พระนาลกะครั้นตั้งจิตยึดถือตามหลักมักน้อย ๓ ประการนี้แล้ว ก็ทูลลาพระพุทธเจ้าไปอยู่ที่เชิงเขา ตามลำพัง ท่านปฏิบัติตามข้อปฏิบัติของ มุนีอย่างเคร่งครัด คือไม่อยู่ในป่าแห่งเดียวถึง ๒ วัน ไม่นั่งที่โคนต้นไม้ต้นเดียวกันถึง ๒ วัน ไม่บิณฑบาตที่บ้านเดียวถึง ๒ วัน ดังนั้นท่านจึงออกจากป่าโน้นไปยังป่านี้ ออกจากต้นไม้นี้ไปยังต้นไม้โน้น ท่านปฏิบัติโดยเคร่งครัดอย่างนี้ไม่นานนักก็ได้บรรลุอรหัตผล
งานสำคัญ
ดังได้กล่าวแล้วว่า พระนาลกะบวช หลังกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ ๗ วัน ดังนั้น หากนับลำดับกันแล้ว ท่านก็เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้ารูปที่ ๖ และเป็นพระอรหันต์รูปที่ ๗ โดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์รูปแรก แต่ถึงคราวที่พระพุทธเจ้าทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนานั้นกลับไม่มีท่านรวมอยู่ในจำนวนนั้นด้วย ทั้งนี้คงเป็นด้วยเพราะท่านถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในข้อปฏิบัติของมุนีนั่นเอง พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ท่านเป็นอยู่อย่างอิสระ และไม่ทรงเรียกประชุมในคราวส่งพระสาวก ไปประกาศพระพุทธศาสนา
โดยเหตุที่ท่านไม่มีบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในครั้งนั้น และนิพพานเร็วกว่าพระสาวกรูปอื่นในยุคเดียวกัน จึงไม่มีงานสำคัญอันใดเหลือ ไว้ อันเป็นเหตุให้ชื่อท่านเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจนกลายเป็นชื่อที่แปลกตาสำหรับนักศึกษา ยุคปัจจุบัน
บั้นปลายชีวิต
ตามปกติ โมเนยยปฏิปทา หรือข้อ ปฏิบัติของมุนีเพื่อความเป็นมุนีผู้นิ่งเงียบนั้น ถือได้ว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นอัตตกิลมถานุโยค คือทำตนเองให้ลำ บาก แต่เพราะเหตุที่ผู้ปฏิบัติไม่ยึดติดใน สัสสตทิฎฐิและอุจเฉททิฏฐิ ตรงกันข้าม กลับมีความเข้าใจถูกต้องที่ปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจาก ความเกิด ความแก่ และความตาย พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ปฏิบัติ
เพราะเหตุที่โมเนยยปฏิปทาเป็นวิธีปฏิบัติแบบอัตตกิลมถานุโยคดังกล่าว จึงมีผลอย่างสำคัญต่อสุขภาพ กล่าวคือ ผู้ที่ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นต้นหลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว จะมีชีวิตอยู่ได้ ๑๖ ปี ผู้ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นกลางหลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว จะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ ปี ส่วนผู้ที่ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นสูงสุด หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ เดือน
พระนาลกะปฏิบัติโมเนยยปฏิปทาอย่างเคร่งครัดขั้นสูงสุด เพราะฉะนั้นหลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว ท่านจึงมีชีวิตอยู่ได้เพียง ๗ เดือนเท่านั้น เนื่อง จากร่างกายบอบช้ำหนักนั่นเอง
มีกล่าวไว้ว่าวันที่จะนิพพานนั้น ท่านรู้ตัวดีจึงสรงน้ำชำระกายแล้วครองผ้าอย่างเรียบร้อย ท่านยืนหันหน้าไปทางที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ซึ่งคาดว่าขณะนั้นพระพุทธเจ้าคงประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ จากนั้น
