หากถามว่ารู้จัก “อบายภูมิ ๔” หรือไม่ เชื่อว่าหลายคนคงไม่รู้จักว่าคืออะไร แต่หากพูดถึง “นรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย” ก็คงจะบอก ว่ารู้จักดี เพราะเคยได้ยินกันบ่อยๆ ซึ่งจริงๆแล้ว อบายภูมิ ๔ ก็คือ นรก สัตว์ ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย นั่นเอง เกี่ยวกับเรื่องนี้ปัญญา ใช้บางยาง ได้อธิบายไว้ในหนังสือธรรมาธิบาย เล่ม ๒ ว่า
อบายภูมิ ๔ หมายถึง ภาวะหรือที่อันปราศจากความเจริญ มี ๔ แห่ง คือ
๑. นิรยะ - นรก, สภาวะหรือที่อันไม่มีความสุขความเจริญ, ภาวะเร่าร้อนกระวนกระวาย
๒. ติรัจฉานโยนิ - กำเนิดดิรัจฉาน, พวกมืดมัวโง่เขลา
๓. ปิตติวิสัย - แดนเปรต, ภูมิแห่งผู้หิวกระหายไร้สุข
๔. อสุรกาย - พวกอสูร, พวกหวาดหวั่นไร้ความรื่นเริง
นรกภูมิ
ลักษณะและชีวิตของสัตว์นรกพอประมวลให้เห็นได้ ดังนี้
“ผู้ทำกรรมหยาบ(อกุศลกรรม)ย่อมเข้าถึงสถานที่อันนายนิรยบาลนำขอเหล็ก มา ย่อมเข้าถึงหลาวเหล็กอันคมกริบ และย่อมเข้าถึงก้อนเหล็กแดงโชติช่วง เป็นอาหารอันสมควรแก่กรรมที่ตนทำไว้อย่างนั้น นายนิรยบาลทั้งหลายเมื่อพูดก็พูด ไม่ไพเราะ สัตว์นรกจะวิ่งหนีก็ไม่ได้ ไม่มีที่ต้านทานเลย...มีภูเขาถ่านเพลิง...มีโรรุวนรกที่มืดทึบ...มีหม้อเหล็กไฟลุกโพลงลอยฟ่องอยู่ตลอดเวลา...มีกะทะหมู่หนอนคอยกินเนื้อ...มีป่าไม้ใบเป็นดาบ...มีแม่น้ำด่างมีมีดคมกริบอยู่ใต้น้ำ...มีสุนัขดำ สุนัขด่าง และสุนัขจิ้งจอก ฝูงกาดำ แร้ง นกตะกรุม คอยรุมจิกกิน”
นรกประกอบไปด้วยมหานรก ๘ ขุม และอุสสทนรก ๑๖ ขุม
เปตภูมิ
ลักษณะและชีวิตของเปรตพอประมวลให้เห็นได้ ดังนี้
“ในเปตวิสัยนั้นไม่มีกสิกรรม การทำไร่ทำนา ไม่มีโครักขกรรม การเลี้ยงโค การค้าขายด้วยเงินก็ไม่มี ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปใน เปตวิสัยนั้น ด้วยทานที่ญาติให้แล้วจากมนุษยโลกนี้”
เปรตไม่มีภูมิของตนเอง แต่อยู่ร่วมโลกมนุษย์นี้ เพราะมีภิกษุเป็นอันมากพบ เห็น เช่น พระโมคคัลลานะ เป็นต้น “ฝูงเปรตพากันมายังเรือน(ที่ตนเคยอยู่)ของตน ยืนอยู่นอกชานเรือนบ้าง ทาง ๔ แพร่งบ้าง...ชุมนุมกันในที่ให้ทานนั้นแล้ว ย่อมอนุโมทนาโดยเคารพ”
