ดังเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในดินแดนประเทศไทย มีการสร้างเจดีย์และวัดวาอารามเป็นจำนวนมาก ด้วยความเลื่อมใสและศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงปรากฏเจดีย์ที่มีรูป แบบต่างๆ ตามอารยธรรมนั้น
ในการสร้างสิ่งเคารพสักการะเนื่องในพระพุทธศาสนานั้นจำแนกออกเพื่อความเข้าใจได้ 4 ประเภท คือ
1.พระธาตุเจดีย์ คือการสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมธาตุ หรือพระธาตุ
2.พระธรรมเจดีย์ สันนิษฐานว่าเหตุแห่งการสร้างคงมาจากพุทธดำรัสก่อนปรินิพพานที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา จึงมีการจารึกพระธรรมคำสอนต่างๆขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้เพื่อให้เป็นข้อวัตรปฏิบัติสืบมา
3.บริโภคเจดีย์ หมายถึงสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นสังเวชนียสถานทั้ง 4 เป็นสำคัญ การสร้างเจดีย์ในช่วงแรกนั้น สร้างตามสังเวชนียสถานทั้ง 4 ของพระองค์ก่อน อันหมายถึงการระลึกถึงพระองค์ จึง เรียกเจดีย์โดยทั่วไปนี้ให้จัดอยู่ในบริโภคเจดีย์
4.อุเทสิกเจดีย์ หมายถึงสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนพระรัตนตรัย เช่นพระพุทธรูป พระพิมพ์ พระเครื่อง หรือแม้ แต่รอยพระ พุทธบาทจำลองก็ตาม
สถูปจำลอง หรือเจดีย์จำลองนั้นเป็นอุเทสิกเจดีย์ ที่กล่าวเช่นนี้ถึงแม้ว่าสถูปจำลองบางองค์จะบรรจุพระบรมธาตุ แต่ก็มิอาจเป็นมหาธาตุได้ เนื่องจากเป็นส่วนบรรจุภายในพระธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่อีกชั้นหนึ่ง ที่ปรากฏหลักฐานการ สร้างในดินแดนไทยมาแต่ครั้งแรกเริ่มสมัยประวัติศาสตร์ นั่นคืออารยธรรมทวารวดี ดังได้กล่าวไว้บ้างในฉบับที่ผ่านมา ซึ่งรูปแบบขอ งสถูปจำลองนั้นอาจมีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างบ้างเล็กน้อยกับรูปแบบของเจดีย์ขนาดใหญ่ คติการสร้างนั้นคงเป็นการบูชาพระบรมธาตุ เพราะปรากฏหลักฐานที่มีการขุดค้นพบเจดีย์ที่มีขนาดเล็กภายในกรุใต้ ฐานพระเจดีย์ ซึ่งภายในประดิษ ฐานพระบรมธาตุนั่นเอง
ความนิยมในการสร้างเจดีย์หรือสถูปจำลองนั้น คงเป็นความนิยมที่รับมาพร้อมกันกับการรับพระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดียมาตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งในศิลปะอินเดียเอง การ สร้างรูปสัญลักษณ์อย่างเจดีย์ปรากฏอยูู่่โดยทั่วไป ทั้งประติมากรรมประดับ ประติมากรรมขนาดเล็ก ในศิลปะอินเดียแบบปาละซึ่งเป็นสถูปจำลองจากสำริด ดูจะส่งอิทธิพลให้มีการสร้างสถูปจำลองในลักษณะเดียวกันกับบริเวณภาคกลางของประเทศไทย อาทิ ลพบุรี และสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นอิทธิพล ของศิลปะอินเดียแบบปาละ ผสมกับศิลปะขอม ลักษณะโดยทั่วไปเป็นสถูปจำลองที่ประกอบขึ้นจากฐานสี่เหลี่ยมต่อด้วยเรือนธาตุแปดเหลี่ยม อีกทั้งนิยมกา รประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งแปดทิศ เหนือขึ้นไปเป็นสถูปทรงระฆังกลม นอกจากนี้ ในศิลปะทวารวดียังปรากฏสถูปจำลองดินเผาอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นเจดีย์ที่เป็นทรงระฆังแล้ว อาทิ สถูป ดินเผา ซึ่งพบที่บ้านหนองกรวด จังหวัดนครสวรรค์
