ในฉบับที่แล้วได้นำเรื่องการกล่าวคำนมัสการพระพุทธเจ้า ซึ่งพระธรรมโสภณ(ฟื้น ปาสาทิโก) ได้เขียนไว้ในหนังสือ‘กล่าวนโมทำไม’ โดยได้บอกถึงความหมายของคำว่า“ภควา” ไปแล้ว ๒ ความหมาย คือ ความหมายแรก แปลว่า ผู้เสพอริยคุณ และความหมายที่สอง แปลว่า ผู้จำแนกพระธรรมรัตนะ ฉบับนี้จึงขอนำเสนอความหมายที่ ๓ ดังต่อไปนี้
๓.ภควา แปลว่า ผู้ที่สำรอกความรักลงในประชาชนโดยไม่ขาดสาย หมายความว่า พระพุทธเจ้าอาศัยมีความเมตตา มีความกรุณา แผ่ไปในประชาชนทุกชาติ ทุกวัย ทุกวัน โดยตลอดกาล ไม่มีวันพัก ด้วยอำนาจพระเมตตาพระกรุณานี้ พระองค์ได้ทนทรมานพระวรกายเที่ยวไปทำประโยชน์ให้แก่ผู้คนทั่วบ้านทั่วเมือง โดยไม่ได้รับประโยชน์ค่าจ้างตอบแทนอะไรเลยแม้แต่น้อย ไม่ได้ประสงค์อะไรเลย นี่คือแผ่ความรักความกรุณาไปยังประชาชนไม่ขาดสาย
๔.ภควา แปลว่า ผู้ที่ควรเข้าไปคบหา หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นกัลยาณมิตรของประชาชน ใครได้เข้าไปคบพระพุทธเจ้า คนนั้นต้องได้ประโยชน์เสมอ พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า การคบคนนั้นจะมีผลเกิดขึ้น ๓ อย่าง คือ ๑.คบคนที่เลวกว่าตัว ขาดทุน เพราะเขาย่อมชักจูงเราให้ไปทำความชั่ว ๒.คบคนที่เสมอตัว ไม่ได้กำไร ไม่ขาดทุน เพราะเขาก็ไม่จูงเราให้ทำความดีเพิ่มขึ้นหรือทำความเลวมากขึ้น ๓.คบคนที่มีความดีกว่าตัว ได้กำไรเสมอ เพราะเขาจะชักจูงให้เราทำ ความดีเพิ่มขึ้น เช่นให้วิชาความรู้ สอนให้ละความ ชั่ว แนะนำให้ประพฤติดี ทำให้เรามีกำไรมากขึ้น ใครที่เข้าไปคบพระพุทธเจ้า พระองค์ก็จูงบุคคลนั้นให้ละชั่ว ให้ประพฤติดี พระพุทธเจ้าจึงเป็นกัลยาณมิตรของคนทุกคน เป็นบุคคลที่ควรเสพ ควรคบหา เมื่อใครเข้าไปคบพระพุทธเจ้าแล้ว ก็จะได้ความดีด้วยกันทุกคน
๕.ภควา แปลว่า ผู้ที่คายออกหมดซึ่งการท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงหมดกิเลส ซึ่งเป็นเหตุให้เวียนตายเวียนเกิดไปในสังสารวัฏ
๖.ภควา แปลว่า ผู้ที่ทำลายกิเลสได้โดยสิ้นเชิง หมายความว่า กิเลสทุกชนิดไม่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า ด้วยพลังอำนาจอริยมรรคที่พระองค์ได้ทำให้บังเกิดขึ้นโดยพระองค์เอง
๗.ภควา แปลว่า ผู้ที่มีส่วนแห่งเครื่องสักการบูชาของชาวโลก การเคารพบูชากราบไหว้ก็ดี การบูชาด้วยอามิส เช่น ปัจจัยสี่หรือดอกไม้ธูปเทียนก็ดี ผู้ที่จะรับสิ่งเหล่านี้จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณความดี จึงจะสมควรที่จะได้รับ ถ้าความดีไม่สมควร ก็อยู่ ในฐานะที่ลวงโลกไปรับความดีอันนั้น พระพุทธเจ้าทรงมีความดีเหนือเครื่องสักการบูชา เหนือการ กราบไหว้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงเป็น ผู้มีส่วนแห่งเครื่องสักการะของชาวโลก
