10. การเจริญวิปัสสนาเมื่อใจรู้ธัมมารมณ์ที่เป็นนาม
10.1 การรู้ธัมมารมณ์ที่เป็นนาม ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการทำนองเดียวกับการรู้อารมณ์อื่นๆ คือต้องมี (1) อายตนะภายนอก (นาม ได้แก่จิตและเจตสิก) (2) อายตนะภายใน (ใจ/มนายตนะ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการรู้นาม) และ (3) มโนวิญญาณจิต/นามเห็น (ความรับรู้อารมณ์ทางใจ)
เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับความหมายของจิต มโน/ใจและวิญญาณ ผู้เขียนขอกล่าวโดยรวบย่อว่า การเจริญวิปัสสนาเมื่อใจกระทบธัมมารมณ์ที่เป็นนามธรรมนั้น มีองค์ประกอบที่เป็นนามล้วนๆ กล่าวคืออารมณ์ที่ถูกรู้ก็เป็นนาม (จิตและเจตสิก) ส่วนธรรมชาติที่รู้อารมณ์ก็เป็นนาม (จิต) และในเวลาปฏิบัตินั้น หาก (1) มี "เรา" อยู่ที่ไหน ก็ให้รู้ที่นั้น หรือ (2) ถ้าสติระลึกรู้อะไร ก็ให้รู้สิ่งนั้น
10.2 ตัวอย่างเช่นขณะที่มีความโกรธเกิดขึ้น ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติจะรู้สึกว่า "เราโกรธ" ส่วนผู้ปฏิบัติให้รู้ที่ "ความรู้สึกโกรธ" จะพบว่าความโกรธเป็นเพียง "นาม/เจตสิกโกรธ ไม่ใช่เราโกรธ" และเมื่อสติปัญญาแก่กล้าขึ้นก็จะเห็นต่อไปว่า ความโกรธเป็นนามเจตสิกคือเป็นสิ่งที่เข้ามาประกอบจิต ส่วนจิตเป็นธรรมชาติที่ไปรู้ความโกรธเข้าเท่านั้น (ดังที่พระสูตรมักกล่าวว่า เดิมจิตประภัสสร แต่เศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา) ถึงจุดนี้ก็จะเห็นชัดว่า สิ่งที่ไปรู้ความโกรธเข้านั้นเป็น "นาม/จิตรู้ ไม่ใช่เรารู้" เป็นการรู้เท่าทันเจตสิกบ้าง รู้เท่าทันจิตบ้าง ว่าไม่ใช่ตัวเรา เป็นต้น
10.3 กล่าวโดยสรุป เมื่อมีความรู้สึกตัวอยู่นั้น ย่อมรู้นามคือจิตได้ คือ (1) จิตรับรู้อารมณ์ทางตาก็รู้ (2) จิตรับรู้อารมณ์ทางหูก็รู้ (3) จิตรับรู้อารมณ์ทางจมูกก็รู้ (4) จิตรับรู้อารมณ์ทางลิ้นก็รู้ (5) จิต รับรู้อารมณ์ทางกายก็รู้ (6) จิตรับรู้อารมณ์ทางใจก็รู้ ทั้ง 6 ข้อนี้คือการรู้ตัวสภาวะของจิต
และรู้ด้วยว่า (7) จิตจะเกิดทางตา หู จมูก ลิ้น หรือกายก็เลือกไม่ได้ เพราะมันเกิดไปตามเหตุตามปัจจัย เกิดแล้วก็ดับสลายไปใน ฉับพลันนั้นเอง จะรักษาให้คงอยู่นานๆ ก็ไม่ได้ (8) จิตที่เกิดทางใจนั้น จะเกิดเป็นกุศลหรืออกุศลก็เลือกไม่ได้ เพราะมันเกิดไปตามเหตุตามปัจจัย เช่นจิตจะเผลอเขาก็เผลอ ห้ามเขาไม่ได้และจะสั่งให้เขาดับก็ไม่ได้ จิตจะมีสติเขาก็มีสติ สั่งเขาไม่ได้และจะรักษาเขาไว้ก็ไม่ได้ แต่จิตที่ทำงานทางใจจะเกิดต่อเนื่องได้ยาวนานกว่าจิตที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย ทั้ง 2 ข้อนี้คือการรู้ความจริงเกี่ยวกับจิต
และรู้ด้วยว่า (9) บางคราวจิตก็ยึดเกาะอยู่กับอารมณ์ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์) บางคราวจิตก็แยกอยู่ต่างหากจากอารมณ์ เมื่อใดยึดอารมณ์ (ด้วยอำนาจของตัณหาในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์) เมื่อนั้นจะเกิดความทุกข์ทางใจ เมื่อใดไม่ยึดอารมณ์ เมื่อนั้นไม่ทุกข์ทางใจ ข้อนี้คือการรู้อริยสัจจ์แห่งจิต
