ทฤษฎีการปฏิสนธิตามแนวพุทธศาสตร์
ในหลักของพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า การถือกำเนิดเกิดขึ้นของมนุษย์นั้น ต้องประกอบไปด้วยองค์ ประกอบดังต่อไปนี้
๑.มารดามีระดู หมายถึง มีไข่สุกในรอบเดือน มิใช่หมายถึงมีประจำเดือน เพราะถ้าเป็นประจำเดือนจะใช้ประโยชน์เพื่อการตั้งครรภ์มิได้ โปรดสังเกตว่าท่านใช้คำว่า “ระดู” ไม่ใช้คำว่า “โลหิต” เพื่อให้ตรงกับกิริยาไข่สุกในรอบเดือน (วิทยาศาสตร์เรียกไข่ว่า“โอวั่ม”)
๒.มีการร่วมสังวาส หมายถึง มีการปล่อยอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ (ทางวิทยาศาสตร์เรียกอสุจิว่า “สเปิร์ม”)
๓.มีวิญญาณปฏิสนธิ หมายถึง นามธรรมขณะแรกของความเป็นมนุษย์เกิดขึ้น เนื่องจากอสุจิและเซลล์ไข่ ถ้ายังไม่ผสมกันก็ยังไม่มีความเป็นมนุษย์บังเกิดขึ้น เมื่อผสมกันแล้วความเป็นมนุษย์ก็บังเกิดขึ้น การบังเกิดขึ้นนี้ย่อมต้องมีขณะแรกเริ่มของชีวิตหรือจุดสตาร์ตของชีวิตซึ่งเป็นขณะแรกของนามธรรม นามธรรมขณะแรกของภพนี้แหละมีชื่อว่าปฏิสนธิวิญ ญาณ หรือปฏิสนธิจิตหรือปฏิสนธิวิญญาณจิต คำว่า “วิญญาณปฏิสนธิ” มิได้หมายถึง วิญญาณในความหมายของภูติผีปีศาจ โอปปาติกะ กายทิพย์ กายเทพ ล่องลอยมาเกิดอะไรทำนองนั้น แต่หมายถึงจิตเพียงขณะเดียวทำกิจหน้าที่เกิดขึ้นในภพหนึ่งๆ แล้วดับไปอย่างรวดเร็ว เหมือนการจุดสตาร์ตเครื่องยนต์ พอสตาร์ตเครื่องติดแล้ว ต่อแต่นั้นเป็นเรื่องของการทำงานและกล ไกในห้องเครื่องที่จะทำงานต่อไปโดยอัตโนมัติ การจุด สตาร์ตเครื่องครั้งแรกเปรียบเสมือนปฏิสนธิจิต การจุดระเบิดในห้องเครื่องเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เปรียบเสมือนจิตในปวัตติกาลเกิดดับต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย (จิตที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิตจะเกิดดับต่อเนื่อง กันไปจนกว่าจะตายเรียกว่า “จิตในปวัตติกาล”) เมื่อใดที่เครื่องยนต์ดับ การจุดระเบิดครั้งสุดท้ายจะเปรียบเสมือนจุติจิต (จิตขณะสุดท้ายของภพ) คือจิตตาย จิตเพียงขณะเดียวที่มีชื่อเรียกว่าปฏิสนธิจิตนี้เกิดขึ้นเมื่อใด ก็ชื่อว่าชีวิตแห่งความเป็นมนุษย์ได้บังเกิดขึ้นแล้ว (คำว่า “จิต” กับคำว่า “วิญญาณ” เป็นไวพจน์กัน)
