ปุจฉา
คุณสมบัติของครูดี
ปัจจุบันจะเห็นฆราวาสมาสอนพระปฏิบัติธรรมกันมาก แทนที่พระจำสอนฆราวาส อยากทราบประสบการณ์การสอนพระของหลวงปู่ และการเป็นครูผู้สอนจำเป็นต้องมีภูมิรู้ทั้งทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธหรือไม่ และหากครูสอนกรรมฐานไม่ได้ยึดแนวปฏิบัติเพียงแนวเดียว จะเป็นครูที่ดีได้หรือไม่ และคุณสมบัติของครูที่ดีควรเป็นอย่างไร ขอความเมตตาหลวงปู่เล่าถึงประสบการณ์การสอนพระให้ได้ฟังบ้าง
วิสัชนา
ถ้าพระหรือนักบวชในศาสนา มีประสบการณ์อะไรแปลกๆ บ้าง บางครั้งอาจทำให้มีศรัทธาต่อการปฏิบัติงาน ปฏิบัติธรรม และจะสามารถถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ทางวิญญาณของท่านที่ไม่เกี่ยวกับตำรามากนัก
เราอาจจะไม่ได้สอนกันด้วยภาษาทางตำราเลย มีแต่จิต ที่พูดภาษาใจกับใจเท่านั้น แต่ว่าการสอนพระจะสอนยาก เพราะว่าทิฐิพระ มานะครู หรือ ทิฐิพระ มานะกษัตริย์ นั้นมีมาก จึงต้องหากระบวนการว่า ทำอย่างไรที่จะให้พระสอนกันเอง จึงเป็นที่มาของกระบวนการในการอบรมพระในหลักสูตรมหาสติปัฏฐานที่เคยจัด
และด้วยความที่พระเป็นบุคคลที่สอนยาก จึงเริ่มให้มีการเขียนคำตำหนิคำสอน ว่ากล่าวกันเองได้ ซึ่งเราจะพบว่าไม่มีสำนักปฏิบัติธรรมที่ไหนในโลกที่ครูโดนศิษย์ตำหนิ ที่อื่นเราเข้าไปต้องกราบ เพราะเขาถือว่าธรรมะเป็นของสูง ผู้บอกธรรมะ คือ คุรุผู้เจริญ สำนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายเป็นอย่างนี้
แต่หลวงปู่คิดว่า การให้ทรัพย์ หรือ การที่ครูทั้งหลายมาให้ทรัพย์ ทรัพย์นั้นมันจะนำไปใช้ให้เกิดประโ่ยชน์ต่อพระศาสนา ไม่ใช่เฉพาะส่วนตัวใคร ไม่ได้คิดว่าพระได้ประโยชน์ แต่คิดว่าพระศาสนาได้ประโยชน์ จึงทำโดยสำนึกว่า ต้องทำหน้าที่เป็นศากยบุตร เป็นพุทธะชิโนรส ลูกหลานของพระพุทธเจ้า ทำอย่างไร จึงจะให้พระพุทธะพระองค์นั้น ทรงชื่นชม โสมนัส ต่อกิจการ การงานของลูกหลานของพระองค์
การที่ครูบอกธรรมะแล้วเดินหนีนั้นยังไม่พอ ครูต้องเฝ้าดูศิษย์อย่างที่หลวงปู่ทำ คือ ต้องควบคุม ทำให้ธรรมะนั้น
มันเจริญและเติบโตขึ้นอย่างไม่ตาย จิตวิญญาณของพระพุทธะต้องโตขึ้น
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีกำลังใจ ไม่มีศรัทธา เชื่อพระพุทธเจ้า เชื่อพระธรรมที่ (หลวงปู่) ปฏิบัติได้แล้ว เชื่อสิ่งที่พระพุทธะสอน ถ้าไม่มีศรัทธา ไม่มีกำลังใจ ก็ไม่มีใครมาให้เรา นอกจากเราให้ตัวเราเอง ตั้งแต่บวชมายี่สิบกว่าพรรษา หลวงปู่ไม่เคยเหยียบเข้าบ้าน ไม่เคยเยี่ยมญาติ แต่จะบอกกับลูกศิษย์เสมอว่า เราเป็นผู้ออกจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว เราต้องซื่อสัตย์กับสกุลศากยะ ไม่ทำ
ตัวเป็นคฤหัสถ์บ้าง ศากยะบ้าง จึงไม่ต้องขวนขวาย หาเงิน หาลาภใดๆ
ดังนั้น ครูที่ดี จึงต้องไม่เบื่อที่จะบอก และจ้ำจี้จ้ำไชต่อการสอน หัวใจของครูที่ดี ต้องไม่มองว่าศิษย์ดีหรือเลว หัวใจของครูที่ดี มีแต่คำว่าโง่กับฉลาด
หน้าที่ของภิกษุ นักบวช พระในศาสนา ก็คือปลดจากความเป็นทาสของประชาชาติและสัตว์โลก
ปุจฉา
คุณสมบัติของพหูสูต