๘.ภควา แปลว่า ผู้ที่มีภคธรรม ภคธรรม หมายถึง ธรรม ๖ ชนิด คือ ๑.นวโลกุตรธรรม คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ หมายความถึง โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล เป็นคู่ ๑ สกทาคามีมรรค สกทาคามีผล เป็นคู่ ๑ อนาคามีมรรค อนาคามีผล เป็นคู่ ๑ อรหัตมรรค อรหัตผล เป็นคู่ ๑ นี้เป็น มรรค ๔ ผล ๔ ภาวะพ้นจากนี้เป็นนิพพาน ๒.อิสริยะ คือความเป็นใหญ่ในกายและจิต หมายถึงการมุ่งหมายจะบังคับกายและจิตให้ เป็นไปอย่างไร กายและจิตก็เป็นไปตามประสงค์ ๓.ยสะ หรือยศ คือคุณความดีที่คนเขากล่าวชมเชยที่แผ่ปกคลุมไปในที่ต่างๆ ๔.ปยัตตะ คือความเพียรปฏิบัติกิจในหน้าที่ได้บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง ๕.สิริ คือความมีอวัยวะในร่างกายทุกส่วนเป็นมิ่งขวัญ จูงใจให้คนเคารพ จูงใจให้คนรัก จูงใจให้คนนับถือ ๖.กามะ คือความประสงค์ที่จะทำความดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตน หรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างไร ความประสงค์นั้นต้องสำเร็จเสมอ ภคธรรมนี้มีอยู่ในพระพุทธเจ้าโดยบริบูรณ์
เมื่อกล่าวคำว่า ‘ภควา’ หรือพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็กระทบหรือเป็นเครื่องหมายแห่งพระคุณของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ ประการคือ พระกรุณาคุณ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ คือ ภควาข้อ ๑ ผู้เสพอริยคุณ เป็นเครื่อง หมายถึงพระปัญญาคุณ ตัวที่ทำให้ตรัสรู้ได้เป็นพระพุทธเจ้า ภควาข้อ ๒ ผู้จำแนกพระธรรมรัตนะ ภควาข้อ ๓ ผู้ที่สำรอกความรักลงในประชาชนโดยไม่ขาดสาย ภควาข้อ ๔ ผู้ที่ควรเข้าไปคบหาสามอย่างนี้เป็นเครื่องหมายถึง พระกรุณาคุณ ภควาข้อ ๕ ผู้ที่คายออกหมด ซึ่งการท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ภควาข้อ ๖ ผู้ที่ทำลายกิเลสได้โดยสิ้นเชิง ภควาข้อ ๗ ผู้ที่ มีส่วนแห่งเครื่องสักการบูชาของชาวโลก ภควาข้อ ๘ ผู้ที่มีภคธรรม สี่อย่างนี้เป็นเครื่องหมายถึงพระบริสุทธิคุณนี่คือความหมายของคำว่า ภควา พระนามบทต้นที่เรายกขึ้นเอามากล่าวในคำว่า “นโม” ที่รับการนอบน้อมของเราผู้กล่าว
พระนามต่อไปคือ “อรหโต” ที่แปลว่า “พระอรหันต์” อรหันต์นี้ตามความหมายโดยสิ้นเชิง ท่านแสดงไว้ถึง ๑๐ อย่าง แต่ที่รู้กันโดยทั่วไปมีเพียง ๔ อย่าง ในที่นี้จะแสดงเพียง ๔ คือ
๑.อรหํ แปลว่า ห่างไกลจากกิเลส หมายความว่า ไม่มีกิเลสอยู่ในพระองค์ของพระพุทธเจ้า
๒.อรหํ แปลว่า ไม่มีที่เร้นลับในการกระทำบาป หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ที่คงที่ต่อหน้าประชาชน พระองค์ทรงทำความดีอย่างไร ลับหน้าก็ทรงทำความดีอย่างนั้น ไม่มีการปิดซ่อนเร้นกระทำความชั่วเหมือนบุคคลอื่น คือบริสุทธิ์ทั้งในที่ลับ ทั้งในที่แจ้ง
๓.อรหํ แปลว่า ควรที่จะรับเครื่องสักการบูชาของชาวโลก หมายความว่า ทรงเป็นทักขิไณยบุคคลที่เป็นเนื้อนาบุญแก่ผู้ที่สักการบูชาพระองค์ ข้อนี้มีความหมายคล้ายกับภควาข้อที่ ๗ ที่แปลว่าผู้มีส่วนแห่งเครื่องสักการบูชา อันนี้หมายถึงสิทธิ คือว่าสิทธิที่จะได้รับเครื่องสักการบูชานั้น ต้องเป็นคนที่มีความดี ถ้าไม่มีความดีไปรับเข้า ก็ตกอยู่ในฐานลวงโลก ส่วนอรหํนี้ หมายความว่า เมื่อพระองค์รับเครื่องสักการบูชาของใครแล้ว ย่อมทำให้เกิดผลใหญ่ เกิดอานิสงส์ใหญ่ เกิดเป็นบุญแก่ผู้สักการบูชาแสดงเป็นทักขิไณยบุคคล ความหมายไม่เหมือนกัน นี่เป็นความหมายซึ่งพูด อย่างย่อๆ