เมื่อองค์ประกอบทั้ง ๓ อย่างมาประชุมพร้อมกันครบ คือไข่สุกหนึ่ง อสุจิเข้าผสมหนึ่ง ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นหนึ่ง ในขณะนั้นไข่ที่ได้รับการผสมแล้วได้รวมตัวกับอสุจิกลายเป็นเซลล์เดียวกัน ทางพุทธศาสนาตั้งชื่อ เรียกว่า “กลละ” (อ่านว่า กะละละ ) อันได้แก่ เซลล์แรกเกิด (วิทยาศาสตร์เรียกเซลล์แรกเกิดนี้ว่า“ไซโกต”) จากนั้นจึงจะเพิ่มจำนวนของเซลล์มากขึ้นด้วยวิธีแบ่งเซลล์จาก ๑ เป็น ๒ เป็น ๔ เป็น ๘ เรื่อยๆ ไปเป็นร้อยๆเซลล์ จนมีลักษณะเหมือนลูกน้อยหน่าซึ่งจะฝังตัวอยู่ที่บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก ช่วงที่เป็นลูกน้อยหน่านี้ ทางวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อเรียกว่า “บราสโตซีสต์ (Blastocyst)
ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านอุปมาขนาดของกลละไว้ว่า ถ้านำเอาปลายขนจามรีจุ่มลงในน้ำมันงาแล้ว สลัดแรงๆ ๗ ครั้ง เศษน้ำมันงาอันติดอยู่ที่ปลายขนจามรีอันสลัดแล้ว ๗ ครั้งนี้แหละคือขนาดปริมาตรของ กลละ หรือนำเส้นผมคนผ่าแบ่งออกเป็น ๘ ส่วน ถือเอามา ๑ ส่วนจุ่มลงในน้ำมันงาแล้วยกขึ้น หยาดน้ำมันงาจะหยดลงจนเหลือหยาดสุดท้ายที่หยดไม่ได้อีกแล้ว ส่วนนี้แหละคือขนาดปริมาตรของกลละ มนุษย์เราเมื่อแรกเกิดก็มีกายแค่นี้เอง ที่ใหญ่โตต่อมาภายหลังได้นั้นก็เพราะอาหาร แม้กลละจะเล็กขนาดนั้นพระพุทธองค์ก็ยังตรัสว่า ประกอบไปด้วยกลุ่มของรูป ๒ กลุ่ม (กลุ่มของรูปหมายถึงมวลสารเล็กๆ จำนวนหนึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มีลักษณะเหมือนสารพันธุกรรม มีชื่อทางภาษาบาลีว่า “กัมมชรูป” แปลว่า รูปที่เกิดเพราะกรรม) ได้แก่
๑.กายทสกะ (อ่านว่า กายะทะสะกะ) กลุ่มของรูปที่กำหนดลักษณะทางกายภาพ
๒.ภาวทสกะ (อ่านว่า ภาวะทะสะกะ) กลุ่มของรูปที่กำหนดลักษณะทางเพศ
๓.หทัยทสกะ (อ่านว่า หะทะยะสะกะ) กลุ่มของรูป อันเป็นที่เกิดของปฏิสนธิจิตและความรู้สึกนึกคิดทางใจ ในคำว่า “วิญญาณปัจจยานามรูปัง” ในปฏิจจสมุปบาท วาระนั้น หมายเอาปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัยแก่ธรรม ๓๔ ประ การ คือ รูปขันธ์ อันได้แก่ กายทสกะ ๑๐ ภาวทสกะ ๑๐ หทัยทสกะ ๑๐ นามขันธ์ที่เหลืออีก ๔ ซึ่งได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
กายทสกะ คือ กลุ่มของรูปที่ทำหน้าที่กำหนดลักษณะทางกายภาพหรือโปรแกรมลักษณะทางกายภาพ ว่า “กลละ ” สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวนี้จะเจริญเติบโตขึ้นมาอย่างมีทิศทางของรูปทรงตามกรอบของความเป็น มนุษย์ ถ้าเป็นภูมิเดรัจฉาน เช่น หมู หมา กา ไก่ กัมมชรูปกลุ่มนี้ก็จะมีคุณสมบัติโปรแกรมให้เซลล์แรกเกิดนั้นเจริญเติบโตขึ้นมาอย่างมีรูปร่างเป็น หมู หมา กา ไก่ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีกัมมชรูปประเภทกายทสกะของความเป็นมนุษย์แล้วละก็ กลละสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวนี้อาจจะเจริญเติบโตขึ้นมาแบบผิดทิศผิดทาง มีเขี้ยว มี งวง มีงา มีขนรุ่มร่ามก็เป็นได้ กายทสกะนี้มิกิจ ๓ อย่าง คือ