เปรตมีความหิวกระหายอยู่เป็นนิตย์ มีรูปร่างหน้าตาต่างๆกัน เช่น ร่างกายมี สีเหมือนทองคำ แต่หน้าเหมือนสุกร, ผิวพรรณงดงาม ยืนกลางอากาศ มีกลิ่นปาก เหม็นมาก, ซูบผอมมีแต่ซี่โครง เปลือยกาย ร่างเต็มไปด้วยเส้นเอ็น เป็นต้น
บางพวกมีหนวดและผมยาวหน้าดำ มีอวัยวะใหญ่น้อยหย่อนยาน ผอมหยาบ ดำ เสมือนต้นตาลถูกไฟป่าไหม้ยืนต้นอยู่, บางพวกมีเรือนร่างถูกเปลวไฟที่ตั้งขึ้น จากท้องแลบออกจากปาก เพราะความกระหายแผดเผาอยู่, บางพวกไม่ได้รสอื่น นอกจากรสแห่งความหิวกระหาย แม้ได้ข้าวน้ำก็กินไม่ได้เต็มที่ เพราะมีหลอดคอ เล็กขนาดเท่ารูเข็ม และมีท้องใหญ่ดังภูเขา, บางพวกมีเรือนร่างไม่น่าดู แปลกประหลาด น่าสะพรึงกลัว กินน้ำเลือดน้ำหนองเป็นต้น ของกันและกันแก้กระหาย
ดิรัจฉานภูมิ
สัตว์ดิรัจฉานมักจะอาศัยอยู่ในมนุษยภูมิเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีภูมิที่อยู่ของตน เหมือนกัน เช่น พญานาคในนาคพิภพ สุนัขในนรก หรือครุฑในครุฑพิภพ เป็นต้น
สัตว์ดิรัจฉานแบ่งได้หลายประเภท เช่น แบ่งตามจำนวนเท้า คือ สองเท้า สี่เท้า เท้ามาก และไม่มีเท้า หรือแบ่งตามอาหาร เช่น สัตว์กินพืช กินคูถ และกินเนื้อ หรือแบ่งตามที่เกิด เช่น เกิดในที่มืด เกิดในน้ำ และเกิดในที่โสโครก เป็นต้น
อสูรกายภูมิ
ภูมิอสูรมีขนาดประมาณหมืนโยชน์ ตั้งอยู่ภายใต้ภูเขาสิเนรุ ศูนย์กลางชื่ออสุรนคร มีต้นแคฝอยใหญ่(จิตปาฏลิ)อยู่ภายในนคร
อบายภูมิ ๔ หมายถึง ภาวะหรือที่อันปราศจากความเจริญ มี ๔ แห่ง คือ
๑. นิรยะ - นรก, สภาวะหรือที่อันไม่มีความสุขความเจริญ, ภาวะเร่าร้อนกระวนกระวาย
๒. ติรัจฉานโยนิ - กำเนิดดิรัจฉาน, พวกมืดมัวโง่เขลา
๓. ปิตติวิสัย - แดนเปรต, ภูมิแห่งผู้หิวกระหายไร้สุข
๔. อสุรกาย - พวกอสูร, พวกหวาดหวั่นไร้ความรื่นเริง
นรกภูมิ
ลักษณะและชีวิตของสัตว์นรกพอประมวลให้เห็นได้ ดังนี้
“ผู้ทำกรรมหยาบ(อกุศลกรรม)ย่อมเข้าถึงสถานที่อันนายนิรยบาลนำขอเหล็ก มา ย่อมเข้าถึงหลาวเหล็กอันคมกริบ และย่อมเข้าถึงก้อนเหล็กแดงโชติช่วง เป็นอาหารอันสมควรแก่กรรมที่ตนทำไว้อย่างนั้น นายนิรยบาลทั้งหลายเมื่อพูดก็พูด ไม่ไพเราะ สัตว์นรกจะวิ่งหนีก็ไม่ได้ ไม่มีที่ต้านทานเลย...มีภูเขาถ่านเพลิง...มีโรรุวนรกที่มืดทึบ...มีหม้อเหล็กไฟลุกโพลงลอยฟ่องอยู่ตลอดเวลา...มีกะทะหมู่หนอนคอยกินเนื้อ...มีป่าไม้ใบเป็นดาบ...มีแม่น้ำด่างมีมีดคมกริบอยู่ใต้น้ำ...มีสุนัขดำ สุนัขด่าง และสุนัขจิ้งจอก ฝูงกาดำ แร้ง นกตะกรุม คอยรุมจิกกิน”