ด้วยเหตุใดบุคคลจึงได้ชื่อว่า สดับและเป็นพหูสูต
วิสัชนา
ก็เรียนมาก ทรงจำได้มาก สำหรับที่สุด คือ กระทำให้ได้มากด้วย เรียนมากในที่นี้ ความหมายก็คือ การที่เอาตัวเองเข้าไปสัมผัสกับปัญหาต่อโจทย์ ต่อบทเรียนนั้นๆ อย่างชนิดที่ต้องการจะเรียนรู้
หลวงปู่พูดว่า เรียนมาก ในที่นี้ หมายถึง การที่เอาตัวเองเข้าไปหาโจทย์ เข้าไปหาตัวปัญหาเพื่อจะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาจากตัวเอง อย่างชนิดที่ต้องการจะเรียนรู้ นั่นคือ ความหมายของคำว่าเรียนมาก เมื่อเรียนมาก ความทรงจำมันจะไม่ดีเอาเลย ถ้าลูกไม่ใช้ความเข้าใจมันซะก่อน ถ้าขาดความเข้าใจแล้ว ถึงจะทรงจำมันอย่างไร ก็คงไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรที่ควรนัก
เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จึงใช้คำว่า ควรจะทำให้เกิดความเข้าใจ ทำแล้วก่อให้เกิดความเข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้วทีนี้ไม่ต้องจำ มันจะสิงเข้าไปอยู่ในกระดูก เลือด ในชีวิตของเราเอง
เหมือนอย่างที่หลวงปู่พูดให้พวกเราฟัง ถ้าหลวงปู่ใช้ความจำต้องมีเวลาเตรียมการ แล้วนึก สำหรับการที่จะนำมาพูด แล้วตอบปัญหา แต่นี่ไม่ใช่ หลวงปู่ใช้ปัญญาที่ได้จากการลงไม้ลงมือกระทำ เมื่อเราได้การกระทำจากความสว่าง กระจ่างชัด เปิดของที่ปิด หงายของที่คว่ำแล้วทำให้ที่มืดกลายเป็นความสว่างได้ด้วยตัวเราเอง< และรู้แจ้งแทงตลอด กระจ่างชัดด้วยตัวเราเองแล้ว หนึ่งร้อยปี ล้านปี หมื่นปี ก็สามารถจะอยู่กับเราได้โดยไม่ต้องจดจำ มันจะเป็นความเข้าใจ เป็นความสว่าง กระจ่างชัด และต้องการใช้เมื่อไหร่ก็ได้ทุกเวลา
สรุปความหมายก็คือ หัวใจสำคัญของพหูสูตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอาไว้มี สุ จิ ปุ ลิ อยากบอกว่าใช้ได้ แต่สำหรับหลวงปู่แล้ว แค่คิดแค่ฟัง แค่ถาม ถ้าไม่ทำใช้ไม่ได้ ต้องลงไม้ลงมือกระทำด้วยถึงจะใช้ได้
ปุจฉา
ผู้ทรงธรรม
ด้วยเหตุใด บุคคลจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ทรงธรรม และมีปัญญาในการกำจัดกิเลส
วิสัชนา
ผู้ทรงธรรม ก็คือ ผู้ประพฤติธรรม ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้เรียนรู้ธรรม ผู้แสดงธรรม ผู้กระจายอธิบายและพูดโดยธรรม และผู้ประพฤติธรรมให้เจริญในหลักแห่งธรรมนั้นๆ เหล่านี้เรียกว่าผู้ทรงธรรม
เมื่อเรามีพระธรรมอยู่ในใจ มีพระธรรมอยู่กับตัว มีพระธรรมอยู่กับชีวิตจิตวิญญาณของเรามันก็จะรอบรู้สิ่งต่างๆ ที่เข้ามารอบกาย หรือภายในกายว่าถูก หรือผิดดี หรือชั่วเลว หรือหยาบ เมื่อนั้นเราก็จะสามารถกำจัดสิ่งที่เป็นศัตรู และยอมรับสิ่งที่เป็นมิตรได้ เป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้มีพระธรรม
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะเป็นผู้มีพระธรรม
ก็คือ เมื่อใดที่เราเผชิญกับปัญหาที่จะทำให้เราเศร้าโศกเสียใจ และเราตั้งมั่นได้ไม่เสียศูนย์ไม่เสียสมดุล ไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจกับการที่เราต้องทะยานอยาก ร้องห่ม ร้องไห้ฟูมฟาย เศร้าโศกเสียใจไปกับเขาด้วย เราสามารถยืนหยัดได้ โดยไม่เสียอะไรออกไป ไม่แสดงสิ่งเหล่านี้ออกไป ไม่ทำสิ่งเหล่านี้ให้ใครรับรู้ ถือว่านั้นคือเรามีธรรม อย่างน้อยก็ความอดทน อดกลั้น ที่เรียกว่า ขันติโสรัจจะ
