xs
xsm
sm
md
lg

บทความพิเศษ : รหัสกรรม (ตอนที่ ๘)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ฉบับที่แล้วได้พูดถึงเรื่องกายทสกะ ซึ่งเปรียบได้กับสารพันธุกรรม DNA ไปแล้ว ฉบับนี้มาต่อกันที่เรื่องของหทัยทสกะ
หทัยทสกะ กลุ่มของรูปอันเป็นเป็นแหล่งที่เกิดของความรู้สึกนึกคิดซึ่งได้แก่นามธรรมทางใจ ในชีวิต อัตภาพร่างกายของคนและสัตว์ จะมีแหล่งอันเป็นที่เกิดของนามธรรมได้ ๖ แหล่งด้วยกันคือ
๑. ที่ตา ได้แก่ สภาพเห็น การเห็น ธรรมชาติรู้สี เรียกว่า จักขุวิญญาณ
๒. ที่หู ได้แก่ สภาพได้ยิน การได้ยิน ธรรมชาติรู้เสียง เรียกว่า โสตวิญญาณ
๓. ที่จมูก ได้แก่ สภาพดมกลิ่น การรู้กลิ่น ธรรมชาติรู้กลิ่น เรียกว่า ฆานวิญญาณ
๔. ที่ลิ้น ได้แก่ สภาพลิ้มรส การลิ้มรส ธรรมชาติรู้รส เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
๕. ที่กาย ได้แก่ สภาพรู้สัมผัส การรู้สัมผัส ธรรมชาติรู้สัมผัส เรียกว่า กายวิญญาณ
ส่วนแหล่งที่ นามธรรม ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในร่างกายนี้มี ๔ ที่ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน ในบรรดาแหล่งอันเป็นที่เกิดของนามธรรมได้นั้นที่ มโนทวารหรือทวารทางใจ มีชื่อภาษาบาลีว่า หทัยวัตถุ เป็นแหล่งที่บังเกิดคว ามเป็นมนุษย์ โดยมีนามธรรมคือปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น ณ ที่ตำแหน่งนี้ก่อนใคร (ปฏิสนธิจิตเป็นนามธรรมขณะแรกของภพ) นามธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มาเกิดตามหลัง และในโอกาสต่อมาหทัยวัตถุก็เป็นที่อาศัยเกิดของความรู้สึกนึกคิดทางใจด้วย
ในทางการแพทย์เวลาพูดถึงอวัยวะที่ทำงานได้ เขาหมายถึงการทำหน้าที่ในเชิงกลไกสรีระ แต่ในทาง พุทธศาสนาหมายถึง อวัยวะนั้นเป็นที่ให้นามธรรมเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ทีนี้อวัยวะใดยังไม่ถูกสร้างขึ้นนามธรรมที่จะเกิดกับอวัยวะนั้นก็ย่อมไม่มี อุปมาเหมือนกับว่าถ้าต้นไม้ยังไม่ได้ปลูกขึ้น เงาของต้นไม้ก็ย่อมจะมีไม่ได้ ถามว่าทำไมหทัยทสกะจึงเริ่ม ทำงานก่อน และทำ งานในลักษณะใด ตอบว่าที่ชื่อว่า ทำงานก่อนเพราะต้องเป็นที่อาศัยเกิดของปฏิสนธิจิตหรือเป็นที่ปรากฏขึ้นแห่งปฏิสนธิจิต ดุจธำมรงค์ รองรับแก้วมณี
เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นขณะแรกแล้ว ต่อแต่นั้นก็เป็นภวังคจิตเกิดดับสืบต่อกันไป และหทัยวัตถุก็เป็น ที่อาศัยเกิดของภวังคจิตด้วยเช่นกัน (ภวังคจิตคือจิต หลับ) ในช่วงหลังจากปฏิสนธิใหม่ๆนั้น หทัยวัตถุเป็น เพียงกลุ่มของรูปเล็กๆ เพียงกลุ่มเดียว(สารพันธุกรรม) ศักยภาพในระดับที่จะคิดนึกย่อมไม่มี ดังนั้น ความคิดนึกย่อมจะเกิดไม่ได้ คนส่วนมากชอบพูดว่า จิตคิดนึก น่าจะพูดกลับกันเสียใหม่ว่า ความคิดนึก นั่นแหละคือจิต ความรู้สึกนึกคิดมีหลายอย่าง จิตจึงมีหลายอย่าง บางทีก็ใช้คำว่า ความรู้สึก เช่น รู้สึก ซึมเศร้า เหงาหงอย เปล่าเปลี่ยว ดีใจ เสียใจ ปีติ เมตตา อันนี้เป็นภาษาไทย ถ้าเป็นภาษาทางศาสนาท่ านเรียกว่า เจตสิก เป็นพวกที่มีหน้าที่ปรุงแต่งส่วนธรรมชาติรู้ สภาพรู้ อาการรู้ ที่รับรู้นั้นเป็นจิตหรือวิญญาณ จิตกับเจตสิกนี้จะต้องเกิดร่วมกันเสมอ แยกขาดจากกันและกันไม่ได้ ท่านอุปมาเหมือนคนชรากับไม้เท้า กล่าวคือคนชราที่มีอายุตั้งร้อยจะลุกขึ้นเองโดยไม่อาศัยไม้เท้าก็ไม่ได้ ส่วนไม้เท้าถ้าไม่อาศัยคนชราจะลุกขึ้นมาตั้งบนพื้นเองก็ไม่ได้ จิตเปรียบเสมือนคนชรา เจตสิกเปรียบเสมือนไม้เท้า
