ตอนที่ 69
3. เรื่องของศีล
ถามเห็นชาวพุทธชอบขอศีล จะทำพิธีอะไรก็ต้องขอศีล ขอแล้วขออีก อยากทราบว่าศีลคืออะไร และสำคัญอย่างไร
ตอบเรื่องนี้มีหลายประเด็นที่น่าสนใจคือ
1. ประเภทของศีล ศีลคือตัวเจตนาที่จะงดเว้นการกระทำบาปอกุศลทั้งปวงทางกายและวาจา มีหลายประเภทได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรศีล คือการระวังรักษากายวาจา มีเจตนางดเว้นการกระทำผิดตามศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ตามควรแก่สถานะ อินทรียสังวรศีล คือการสำรวมระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้น ด้วยการมีสติปัญญาคอยระวังรักษาจิตเมื่อตาเห็นรูป เมื่อหูได้ยินเสียง และเมื่อใจคิดนึก เป็นต้น อาชีวปาริสุทธิศีล คือการรักษากายวาจาโดยเว้นการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ และมีความเป็นอยู่ที่บริสุทธิ์ และปัจจัยนิสสิตศีล คือเว้นจากการอาศัยปัจจัยที่ผิดโดยเว้นการบริโภคปัจจัย 4 ด้วยตัณหาต้องพิจารณาก่อนจึงบริโภค
2. ความสำคัญของศีล พวกเรานักปฏิบัติอย่ามองข้ามว่าศีลเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะการรักษาศีลคือการทำบุญที่ประณีตยิ่งกว่าการทำทานเสียอีก ทั้งยังสามารถสมาทานและรักษาได้เอง และไม่เสียทรัพย์ด้วย อานิสงส์ของศีลมีอยู่มาก คือเป็นปัจจัยให้ได้ไปบังเกิดในสุคติภูมิ เป็นทางให้เกิดโภคทรัพย์ และเป็นพื้นฐานส่งให้ถึงนิพพานได้ด้วย เนื่องจากผู้มีศีลจะทำความสงบจิตและเจริญสติปัญญาได้สะดวกกว่าผู้ไม่มีศีล เช่นเพียงแค่หมั่นคิดถึงศีลของตนเนืองๆ ก็สามารถทำจิตให้สงบได้แล้วเรียกว่ามีสีลานุสติ นอกจากนี้อาตมาเห็นตัวอย่างมาหลายรายแล้ว เคยปฏิบัติอยู่ดีๆ พอศีลด่างพร้อย การปฏิบัติสมาธิและการเจริญปัญญาก็รวนเรไปหมด เพราะศีลคือพื้นฐานของจิตใจที่ ดีงาม จิตที่ใช้เจริญสติเจริญปัญญาเป็นมหากุศลจิต จะขาดศีลไม่ได้เลย
3. ศีลที่จำเป็นจริงๆ และขาดไม่ได้ก็คือศีล 5 ส่วนผู้ใดจะถือศีลให้สูงกว่านั้นก็พิจารณาดูตามความเหมาะสมแห่งสถานภาพและความพร้อมของตน เช่นเป็นฆราวาสย่อมถือศีล 10 ได้ยากเพราะต้องทำมาหากินยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเงินทอง แต่ถ้าเป็นพระแล้วไม่ระวังรักษาศีล 227 เป็นอย่างน้อยก็ไม่งาม เป็นต้น การทำผิดศีลบางข้อเป็นบาปอกุศลเช่นการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และการพูดเท็จ บางข้อไม่เป็นบาปแต่ทำไปเพื่อประโยชน์อื่นๆ เช่นการงดเว้นอาหารในยามวิกาลเป็นต้น
4. ศีลที่สำคัญยิ่งสำหรับนักปฏิบัติ ได้แก่ อินทรียสังวรศีล ซึ่งเกิดจากการมีสติเมื่อมีการกระทบอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ สติจะเป็นเสมือนเครื่องคุ้มครองจิตไม่ให้ถูกกิเลสครอบงำ จิตจะเกิดความเป็นปกติ (ศีล) เป็นตัวของตัวเอง ตั้งมั่น ไม่หลง/ไหลไปตามอารมณ์ (สัมมาสมาธิ) และเข้าใจความจริงทั้งของจิตและอารมณ์ (ปัญญา) จนจิตเป็นอิสระคือพ้นจากความยึดมั่นทั้งในจิตและอารมณ์ได้ (วิมุตติ)
(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/จริตกับการปฏิบัติธรรม)