ขันติคือความอดทน โสรัจจะคือความสงบเสงี่ยม เหล่านี้เรียกว่าผู้ทรงธรรม แต่ถ้าเมื่อใดที่มีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้เราเศร้าโศกเสียใจแล้วร้องไห้เราก็พากันตีโพยตีพาย ร้องไห้ฟูมฟาย เสียน้ำตาเป็นตุ่มๆ อย่างนี้ แล้วเราก็บอกคนอื่นว่าเราเป็นผู้ทรงธรรม เป็นผู้รักษาธรรม นั่นไม่ใช่
จำไว้อย่างคือ พระธรรมคือเครื่องกำจัดความเดือดร้อน พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดความฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญ พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดความทุกข์ยาก ลำบาก และสับสน พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดความกลัดกลุ้มหมกมุ่น และมึนงง พระธรรมเป็นเครื่องทำลายความมืดบอดและความดำสนิท พระธรรมเป็นเครื่องยังให้เกิดแสงสว่าง และปัญญาญาณหยั่งรู้ พระธรรมทำให้เราชาญฉลาด และอาจหาญ ทั้งสามารถที่จะดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมาย และสาระอย่างสมบูรณ์แบบ พระธรรมเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เราร้องไห้ โกรธ อาฆาตพยาบาท พระธรรมป้องกันไม่ให้เราผิดพลาดและเสียหาย ในขณะที่มีชีวิตหรือจบชีวิตแล้ว นั่นคือความหมายของคำว่าพระธรรม
คุณสมบัติของครูดี
ปัจจุบันจะเห็นฆราวาสมาสอนพระปฏิบัติธรรมกันมาก แทนที่พระจำสอนฆราวาส อยากทราบประสบการณ์การสอนพระของหลวงปู่ และการเป็นครูผู้สอนจำเป็นต้องมีภูมิรู้ทั้งทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธหรือไม่ และหากครูสอนกรรมฐานไม่ได้ยึดแนวปฏิบัติเพียงแนวเดียว จะเป็นครูที่ดีได้หรือไม่ และคุณสมบัติของครูที่ดีควรเป็นอย่างไร ขอความเมตตาหลวงปู่เล่าถึงประสบการณ์การสอนพระให้ได้ฟังบ้าง
วิสัชนา
ถ้าพระหรือนักบวชในศาสนา มีประสบการณ์อะไรแปลกๆ บ้าง บางครั้งอาจทำให้มีศรัทธาต่อการปฏิบัติงาน ปฏิบัติธรรม และจะสามารถถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ทางวิญญาณของท่านที่ไม่เกี่ยวกับตำรามากนัก
เราอาจจะไม่ได้สอนกันด้วยภาษาทางตำราเลย มีแต่จิต ที่พูดภาษาใจกับใจเท่านั้น แต่ว่าการสอนพระจะสอนยาก เพราะว่าทิฐิพระ มานะครู หรือ ทิฐิพระ มานะกษัตริย์ นั้นมีมาก จึงต้องหากระบวนการว่า ทำอย่างไรที่จะให้พระสอนกันเอง จึงเป็นที่มาของกระบวนการในการอบรมพระในหลักสูตรมหาสติปัฏฐานที่เคยจัด
และด้วยความที่พระเป็นบุคคลที่สอนยาก จึงเริ่มให้มีการเขียนคำตำหนิคำสอน ว่ากล่าวกันเองได้ ซึ่งเราจะพบว่าไม่มีสำนักปฏิบัติธรรมที่ไหนในโลกที่ครูโดนศิษย์ตำหนิ ที่อื่นเราเข้าไปต้องกราบ เพราะเขาถือว่าธรรมะเป็นของสูง ผู้บอกธรรมะ คือ คุรุผู้เจริญ สำนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายเป็นอย่างนี้
