วันวิสาขบูชา 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นวันสำคัญยิ่งทาง พระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก
ทุกปีในวันวิสาขบูชา ภาครัฐและเอกชนได้มีการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาขึ้น สำหรับปี 2548 นี้ ได้มีการจัดงานวิสาขบูชา ในจุดหลักๆ 3 แห่งด้วยกัน คือ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง, พุทธมณฑล และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ (ประเทศไทย)
ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวงนั้น กระทรวงมหาด ไทย, กรุงเทพมหานคร และศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้กำหนดจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ระหว่างวันที่ 16-22 พฤษภาคม ซึ่งปีนี้ นับเป็นที่ที่ 22 แล้ว โดยใช้ชื่องานครั้งนี้ว่า “วันวิสาขบูชา วันสันติสุขโลก” ซึ่งจะมีกิจกรรมต่างๆมากมาย เช่น พิธีกวนข้าวทิพย์ การแสดงพระธรรมเทศนามหา ชาติทำนองหลวง การปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนา การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ การทอดผ้าป่าสี่มุมเมือง การประกวดสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะระดับนักเรียนทั่วประเทศ ประกวดวาดภาพตามคติทางพุทธศาสนา ประกวดบรรยายธรรม ประกวดเล่า เรื่องพุทธประวัติภาคภาษาอังกฤษ ประกวดรีวิวประกอบเพลงศีลธรรม ประกวดอ่านข่าวพระพุทธศาสนา การแสดงวัฒนธรรมธรรมบันเทิง ประกวดโต๊ะหมู่บูชา การจุดดอกไม้พุ่ม 9 ต้น การแสดงแสงสีเสียง และพิธีเวียนเทียนรอบพระบรมสารีริกธาตุ รวมทั้งนิทรรศการเกี่ยวกับพุทธประวัติ พุทธศาสนา อีกมากมาย
โดยจะมีพิธีเปิดวันแรกคือวันที่ 16 พ.ค. ช่วงเช้า มีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากพระบรมมหา ราชวังมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ มณฑป ภาย ในมณฑลพิธีท้องสนามหลวง พร้อมทั้งขบวนรถเอก ลักษณ์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา จากนั้นเวลา 17.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา และพระราชทานรางวัลเสมาธรรมจักรให้กับผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งปีนี้มีผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้ารับพระราชทานจำนวน 159 คน/รูป โดยมีพระสงฆ์และคฤหัสถ์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี เข้ารับพระราชทานในครั้งนี้ด้วย อาทิ พระมหาไพเราะ ฐิตสีโล ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย(มจร.) สาขาส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ, พระครูเกษมธรรมทัต วัดมเหยงคณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเภทส่งเสริมการปฏิบัติธรรม, คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร ประเภทส่งเสริมกิจการ คณะสงฆ์, พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประเภทสงเคราะห์ประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา, พระเทพวิสุทธิกวี วัดราชาธิวาส กทม. ประเภทสื่อมวลชนที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา, มูลนิธิสวนแก้ว วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี ประเภทสมาคม องค์การ มูลนิธิ สถาบัน และหน่วยงาน ที่มีกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา, นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี ประเภทผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณธรรม และส่งเสริมพระพุทธศาสนา เป็นต้น
สำหรับกิจกรรมวันที่ 17 เริ่มตั้งแต่เวลา 09.30 น. มีการอภิปรายวิชาการทางพระพุทธศาสนา เรื่อง “วันพุทธมหามงคล”, เทศน์คาถาพัน, เทศนากัณฑ์ทศพร, เทศนากัณฑ์หิมพานต์, เทศนากัณฑ์ทานกัณฑ์ และเทศนากัณฑ์วนประเวศน์
กิจกรรมวันที่ 18 เริ่มตั้งแต่เวลา 09.30 น. การอภิปรายเรื่อง“เปิดโลกเทคโนโลยี ตามวิถีพุทธ”, เทศนากัณฑ์ชูชก, เทศนากัณฑ์จุลพน, กัณฑ์มหาพน
กิจกรรมวันที่ 19 เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. พระธุดงค์ 560 รูป ออกบิณฑบาตรอบสนามหลวง, เทศน์แจง 1 กัณฑ์, การอภิปรายเรื่อง “พระพุทธศาสนากับ การแก้ปัญหาชาติ”, เทศนากัณฑ์กุมาร, เทศนากัณฑ์ มัทรี และเทศนากัณฑ์สักกบรรพ
กิจกรรมวันที่ 20 เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. พระธุดงค์ 560 รูป ออกบิณฑบาตรอบสนามหลวง, การอภิปรายเรื่อง “พระพุทธศาสนาเป็นสื่อกลางแก้ไข ปัญหาวัยรุ่นได้อย่างไร”, เทศนากัณฑ์มหาราช, เทศนา กัณฑ์ฉกษัตริย์, เทศนากัณฑ์นครกัณฑ์
กิจกรรมวันที่ 21 เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. พระธุดงค์ 560 รูป ออกบิณฑบาตรอบสนามหลวง, การอภิปรายเรื่อง “พระพุทธศาสนากับสถาบันพระมหากษัตริย์”, เทศน์มหาชาติภาคใต้, เทศน์มหาชาติภาค เหนือ และเทศน์มหาชาติภาคอีสาน