๔.อรหํ แปลว่า หักกำแห่งสังสารจักรได้ ก่อนอื่นก็ให้รู้จักล้อเสียก่อน ล้อคือวงกลมที่มีซี่ล้อนั้นมีส่วนประกอบอยู่สามอย่างคือ ดุม กำ กง ดุมนั้นเป็นแกนอยู่ตรงกลาง เป็นที่ยึดเหนี่ยวของซี่ล้อคือกำ กำก็คือสิ่งที่ยึดกงล้อกับดุมให้ติดกัน เมื่อล้อมีดุม มีกงพร้อม ก็หมุนไปตามแรงผลักดันไม่มีที่สิ้นสุด คำว่า “วัฏสงสาร” ก็มีอาการหมุน ไปอย่างล้อนี้เหมือนกัน คือเวียนตายเวียนเกิดไม่ มีที่สิ้นสุด ด้วยอำนาจกิเลส กรรมวิบาก คนที่มีกิเลส เมื่อทำกรรมอันใด ก็เกิดเป็นผลคือ วิบาก ร่างกายของเรานี้ก็เป็นวิบากกรรมเก่า กิเลสมีอยู่ทำกรรมอีก กรรมเป็นตัวเหตุ พอตายแล้วก็เกิดมาอีก หมุนไม่มีที่สิ้นสุด นี่เรียกว่าล้อสังสารวัฏ เหมือนล้อรถธรรมดา ถ้ามันมีพร้อม มันก็หมุนไปไม่มีที่สิ้นสุด ไม่รู้จักต้น ไม่รู้จักปลาย ตัวสำคัญที่จะให้สังสารวัฏเป็นไปได้ก็คือกิเลส พระพุทธเจ้าทรงทำลายกรรม กิเลสอันเป็นตัวกำของสังสารจักรนี้ได้หมด ล้อมันก็ล้ม การเวียนตายเวียนเกิดก็ไม่มี อันนี้เป็นเรื่องที่ควรจะเข้าใจ เรายังเข้าใจผิดกันอยู่มาก ไปเข้าใจเรื่องอดีต เรื่องอนาคต มันจึงได้ยุ่งความเป็นจริงศึกษากันเรื่องปัจจุบันนี้ก็พอ
ส่วนที่จะทำให้เกิดสังสารวัฏนั้น มีส่วนสำคัญ อยู่ ๓ อย่าง คือ อวิชชา ภวตัณหา อภิสังขาร และที่เหลืออยู่ในปฏิจจสมุปบาททั้งหมด อวิชชากับภวตัณหานั้นเป็นดุมของสังสารวัฏ อภิสังขารเป็น กำคือซี่ล้อของสังสารวัฏ ปฏิจจสมุปบาท นอกนั้นเป็นกงของสังสารวัฏ ในปฏิจจสมุปบาทเราจะเห็นได้ก็ที่อาการ ๑๒ อย่างนั้นมันวนกันอยู่เสมอในปัจจุบัน ไม่ต้องพูดถึงอดีต อนาคต อภิสังขารฟังยาก เข้าใจยาก สังสารวัฏในวันนี้มันหมุนไปได้กี่รอบ พึงเข้าใจปัจจุบันอย่างนี้ อวิชชา ก็อย่าพึงเข้าใจตามตำรา อะไรก็ยังไม่รู้ อวิชชานั้น พระพุทธเจ้าได้ให้ความหมายไว้ที่พบในบาลีมี ๒ คัมภีร์ คืออังคุตรนิกายกับสังยุตนิกายว่า อวิชชา คือการไม่รู้อริยสัจจะ ๔ ให้เข้าใจเพียงแค่นี้ อย่าเข้าใจนอกออกไป ภวตัณหา คือตัณหานุสัย คนมีอวิชชาก็ต้องมีตัณหานุสัย ไม่ใช่ภวตัณหาในตัณหา ๓ ตัณหานุสัย ก็คือว่า ความรู้สึกว่าเราเป็นอะไร เรามีอะไร อยู่อย่างนี้ เราเป็นเรา เรามีของเราอยู่ นี่แหละเป็นภวตัณหา อย่างว่าเราเป็นบิดามารดา เราก็นึกว่าเราเป็นบิดามารดา เราเป็นชาย ก็นึกว่าเราเป็นชาย เราเป็นหญิง ก็นึกว่าเราเป็นหญิง เราเป็นลูก ก็นึกว่าเราเป็นลูก อย่างนี้คือ ตัวภวตัณหา มีประจำอยู่ด้วยกันทุกคน
อภิสังขาร ที่เป็นตัวกรรมนั้นเป็นอย่างไร จะชี้ให้เห็นเพียงเล็กน้อย จะไม่อธิบายมาก ให้ไปคิดเอาเอง คนที่ยังมีอวิชชา ภวตัณหา เป็นเรือนใจอยู่ นี่จะพูดถึงสังสารวัฏที่เกิดขึ้นทางตา เมื่อมีรูปเข้ามากระทบตา ตานี่เป็นตัวของเรา ร่างกายของเรา ความยึดถืออย่างนี้มีอยู่แล้ว รูปเข้ามากระทบตา รูปคือแสงสะท้อนเข้ามาตั้งอยู่ที่เยื่อนัยน์ตาคือประสาทตา ประสาทตาทำหน้าที่รับรูปนั้น นี่คือรูปภายนอกกับรูปภายในเข้าไปอยู่ร่วมกัน มโนธาตุก็น้อมตัวออกไปหารูปภายนอก น้อมตัวออกไปด้วยไม่รู้ว่ารูปที่เข้ามาตั้งอยู่ที่ประสาทตานี้มันเป็นตัวทุกข์ ประสาทที่รับรู้ก็เป็นตัวทุกข์ กิริยาน้อมไปรู้รูปก็เป็นตัวทุกข์ นี่คือการไม่รู้อริยสัจจะ ๔ พอน้อมตัวออกไปรับ ทุกข์เกิดมา เบื้องแรกคือวิญญาณ คือ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ พอวิญญาณเกิด ต่อไปนามรูปก็เกิดขึ้นมา นามรูปที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้ เริ่มเกิดเป็นภพใหม่ขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าท่านตรัสเรียกวิญ ญาณดวงนี้เป็นจุดเริ่มต้นอันแรกของภพใหม่ ต่อไปนี้ปฏิจจสมุปบาทแต่ละข้อๆ เป็นส่วนเป็นภพใหม่ทั้งนั้น ที่เกิดขึ้นติดต่อกันไป เกิดตั้งแต่นามรูป ไปจนถึงชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส นี่เป็นภพใหม่ชุดหนึ่ง พอมีเสียงมากระทบหู ภพที่เริ่มต้นด้วยจักขุวิญญาณนั้นดับ โสตวิญญาณเกิดตั้งภพใหม่อีกต่อไป ตัวน้อมออกไปนั้นเป็นตัวอภิสังขาร น้อมไปในบุญหรือไม่ใช่บุญหรือ เป็นอเนญชาอะไรก็ตาม ตัวน้อมออกไปนั้นก็คืออภิสังขาร เป็นอย่างนี้เสมอ
วันหนึ่งๆ สังสารวัฏมันเกิดขึ้นกับเรากี่รอบ พิจารณาดูอย่างนี้ก็แล้วกัน ได้ยินเสียงทีหนึ่ง สังสารวัฏเกิดขึ้นรอบหนึ่ง ได้เห็นรูปครั้งหนึ่ง ได้ดมกลิ่นครั้งหนึ่ง ได้ลิ้มรสครั้งหนึ่ง ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะครั้งหนึ่ง ได้รู้ธรรม (ธัมมารมณ์) ครั้งหนึ่ง สังสารวัฏก็เกิดขึ้นรอบหนึ่งๆ สังสารวัฏย่อม เกิดขึ้นทางทวารทั้ง ๖ วันหนึ่งๆ มันเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก กระทบอารมณ์ทีหนึ่ง ก็เกิดขึ้นทีหนึ่ง วันหนึ่งเกิดขึ้นเท่าไร กำหนดไม่ไหว พระพุทธเจ้าทรงแสดงย่อๆอย่างนี้ เมื่อน้อมจิตออกไป แผ่จิตออกไป ทอดจิตออกไปหาอารมณ์ที่มากระทบ ก็เกิดวิญญาณ พอวิญญาณเกิด ภพใหม่ก็เกิด นี่ คือตัวสังสารวัฏในปัจจุบัน อย่างนี้มันเกิดติดต่อกันอยู่เสมอ ไม่ต้องไปเอาชาติหน้าชาติหลังอะไร วันนี้สังสารวัฏมันเกิดมากมายกำหนดจำนวนครั้งไม่ได้
อวิชชา ภวตัณหา นี่เป็นดุม ตัวที่น้อมจิตออก ไปนั้นเป็นกำ วิถีจิตต่อไปเป็นกง มันวนอยู่อย่าง นี้ พอสุดรอบแล้วก็เกิดใหม่ขึ้นอีกรอบๆ อย่างนี้ตลอดไป ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นสังสารวัฏที่นับ ครั้งไม่ได้ ไม่ต้องไปพูดถึงชาติอื่น การพิจารณา ปฏิจจสมุปบาทต้องพิจารณาอย่างนี้ อย่าไปพิจารณาอย่างตำราชั้นหลังท่านว่าไว้ จึงจะเกิดวิปัสสนาปัญญาได้ ถ้าไม่พิจารณาอย่างนี้ วิปัสสนาปัญญาไม่เกิด และไม่สามารถดับกังขา บรรลุกังขาวิตรณวิสุทธิได้ พิจารณาปฏิจจสมุปบาท ต้องพิจารณาอย่างนี้ จึงจะเห็นสังสารวัฏ จึงจะเกิดวิปัสสนาปัญญา ความสำคัญเป็นอย่างนี้
พระพุทธเจ้าทรงดับอวิชชาได้ ทรงดับภวตัณหาได้ เมื่อมีอารมณ์มากระทบพระเนตร ทรงน้อมไปด้วยปัญญา รู้เท่าทันว่ารูปนี้เป็นทุกข์ ประสาทตาที่รับรูปนี้เป็นทุกข์ กิริยาที่น้อมไปรับรูปก็เป็นทุกข์ พอเกิดวิญญาณ เกิดเวทนา ทรงปล่อย วางได้ ไม่เกิดสังสารวัฏ อรหโตในความหมายผู้หักดุมและกำสังสารวัฏเสียได้ หมายความอย่างนี้
อรหํ นี้มีความหมาย ๔ อย่างคือ ห่างไกลจากกิเลส ๑ ไม่มีที่เร้นลับในการกระทำบาป ๑ ควรรับเครื่องสักการบูชาของเทพ ยดาและมนุษย์ ๑ หักกำแห่งสังสารจักรได้ ๑ ทั้ง ๔ อย่างนี้เป็นเครื่องหมายพระบริสุทธิคุณ