ท่านก็ก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วลุกขึ้นยืนพิงภูเขาหิงคุละ ประนมมือนิพพานด้วยอาการสงบ เมื่อทรงทราบว่าพระนาลกะนิพพานแล้ว พระพุทธเจ้าก็เสด็จมายังภูเขาหิงคุละพร้อมด้วยพระสาวกหลายรูป ครั้นรับสั่งให้ฌาปนกิจศพท่านแล้วก็ทรงรับสั่งให้นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ เพื่อให้พุทธบริษัทได้สักการะ
เอตทัคคะ-อดีตชาติ
พระนาลกะมิได้รับแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ทั้งนี้เป็นด้วยท่านตั้งจิต ปรารถนาเพียงเพื่อเป็นพระมหาสาวกเท่านั้น แต่มิได้ตั้งจิตปรารถนาเพื่อได้ตำแหน่งเอตทัคคะ ส่วนเรื่องราวในอดีต ชาติของท่านมีกล่าวว่า ท่านได้พบพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ฟังธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงตั้งจิตปรารถนาขอให้ได้บรรลุอรหัตผลและเป็นพระมหาสาวก ซึ่งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระทรงพยากรณ์ว่า ท่านจะได้บวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้าง หน้า จักได้บรรลุอรหัตผล ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับ
สนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพ ภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ท่านได้มาเกิด เป็นหลานของฤาษีอสิตะในเมืองกบิลพัสดุ์ ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผลดังกล่าวแล้ว และเป็นพระมหาสาวกรูป หนึ่งในศาสนาของพระองค์
พระยสะ
สถานะเดิม
พระยสะ นามเดิมว่า ‘ยสะ’ เกิดใน วรรณะไวศยะ ในตระกูลเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสี แคว้นกาสี
ชีวิตฆราวาส
ยสะ มีชีวิตฆราวาสที่สมบูรณ์พูนสุข ทุกประการ ท่านอยู่ในปราสาท ๓ ฤดูมาแต่อายุย่างเข้าวัยหนุ่มเช่นเดียวกับเจ้า ชายสิทธัตถะ โดยที่เมื่อถึงฤดูหนาวก็อยู่ ในปราสาทประจำฤดูหนาว เมื่อถึงฤดูร้อนก็อยู่ในปราสาทประจำฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูฝนก็อยู่ในปราสาทประจำฤดูฝน
ยสะแต่งงานแล้วกับหญิงสาวที่มีตระกูลเสมอกัน แต่ไม่ปรากฏชัดว่าได้มี บุตรธิดาด้วยกันหรือไม่ สำหรับตัวท่าน เองนั้นสันนิษฐานได้ว่าคงจะเป็นบุตรชายคนเดียวของตระกูล ทั้งนี้สังเกตได้ จากการที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีปราสาทอยู่ใน ๓ ฤดูนั้นเป็นเครื่องบ่งบอกได้อย่างดีว่า บิดาของท่านมีฐานะอยู่ในระดับเศรษฐี ในขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องบ่งบอกถึงตัวท่านเองว่ามีความสำคัญต่อตระกูล และเป็นที่โปรดปรานของบิดามารดาเพียงใด นอกจากนั้นท่านยังมีเพื่อนวัยเดียวกันอยู่มากมาย
การออกบวชและบรรลุธรรม
ยสะได้บวชในพระพุทธศาสนาในปีเดียวกับพระปัญจวัคคีย์ โดยออกบวชหลังพระปัญจวัคคีย์ไม่นาน ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้นเอง พระไตรปิฎกเล่าถึงวันที่ท่านออกบวชไว้ว่า
เมื่อฤดูฝนมาถึงยสะได้มาอยู่ที่ปราสาทประจำฤดูนั้นพร้อมด้วยนางระบำจำนวนมาก ท่านมีความสุขอยู่ท่ามกลาง เสียงดนตรีขับกล่อม ชีวิตเป็นดังนี้เรื่อย มา จนอยู่มาในค่ำวันหนึ่ง ขณะที่บรรดา นางระบำกำลังร่ายรำและบรรเลงดนตรีอยู่นั้น ท่านม่อยหลับไปก่อนแล้วมาตื่นขึ้นตอนใกล้รุ่ง ขณะนั้นบรรดานางระบำกำลังนอนหลับใหลไม่ได้สติ แสงสว่างจากประทีปที่ตามไว้ตลอดคืนทำ ให้ท่านมองเห็นภาพนางระบำนอนหลับได้ชัดเจน บางนางมีพิณตกอยู่ที่รักแร้ บางนางมีตะโพนวางอยู่ข้างคอ บางนาง มีเปิงมางตกอยู่ที่อก บางนางสยายผม บางนางนอนน้ำลายไหล บางนางนอนละเมอ ท่านเห็นภาพเหล่านี้แล้วมีความ รู้สึกเหมือนเห็นซากศพอยู่ในป่าช้า จึงเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายขึ้นมาทันที
“ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” ท่านเปล่งอุทานกับตัวเองพลางสวมรอง เท้าเดินลงจากปราสาท ตรงไปยังประตูใหญ่แล้วเลยออกไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เวลานั้นพระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่กลางแจ้ง พระองค์ทอดพระเนตรเห็นยสะกำลังเดินมาแต่ไกล ทรงทราบดีว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น จึงเสด็จลงจากที่ จงกรมมาประทับนั่งบนอาสนะ ยสะเดิน เข้ามาใกล้พระพุทธองค์ทุกขณะพลางเปล่งอุทาน“ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ”
“ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง เชิญเถิด ยสะ เชิญมาทางนี้ เราจักแสดงธรรมให้เธอฟัง” พระพุทธเจ้าตรัสตอบ พระดำรัสของพระพุทธเจ้าทำให้ยสะเกิดสะดุดใจ ท่านหยุดชะงัก รีบถอดรองเท้า แล้วเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทันที
เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว พระพุทธเจ้าทรงยกอนุปุพพิกถาขึ้นแสดงให้ท่านฟัง อนุปุพพิกถา คือการแสดงธรรมไปตาม ลำดับธรรมที่แสดงให้ยสะฟังไปตามลำดับนั้น คือ ทาน ศีล สวรรค์ โทษของกาม และอานิสงส์ของการออกจากกาม โดยพระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่าการให้ทานและการรักษาศีลเป็นความดีที่ฆราวาสทำได้ ซึ่งเมื่อทำแล้วก็ให้ผลเป็นการเกิด ในสวรรค์หลังจากตาย และสวรรค์นั้นเป็นแดนที่พรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณ ที่ดีเลิศ แต่ถึงอย่างไรเบญจกามคุณที่ดี เลิศนั้นก็ยังเป็นของต่ำช้าให้โทษ สู้การออกบวชไม่ได้
(อ่านต่อฉบับหน้า)
งานสำคัญ
ดังได้กล่าวแล้วว่า พระนาลกะบวช หลังกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ ๗ วัน ดังนั้น หากนับลำดับกันแล้ว ท่านก็เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้ารูปที่ ๖ และเป็นพระอรหันต์รูปที่ ๗ โดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์รูปแรก แต่ถึงคราวที่พระพุทธเจ้าทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนานั้นกลับไม่มีท่านรวมอยู่ในจำนวนนั้นด้วย ทั้งนี้คงเป็นด้วยเพราะท่านถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในข้อปฏิบัติของมุนีนั่นเอง พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ท่านเป็นอยู่อย่างอิสระ และไม่ทรงเรียกประชุมในคราวส่งพระสาวก ไปประกาศพระพุทธศาสนา
โดยเหตุที่ท่านไม่มีบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในครั้งนั้น และนิพพานเร็วกว่าพระสาวกรูปอื่นในยุคเดียวกัน จึงไม่มีงานสำคัญอันใดเหลือ ไว้ อันเป็นเหตุให้ชื่อท่านเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจนกลายเป็นชื่อที่แปลกตาสำหรับนักศึกษา ยุคปัจจุบัน
บั้นปลายชีวิต
ตามปกติ โมเนยยปฏิปทา หรือข้อ ปฏิบัติของมุนีเพื่อความเป็นมุนีผู้นิ่งเงียบนั้น ถือได้ว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นอัตตกิลมถานุโยค คือทำตนเองให้ลำ บาก แต่เพราะเหตุที่ผู้ปฏิบัติไม่ยึดติดใน สัสสตทิฎฐิและอุจเฉททิฏฐิ ตรงกันข้าม กลับมีความเข้าใจถูกต้องที่ปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจาก ความเกิด ความแก่ และความตาย พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ปฏิบัติ