ในช่วงแรก เมื่อยังคิดอะไรไม่ได้ จึงมีแต่ภวังคจิต (จิตหลับ) เกิดดับสืบเนื่องอยู่ตลอดเวลา (ต่อมาภาย หลังจึงมีวิถีจิตเกิดแท รกได้เป็นระยะๆ) จิตหลับก็มี อายุเท่ากับปฏิสนธิจิตนั่นแหละ เพียงแต่ปฏิสนธิจิตเกิดดับได้เพียงแค่ครั้งเดียว แต่ภวังคจิตเกิดดั บต่อเนื่องกันไปกี่ครั้งก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีเหตุปัจจัยให้หลับนานเท่าไหร่
มีคนเคยถามว่าเซลล์แรกเกิด (กลละ) นั้นเล็กนิด เดียว มองด้วยตาเปล่าก็ไม่เห็น เวลาวิญญาณมาปฏิสนธิ วิญญาณจะอาศัยอยู่ตรงไหน อาศัยอยู่ได้อย่างไรในพื้นที่เล็กๆ ขนาดนั้น
ตอบว่าควรทำความเข้าใจในศัพท์ก่อน คำว่าวิญญาณปฏิสนธิ หมายถึงจิตขณะเดียว ไม่ใช่กายทิพย์ หรือกายวิญญาณที่มาสิงสู่ และปวัตติวิญญาณก็หมายถึงความรู้สึกภายในเซลล์ทุกเซลล์ ซึ่งจะเกิดความรู้สึกขึ้นเมื่อมีอะไรมากระทบสัมผัสความรู้สึกนั้นคือ วิญญาณ ซึ่งถ้าเซลล์ใดยังไม่ตาย ยังใช้การได้ เมื่อมีอะไรมาผัสสะ ความรู้สึกหรือวิญญาณก็จะเกิดขึ้น แต่เป็นวิญญาณปวัตติ คือ เกิดขึ้นหลังปฏิสนธิแล้ว ส่วนเซลล์ใดเป็นเซลล์แรกเกิด เนื่องจากเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกก็ต้องมีนามธรรมขณะแรก หรือขณะแรกของความเป็นมนุษย์บังเกิดขึ้น เราเรียกนามธรรมขณะแรกของชีวิตนี้ว่า ปฏิสนธิวิญญาณ เป็นจิตเพียงขณะเดียว ไม่ใช่ร่างวิญญาณล่องลอยมา อาศัยหรือสิงอยู่ในเซลล์แรกเกิด

กรรมกับโคลนนิ่ง
เมื่อกรรมให้ผลในขณะปฏิสนธิกาลนั้นจะให้ผลทั้งในฝ่ายของรูปธรรมและนามธรรม ในฝ่ายของรูปธรรม อดีตกรรมที่ทำมาจะส่งผลให้ได้กัมมชรูป ๓ กลาป คือ กายทสกะ ภาวทสกะ และหทัยทสกะ ซึ่งอยู่ในกลละ (เซลล์แรกเกิด) ส่วนในฝ่ายของนามธรรม นั้นกรรมที่ทำมาในอดีตจะส่งผลให้เกิดปฏิสนธิจิต (จิตขณะแรกของภพ) ขึ้น ในวาระเดียวกันกับกัมมชรูปทั้ง ๓ คือ เกิดขึ้นพร้ อมกันทั้งฝ่ายรูปและฝ่ายนาม ส่วนนามขันธ์ที่เหลือคือเวทนา สัญญา สังขารนั้น แม้จะเกิดพร้อมในวาระเดียวกัน แต่ก็เป็นเพียงสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วม) ไม่ใช่เป็นตัววิบาก หรือผลของกรรมโดยตรง อุปมาเหมือนกับปุยนุ่น แม้จะเกิดและอาศัยอยู่ในที่เดียวกันกับเมล็ดนุ่น แต่ก็ไม่สามารถทำหน้าที่งอกเงยเป็นนุ่นต้นใหม่เหมือนอย่างเมล็ดนุ่น
เมื่อสมัยก่อนตอนที่เทคโนโลยียังไม่เจริญนั้น กัมมชรูป ๓ กลาปนี้จะอาศัยเหตุใกล้คือ อสุจิกับเซลล์ ไข่ผสมกัน (กรรมในอดีตจะเป็นเหตุไกล) แล้วก่อให้ เกิดกลละตามวิถีทางธรรมชาติในภูมิมนุษย์นี้ ณ ที่ใดมีกลละ ณ ที่นั้นก็ต้องมีกัมมชรูป ๓ กลาป ปฏิ สนธิจิตจะเกิดขึ้น ณ ตำแหน่งหทัยทสกกลาปเท่านั้น ไม่เกิดขึ้นที่กายทสกะกลาปหรือภาวทสกะกลาป
ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีเจริญขึ้นได้มีการผลิตเซลล์โคลน(กลละ)ขึ้นได้เองโดยไม่ต้องอาศัยวิธีทางธรรมชาติ ในเซลล์โคลนนี้ก็จะมีกัมมชรูป ๓ กลาป เช่นเดียวกับกลละที่เกิดขึ้นด้วยขบวนการตามธรรมชาติ เพียงแต่ว่าในเซลล์โคลนนี้จะไม่มีโครโมโซม (DNA) ของฝ่ายหญิงมาผสมร่วมกับโครโมโซม (DNA) ของฝ่ายชาย เพื่อร่วมกันดีไซน์ออกแบบรูปร่างหน้าตาของ ทารก ดังนั้นทารกก็จะเจริญเติบโตขึ้นมาโดยมีหน้าตา เหมือนพ่อแม่ทุกอย่าง เหมือนอย่างชนิดที่นิยมพูดกันเล่นๆว่า ถ่ายสำเนาทีเดียว
(อ่านต่อฉบับหน้า)
กำลังโหลดความคิดเห็น