ฉบับหน้าจะเป็นเรื่องพระนามที่ ๓ ของพระพุทธเจ้า คือ “สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส”
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
๓.ภควา แปลว่า ผู้ที่สำรอกความรักลงในประชาชนโดยไม่ขาดสาย หมายความว่า พระพุทธเจ้าอาศัยมีความเมตตา มีความกรุณา แผ่ไปในประชาชนทุกชาติ ทุกวัย ทุกวัน โดยตลอดกาล ไม่มีวันพัก ด้วยอำนาจพระเมตตาพระกรุณานี้ พระองค์ได้ทนทรมานพระวรกายเที่ยวไปทำประโยชน์ให้แก่ผู้คนทั่วบ้านทั่วเมือง โดยไม่ได้รับประโยชน์ค่าจ้างตอบแทนอะไรเลยแม้แต่น้อย ไม่ได้ประสงค์อะไรเลย นี่คือแผ่ความรักความกรุณาไปยังประชาชนไม่ขาดสาย
๔.ภควา แปลว่า ผู้ที่ควรเข้าไปคบหา หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นกัลยาณมิตรของประชาชน ใครได้เข้าไปคบพระพุทธเจ้า คนนั้นต้องได้ประโยชน์เสมอ พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า การคบคนนั้นจะมีผลเกิดขึ้น ๓ อย่าง คือ ๑.คบคนที่เลวกว่าตัว ขาดทุน เพราะเขาย่อมชักจูงเราให้ไปทำความชั่ว ๒.คบคนที่เสมอตัว ไม่ได้กำไร ไม่ขาดทุน เพราะเขาก็ไม่จูงเราให้ทำความดีเพิ่มขึ้นหรือทำความเลวมากขึ้น ๓.คบคนที่มีความดีกว่าตัว ได้กำไรเสมอ เพราะเขาจะชักจูงให้เราทำ ความดีเพิ่มขึ้น เช่นให้วิชาความรู้ สอนให้ละความ ชั่ว แนะนำให้ประพฤติดี ทำให้เรามีกำไรมากขึ้น ใครที่เข้าไปคบพระพุทธเจ้า พระองค์ก็จูงบุคคลนั้นให้ละชั่ว ให้ประพฤติดี พระพุทธเจ้าจึงเป็นกัลยาณมิตรของคนทุกคน เป็นบุคคลที่ควรเสพ ควรคบหา เมื่อใครเข้าไปคบพระพุทธเจ้าแล้ว ก็จะได้ความดีด้วยกันทุกคน
๕.ภควา แปลว่า ผู้ที่คายออกหมดซึ่งการท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงหมดกิเลส ซึ่งเป็นเหตุให้เวียนตายเวียนเกิดไปในสังสารวัฏ
๖.ภควา แปลว่า ผู้ที่ทำลายกิเลสได้โดยสิ้นเชิง หมายความว่า กิเลสทุกชนิดไม่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า ด้วยพลังอำนาจอริยมรรคที่พระองค์ได้ทำให้บังเกิดขึ้นโดยพระองค์เอง
๗.ภควา แปลว่า ผู้ที่มีส่วนแห่งเครื่องสักการบูชาของชาวโลก การเคารพบูชากราบไหว้ก็ดี การบูชาด้วยอามิส เช่น ปัจจัยสี่หรือดอกไม้ธูปเทียนก็ดี ผู้ที่จะรับสิ่งเหล่านี้จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณความดี จึงจะสมควรที่จะได้รับ ถ้าความดีไม่สมควร ก็อยู่ ในฐานะที่ลวงโลกไปรับความดีอันนั้น พระพุทธเจ้าทรงมีความดีเหนือเครื่องสักการบูชา เหนือการ กราบไหว้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงเป็น ผู้มีส่วนแห่งเครื่องสักการะของชาวโลก
๘.ภควา แปลว่า ผู้ที่มีภคธรรม ภคธรรม หมายถึง ธรรม ๖ ชนิด คือ ๑.นวโลกุตรธรรม คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ หมายความถึง โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล เป็นคู่ ๑ สกทาคามีมรรค สกทาคามีผล เป็นคู่ ๑ อนาคามีมรรค อนาคามีผล เป็นคู่ ๑ อรหัตมรรค อรหัตผล เป็นคู่ ๑ นี้เป็น มรรค ๔ ผล ๔ ภาวะพ้นจากนี้เป็นนิพพาน ๒.อิสริยะ คือความเป็นใหญ่ในกายและจิต หมายถึงการมุ่งหมายจะบังคับกายและจิตให้ เป็นไปอย่างไร กายและจิตก็เป็นไปตามประสงค์ ๓.