3. เรื่องของศีล
ถามเห็นชาวพุทธชอบขอศีล จะทำพิธีอะไรก็ต้องขอศีล ขอแล้วขออีก อยากทราบว่าศีลคืออะไร และสำคัญอย่างไร
ตอบเรื่องนี้มีหลายประเด็นที่น่าสนใจคือ
1. ประเภทของศีล ศีลคือตัวเจตนาที่จะงดเว้นการกระทำบาปอกุศลทั้งปวงทางกายและวาจา มีหลายประเภทได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรศีล คือการระวังรักษากายวาจา มีเจตนางดเว้นการกระทำผิดตามศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ตามควรแก่สถานะ อินทรียสังวรศีล คือการสำรวมระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้น ด้วยการมีสติปัญญาคอยระวังรักษาจิตเมื่อตาเห็นรูป เมื่อหูได้ยินเสียง และเมื่อใจคิดนึก เป็นต้น อาชีวปาริสุทธิศีล คือการรักษากายวาจาโดยเว้นการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ และมีความเป็นอยู่ที่บริสุทธิ์ และปัจจัยนิสสิตศีล คือเว้นจากการอาศัยปัจจัยที่ผิดโดยเว้นการบริโภคปัจจัย 4 ด้วยตัณหาต้องพิจารณาก่อนจึงบริโภค
2. ความสำคัญของศีล พวกเรานักปฏิบัติอย่ามองข้ามว่าศีลเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะการรักษาศีลคือการทำบุญที่ประณีตยิ่งกว่าการทำทานเสียอีก ทั้งยังสามารถสมาทานและรักษาได้เอง และไม่เสียทรัพย์ด้วย อานิสงส์ของศีลมีอยู่มาก คือเป็นปัจจัยให้ได้ไปบังเกิดในสุคติภูมิ เป็นทางให้เกิดโภคทรัพย์ และเป็นพื้นฐานส่งให้ถึงนิพพานได้ด้วย เนื่องจากผู้มีศีลจะทำความสงบจิตและเจริญสติปัญญาได้สะดวกกว่าผู้ไม่มีศีล เช่นเพียงแค่หมั่นคิดถึงศีลของตนเนืองๆ ก็สามารถทำจิตให้สงบได้แล้วเรียกว่ามีสีลานุสติ นอกจากนี้อาตมาเห็นตัวอย่างมาหลายรายแล้ว เคยปฏิบัติอยู่ดีๆ พอศีลด่างพร้อย การปฏิบัติสมาธิและการเจริญปัญญาก็รวนเรไปหมด เพราะศีลคือพื้นฐานของจิตใจที่ ดีงาม จิตที่ใช้เจริญสติเจริญปัญญาเป็นมหากุศลจิต จะขาดศีลไม่ได้เลย
3. ศีลที่จำเป็นจริงๆ และขาดไม่ได้ก็คือศีล 5 ส่วนผู้ใดจะถือศีลให้สูงกว่านั้นก็พิจารณาดูตามความเหมาะสมแห่งสถานภาพและความพร้อมของตน เช่นเป็นฆราวาสย่อมถือศีล 10 ได้ยากเพราะต้องทำมาหากินยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเงินทอง แต่ถ้าเป็นพระแล้วไม่ระวังรักษาศีล 227 เป็นอย่างน้อยก็ไม่งาม เป็นต้น การทำผิดศีลบางข้อเป็นบาปอกุศลเช่นการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และการพูดเท็จ บางข้อไม่เป็นบาปแต่ทำไปเพื่อประโยชน์อื่นๆ เช่นการงดเว้นอาหารในยามวิกาลเป็นต้น
4. ศีลที่สำคัญยิ่งสำหรับนักปฏิบัติ ได้แก่ อินทรียสังวรศีล ซึ่งเกิดจากการมีสติเมื่อมีการกระทบอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ สติจะเป็นเสมือนเครื่องคุ้มครองจิตไม่ให้ถูกกิเลสครอบงำ จิตจะเกิดความเป็นปกติ (ศีล) เป็นตัวของตัวเอง ตั้งมั่น ไม่หลง/ไหลไปตามอารมณ์ (สัมมาสมาธิ) และเข้าใจความจริงทั้งของจิตและอารมณ์ (ปัญญา) จนจิตเป็นอิสระคือพ้นจากความยึดมั่นทั้งในจิตและอารมณ์ได้ (วิมุตติ)
(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/จริตกับการปฏิบัติธรรม)