๑.โปรแกรมลักษณะรูปทรงทางกายภาพให้เป็นไป ตามภพภูมิที่กำเนิด สุดแท้แต่กรรมจะนำให้เกิดเป็นสัตว์ชนิดใด ถ้าเป็นภูมิเดรัจฉานก็จะโปรแกรมให้เจริญเติบโตขึ้นมา โดยมีรูปร่างเป็นเดรัจฉาน หมู หมา กา ไก่ หรือถ้าเป็นภูมิมนุษย์ก็โปร แกรมให้มีรูปร่างหน้าตาโดยความเป็นมนุษย์
๒.โปรแกรมความงามหรือไม่งามให้กับสรีระนั้น การโปรแกรมทิศทางของการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ให้ดูงดงามหรือขี้ริ้วขี้เหร่ เช่น สีผม สีผิว สีตา จมูกโด่ง ดั้งยุบ ตัวเล็ก ตัวเตี้ย ตัวสูง ตัวใหญ่ แม้กระทั่งขนคิ้วหรือขนตามตัวเพียงเส้นเดียว ก็ถูกออกแบบโดยกายทสกะกัมมชรูป ถ้าเป็นสัตว์ก็ออกแบบ ให้สวยงามน่ารัก หรือน่าเกลียดน่าชัง จะเห็นว่าแม้แต่ พวกสุนัขก็มีความงาม หรือความขี้ริ้วขี้เหร่แตกต่างกันออกไป
สมัยนี้ กายทสกะก็เปรียบได้กับสารพันธุกรรม DNA (Deoxyribonucleic acid) ที่ทางวิทยาศาสตร์ เพิ่งค้นพบ ซึ่งเขาบรร ยายถึงคุณสมบัติและกิจหน้าที่เหมือนกับกัมมรูปชนิดนี้ เราใช้คำว่ากลุ่มของรูป เพราะ “ทสกะ” แปลว่า “สิบ” ซึ่งประกอบด้วย ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชะ ชีวิตรูป และกายประสาท วิทยาศาสตร์ใช้คำว่าสายพันธุกรรม คือมีมวลสารอยู่จำนวนหนึ่งที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกับกลุ่มของรูปชนิดนี้ ปัจจุบันนี้ค้นพบว่า รหัส DNA นั้นมีมากถึง ๓ พันล้านรหัส มียีนส์ถึง ๘ หมื่น ๖ พันยีนส์ ทั้งนี้ก็น่าจะสอดรับกับรหัสกรรม
ลองคิดดูสิว่าทุกๆหนึ่งวินาทีจะมีกรรมใหม่เกิดขึ้น ทุกหนึ่งวินาที ชั่วชีวิตของคนเราทำกรรมมากมายกว่าจะตายจะไม่ให้มีรหัส DNA ถึง ๓ พันล้านรหัสได้อย่าง ไร ในเมื่อเราทำกรรมอยู่ทุกวินาทีอย่างซับซ้อนละเอียดอ่อน กรรมเหล่านี้จึงส่งผลให้เกิดรหัส DNA มากกว่า สามพันล้านรหัส เช่นกัน
ในคัมภีร์กล่าวว่ากายทสกะนี้เป็นกัมมชรูป คือ รูปที่เกิดขึ้นเพราะกรรม เมื่อกระทำกรรมวิจิตร กายทสกกัมมชรูปซึ่งเป็นผลของกรรมก็ต้องวิจิตรตามไปด้วย (กายทสกกัมมชรูปนี้เทียบได้กับ DNA เพราะมีคุณ สมบัติคล้ายคลึงกัน) ดังนั้นถ้า DNA เป็นของของกรรม รหัส DNA ก็ต้องวิจิตรตามแรงกรรมที่ทำมา