นอกจากนี้ยังพบสถูปจำลองศิลปะอยุธยาอีกเป็นจำนวน ไม่น้อยกระจายอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่างๆ มีทั้งที่สร้างจากศิลาและสำริด โดยรูปแบบนั้นมีความคล้ายคลึงกับรูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังแบบอยุธยานั่นเอง เช่น พระสถูปศิลา สมัยอยุธยา จากหลักฐานการขุดค้นพบ ระบุว่าพบในพระเจดีย์ใหญ่ วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ปัจจุบันจัดแสดงภายในห้องอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร) ซึ่งเจดีย์ทรงระฆังนั้นเมื่อพิจารณาดูก็จะพบว่าเจดีย์ทรงระฆังศิลปะอยุธยาจะมีความแตกต่างกับเจดีย์ทรงระฆังศิลปะสุโขทัย ด้วยรูปวงแหวนที่รองรับองค์ระฆังจะมีรูปแบบที่ต่างกันอยู่ โดยศิลปะสุโขทัยประกอบขึ้นจากบัวถลา ส่วนศิลปะอยุธยาเป็นมาลัยเถา(เรื่องนี้จะขอกล่าวในเรื่องของเจดีย์ทรงระฆังต่อไป) สถูปจำ ลองนี้ยังพบเป็นจำนวนมากภายในกรุ ของเจดีย์ประธาน เช่น ที่วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
กล่าวถึงศิลปะทางหัวเมืองฝ่ายเหนือกันบ้าง ในศิลปะล้านนานั้นการสร้างพระสถูปจำลองดูจะมีความพิถีพิถันและวิจิตรตระการตาอย่างเด่นชัด เช่น เจดีย์สูง (ปัจจุบันจัดแสดงภายในห้องเชียงแสน-ล้านนา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร) จากประวัติพบว่าได้มาจากการขุดค้นภายในเจดีย์รายด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ. 2503 เป็นเจดีย์ ทรงปราสาทเพิ่มมุม สร้างจากสำริด ภายในจรนำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางเปิดโลก (พระพุทธรูปประทับยืนพระหัตถ์วางแนบพระวรกาย) อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24
การศึกษารูปแบบของพระสถูปนี้ยังเชื่อมโยงไปถึงความ นิยมและอิทธิพลของศิลปกรรมในท้องถิ่นนั้นๆ เช่นเดียว กันกับการศึกษารูปแบบของพระพุทธรูป ซึ่งในช่วงแรกจะมีความใกล้เคียงกับรูปแบบของอารยธรรมต้นแบบเช่นเดียวกับที่ในช่วงแรกศิลป กรรมต่างๆจะมีความคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดีย
อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจของพระสถูปจำลองนั้น นอกเหนือไปจากเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุแล้ว ยังมีความน่าสนใจ อีกประการหนึ่งนั่นคือ ความนิยมในการสร้างดูจะมีความนิยมอย่างกว้างขวางในวัฒนธรรมพุทธศาสนามาตั้งแต่ ครั้งอดีต และสืบ ทอดมายังปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากพระสถูปจากประเทศอินเดีย (ปัจจุบันจัดแสดงภายในห้องเอเชีย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร) ซึ่งเป็นศิลปะอินเดียแบบปาละ ราวพุทธศตวรรษที่ 14 จากข้อมูลระบุว่าได้มาจากเมืองพุทธคยา ประเทศอิน เดีย หรืออีกองค์หนึ่งเป็น เจดีย์ทรงระฆัง (จัดแสดงที่ห้องชวาในพิพิธภัณฑ์เดียวกัน) ทำจากศิลา มีขนาดใหญ่ คือสูงประมาณ 8 0 ซม.โดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ซึ่งปกครองประเทศอินโดนีเซียในขณะนั้นได้ทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประพาสชวาเมื่อปีพ.ศ. 2439 อันเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมที่ไทยเราได้รับและธำรงภายใต้วัฒ นธรรมพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีรูปแบบของพระสถูปอีกมากมายที่มีความต่างออกไป ทั้งนี้อาจเกิดจากช่างต้องการสร้างตามแรงศรัทธาของตน ให้มีความวิจิตร แต่ยังอยู่ภายใต้โครงแบบเดียวกันในอารยธรรมของตน
ความหมายของการสร้างเจดีย์ ไม่ว่าจะเป็นเจดีย์ หรือเจดีย์จำลองคงมีความหมายที่ไม่ต่างกัน และเจดีย์จะเป็นเครื่องหมายแ ห่งความศรัทธาและการสักการบูชาในพระพุทธศาสนาของเหล่าศาสนิกชนสืบไป
เอกสารอ่านประกอบ
ธงทอง จันทรางศุ. มหาธาตุ.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี: วัฒนธรรมพุทธศาสนา ยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย.กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.
สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ : ความเป็นมาและคำศัพท์เรียก องค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มติชน, 2538.
สุภัทรดิศ ดิศกุล,ม.จ. ศิลปะในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.
ในการสร้างสิ่งเคารพสักการะเนื่องในพระพุทธศาสนานั้นจำแนกออกเพื่อความเข้าใจได้ 4 ประเภท คือ
1.พระธาตุเจดีย์ คือการสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมธาตุ หรือพระธาตุ
2.พระธรรมเจดีย์ สันนิษฐานว่าเหตุแห่งการสร้างคงมาจากพุทธดำรัสก่อนปรินิพพานที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา จึงมีการจารึกพระธรรมคำสอนต่างๆขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้เพื่อให้เป็นข้อวัตรปฏิบัติสืบมา
3.บริโภคเจดีย์ หมายถึงสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นสังเวชนียสถานทั้ง 4 เป็นสำคัญ การสร้างเจดีย์ในช่วงแรกนั้น สร้างตามสังเวชนียสถานทั้ง 4 ของพระองค์ก่อน อันหมายถึงการระลึกถึงพระองค์ จึง เรียกเจดีย์โดยทั่วไปนี้ให้จัดอยู่ในบริโภคเจดีย์
4.อุเทสิกเจดีย์ หมายถึงสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนพระรัตนตรัย เช่นพระพุทธรูป พระพิมพ์ พระเครื่อง หรือแม้ แต่รอยพระ พุทธบาทจำลองก็ตาม
สถูปจำลอง หรือเจดีย์จำลองนั้นเป็นอุเทสิกเจดีย์ ที่กล่าวเช่นนี้ถึงแม้ว่าสถูปจำลองบางองค์จะบรรจุพระบรมธาตุ แต่ก็มิอาจเป็นมหาธาตุได้ เนื่องจากเป็นส่วนบรรจุภายในพระธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่อีกชั้นหนึ่ง ที่ปรากฏหลักฐานการ สร้างในดินแดนไทยมาแต่ครั้งแรกเริ่มสมัยประวัติศาสตร์ นั่นคืออารยธรรมทวารวดี ดังได้กล่าวไว้บ้างในฉบับที่ผ่านมา ซึ่งรูปแบบขอ งสถูปจำลองนั้นอาจมีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างบ้างเล็กน้อยกับรูปแบบของเจดีย์ขนาดใหญ่ คติการสร้างนั้นคงเป็นการบูชาพระบรมธาตุ เพราะปรากฏหลักฐานที่มีการขุดค้นพบเจดีย์ที่มีขนาดเล็กภายในกรุใต้ ฐานพระเจดีย์ ซึ่งภายในประดิษ ฐานพระบรมธาตุนั่นเอง
ความนิยมในการสร้างเจดีย์หรือสถูปจำลองนั้น คงเป็นความนิยมที่รับมาพร้อมกันกับการรับพระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดียมาตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งในศิลปะอินเดียเอง การ สร้างรูปสัญลักษณ์อย่างเจดีย์ปรากฏอยูู่่โดยทั่วไป ทั้งประติมากรรมประดับ ประติมากรรมขนาดเล็ก ในศิลปะอินเดียแบบปาละซึ่งเป็นสถูปจำลองจากสำริด ดูจะส่งอิทธิพลให้มีการสร้างสถูปจำลองในลักษณะเดียวกันกับบริเวณภาคกลางของประเทศไทย อาทิ ลพบุรี และสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นอิทธิพล ของศิลปะอินเดียแบบปาละ ผสมกับศิลปะขอม ลักษณะโดยทั่วไปเป็นสถูปจำลองที่ประกอบขึ้นจากฐานสี่เหลี่ยมต่อด้วยเรือนธาตุแปดเหลี่ยม อีกทั้งนิยมกา รประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งแปดทิศ เหนือขึ้นไปเป็นสถูปทรงระฆังกลม นอกจากนี้ ในศิลปะทวารวดียังปรากฏสถูปจำลองดินเผาอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นเจดีย์ที่เป็นทรงระฆังแล้ว อาทิ สถูป ดินเผา ซึ่งพบที่บ้านหนองกรวด จังหวัดนครสวรรค์
