุศล คำสวดเหล่านี้กำหนดเป็นแบบ แผนนิยมไว้เฉพาะแต่ละวัดบ้าง สามัญทั่วไปบ้าง
การสวดมนต์
การสวดมนต์ หมายถึง การสาธยายบทพระพุทธมนต์ต่างๆ ที่เป็นส่วนของพระสูตรก็มี ที่เป็นส่วนของพระปริตรก็มี ที่เป็นส่วนเฉพาะคาถา อันนิยมกำหนดให้นำมาสวดประกอบในการสวดมนต์เป็นประจำนอกเหนือจากบทสวดทำวัตรก็มี เมื่อเรียกรวมการสวดทั้งสองนี้เข้าด้วยกัน ก็เรียกว่า“ทำวัตรสวดมนต์”
ทำวัตรสวดมนต์
จุดมุ่งหมายของการทำวัตรสวดมนต์นี้บัณฑิตถือว่า เป็นอุบายสงบจิต ไม่ให้คิดวุ่นวายไปตามอารมณ์ได้ชั่วขณะที่ทำการสวดมนต์ เมื่อทำเป็นประจำวันละ 2 เวลาทั้งเช้ากับเย็น เวลาประมาณครั้งละครึ่งชั่วโมง หรือชั่วโมงหนึ่งเป็นอย่างน้อย ก็เท่า กับได้ใช้เวลาสงบจิตได้วันละไม่ต่ำกว่า 1 ใน 24 ชั่วโมง จิตใจที่สงบได้แล้ว แม้เป็นเพียงเวลาเล็กน้อย ก็มีผล ทำให้เยือกเย็นสุขุมไปหลายชั่วโมง เหมือนถ่านไฟที่ลุกโชนเมื่อจุ่มลงน้ำดับสนิท กว่าจะติดไฟลุกโชนขึ้นใหม่ได้ต้องใช้เวลานาน ฉะนั้น อุบายนี้ จึงเป็นที่นิยมสำหรับสมณะ หรือผู้ปฏิบัติใกล้ต่อสมณะ
นอกจากเป็นอุบายดังกล่าวนี้ การทำวัตรสวดมนต์ยังมีผลทางพระวินัย คือเปลื้องมลทินบางอย่างในการบริโภคปัจจัยโดยไม่ทันพิจารณาได้ และมีผลในการอนุโมทนาปัจจัยไทยธรรมที่ทายกถวายมาเป็นประจำกับเป็นโอกาสได้แผ่ส่วนบุญของตนให้แก่ผู้อื่นด้วยจิตใจบริสุทธิ์
เพราะความมุ่งหมายและเหตุผลมีเช่นนี้ บัณฑิตจึงกำหนดระเบียบและแบบการทำวัตรสวดมนต์ขึ้นใช้โดยเฉพาะ แยกประเภทบุคคลได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆ คือ แบบใช้สำหรับพระภิกษุสามเณรแบบหนึ่ง แบบใช้สำหรับอุบาสกอุบาสิกาแบบหนึ่ง และแบบใช้สำหรับเด็กนักเรียนในโรงเรียนเป็นพิเศษอีกแบบหนึ่ง