(อ่านต่อฉบับหน้า)
ในหลักของพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า การถือกำเนิดเกิดขึ้นของมนุษย์นั้น ต้องประกอบไปด้วยองค์ ประกอบดังต่อไปนี้
๑.มารดามีระดู หมายถึง มีไข่สุกในรอบเดือน มิใช่หมายถึงมีประจำเดือน เพราะถ้าเป็นประจำเดือนจะใช้ประโยชน์เพื่อการตั้งครรภ์มิได้ โปรดสังเกตว่าท่านใช้คำว่า “ระดู” ไม่ใช้คำว่า “โลหิต” เพื่อให้ตรงกับกิริยาไข่สุกในรอบเดือน (วิทยาศาสตร์เรียกไข่ว่า“โอวั่ม”)
๒.มีการร่วมสังวาส หมายถึง มีการปล่อยอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ (ทางวิทยาศาสตร์เรียกอสุจิว่า “สเปิร์ม”)
๓.มีวิญญาณปฏิสนธิ หมายถึง นามธรรมขณะแรกของความเป็นมนุษย์เกิดขึ้น เนื่องจากอสุจิและเซลล์ไข่ ถ้ายังไม่ผสมกันก็ยังไม่มีความเป็นมนุษย์บังเกิดขึ้น เมื่อผสมกันแล้วความเป็นมนุษย์ก็บังเกิดขึ้น การบังเกิดขึ้นนี้ย่อมต้องมีขณะแรกเริ่มของชีวิตหรือจุดสตาร์ตของชีวิตซึ่งเป็นขณะแรกของนามธรรม นามธรรมขณะแรกของภพนี้แหละมีชื่อว่าปฏิสนธิวิญ ญาณ หรือปฏิสนธิจิตหรือปฏิสนธิวิญญาณจิต คำว่า “วิญญาณปฏิสนธิ” มิได้หมายถึง วิญญาณในความหมายของภูติผีปีศาจ โอปปาติกะ กายทิพย์ กายเทพ ล่องลอยมาเกิดอะไรทำนองนั้น แต่หมายถึงจิตเพียงขณะเดียวทำกิจหน้าที่เกิดขึ้นในภพหนึ่งๆ แล้วดับไปอย่างรวดเร็ว เหมือนการจุดสตาร์ตเครื่องยนต์ พอสตาร์ตเครื่องติดแล้ว ต่อแต่นั้นเป็นเรื่องของการทำงานและกล ไกในห้องเครื่องที่จะทำงานต่อไปโดยอัตโนมัติ การจุด สตาร์ตเครื่องครั้งแรกเปรียบเสมือนปฏิสนธิจิต การจุดระเบิดในห้องเครื่องเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เปรียบเสมือนจิตในปวัตติกาลเกิดดับต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย (จิตที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิตจะเกิดดับต่อเนื่อง กันไปจนกว่าจะตายเรียกว่า “จิตในปวัตติกาล”) เมื่อใดที่เครื่องยนต์ดับ การจุดระเบิดครั้งสุดท้ายจะเปรียบเสมือนจุติจิต (จิตขณะสุดท้ายของภพ) คือจิตตาย จิตเพียงขณะเดียวที่มีชื่อเรียกว่าปฏิสนธิจิตนี้เกิดขึ้นเมื่อใด ก็ชื่อว่าชีวิตแห่งความเป็นมนุษย์ได้บังเกิดขึ้นแล้ว (คำว่า “จิต” กับคำว่า “วิญญาณ” เป็นไวพจน์กัน)