นอกจากนี้ยังพบสถูปจำลองศิลปะอยุธยาอีกเป็นจำนวน ไม่น้อยกระจายอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่างๆ มีทั้งที่สร้างจากศิลาและสำริด โดยรูปแบบนั้นมีความคล้ายคลึงกับรูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังแบบอยุธยานั่นเอง เช่น พระสถูปศิลา สมัยอยุธยา จากหลักฐานการขุดค้นพบ ระบุว่าพบในพระเจดีย์ใหญ่ วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ปัจจุบันจัดแสดงภายในห้องอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร) ซึ่งเจดีย์ทรงระฆังนั้นเมื่อพิจารณาดูก็จะพบว่าเจดีย์ทรงระฆังศิลปะอยุธยาจะมีความแตกต่างกับเจดีย์ทรงระฆังศิลปะสุโขทัย ด้วยรูปวงแหวนที่รองรับองค์ระฆังจะมีรูปแบบที่ต่างกันอยู่ โดยศิลปะสุโขทัยประกอบขึ้นจากบัวถลา ส่วนศิลปะอยุธยาเป็นมาลัยเถา(เรื่องนี้จะขอกล่าวในเรื่องของเจดีย์ทรงระฆังต่อไป) สถูปจำ ลองนี้ยังพบเป็นจำนวนมากภายในกรุ ของเจดีย์ประธาน เช่น ที่วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
กล่าวถึงศิลปะทางหัวเมืองฝ่ายเหนือกันบ้าง ในศิลปะล้านนานั้นการสร้างพระสถูปจำลองดูจะมีความพิถีพิถันและวิจิตรตระการตาอย่างเด่นชัด เช่น เจดีย์สูง (ปัจจุบันจัดแสดงภายในห้องเชียงแสน-ล้านนา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร) จากประวัติพบว่าได้มาจากการขุดค้นภายในเจดีย์รายด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ. 2503 เป็นเจดีย์ ทรงปราสาทเพิ่มมุม สร้างจากสำริด ภายในจรนำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางเปิดโลก (พระพุทธรูปประทับยืนพระหัตถ์วางแนบพระวรกาย) อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24
การศึกษารูปแบบของพระสถูปนี้ยังเชื่อมโยงไปถึงความ นิยมและอิทธิพลของศิลปกรรมในท้องถิ่นนั้นๆ เช่นเดียว กันกับการศึกษารูปแบบของพระพุทธรูป ซึ่งในช่วงแรกจะมีความใกล้เคียงกับรูปแบบของอารยธรรมต้นแบบเช่นเดียวกับที่ในช่วงแรกศิลป กรรมต่างๆจะมีความคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดีย
อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจของพระสถูปจำลองนั้น นอกเหนือไปจากเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุแล้ว ยังมีความน่าสนใจ อีกประการหนึ่งนั่นคือ ความนิยมในการสร้างดูจะมีความนิยมอย่างกว้างขวางในวัฒนธรรมพุทธศาสนามาตั้งแต่ ครั้งอดีต และสืบ ทอดมายังปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากพระสถูปจากประเทศอินเดีย (ปัจจุบันจัดแสดงภายในห้องเอเชีย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร) ซึ่งเป็นศิลปะอินเดียแบบปาละ ราวพุทธศตวรรษที่ 14 จากข้อมูลระบุว่าได้มาจากเมืองพุทธคยา ประเทศอิน เดีย หรืออีกองค์หนึ่งเป็น เจดีย์ทรงระฆัง (จัดแสดงที่ห้องชวาในพิพิธภัณฑ์เดียวกัน) ทำจากศิลา มีขนาดใหญ่ คือสูงประมาณ 8 0 ซม.โดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ซึ่งปกครองประเทศอินโดนีเซียในขณะนั้นได้ทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประพาสชวาเมื่อปีพ.ศ. 2439 อันเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมที่ไทยเราได้รับและธำรงภายใต้วัฒ นธรรมพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีรูปแบบของพระสถูปอีกมากมายที่มีความต่างออกไป ทั้งนี้อาจเกิดจากช่างต้องการสร้างตามแรงศรัทธาของตน ให้มีความวิจิตร แต่ยังอยู่ภายใต้โครงแบบเดียวกันในอารยธรรมของตน
ความหมายของการสร้างเจดีย์ ไม่ว่าจะเป็นเจดีย์ หรือเจดีย์จำลองคงมีความหมายที่ไม่ต่างกัน และเจดีย์จะเป็นเครื่องหมายแ ห่งความศรัทธาและการสักการบูชาในพระพุทธศาสนาของเหล่าศาสนิกชนสืบไป
เอกสารอ่านประกอบ
ธงทอง จันทรางศุ. มหาธาตุ.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี: วัฒนธรรมพุทธศาสนา ยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย.กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.
สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ : ความเป็นมาและคำศัพท์เรียก องค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มติชน, 2538.
สุภัทรดิศ ดิศกุล,ม.จ. ศิลปะในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.