ยสะ หรือยศ คือคุณความดีที่คนเขากล่าวชมเชยที่แผ่ปกคลุมไปในที่ต่างๆ ๔.ปยัตตะ คือความเพียรปฏิบัติกิจในหน้าที่ได้บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง ๕.สิริ คือความมีอวัยวะในร่างกายทุกส่วนเป็นมิ่งขวัญ จูงใจให้คนเคารพ จูงใจให้คนรัก จูงใจให้คนนับถือ ๖.กามะ คือความประสงค์ที่จะทำความดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตน หรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างไร ความประสงค์นั้นต้องสำเร็จเสมอ ภคธรรมนี้มีอยู่ในพระพุทธเจ้าโดยบริบูรณ์
เมื่อกล่าวคำว่า ‘ภควา’ หรือพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็กระทบหรือเป็นเครื่องหมายแห่งพระคุณของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ ประการคือ พระกรุณาคุณ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ คือ ภควาข้อ ๑ ผู้เสพอริยคุณ เป็นเครื่อง หมายถึงพระปัญญาคุณ ตัวที่ทำให้ตรัสรู้ได้เป็นพระพุทธเจ้า ภควาข้อ ๒ ผู้จำแนกพระธรรมรัตนะ ภควาข้อ ๓ ผู้ที่สำรอกความรักลงในประชาชนโดยไม่ขาดสาย ภควาข้อ ๔ ผู้ที่ควรเข้าไปคบหาสามอย่างนี้เป็นเครื่องหมายถึง พระกรุณาคุณ ภควาข้อ ๕ ผู้ที่คายออกหมด ซึ่งการท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ภควาข้อ ๖ ผู้ที่ทำลายกิเลสได้โดยสิ้นเชิง ภควาข้อ ๗ ผู้ที่ มีส่วนแห่งเครื่องสักการบูชาของชาวโลก ภควาข้อ ๘ ผู้ที่มีภคธรรม สี่อย่างนี้เป็นเครื่องหมายถึงพระบริสุทธิคุณนี่คือความหมายของคำว่า ภควา พระนามบทต้นที่เรายกขึ้นเอามากล่าวในคำว่า “นโม” ที่รับการนอบน้อมของเราผู้กล่าว
พระนามต่อไปคือ “อรหโต” ที่แปลว่า “พระอรหันต์” อรหันต์นี้ตามความหมายโดยสิ้นเชิง ท่านแสดงไว้ถึง ๑๐ อย่าง แต่ที่รู้กันโดยทั่วไปมีเพียง ๔ อย่าง ในที่นี้จะแสดงเพียง ๔ คือ
๑.อรหํ แปลว่า ห่างไกลจากกิเลส หมายความว่า ไม่มีกิเลสอยู่ในพระองค์ของพระพุทธเจ้า
๒.อรหํ แปลว่า ไม่มีที่เร้นลับในการกระทำบาป หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ที่คงที่ต่อหน้าประชาชน พระองค์ทรงทำความดีอย่างไร ลับหน้าก็ทรงทำความดีอย่างนั้น ไม่มีการปิดซ่อนเร้นกระทำความชั่วเหมือนบุคคลอื่น คือบริสุทธิ์ทั้งในที่ลับ ทั้งในที่แจ้ง
๓.อรหํ แปลว่า ควรที่จะรับเครื่องสักการบูชาของชาวโลก หมายความว่า ทรงเป็นทักขิไณยบุคคลที่เป็นเนื้อนาบุญแก่ผู้ที่สักการบูชาพระองค์ ข้อนี้มีความหมายคล้ายกับภควาข้อที่ ๗ ที่แปลว่าผู้มีส่วนแห่งเครื่องสักการบูชา อันนี้หมายถึงสิทธิ คือว่าสิทธิที่จะได้รับเครื่องสักการบูชานั้น ต้องเป็นคนที่มีความดี ถ้าไม่มีความดีไปรับเข้า ก็ตกอยู่ในฐานลวงโลก ส่วนอรหํนี้ หมายความว่า เมื่อพระองค์รับเครื่องสักการบูชาของใครแล้ว ย่อมทำให้เกิดผลใหญ่ เกิดอานิสงส์ใหญ่ เกิดเป็นบุญแก่ผู้สักการบูชาแสดงเป็นทักขิไณยบุคคล ความหมายไม่เหมือนกัน นี่เป็นความหมายซึ่งพูด อย่างย่อๆ