เมื่อองค์ประกอบทั้ง ๓ อย่างมาประชุมพร้อมกันครบ คือไข่สุกหนึ่ง อสุจิเข้าผสมหนึ่ง ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นหนึ่ง ในขณะนั้นไข่ที่ได้รับการผสมแล้วได้รวมตัวกับอสุจิกลายเป็นเซลล์เดียวกัน ทางพุทธศาสนาตั้งชื่อ เรียกว่า “กลละ” (อ่านว่า กะละละ ) อันได้แก่ เซลล์แรกเกิด (วิทยาศาสตร์เรียกเซลล์แรกเกิดนี้ว่า“ไซโกต”) จากนั้นจึงจะเพิ่มจำนวนของเซลล์มากขึ้นด้วยวิธีแบ่งเซลล์จาก ๑ เป็น ๒ เป็น ๔ เป็น ๘ เรื่อยๆ ไปเป็นร้อยๆเซลล์ จนมีลักษณะเหมือนลูกน้อยหน่าซึ่งจะฝังตัวอยู่ที่บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก ช่วงที่เป็นลูกน้อยหน่านี้ ทางวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อเรียกว่า “บราสโตซีสต์ (Blastocyst)
ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านอุปมาขนาดของกลละไว้ว่า ถ้านำเอาปลายขนจามรีจุ่มลงในน้ำมันงาแล้ว สลัดแรงๆ ๗ ครั้ง เศษน้ำมันงาอันติดอยู่ที่ปลายขนจามรีอันสลัดแล้ว ๗ ครั้งนี้แหละคือขนาดปริมาตรของ กลละ หรือนำเส้นผมคนผ่าแบ่งออกเป็น ๘ ส่วน ถือเอามา ๑ ส่วนจุ่มลงในน้ำมันงาแล้วยกขึ้น หยาดน้ำมันงาจะหยดลงจนเหลือหยาดสุดท้ายที่หยดไม่ได้อีกแล้ว ส่วนนี้แหละคือขนาดปริมาตรของกลละ มนุษย์เราเมื่อแรกเกิดก็มีกายแค่นี้เอง ที่ใหญ่โตต่อมาภายหลังได้นั้นก็เพราะอาหาร แม้กลละจะเล็กขนาดนั้นพระพุทธองค์ก็ยังตรัสว่า ประกอบไปด้วยกลุ่มของรูป ๒ กลุ่ม (กลุ่มของรูปหมายถึงมวลสารเล็กๆ จำนวนหนึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มีลักษณะเหมือนสารพันธุกรรม มีชื่อทางภาษาบาลีว่า “กัมมชรูป” แปลว่า รูปที่เกิดเพราะกรรม) ได้แก่
๑.กายทสกะ (อ่านว่า กายะทะสะกะ) กลุ่มของรูปที่กำหนดลักษณะทางกายภาพ
๒.ภาวทสกะ (อ่านว่า ภาวะทะสะกะ) กลุ่มของรูปที่กำหนดลักษณะทางเพศ
๓.หทัยทสกะ (อ่านว่า หะทะยะสะกะ) กลุ่มของรูป อันเป็นที่เกิดของปฏิสนธิจิตและความรู้สึกนึกคิดทางใจ ในคำว่า “วิญญาณปัจจยานามรูปัง” ในปฏิจจสมุปบาท วาระนั้น หมายเอาปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัยแก่ธรรม ๓๔ ประ การ คือ รูปขันธ์ อันได้แก่ กายทสกะ ๑๐ ภาวทสกะ ๑๐ หทัยทสกะ ๑๐ นามขันธ์ที่เหลืออีก ๔ ซึ่งได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
กายทสกะ คือ กลุ่มของรูปที่ทำหน้าที่กำหนดลักษณะทางกายภาพหรือโปรแกรมลักษณะทางกายภาพ ว่า “กลละ ” สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวนี้จะเจริญเติบโตขึ้นมาอย่างมีทิศทางของรูปทรงตามกรอบของความเป็น มนุษย์ ถ้าเป็นภูมิเดรัจฉาน เช่น หมู หมา กา ไก่ กัมมชรูปกลุ่มนี้ก็จะมีคุณสมบัติโปรแกรมให้เซลล์แรกเกิดนั้นเจริญเติบโตขึ้นมาอย่างมีรูปร่างเป็น หมู หมา กา ไก่ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีกัมมชรูปประเภทกายทสกะของความเป็นมนุษย์แล้วละก็ กลละสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวนี้อาจจะเจริญเติบโตขึ้นมาแบบผิดทิศผิดทาง มีเขี้ยว มี งวง มีงา มีขนรุ่มร่ามก็เป็นได้ กายทสกะนี้มิกิจ ๓ อย่าง คือ