เพราะเหตุที่โมเนยยปฏิปทาเป็นวิธีปฏิบัติแบบอัตตกิลมถานุโยคดังกล่าว จึงมีผลอย่างสำคัญต่อสุขภาพ กล่าวคือ ผู้ที่ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นต้นหลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว จะมีชีวิตอยู่ได้ ๑๖ ปี ผู้ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นกลางหลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว จะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ ปี ส่วนผู้ที่ปฏิบัติเคร่งครัดขั้นสูงสุด หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ เดือน
พระนาลกะปฏิบัติโมเนยยปฏิปทาอย่างเคร่งครัดขั้นสูงสุด เพราะฉะนั้นหลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว ท่านจึงมีชีวิตอยู่ได้เพียง ๗ เดือนเท่านั้น เนื่อง จากร่างกายบอบช้ำหนักนั่นเอง
มีกล่าวไว้ว่าวันที่จะนิพพานนั้น ท่านรู้ตัวดีจึงสรงน้ำชำระกายแล้วครองผ้าอย่างเรียบร้อย ท่านยืนหันหน้าไปทางที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ซึ่งคาดว่าขณะนั้นพระพุทธเจ้าคงประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ จากนั้น
ท่านก็ก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วลุกขึ้นยืนพิงภูเขาหิงคุละ ประนมมือนิพพานด้วยอาการสงบ เมื่อทรงทราบว่าพระนาลกะนิพพานแล้ว พระพุทธเจ้าก็เสด็จมายังภูเขาหิงคุละพร้อมด้วยพระสาวกหลายรูป ครั้นรับสั่งให้ฌาปนกิจศพท่านแล้วก็ทรงรับสั่งให้นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ เพื่อให้พุทธบริษัทได้สักการะ
เอตทัคคะ-อดีตชาติ
พระนาลกะมิได้รับแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ทั้งนี้เป็นด้วยท่านตั้งจิต ปรารถนาเพียงเพื่อเป็นพระมหาสาวกเท่านั้น แต่มิได้ตั้งจิตปรารถนาเพื่อได้ตำแหน่งเอตทัคคะ ส่วนเรื่องราวในอดีต ชาติของท่านมีกล่าวว่า ท่านได้พบพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ฟังธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงตั้งจิตปรารถนาขอให้ได้บรรลุอรหัตผลและเป็นพระมหาสาวก ซึ่งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระทรงพยากรณ์ว่า ท่านจะได้บวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้าง หน้า จักได้บรรลุอรหัตผล ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับ
สนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพ ภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ท่านได้มาเกิด เป็นหลานของฤาษีอสิตะในเมืองกบิลพัสดุ์ ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผลดังกล่าวแล้ว และเป็นพระมหาสาวกรูป หนึ่งในศาสนาของพระองค์
พระยสะ
สถานะเดิม
พระยสะ นามเดิมว่า ‘ยสะ’ เกิดใน วรรณะไวศยะ ในตระกูลเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสี แคว้นกาสี
ชีวิตฆราวาส
ยสะ มีชีวิตฆราวาสที่สมบูรณ์พูนสุข ทุกประการ ท่านอยู่ในปราสาท ๓ ฤดูมาแต่อายุย่างเข้าวัยหนุ่มเช่นเดียวกับเจ้า ชายสิทธัตถะ โดยที่เมื่อถึงฤดูหนาวก็อยู่ ในปราสาทประจำฤดูหนาว เมื่อถึงฤดูร้อนก็อยู่ในปราสาทประจำฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูฝนก็อยู่ในปราสาทประจำฤดูฝน
