ศูนย์หนังสือจุฬาฯ / สมุทรจร บูรพา
จากการรายงานสถานการณ์และแนวโน้มประเทศไทยประจำเดือนกรกฎาคม 2548 โครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย(TTMP) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ได้กล่าวถึงสถานการณ์ทั่วโลกที่มีความไม่แน่นอน ของเหตุการณ์รุนแรงและการก่อการร้ายสากลเกิดขึ้นรายวัน ทำให้ในหลายประเทศที่อยู่ในสภาวะวิตกเกิดความรู้สึกร่วมกันในทางความมั่นคงหรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ในหลายสภาวะของเหตุนั้นดูเหมือน “ น้ำมันแพง ” กำลังกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง สังคม รุนแรงของโลกและไทย แม้ความตระหนักเรื่องนี้ยังมีไม่มากก็ตาม แต่เหตุที่มาราคาน้ำมันราคาแพงนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากการไม่สามารถผลิตได้มาก และทันต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น เพราะภาวะน้ำมันผลิตได้ถึงจุดหรือใกล้ถึงจุดสูง สุดแล้ว จึงไม่สามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ซ้ำมีแนวโน้มลดลง แน่นอนประเทศไทย เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันแพงสูงมากประเทศหนึ่ง มีคำนวณว่าหากราคาน้ำมันขึ้นสูงราว 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อาจทำให้เศรษฐกิจไทยมีอัตราเติบโตเท่ากับศูนย์ ในทางกลับกันการเติบโตทางเศรษฐกิจถูกปรับลดลง นับเป็นการท้าทายใหญ่สำหรับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐ กิจ การเมือง สังคมของชาติ ดังจะเห็นได้ว่าในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลหาแนวทางแก้ปัญหาการใช้พลังงานภายในประ เทศ เช่น การใช้ยวดยานพาหนะ รณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้ก๊าซโซฮอล์ ไบโอดีเซล ก๊าซเอ็นจีวี ด้านหน่วยงานราชการและสำนักที่ใช้เครื่องไฟฟ้าแรงวัตต์สูง อย่างแอร์คอนดิชั่นก็ให้เปิดปิดเป็นเวลา ฯลฯ โดยทั้งหมดใช้แก่นเรื่องความรักชาติมาเป็นตัวชู แต่นั่นแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่งในเฉพาะหน้าเท่านั้น หากแต่สิ่งที่พิจารณาคือกำหนดโควต้านำ เข้าและการใช้น้ำมันอย่างจริงจัง ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย เพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนเองออกมาตรการใช้พลังงานเหมือนกัน เพราะมีความหวั่นวิตกจะกระทบเศรษฐกิจภายในไม่น้อย และรวมไปถึงความมั่นคงการป้องกันการก่อเหตุการณ์ร้าย ด้วยเหตุนี้เราจะเห็นได้ว่ามีความเคลื่อนไหวทางร่วมมือกันเกิดขึ้นในเชิงนโยบายระหว่างประเทศสมาชิก มีการประชุมยุทธศาสตร์ต่างๆ ทั้งระดับผู้นำไปจนถึงรากหญ้าทุกปี ล้วนมีจุดมุ่งหมายทำให้ภูมิภาคนี้อยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความมั่นคงของมนุษย์(human security)
อาจนับได้ว่าตั้งแต่ปี 2540 ประเทศในกลุ่มอาเซียน อันประกอบไปด้วย ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม กัม พูชา ลาว บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และพม่า ล้วนประสบชะตากรรมวิกฤตการณ์สถาบันการเงินและเศรษฐกิจร่วมกัน พูดง่ายๆ ว่าแทบล่มสลายไปตามๆ กันเหมือนแชร์ลูกโซ่ แล้วก็พาลเอาผู้คนพากันตกงานนับเรือนล้านคน แม้วิกฤตการณ์ราคาน้ำมันแพงนี้ ดูจะคนละเรื่องราวต่างสภาวะการณ์แปดปีที่แล้ว แต่ความเป็นด้านเศรษฐกิจแล้วเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ น่าศึกษาอย่างยิ่ง หากเราจะพลิกไปดูวิกฤตเศรษฐกิจเวลานั้น อันจะเป็นอุทาหรณ์ให้เราได้ตระหนัก ได้เรียนรู้ ได้สั่งสม ตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาทของวิกฤตเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในยุคน้ำมันแพงนี้ นำมาประมวลวิ เคราะห์เพื่อให้เรามองไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ทั้งลดปัจจัยเสี่ยงต่อสถานการณ์แรงกดดันจากภัยที่มองไม่เห็นภายในและที่มาจากนานาประเทศ หนังสือ “ อาเซียน : สิ่งท้าทายใหม่และการปรับตัว ” ที่ผมกำลังอ่านอยู่ในมือนับว่าช่วยให้เห็นภาพของในช่วงระยะปี 2540 – 2545 โดยประมาณ ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องการศึกษาปูมหลัง