เมื่อมีความรู้สึกตัวอยู่นั้น ย่อมรู้นามคือเจตสิกได้ คือ (1) สุข/โสมนัสมีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (2) ทุกข์/โทมนัสมีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (3) ความไม่ทุกข์ไม่สุขมีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (4) ราคะมีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (เป็นการรู้ตามหลัง ว่าราคะในจิตดวงก่อนมีอยู่ แต่ราคะในจิตดวงซึ่งมีสติอยู่นี้ไม่มี และเห็นว่าราคะไม่ใช่จิต ราคะไม่ใช่เรา และจิตก็ไม่ใช่เราด้วย) (5) โทสะมีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (เช่นเดียวกับข้อ 4) (6) ความหลงมีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (เช่นเดียวกับข้อ 4) (7) ความฟุ้งซ่านมีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (เป็นการรู้ตามหลังเช่นกัน) (8) ความหดหู่มีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (เป็นการรู้ตามหลังเช่นกัน) เมื่อตามรู้บ่อยเข้าก็จะเห็นว่าสภาวะทั้งหลายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เลือกไม่ได้ บังคับไม่ได้ ทั้ง 8 ข้อนี้เป็นการรู้ตัวสภาวะ และความจริงของเจตสิก
เมื่อปฏิบัติมากเข้าในที่สุดก็จะพบว่า นามจิตก็ไม่ใช่เรา นามเจตสิกก็ไม่ใช่เรา จะหาเราที่ไหนไม่ได้เลย อนึ่งผู้เขียนเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการดูจิตไว้มากมายแล้ว สามารถหาอ่านได้จากหนังสือวิมุตติปฏิปทา และวิถีแห่งความรู้แจ้ง
(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/
ข้อสรุปเกี่ยวกับการเจริญวิปัสสนา)
10.1 การรู้ธัมมารมณ์ที่เป็นนาม ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการทำนองเดียวกับการรู้อารมณ์อื่นๆ คือต้องมี (1) อายตนะภายนอก (นาม ได้แก่จิตและเจตสิก) (2) อายตนะภายใน (ใจ/มนายตนะ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการรู้นาม) และ (3) มโนวิญญาณจิต/นามเห็น (ความรับรู้อารมณ์ทางใจ)
เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับความหมายของจิต มโน/ใจและวิญญาณ ผู้เขียนขอกล่าวโดยรวบย่อว่า การเจริญวิปัสสนาเมื่อใจกระทบธัมมารมณ์ที่เป็นนามธรรมนั้น มีองค์ประกอบที่เป็นนามล้วนๆ กล่าวคืออารมณ์ที่ถูกรู้ก็เป็นนาม (จิตและเจตสิก) ส่วนธรรมชาติที่รู้อารมณ์ก็เป็นนาม (จิต) และในเวลาปฏิบัตินั้น หาก (1) มี "เรา" อยู่ที่ไหน ก็ให้รู้ที่นั้น หรือ (2) ถ้าสติระลึกรู้อะไร ก็ให้รู้สิ่งนั้น
10.2 ตัวอย่างเช่นขณะที่มีความโกรธเกิดขึ้น ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติจะรู้สึกว่า "เราโกรธ" ส่วนผู้ปฏิบัติให้รู้ที่ "ความรู้สึกโกรธ" จะพบว่าความโกรธเป็นเพียง "นาม/เจตสิกโกรธ ไม่ใช่เราโกรธ" และเมื่อสติปัญญาแก่กล้าขึ้นก็จะเห็นต่อไปว่า ความโกรธเป็นนามเจตสิกคือเป็นสิ่งที่เข้ามาประกอบจิต ส่วนจิตเป็นธรรมชาติที่ไปรู้ความโกรธเข้าเท่านั้น (ดังที่พระสูตรมักกล่าวว่า เดิมจิตประภัสสร แต่เศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา) ถึงจุดนี้ก็จะเห็นชัดว่า สิ่งที่ไปรู้ความโกรธเข้านั้นเป็น "นาม/จิตรู้ ไม่ใช่เรารู้" เป็นการรู้เท่าทันเจตสิกบ้าง รู้เท่าทันจิตบ้าง ว่าไม่ใช่ตัวเรา เป็นต้น
