ตอนที่ 68
2. บุญกับกุศล
ถาม อยากทราบว่าบุญกับกุศลต่างกันอย่างไร และเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะทำบุญโดยไม่ต้องจ่ายทรัพย์ เนื่องจากฐานะทางการเงินในขณะนี้ไม่ค่อยดีนัก
ตอบ ความจริงแล้วเนื้อหาของบุญกับกุศลไม่ต่างกัน คือเป็นเรื่องของคุณงามความดีและเรื่องของประโยชน์สุข เพียงแต่มีมุมมองต่างกันเท่านั้น คือบุญเน้นที่ตัวกิจกรรมที่ว่าทำอะไรแล้วดี เรียกเต็มๆ ว่าบุญกิริยาวัตถุ มี 10 ประการ คือการทำทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา การประพฤติอ่อนน้อม การช่วยเหลือในกิจการที่เป็นบุญ การแผ่ส่วนบุญ การอนุโมทนาบุญ การฟังธรรม การแสดงธรรม และการทำความเห็นให้ถูกตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ส่วนกุศลเน้นที่จิตใจอันเป็นต้นเหตุให้เกิดการกระทำความดีงามหรือละเว้นความชั่ว เรียกว่ากุศลกรรมบถ มี 10 ประการเช่นกัน คือการเว้นจากกายทุจริต 3 ประการคือการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และการประพฤติผิดในกาม การเว้นจากวจีทุจริต 4 ประการคือ การพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ และการเว้นจากมโนทุจริต 3 ประการคือ การเพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น การคิดร้ายต่อผู้อื่น และการมีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)
ถ้าพิจารณาถึงบุญกิริยาวัตถุจะเห็นได้ว่าการทำบุญส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียทรัพย์ มีเพียงการทำวัตถุทานเท่านั้นที่ต้องเสียทรัพย์ ส่วนกุศลนั้นไม่เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องเสียทรัพย์เลย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของศีลนั่นเอง ดังนั้นถ้าเรามีศีล 5 ก็เท่ากับว่าได้ทำกุศลเกินกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว
อีกอย่างหนึ่งที่ญาติโยมควรจะทราบไว้ก็คือ การทำบุญจะให้ได้ ผลบุญสมบูรณ์นั้น ผู้ทำต้องมีจิตที่ดีงามทั้งก่อนทำ ระหว่างทำและหลังจากทำแล้ว หากก่อนทำมีศรัทธา ระหว่างทำแช่มชื่นใจ แต่หลังทำเกิดความเสียดายหรือกลุ้มใจเพราะทำทานเกินตัวไป อย่างนี้ผลบุญไม่สมบูรณ์ บุญชนิดที่กะพร่องกะแพร่งนี้หากส่งผลให้ไปเกิด จะไม่ได้ เกิดด้วยมหาวิบากจิต แต่จะเกิดด้วย "อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบากจิต" ซึ่งพาไปเกิดในสุคติภูมิก็จริง แต่จะได้เป็นเทวดาหรือมนุษย์ที่ไม่ สมประกอบ ดังนั้นอย่าได้เชื่อคำสอนที่ว่าให้ทุ่มทำบุญทำทานจนสุดตัว หรือให้ขายบ้านหรือไปกู้เงินมาทำบุญ เพราะโอกาสพลาดจะมีสูงกว่า คนที่ทำพอประมาณ หรือแม้กระทั่งคนที่ไม่จ่ายเงินทำบุญเลย แต่อนุโมทนาบุญของคนอื่น คนเหล่านี้ยังจะได้รับผลบุญสมบูรณ์กว่าเสียอีก
(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/เรื่องของศีล)
2. บุญกับกุศล
ถาม อยากทราบว่าบุญกับกุศลต่างกันอย่างไร และเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะทำบุญโดยไม่ต้องจ่ายทรัพย์ เนื่องจากฐานะทางการเงินในขณะนี้ไม่ค่อยดีนัก
ตอบ ความจริงแล้วเนื้อหาของบุญกับกุศลไม่ต่างกัน คือเป็นเรื่องของคุณงามความดีและเรื่องของประโยชน์สุข เพียงแต่มีมุมมองต่างกันเท่านั้น คือบุญเน้นที่ตัวกิจกรรมที่ว่าทำอะไรแล้วดี เรียกเต็มๆ ว่าบุญกิริยาวัตถุ มี 10 ประการ คือการทำทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา การประพฤติอ่อนน้อม การช่วยเหลือในกิจการที่เป็นบุญ การแผ่ส่วนบุญ การอนุโมทนาบุญ การฟังธรรม การแสดงธรรม และการทำความเห็นให้ถูกตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ส่วนกุศลเน้นที่จิตใจอันเป็นต้นเหตุให้เกิดการกระทำความดีงามหรือละเว้นความชั่ว เรียกว่ากุศลกรรมบถ มี 10 ประการเช่นกัน คือการเว้นจากกายทุจริต 3 ประการคือการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และการประพฤติผิดในกาม การเว้นจากวจีทุจริต 4 ประการคือ การพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ และการเว้นจากมโนทุจริต 3 ประการคือ การเพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น การคิดร้ายต่อผู้อื่น และการมีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)
ถ้าพิจารณาถึงบุญกิริยาวัตถุจะเห็นได้ว่าการทำบุญส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียทรัพย์ มีเพียงการทำวัตถุทานเท่านั้นที่ต้องเสียทรัพย์ ส่วนกุศลนั้นไม่เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องเสียทรัพย์เลย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของศีลนั่นเอง ดังนั้นถ้าเรามีศีล 5 ก็เท่ากับว่าได้ทำกุศลเกินกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว
อีกอย่างหนึ่งที่ญาติโยมควรจะทราบไว้ก็คือ การทำบุญจะให้ได้ ผลบุญสมบูรณ์นั้น ผู้ทำต้องมีจิตที่ดีงามทั้งก่อนทำ ระหว่างทำและหลังจากทำแล้ว หากก่อนทำมีศรัทธา ระหว่างทำแช่มชื่นใจ แต่หลังทำเกิดความเสียดายหรือกลุ้มใจเพราะทำทานเกินตัวไป อย่างนี้ผลบุญไม่สมบูรณ์ บุญชนิดที่กะพร่องกะแพร่งนี้หากส่งผลให้ไปเกิด จะไม่ได้ เกิดด้วยมหาวิบากจิต แต่จะเกิดด้วย "อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบากจิต" ซึ่งพาไปเกิดในสุคติภูมิก็จริง แต่จะได้เป็นเทวดาหรือมนุษย์ที่ไม่ สมประกอบ ดังนั้นอย่าได้เชื่อคำสอนที่ว่าให้ทุ่มทำบุญทำทานจนสุดตัว หรือให้ขายบ้านหรือไปกู้เงินมาทำบุญ เพราะโอกาสพลาดจะมีสูงกว่า คนที่ทำพอประมาณ หรือแม้กระทั่งคนที่ไม่จ่ายเงินทำบุญเลย แต่อนุโมทนาบุญของคนอื่น คนเหล่านี้ยังจะได้รับผลบุญสมบูรณ์กว่าเสียอีก
(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/เรื่องของศีล)