นรกประกอบไปด้วยมหานรก ๘ ขุม และอุสสทนรก ๑๖ ขุม
เปตภูมิ
ลักษณะและชีวิตของเปรตพอประมวลให้เห็นได้ ดังนี้
“ในเปตวิสัยนั้นไม่มีกสิกรรม การทำไร่ทำนา ไม่มีโครักขกรรม การเลี้ยงโค การค้าขายด้วยเงินก็ไม่มี ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปใน เปตวิสัยนั้น ด้วยทานที่ญาติให้แล้วจากมนุษยโลกนี้”
เปรตไม่มีภูมิของตนเอง แต่อยู่ร่วมโลกมนุษย์นี้ เพราะมีภิกษุเป็นอันมากพบ เห็น เช่น พระโมคคัลลานะ เป็นต้น “ฝูงเปรตพากันมายังเรือน(ที่ตนเคยอยู่)ของตน ยืนอยู่นอกชานเรือนบ้าง ทาง ๔ แพร่งบ้าง...ชุมนุมกันในที่ให้ทานนั้นแล้ว ย่อมอนุโมทนาโดยเคารพ”
เปรตมีความหิวกระหายอยู่เป็นนิตย์ มีรูปร่างหน้าตาต่างๆกัน เช่น ร่างกายมี สีเหมือนทองคำ แต่หน้าเหมือนสุกร, ผิวพรรณงดงาม ยืนกลางอากาศ มีกลิ่นปาก เหม็นมาก, ซูบผอมมีแต่ซี่โครง เปลือยกาย ร่างเต็มไปด้วยเส้นเอ็น เป็นต้น
บางพวกมีหนวดและผมยาวหน้าดำ มีอวัยวะใหญ่น้อยหย่อนยาน ผอมหยาบ ดำ เสมือนต้นตาลถูกไฟป่าไหม้ยืนต้นอยู่, บางพวกมีเรือนร่างถูกเปลวไฟที่ตั้งขึ้น จากท้องแลบออกจากปาก เพราะความกระหายแผดเผาอยู่, บางพวกไม่ได้รสอื่น นอกจากรสแห่งความหิวกระหาย แม้ได้ข้าวน้ำก็กินไม่ได้เต็มที่ เพราะมีหลอดคอ เล็กขนาดเท่ารูเข็ม และมีท้องใหญ่ดังภูเขา, บางพวกมีเรือนร่างไม่น่าดู แปลกประหลาด น่าสะพรึงกลัว กินน้ำเลือดน้ำหนองเป็นต้น ของกันและกันแก้กระหาย
ดิรัจฉานภูมิ
สัตว์ดิรัจฉานมักจะอาศัยอยู่ในมนุษยภูมิเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีภูมิที่อยู่ของตน เหมือนกัน เช่น พญานาคในนาคพิภพ สุนัขในนรก หรือครุฑในครุฑพิภพ เป็นต้น
สัตว์ดิรัจฉานแบ่งได้หลายประเภท เช่น แบ่งตามจำนวนเท้า คือ สองเท้า สี่เท้า เท้ามาก และไม่มีเท้า หรือแบ่งตามอาหาร เช่น สัตว์กินพืช กินคูถ และกินเนื้อ หรือแบ่งตามที่เกิด เช่น เกิดในที่มืด เกิดในน้ำ และเกิดในที่โสโครก เป็นต้น
อสูรกายภูมิ
ภูมิอสูรมีขนาดประมาณหมืนโยชน์ ตั้งอยู่ภายใต้ภูเขาสิเนรุ ศูนย์กลางชื่ออสุรนคร มีต้นแคฝอยใหญ่(จิตปาฏลิ)อยู่ภายในนคร