10.3 กล่าวโดยสรุป เมื่อมีความรู้สึกตัวอยู่นั้น ย่อมรู้นามคือจิตได้ คือ (1) จิตรับรู้อารมณ์ทางตาก็รู้ (2) จิตรับรู้อารมณ์ทางหูก็รู้ (3) จิตรับรู้อารมณ์ทางจมูกก็รู้ (4) จิตรับรู้อารมณ์ทางลิ้นก็รู้ (5) จิต รับรู้อารมณ์ทางกายก็รู้ (6) จิตรับรู้อารมณ์ทางใจก็รู้ ทั้ง 6 ข้อนี้คือการรู้ตัวสภาวะของจิต
และรู้ด้วยว่า (7) จิตจะเกิดทางตา หู จมูก ลิ้น หรือกายก็เลือกไม่ได้ เพราะมันเกิดไปตามเหตุตามปัจจัย เกิดแล้วก็ดับสลายไปใน ฉับพลันนั้นเอง จะรักษาให้คงอยู่นานๆ ก็ไม่ได้ (8) จิตที่เกิดทางใจนั้น จะเกิดเป็นกุศลหรืออกุศลก็เลือกไม่ได้ เพราะมันเกิดไปตามเหตุตามปัจจัย เช่นจิตจะเผลอเขาก็เผลอ ห้ามเขาไม่ได้และจะสั่งให้เขาดับก็ไม่ได้ จิตจะมีสติเขาก็มีสติ สั่งเขาไม่ได้และจะรักษาเขาไว้ก็ไม่ได้ แต่จิตที่ทำงานทางใจจะเกิดต่อเนื่องได้ยาวนานกว่าจิตที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย ทั้ง 2 ข้อนี้คือการรู้ความจริงเกี่ยวกับจิต
และรู้ด้วยว่า (9) บางคราวจิตก็ยึดเกาะอยู่กับอารมณ์ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์) บางคราวจิตก็แยกอยู่ต่างหากจากอารมณ์ เมื่อใดยึดอารมณ์ (ด้วยอำนาจของตัณหาในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์) เมื่อนั้นจะเกิดความทุกข์ทางใจ เมื่อใดไม่ยึดอารมณ์ เมื่อนั้นไม่ทุกข์ทางใจ ข้อนี้คือการรู้อริยสัจจ์แห่งจิต
เมื่อมีความรู้สึกตัวอยู่นั้น ย่อมรู้นามคือเจตสิกได้ คือ (1) สุข/โสมนัสมีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (2) ทุกข์/โทมนัสมีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (3) ความไม่ทุกข์ไม่สุขมีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (4) ราคะมีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (เป็นการรู้ตามหลัง ว่าราคะในจิตดวงก่อนมีอยู่ แต่ราคะในจิตดวงซึ่งมีสติอยู่นี้ไม่มี และเห็นว่าราคะไม่ใช่จิต ราคะไม่ใช่เรา และจิตก็ไม่ใช่เราด้วย) (5) โทสะมีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (เช่นเดียวกับข้อ 4) (6) ความหลงมีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (เช่นเดียวกับข้อ 4) (7) ความฟุ้งซ่านมีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (เป็นการรู้ตามหลังเช่นกัน) (8) ความหดหู่มีอยู่ก็รู้ ดับไปก็รู้ (เป็นการรู้ตามหลังเช่นกัน) เมื่อตามรู้บ่อยเข้าก็จะเห็นว่าสภาวะทั้งหลายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เลือกไม่ได้ บังคับไม่ได้ ทั้ง 8 ข้อนี้เป็นการรู้ตัวสภาวะ และความจริงของเจตสิก
เมื่อปฏิบัติมากเข้าในที่สุดก็จะพบว่า นามจิตก็ไม่ใช่เรา นามเจตสิกก็ไม่ใช่เรา จะหาเราที่ไหนไม่ได้เลย อนึ่งผู้เขียนเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการดูจิตไว้มากมายแล้ว สามารถหาอ่านได้จากหนังสือวิมุตติปฏิปทา และวิถีแห่งความรู้แจ้ง
(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/
ข้อสรุปเกี่ยวกับการเจริญวิปัสสนา)