๑.โปรแกรมลักษณะรูปทรงทางกายภาพให้เป็นไป ตามภพภูมิที่กำเนิด สุดแท้แต่กรรมจะนำให้เกิดเป็นสัตว์ชนิดใด ถ้าเป็นภูมิเดรัจฉานก็จะโปรแกรมให้เจริญเติบโตขึ้นมา โดยมีรูปร่างเป็นเดรัจฉาน หมู หมา กา ไก่ หรือถ้าเป็นภูมิมนุษย์ก็โปร แกรมให้มีรูปร่างหน้าตาโดยความเป็นมนุษย์
๒.โปรแกรมความงามหรือไม่งามให้กับสรีระนั้น การโปรแกรมทิศทางของการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ให้ดูงดงามหรือขี้ริ้วขี้เหร่ เช่น สีผม สีผิว สีตา จมูกโด่ง ดั้งยุบ ตัวเล็ก ตัวเตี้ย ตัวสูง ตัวใหญ่ แม้กระทั่งขนคิ้วหรือขนตามตัวเพียงเส้นเดียว ก็ถูกออกแบบโดยกายทสกะกัมมชรูป ถ้าเป็นสัตว์ก็ออกแบบ ให้สวยงามน่ารัก หรือน่าเกลียดน่าชัง จะเห็นว่าแม้แต่ พวกสุนัขก็มีความงาม หรือความขี้ริ้วขี้เหร่แตกต่างกันออกไป
สมัยนี้ กายทสกะก็เปรียบได้กับสารพันธุกรรม DNA (Deoxyribonucleic acid) ที่ทางวิทยาศาสตร์ เพิ่งค้นพบ ซึ่งเขาบรร ยายถึงคุณสมบัติและกิจหน้าที่เหมือนกับกัมมรูปชนิดนี้ เราใช้คำว่ากลุ่มของรูป เพราะ “ทสกะ” แปลว่า “สิบ” ซึ่งประกอบด้วย ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชะ ชีวิตรูป และกายประสาท วิทยาศาสตร์ใช้คำว่าสายพันธุกรรม คือมีมวลสารอยู่จำนวนหนึ่งที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกับกลุ่มของรูปชนิดนี้ ปัจจุบันนี้ค้นพบว่า รหัส DNA นั้นมีมากถึง ๓ พันล้านรหัส มียีนส์ถึง ๘ หมื่น ๖ พันยีนส์ ทั้งนี้ก็น่าจะสอดรับกับรหัสกรรม
ลองคิดดูสิว่าทุกๆหนึ่งวินาทีจะมีกรรมใหม่เกิดขึ้น ทุกหนึ่งวินาที ชั่วชีวิตของคนเราทำกรรมมากมายกว่าจะตายจะไม่ให้มีรหัส DNA ถึง ๓ พันล้านรหัสได้อย่าง ไร ในเมื่อเราทำกรรมอยู่ทุกวินาทีอย่างซับซ้อนละเอียดอ่อน กรรมเหล่านี้จึงส่งผลให้เกิดรหัส DNA มากกว่า สามพันล้านรหัส เช่นกัน
ในคัมภีร์กล่าวว่ากายทสกะนี้เป็นกัมมชรูป คือ รูปที่เกิดขึ้นเพราะกรรม เมื่อกระทำกรรมวิจิตร กายทสกกัมมชรูปซึ่งเป็นผลของกรรมก็ต้องวิจิตรตามไปด้วย (กายทสกกัมมชรูปนี้เทียบได้กับ DNA เพราะมีคุณ สมบัติคล้ายคลึงกัน) ดังนั้นถ้า DNA เป็นของของกรรม รหัส DNA ก็ต้องวิจิตรตามแรงกรรมที่ทำมา
(อ่านต่อฉบับหน้า)