แต่หลวงปู่คิดว่า การให้ทรัพย์ หรือ การที่ครูทั้งหลายมาให้ทรัพย์ ทรัพย์นั้นมันจะนำไปใช้ให้เกิดประโ่ยชน์ต่อพระศาสนา ไม่ใช่เฉพาะส่วนตัวใคร ไม่ได้คิดว่าพระได้ประโยชน์ แต่คิดว่าพระศาสนาได้ประโยชน์ จึงทำโดยสำนึกว่า ต้องทำหน้าที่เป็นศากยบุตร เป็นพุทธะชิโนรส ลูกหลานของพระพุทธเจ้า ทำอย่างไร จึงจะให้พระพุทธะพระองค์นั้น ทรงชื่นชม โสมนัส ต่อกิจการ การงานของลูกหลานของพระองค์
การที่ครูบอกธรรมะแล้วเดินหนีนั้นยังไม่พอ ครูต้องเฝ้าดูศิษย์อย่างที่หลวงปู่ทำ คือ ต้องควบคุม ทำให้ธรรมะนั้น
มันเจริญและเติบโตขึ้นอย่างไม่ตาย จิตวิญญาณของพระพุทธะต้องโตขึ้น
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีกำลังใจ ไม่มีศรัทธา เชื่อพระพุทธเจ้า เชื่อพระธรรมที่ (หลวงปู่) ปฏิบัติได้แล้ว เชื่อสิ่งที่พระพุทธะสอน ถ้าไม่มีศรัทธา ไม่มีกำลังใจ ก็ไม่มีใครมาให้เรา นอกจากเราให้ตัวเราเอง ตั้งแต่บวชมายี่สิบกว่าพรรษา หลวงปู่ไม่เคยเหยียบเข้าบ้าน ไม่เคยเยี่ยมญาติ แต่จะบอกกับลูกศิษย์เสมอว่า เราเป็นผู้ออกจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว เราต้องซื่อสัตย์กับสกุลศากยะ ไม่ทำ
ตัวเป็นคฤหัสถ์บ้าง ศากยะบ้าง จึงไม่ต้องขวนขวาย หาเงิน หาลาภใดๆ
ดังนั้น ครูที่ดี จึงต้องไม่เบื่อที่จะบอก และจ้ำจี้จ้ำไชต่อการสอน หัวใจของครูที่ดี ต้องไม่มองว่าศิษย์ดีหรือเลว หัวใจของครูที่ดี มีแต่คำว่าโง่กับฉลาด
หน้าที่ของภิกษุ นักบวช พระในศาสนา ก็คือปลดจากความเป็นทาสของประชาชาติและสัตว์โลก
ปุจฉา
คุณสมบัติของพหูสูต
ด้วยเหตุใดบุคคลจึงได้ชื่อว่า สดับและเป็นพหูสูต
วิสัชนา
ก็เรียนมาก ทรงจำได้มาก สำหรับที่สุด คือ กระทำให้ได้มากด้วย เรียนมากในที่นี้ ความหมายก็คือ การที่เอาตัวเองเข้าไปสัมผัสกับปัญหาต่อโจทย์ ต่อบทเรียนนั้นๆ อย่างชนิดที่ต้องการจะเรียนรู้
หลวงปู่พูดว่า เรียนมาก ในที่นี้ หมายถึง การที่เอาตัวเองเข้าไปหาโจทย์ เข้าไปหาตัวปัญหาเพื่อจะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาจากตัวเอง อย่างชนิดที่ต้องการจะเรียนรู้ นั่นคือ ความหมายของคำว่าเรียนมาก เมื่อเรียนมาก ความทรงจำมันจะไม่ดีเอาเลย ถ้าลูกไม่ใช้ความเข้าใจมันซะก่อน ถ้าขาดความเข้าใจแล้ว ถึงจะทรงจำมันอย่างไร ก็คงไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรที่ควรนัก
เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จึงใช้คำว่า ควรจะทำให้เกิดความเข้าใจ ทำแล้วก่อให้เกิดความเข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้วทีนี้ไม่ต้องจำ มันจะสิงเข้าไปอยู่ในกระดูก เลือด ในชีวิตของเราเอง
เหมือนอย่างที่หลวงปู่พูดให้พวกเราฟัง ถ้าหลวงปู่ใช้ความจำต้องมีเวลาเตรียมการ แล้วนึก สำหรับการที่จะนำมาพูด แล้วตอบปัญหา แต่นี่ไม่ใช่ หลวงปู่ใช้ปัญญาที่ได้จากการลงไม้ลงมือกระทำ เมื่อเราได้การกระทำจากความสว่าง กระจ่างชัด เปิดของที่ปิด หงายของที่คว่ำแล้วทำให้ที่มืดกลายเป็นความสว่างได้ด้วยตัวเราเอง< และรู้แจ้งแทงตลอด กระจ่างชัดด้วยตัวเราเองแล้ว หนึ่งร้อยปี ล้านปี หมื่นปี ก็สามารถจะอยู่กับเราได้โดยไม่ต้องจดจำ มันจะเป็นความเข้าใจ เป็นความสว่าง กระจ่างชัด และต้องการใช้เมื่อไหร่ก็ได้ทุกเวลา