ยสะแต่งงานแล้วกับหญิงสาวที่มีตระกูลเสมอกัน แต่ไม่ปรากฏชัดว่าได้มี บุตรธิดาด้วยกันหรือไม่ สำหรับตัวท่าน เองนั้นสันนิษฐานได้ว่าคงจะเป็นบุตรชายคนเดียวของตระกูล ทั้งนี้สังเกตได้ จากการที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีปราสาทอยู่ใน ๓ ฤดูนั้นเป็นเครื่องบ่งบอกได้อย่างดีว่า บิดาของท่านมีฐานะอยู่ในระดับเศรษฐี ในขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องบ่งบอกถึงตัวท่านเองว่ามีความสำคัญต่อตระกูล และเป็นที่โปรดปรานของบิดามารดาเพียงใด นอกจากนั้นท่านยังมีเพื่อนวัยเดียวกันอยู่มากมาย
การออกบวชและบรรลุธรรม
ยสะได้บวชในพระพุทธศาสนาในปีเดียวกับพระปัญจวัคคีย์ โดยออกบวชหลังพระปัญจวัคคีย์ไม่นาน ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้นเอง พระไตรปิฎกเล่าถึงวันที่ท่านออกบวชไว้ว่า
เมื่อฤดูฝนมาถึงยสะได้มาอยู่ที่ปราสาทประจำฤดูนั้นพร้อมด้วยนางระบำจำนวนมาก ท่านมีความสุขอยู่ท่ามกลาง เสียงดนตรีขับกล่อม ชีวิตเป็นดังนี้เรื่อย มา จนอยู่มาในค่ำวันหนึ่ง ขณะที่บรรดา นางระบำกำลังร่ายรำและบรรเลงดนตรีอยู่นั้น ท่านม่อยหลับไปก่อนแล้วมาตื่นขึ้นตอนใกล้รุ่ง ขณะนั้นบรรดานางระบำกำลังนอนหลับใหลไม่ได้สติ แสงสว่างจากประทีปที่ตามไว้ตลอดคืนทำ ให้ท่านมองเห็นภาพนางระบำนอนหลับได้ชัดเจน บางนางมีพิณตกอยู่ที่รักแร้ บางนางมีตะโพนวางอยู่ข้างคอ บางนาง มีเปิงมางตกอยู่ที่อก บางนางสยายผม บางนางนอนน้ำลายไหล บางนางนอนละเมอ ท่านเห็นภาพเหล่านี้แล้วมีความ รู้สึกเหมือนเห็นซากศพอยู่ในป่าช้า จึงเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายขึ้นมาทันที
“ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” ท่านเปล่งอุทานกับตัวเองพลางสวมรอง เท้าเดินลงจากปราสาท ตรงไปยังประตูใหญ่แล้วเลยออกไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เวลานั้นพระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่กลางแจ้ง พระองค์ทอดพระเนตรเห็นยสะกำลังเดินมาแต่ไกล ทรงทราบดีว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น จึงเสด็จลงจากที่ จงกรมมาประทับนั่งบนอาสนะ ยสะเดิน เข้ามาใกล้พระพุทธองค์ทุกขณะพลางเปล่งอุทาน“ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ”
“ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง เชิญเถิด ยสะ เชิญมาทางนี้ เราจักแสดงธรรมให้เธอฟัง” พระพุทธเจ้าตรัสตอบ พระดำรัสของพระพุทธเจ้าทำให้ยสะเกิดสะดุดใจ ท่านหยุดชะงัก รีบถอดรองเท้า แล้วเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทันที
เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว พระพุทธเจ้าทรงยกอนุปุพพิกถาขึ้นแสดงให้ท่านฟัง อนุปุพพิกถา คือการแสดงธรรมไปตาม ลำดับธรรมที่แสดงให้ยสะฟังไปตามลำดับนั้น คือ ทาน ศีล สวรรค์ โทษของกาม และอานิสงส์ของการออกจากกาม โดยพระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่าการให้ทานและการรักษาศีลเป็นความดีที่ฆราวาสทำได้ ซึ่งเมื่อทำแล้วก็ให้ผลเป็นการเกิด ในสวรรค์หลังจากตาย และสวรรค์นั้นเป็นแดนที่พรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณ ที่ดีเลิศ แต่ถึงอย่างไรเบญจกามคุณที่ดี เลิศนั้นก็ยังเป็นของต่ำช้าให้โทษ สู้การออกบวชไม่ได้
(อ่านต่อฉบับหน้า)