๔.อรหํ แปลว่า หักกำแห่งสังสารจักรได้ ก่อนอื่นก็ให้รู้จักล้อเสียก่อน ล้อคือวงกลมที่มีซี่ล้อนั้นมีส่วนประกอบอยู่สามอย่างคือ ดุม กำ กง ดุมนั้นเป็นแกนอยู่ตรงกลาง เป็นที่ยึดเหนี่ยวของซี่ล้อคือกำ กำก็คือสิ่งที่ยึดกงล้อกับดุมให้ติดกัน เมื่อล้อมีดุม มีกงพร้อม ก็หมุนไปตามแรงผลักดันไม่มีที่สิ้นสุด คำว่า “วัฏสงสาร” ก็มีอาการหมุน ไปอย่างล้อนี้เหมือนกัน คือเวียนตายเวียนเกิดไม่ มีที่สิ้นสุด ด้วยอำนาจกิเลส กรรมวิบาก คนที่มีกิเลส เมื่อทำกรรมอันใด ก็เกิดเป็นผลคือ วิบาก ร่างกายของเรานี้ก็เป็นวิบากกรรมเก่า กิเลสมีอยู่ทำกรรมอีก กรรมเป็นตัวเหตุ พอตายแล้วก็เกิดมาอีก หมุนไม่มีที่สิ้นสุด นี่เรียกว่าล้อสังสารวัฏ เหมือนล้อรถธรรมดา ถ้ามันมีพร้อม มันก็หมุนไปไม่มีที่สิ้นสุด ไม่รู้จักต้น ไม่รู้จักปลาย ตัวสำคัญที่จะให้สังสารวัฏเป็นไปได้ก็คือกิเลส พระพุทธเจ้าทรงทำลายกรรม กิเลสอันเป็นตัวกำของสังสารจักรนี้ได้หมด ล้อมันก็ล้ม การเวียนตายเวียนเกิดก็ไม่มี อันนี้เป็นเรื่องที่ควรจะเข้าใจ เรายังเข้าใจผิดกันอยู่มาก ไปเข้าใจเรื่องอดีต เรื่องอนาคต มันจึงได้ยุ่งความเป็นจริงศึกษากันเรื่องปัจจุบันนี้ก็พอ
ส่วนที่จะทำให้เกิดสังสารวัฏนั้น มีส่วนสำคัญ อยู่ ๓ อย่าง คือ อวิชชา ภวตัณหา อภิสังขาร และที่เหลืออยู่ในปฏิจจสมุปบาททั้งหมด อวิชชากับภวตัณหานั้นเป็นดุมของสังสารวัฏ อภิสังขารเป็น กำคือซี่ล้อของสังสารวัฏ ปฏิจจสมุปบาท นอกนั้นเป็นกงของสังสารวัฏ ในปฏิจจสมุปบาทเราจะเห็นได้ก็ที่อาการ ๑๒ อย่างนั้นมันวนกันอยู่เสมอในปัจจุบัน ไม่ต้องพูดถึงอดีต อนาคต อภิสังขารฟังยาก เข้าใจยาก สังสารวัฏในวันนี้มันหมุนไปได้กี่รอบ พึงเข้าใจปัจจุบันอย่างนี้ อวิชชา ก็อย่าพึงเข้าใจตามตำรา อะไรก็ยังไม่รู้ อวิชชานั้น พระพุทธเจ้าได้ให้ความหมายไว้ที่พบในบาลีมี ๒ คัมภีร์ คืออังคุตรนิกายกับสังยุตนิกายว่า อวิชชา คือการไม่รู้อริยสัจจะ ๔ ให้เข้าใจเพียงแค่นี้ อย่าเข้าใจนอกออกไป ภวตัณหา คือตัณหานุสัย คนมีอวิชชาก็ต้องมีตัณหานุสัย ไม่ใช่ภวตัณหาในตัณหา ๓ ตัณหานุสัย ก็คือว่า ความรู้สึกว่าเราเป็นอะไร เรามีอะไร อยู่อย่างนี้ เราเป็นเรา เรามีของเราอยู่ นี่แหละเป็นภวตัณหา อย่างว่าเราเป็นบิดามารดา เราก็นึกว่าเราเป็นบิดามารดา เราเป็นชาย ก็นึกว่าเราเป็นชาย เราเป็นหญิง ก็นึกว่าเราเป็นหญิง เราเป็นลูก ก็นึกว่าเราเป็นลูก อย่างนี้คือ ตัวภวตัณหา มีประจำอยู่ด้วยกันทุกคน
อภิสังขาร ที่เป็นตัวกรรมนั้นเป็นอย่างไร จะชี้ให้เห็นเพียงเล็กน้อย จะไม่อธิบายมาก ให้ไปคิดเอาเอง คนที่ยังมีอวิชชา ภวตัณหา เป็นเรือนใจอยู่ นี่จะพูดถึงสังสารวัฏที่เกิดขึ้นทางตา เมื่อมีรูปเข้ามากระทบตา ตานี่เป็นตัวของเรา ร่างกายของเรา ความยึดถืออย่างนี้มีอยู่แล้ว รูปเข้ามากระทบตา รูปคือแสงสะท้อนเข้ามาตั้งอยู่ที่เยื่อนัยน์ตาคือประสาทตา ประสาทตาทำหน้าที่รับรูปนั้น นี่คือรูปภายนอกกับรูปภายในเข้าไปอยู่ร่วมกัน มโนธาตุก็น้อมตัวออกไปหารูปภายนอก น้อมตัวออกไปด้วยไม่รู้ว่ารูปที่เข้ามาตั้งอยู่ที่ประสาทตานี้มันเป็นตัวทุกข์ ประสาทที่รับรู้ก็เป็นตัวทุกข์ กิริยาน้อมไปรู้รูปก็เป็นตัวทุกข์ นี่คือการไม่รู้อริยสัจจะ ๔ พอน้อมตัวออกไปรับ ทุกข์เกิดมา เบื้องแรกคือวิญญาณ คือ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ พอวิญญาณเกิด ต่อไปนามรูปก็เกิดขึ้นมา