สรุปความหมายก็คือ หัวใจสำคัญของพหูสูตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอาไว้มี สุ จิ ปุ ลิ อยากบอกว่าใช้ได้ แต่สำหรับหลวงปู่แล้ว แค่คิดแค่ฟัง แค่ถาม ถ้าไม่ทำใช้ไม่ได้ ต้องลงไม้ลงมือกระทำด้วยถึงจะใช้ได้
ปุจฉา
ผู้ทรงธรรม
ด้วยเหตุใด บุคคลจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ทรงธรรม และมีปัญญาในการกำจัดกิเลส
วิสัชนา
ผู้ทรงธรรม ก็คือ ผู้ประพฤติธรรม ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้เรียนรู้ธรรม ผู้แสดงธรรม ผู้กระจายอธิบายและพูดโดยธรรม และผู้ประพฤติธรรมให้เจริญในหลักแห่งธรรมนั้นๆ เหล่านี้เรียกว่าผู้ทรงธรรม
เมื่อเรามีพระธรรมอยู่ในใจ มีพระธรรมอยู่กับตัว มีพระธรรมอยู่กับชีวิตจิตวิญญาณของเรามันก็จะรอบรู้สิ่งต่างๆ ที่เข้ามารอบกาย หรือภายในกายว่าถูก หรือผิดดี หรือชั่วเลว หรือหยาบ เมื่อนั้นเราก็จะสามารถกำจัดสิ่งที่เป็นศัตรู และยอมรับสิ่งที่เป็นมิตรได้ เป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้มีพระธรรม
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะเป็นผู้มีพระธรรม
ก็คือ เมื่อใดที่เราเผชิญกับปัญหาที่จะทำให้เราเศร้าโศกเสียใจ และเราตั้งมั่นได้ไม่เสียศูนย์ไม่เสียสมดุล ไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจกับการที่เราต้องทะยานอยาก ร้องห่ม ร้องไห้ฟูมฟาย เศร้าโศกเสียใจไปกับเขาด้วย เราสามารถยืนหยัดได้ โดยไม่เสียอะไรออกไป ไม่แสดงสิ่งเหล่านี้ออกไป ไม่ทำสิ่งเหล่านี้ให้ใครรับรู้ ถือว่านั้นคือเรามีธรรม อย่างน้อยก็ความอดทน อดกลั้น ที่เรียกว่า ขันติโสรัจจะ
ขันติคือความอดทน โสรัจจะคือความสงบเสงี่ยม เหล่านี้เรียกว่าผู้ทรงธรรม แต่ถ้าเมื่อใดที่มีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้เราเศร้าโศกเสียใจแล้วร้องไห้เราก็พากันตีโพยตีพาย ร้องไห้ฟูมฟาย เสียน้ำตาเป็นตุ่มๆ อย่างนี้ แล้วเราก็บอกคนอื่นว่าเราเป็นผู้ทรงธรรม เป็นผู้รักษาธรรม นั่นไม่ใช่
จำไว้อย่างคือ พระธรรมคือเครื่องกำจัดความเดือดร้อน พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดความฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญ พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดความทุกข์ยาก ลำบาก และสับสน พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดความกลัดกลุ้มหมกมุ่น และมึนงง พระธรรมเป็นเครื่องทำลายความมืดบอดและความดำสนิท พระธรรมเป็นเครื่องยังให้เกิดแสงสว่าง และปัญญาญาณหยั่งรู้ พระธรรมทำให้เราชาญฉลาด และอาจหาญ ทั้งสามารถที่จะดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมาย และสาระอย่างสมบูรณ์แบบ พระธรรมเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เราร้องไห้ โกรธ อาฆาตพยาบาท พระธรรมป้องกันไม่ให้เราผิดพลาดและเสียหาย ในขณะที่มีชีวิตหรือจบชีวิตแล้ว นั่นคือความหมายของคำว่าพระธรรม