xs
xsm
sm
md
lg

คัมภีร์คุณธรรมเยาวชน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“ เด็กเอ๋ยเด็กดี ” ต้องมีหน้าที่ 10 อย่างด้วยกัน 1.นับถือศาสนา 2.รักษาธรรมเนียมมั่น 3.เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ 4.วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน 5.รู้จักออมประหยัด 6.ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล 7.น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา 8.ทำตนให้เป็นประโยชน์ 9.รู้จักบุญคุณโทษ 10.สมบัติชาติต้องรักษาไว้
นับเป็นอาขยาน “ คลาสสิก ” สมัยสี่สิบปีที่แล้ว แต่มาสมัยนี้ไม่มั่นใจว่าบทอาขยานนี้ยังคงมีให้เด็กๆ ได้ท่องจำอยู่หรือเปล่า ถ้ายกเลิกไปก็น่าเสียดาย เพราะอย่างน้อยเป็นเรื่องอบรมบ่มนิสัยและสอนคุณธรรมประ จำใจติดตัวแต่เด็กไปจนโต หรือหมดลมหายใจสุดท้ายก็ว่าได้ ไม่เสียหาย

ถ้าจะว่าไปบทอาขยานนี้ ช่วยสะกิดเด็กและเยาวชนไม่ให้เตลิดหรือหลงเพลินไปกับอบายมุข ที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองหลายท่านออกอาการเป็นห่วงลูกหลานที่ตกอยู่ในวังวนสังคมบริโภควัตถุนิยมมาก จนร่างกายของเยาวชนห่อหุ้มไปด้วยวัตถุ แม้แต่จิตใจก็ยึดวัตถุเป็นที่ตั้ง ทำให้ด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม กลายเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องของสังคมไทย

ด้วยเหตุนี้คนไทยโบราณมักกล่าวว่า “ ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ” เช่นเดียวกับปราชญ์จีน บ่มสอนเด็กจีนตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อง่ายต่อการปลูกฝังอุปนิสัยอันดีงาม เติบใหญ่ได้เพียบพร้อมความสามารถและเปี่ยมด้วยคุณธรรม

ว่ากันว่าคุณธรรมจีนใช้สอนเด็กคือตำรา “ ตี้จื่อกุย ” หรือ “ คัมภีร์คุณธรรมเยาวชน ” นักประพันธ์โดย หลี่อวี้ซิ่ว นักวิชาการสมัยราชวงศ์ชิง(ค.ศ.1644 – 1911) ถือเป็นตำราคลาสสิกเล่มหนึ่งที่เด็กทุกคนต้องศึก ษาท่องจำจนขึ้นใจ เพราะนอกจากจะเป็นตำราสอนภาษาจีนให้กับเด็กนักเรียนแล้ว ตี้จื่อกุยยังปลูกฝังพื้นฐานในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของปราชญ์ขงจื่อ หรือเรียกในทางวิชาการว่า “ หยูเสีย ” อันเป็นสำนักคิดที่สำ คัญที่สุด มีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการสังคมและวัฒนธรรมจีนนับต่อเนื่องพันปี

บัดนี้คัมภีร์คุณธรรมเยาวชนของจีนฉบับนี้ ได้ถอดความมาเป็นภาษาไทยแบบกระชับ ด้วยฝีมือแปลและเรียบเรียง ดร.สารสิน วีระผล อดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ที่ชีวิตในวัยเด็กได้เดินมาตามแนว ทางของตี้จื่อกุย

ดร.สารสิน ผู้คร่ำหวอดเรื่องราวอารยธรรมจีนคนหนึ่งของประเทศไทย กล่าวในคำนำว่า ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมและการปลูกฝังอุปนิสัยอันดีงามของเด็กจีน ตำราเรียนมีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะการเรียบเรียงจะอยู่ในลักษณะกาพย์กลอน มีคำสัมผัสสอดคล้องผูกติดกันเป็นเรื่องราว ทำให้สะดวกต่อการท่องจำ แต่ภายหลังนักวิชาการสมัยราชวงศ์ชิงรุ่นต่อมาชื่อ เจี่ยโหย่วเหยิน แก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาให้ทันต่อสังคม

“ วัตถุประสงค์ของการแปลเป็นภาษาไทยเล่มนี้ มีสองประการ คือด้านหนึ่งเพื่อตระหนักถึงคุณความดีของบิดามารดาที่ประสิทธิ์ประสาทความรู้และอุดมคติเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตต่อส่วนตัว และส่วนรวมจนประสบความสำเร็จ อีกประการหนึ่งเป็นการปลูกฝังเด็กและเยาวชนไทยเติบโตในวันข้างหน้าอย่างมีคุณธรรม ”

หนังสือคัมภีร์คุณธรรมเยาวชนฉบับนี้ ทำขึ้นเพื่อเผยแพร่สาธารณชนทั่วไป จึงมีการปรับปรุงเนื้อหา โดยเปรียบเทียบกับต้นฉบับจีนใกล้เคียงที่สุด มีกำกับเสียงอ่านเป็นสัทอักษรพินอิน เพื่อให้เด็กสามารถอ่านออกเสียงภาษาจีนอย่างเที่ยงตรง เรียบเรียงคำอธิบายเป็นภาษาไทย มีภาพประกอบชวนให้อ่าน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กนักเรียนทุกระดับชั้น ที่อยากมีพื้นฐานภาษาจีนเป็นภาษาที่สองต่อจากภาษาไทย

เนื้อหาหนาประมาณ 70 หน้า ยกตัวอย่างคำสอนเชิงปรัชญาบางบท ถอดเป็นภาษาไทย อาทิ “ คำสั่ง

สอนของบิดามารดาต้องรับฟังด้วยความเคารพ ส่วนคำว่ากล่าวตักเตือนของบิดามารดาให้น้อมรับด้วยดี ”

“ แม้เรื่องเล็กน้อย จงอย่าทำโดยพลการ มิฉะนั้นจะไม่สอดคล้องกับประเพณี และการเป็นลูกที่ดี แม้ว่าสิ่งของอาจจะเล็กน้อย ก็อย่าเก็บไว้โดยพลการ บิดามารดาจะเสียใจ ”

“ ความสำคัญของเสื้อผ้า อยู่ที่ความสะอาดเรียบร้อย มิใช่ความหรูหราราคาแพง การใส่เสื้อผ้าต้อง

เหมาะสมกับฐานันดรของตนเอง ”

หรือจะเป็นการเรียนรู้คติ “ ไม่เหยียบธรณีประตู ไม่ยืนพิงกรอบประตู อย่านั่งยองถ่างขา และไม่สั่นขากระดิกเท้า ” เป็นต้น

ในตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้ สำนักพิมพ์วิถีเรียนรู้ ยังได้นำแบบประเมินคุณธรรมใส่ไว้ เพื่อให้เด็กๆ ใช้ในการสำรวจและพัฒนาคุณธรรมของตนเอง ผู้ปกครองของบุตรหลานสามารถหาอ่านหาดูและหาซื้อได้ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ทุกสาขา

เสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2548 เวลา 13.30 – 15.00 น. ณ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์
พบแนวทางการบ่มเพาะ “ คัมภีร์คุณธรรมเยาวชน ” สอนลูกหลานวันนี้เติบโตอย่างมีคุณธรรมในสังคมไทย โดยผู้คร่ำหวอดโลกของจีน ดร.สารสิน วีระผล, อ.ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี, รศ.พรพรรณ จันทโรนานนท์

กำลังโหลดความคิดเห็น