หนังสือเล่มนี้เป็นโครงการวิจัยอาเซียนในสหัสวรรษใหม่ ของสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิท ยาลัย โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสาขาต่างๆ ช่วยกันวิจัยและถ่ายทอดมุมมองจากประสบการณ์ภาคสนามในแต่ละประเทศ มีรศ.สุริชัย หวันแก้ว เป็นหัวหน้าโครงการ โดยเนื้อหาได้กล่าวถึงการปรับตัวต่อภาวะวิกฤติเศรษฐกิจและประเด็นความมั่นคงของประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน โดยกล่าวถึงพัฒนาการความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนให้เข้มแข็งกว่าที่เป็นอยู่เวลานี้ และการนำวาระด้านภาคประชาชนเข้ามาพิจารณาให้มากขึ้น ในปัญหาต่างๆ ที่ล้วนมีผลกระทบต่อภาคประชาชนอย่างสูง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อพลานุภาพในยุคโลกาภิวัตน์
ในรายละเอียดเนื้อหาแต่ละประเทศนั้นน่าสนใจทีเดียว ยกตัวอย่างวิกฤติทางการเงินในอินโดนีเซียปี 2540 บางตอนนักวิจัยฉายภาพให้เห็นถึงนับแต่การหมดอำนาจของประธานาธิบดีซูฮาร์โต ประชาชนอยู่ในภาวะตื่นตระหนกต่อหายนะเศรษฐกิจ เกิดการจลาจลไม่เว้นสัปดาห์ ส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองในเวลานั้นไร้เสถียรภาพ แม้จะมีการแต่งตั้งนายบีเจ ฮาบีบี ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีก็ตาม สถานการณ์เศรษฐกิจอีกช่วงหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ เห็นจะเป็นเหตุการณ์ระเบิดที่เกาะบาหลี ในกลางคืนของวันที่ 12 ตุลาคม 2545 ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวในเกาะบาหลี ถือเป็นรายรับอันดับสามของประเทศรองจากน้ำมันและสิ่งทอ ลดลงอย่างทันตาเห็นถึงร้อยละ 80 แม้ว่ารัฐบาลอินโดนีเซียปักใจเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวเป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายล้างชาติอินโดนีเซียและต้องการทำลายความเชื่อมั่นจากประชาคมระหว่างประเทศ แต่ก็ดูเหมือนว่าภาวะฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศให้กลับเข้ารูปเข้ารอยนั้นดำเนินไปอย่างยากลำบาก นอกเหนือจากตัวบริบทของรายละเอียดในเนื้อหาแล้ว ท้ายเรื่องได้รวบรวมดัชนีเศรษฐกิจมหภาคของอินโดนีเซีย ปี 2540 – 2544 ไว้ในภาคผนวก อันจะช่วยให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น เวียดนาม แม้การพัฒนาเศรษฐกิจปัจจุบันดูจะมาแรงในกลุ่มเพื่อนบ้านลุ่มน้ำโขง แต่การได้รับ ผลกระ ทบจากวิกฤตการณ์ในปี 2540 ก็แทบเอาตัวไม่รอด อันเนื่องมาจากการหดตัวเงินทุนต่างประเทศ อันเป็นกลจักรสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อส่งผลกระทบขึ้นประชาชนที่ยากจนอยู่แล้วก็รวมตัวประท้วงรัฐบาล
นอกจากนี้โครงการวิจัยฯ สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาฯ ได้วิเคราะห์ไทยในบริบทไทยกับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในภูมิภาค อันเป็นการตอบสนองของรัฐและภาคไม่ใช่รัฐ อาจสรุปได้ว่าในด้านต่อต้านการก่อการร้ายนั้นร่วมมืออย่างเงียบๆ กับรัฐบาลสหรัฐฯ และการร่วมมือในนามองค์กรอาเซียนในแง่ของรัฐ แต่อาจไม่เป็นประ โยชน์ต่อประชาชนเสมอไป ส่วนรายละเอียดของเนื้อหามีให้ท่านศึกษาอยู่แล้วในเล่มนี้ อันนอกเหนือวิกฤตการณ์เศรษฐกิจอีก 7 ประเทศในปี 2540
ในส่วนสุดท้ายของภาคผนวกนับว่าสนใจ มีคำศัพท์ร่วมสมัยเกี่ยวกับอาเซียนและลำดับเหตุการณ์สำ คัญๆ ทางเศรษฐกิจของโลกและอาเซียน ที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง ผู้ที่สนใจสามารถสอบ ถามได้ที่สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาฯ หรือหาอ่านหาซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ การที่เราไม่ประมาทนั้นช่วยให้ชาติไม่ต้องเจ็บตัวซ้ำสอง