นามรูปที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้ เริ่มเกิดเป็นภพใหม่ขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าท่านตรัสเรียกวิญ ญาณดวงนี้เป็นจุดเริ่มต้นอันแรกของภพใหม่ ต่อไปนี้ปฏิจจสมุปบาทแต่ละข้อๆ เป็นส่วนเป็นภพใหม่ทั้งนั้น ที่เกิดขึ้นติดต่อกันไป เกิดตั้งแต่นามรูป ไปจนถึงชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส นี่เป็นภพใหม่ชุดหนึ่ง พอมีเสียงมากระทบหู ภพที่เริ่มต้นด้วยจักขุวิญญาณนั้นดับ โสตวิญญาณเกิดตั้งภพใหม่อีกต่อไป ตัวน้อมออกไปนั้นเป็นตัวอภิสังขาร น้อมไปในบุญหรือไม่ใช่บุญหรือ เป็นอเนญชาอะไรก็ตาม ตัวน้อมออกไปนั้นก็คืออภิสังขาร เป็นอย่างนี้เสมอ
วันหนึ่งๆ สังสารวัฏมันเกิดขึ้นกับเรากี่รอบ พิจารณาดูอย่างนี้ก็แล้วกัน ได้ยินเสียงทีหนึ่ง สังสารวัฏเกิดขึ้นรอบหนึ่ง ได้เห็นรูปครั้งหนึ่ง ได้ดมกลิ่นครั้งหนึ่ง ได้ลิ้มรสครั้งหนึ่ง ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะครั้งหนึ่ง ได้รู้ธรรม (ธัมมารมณ์) ครั้งหนึ่ง สังสารวัฏก็เกิดขึ้นรอบหนึ่งๆ สังสารวัฏย่อม เกิดขึ้นทางทวารทั้ง ๖ วันหนึ่งๆ มันเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก กระทบอารมณ์ทีหนึ่ง ก็เกิดขึ้นทีหนึ่ง วันหนึ่งเกิดขึ้นเท่าไร กำหนดไม่ไหว พระพุทธเจ้าทรงแสดงย่อๆอย่างนี้ เมื่อน้อมจิตออกไป แผ่จิตออกไป ทอดจิตออกไปหาอารมณ์ที่มากระทบ ก็เกิดวิญญาณ พอวิญญาณเกิด ภพใหม่ก็เกิด นี่ คือตัวสังสารวัฏในปัจจุบัน อย่างนี้มันเกิดติดต่อกันอยู่เสมอ ไม่ต้องไปเอาชาติหน้าชาติหลังอะไร วันนี้สังสารวัฏมันเกิดมากมายกำหนดจำนวนครั้งไม่ได้
อวิชชา ภวตัณหา นี่เป็นดุม ตัวที่น้อมจิตออก ไปนั้นเป็นกำ วิถีจิตต่อไปเป็นกง มันวนอยู่อย่าง นี้ พอสุดรอบแล้วก็เกิดใหม่ขึ้นอีกรอบๆ อย่างนี้ตลอดไป ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นสังสารวัฏที่นับ ครั้งไม่ได้ ไม่ต้องไปพูดถึงชาติอื่น การพิจารณา ปฏิจจสมุปบาทต้องพิจารณาอย่างนี้ อย่าไปพิจารณาอย่างตำราชั้นหลังท่านว่าไว้ จึงจะเกิดวิปัสสนาปัญญาได้ ถ้าไม่พิจารณาอย่างนี้ วิปัสสนาปัญญาไม่เกิด และไม่สามารถดับกังขา บรรลุกังขาวิตรณวิสุทธิได้ พิจารณาปฏิจจสมุปบาท ต้องพิจารณาอย่างนี้ จึงจะเห็นสังสารวัฏ จึงจะเกิดวิปัสสนาปัญญา ความสำคัญเป็นอย่างนี้
พระพุทธเจ้าทรงดับอวิชชาได้ ทรงดับภวตัณหาได้ เมื่อมีอารมณ์มากระทบพระเนตร ทรงน้อมไปด้วยปัญญา รู้เท่าทันว่ารูปนี้เป็นทุกข์ ประสาทตาที่รับรูปนี้เป็นทุกข์ กิริยาที่น้อมไปรับรูปก็เป็นทุกข์ พอเกิดวิญญาณ เกิดเวทนา ทรงปล่อย วางได้ ไม่เกิดสังสารวัฏ อรหโตในความหมายผู้หักดุมและกำสังสารวัฏเสียได้ หมายความอย่างนี้
อรหํ นี้มีความหมาย ๔ อย่างคือ ห่างไกลจากกิเลส ๑ ไม่มีที่เร้นลับในการกระทำบาป ๑ ควรรับเครื่องสักการบูชาของเทพ ยดาและมนุษย์ ๑ หักกำแห่งสังสารจักรได้ ๑ ทั้ง ๔ อย่างนี้เป็นเครื่องหมายพระบริสุทธิคุณ
ฉบับหน้าจะเป็นเรื่องพระนามที่ ๓ ของพระพุทธเจ้า คือ “สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส”
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)