และกิจกรรมวันที่ 22 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา งานจะเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. โดยพระธุดงค์ 560 รูป บิณฑบาตรอบสนามหลวง, การอภิปรายเรื่อง “วันวิสาขบูชา สร้างสันติภาพโลกได้อย่างไร”, เทศนากัณฑ์ อริยสัจจ์ 4 และเวลา 18.00 น. นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในพิธีีนำกล่าวแสดงตนเป็นพุทธมามกะ และประกอบพิธีเวียนเทียน และสุดท้ายเป็นการทอด ผ้าป่าสี่มุมเมือง
พลเอกธงชัย เกื้อสกุล ประธานจัดเตรียมงานวิสาขบูชา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เปิดเผยถึง การเตรียมงานว่า กิจกรรมที่จะจัดขึ้นที่ท้องสนามหลวงในปีนี้ใช้งบประมาณราว 25 ล้านบาท โดยวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พร้อมทั้งเพื่อ ส่งเสริมการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์มาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง
“สิ่งที่ถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สุด คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวที่ ท้องสนามหลวง เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา รวมทั้งได้นิมนต์พระธุดงค์ 590 รูปจากทั่วประเทศ มาปักกลดปฏิบัติธรรมที่ท้องสนามหลวง และสนทนาธรรมกับพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมงาน และที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของงานอีกอย่างหนึ่งก็คือพิธีกวนข้าวทิพย์กระทะใหญ่ที่สุดในโลกจำนวน 100 กระทะ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 9-22 พ.ค. การเทศน์มหาชาติทำนองหลวง ซึ่งเป็นการเทศน์ลักษณะของทางภาคเหนือ กลาง ใต้ และอีสาน เป็นรูปแบบท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการทั่วท้องสนามหลวง ประมาณ 300 กว่าเต็นท์ ที่หน่วยงานต่างๆกว่า 200 หน่วยงานเข้ามาช่วยกันจัด และยังมีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปอย่างเช่นมีการจำลองพระพุทธรูป ที่สำคัญๆ ตามวัดต่างๆที่อยู่ทั่วประเทศไทย ประมาณ 150 องค์ หน้าตักประมาณ 9 นิ้ว เช่น พระพุทธชินราช พระแก้วมรกต หลวงพ่อโสธร เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสมาสักการะ และยังมีการเล่าถึงประวัติความเป็นมาว่าสำคัญอย่างไร ประดิษฐานอยู่ที่ไหน นอกจากนี้ก็มีการออกร้านขายของรอบสนามหลวงที่เราจะให้เน้นเรื่องของเทปธรรมะ หนังสือธรรมะ จะไม่อนุญาตให้นำวัตถุมงคลต่างๆมาขายโดย เด็ดขาด อันเป็นแนวทางที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา โอกาสนี้ยังมีการตัดแว่นให้กับพระภิกษุสงฆ์ ที่มีปัญหาทางสายตาฟรีอีกด้วย รวมทั้งในปีนี้ยังส่งเสริมให้ประชาชนประดับธงชาติ ธงธรรมจักร และธง ภปร. เพื่อให้สำนึกถึงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” พลเอกธงชัยกล่าว
ส่วนการจัดกิจกรรมวันวิสาขบูชาที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม นั้น มหาเถรสมาคมมีมติให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้จัดขึ้น ในงานนี้จะเปิด โอกาสให้พุทธศาสนิกชนเข้าร่วมปฏิบัติธรรมตั้งแต่วันที่ 22-30 พ.ค. โดยพิธีเปิดงานจะมีขึ้นในวันที่ 22 พ.ค. เริ่มตั้งแต่เวลา 07.30 น. มีการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 300 รูป, การบรรยายธรรมและแสดงพระธรรมเทศนา และพิธีเวียนเทียน ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ศูนย์วัฒนธรรมและสภาวัฒนธรรมในเขต กทม. ร่วมประดับโคมแขวน ที่บริเวณลานรอบองค์พระประธานพุทธมณฑล
น.พ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เผยถึงการเตรียมงาน วันวิสาขบูชา ที่พุทธมณฑลว่า “สำนักพุทธฯมีงบประมาณในการจัดงานครั้งนี้ประมาณแปดแสนบาท นายกรัฐมนตรีอยากให้สำนักพุทธฯ นำเยาวชนเข้าร่วมในการปฏิบัติธรรมจำนวนมากๆ เพราะปีที่ผ่านๆ มาส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุที่เข้ามาร่วมกิจกรรม ในปีนี้เราเลยมองว่าจะเน้นเรื่องการปฏิบัติธรรมให้มากขึ้น และในวันสุดท้ายของการปฏิบัติธรรมคือวันที่ 30 จะจัดให้มีการจำลองพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า หรือที่เรียกว่าอัฐมีบูชา เพื่อเป็นการน้อม จิตรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีการบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร และสวดพระอภิธรรมด้วย”
สำหรับการจัดงานวันวิสาขบูชา ณ สำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2548 นี้ประเทศศรีลังกาจะเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเมื่อปี 2547 ประเทศไทยเคยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในปี 2548 นี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย(มจร.) ร่วมกับผู้นำชาวพุทธนานาชาติ ภายใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบาลและองค์กรชาวพุทธในประเทศไทย จะเป็นเจ้าภาพจัดงานวิสาขบูชา ณ องค์การสหประชาชาติ (ประเทศไทย) ถนนราชดำเนินนอก กทม. โดยมีเป้าหมายเพื่อเชิญผู้นำชาวพุทธ นักปราชญ์และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาจากนานาชาติ และเอกอัครราชทูตประเทศชาวพุทธในประเทศไทย และพุทธศาสนิกชนทั้งเถรวาทและมหายานจาก 38 ประเทศ จำนวน 1,800 รูป/คน มาประชุมและจัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 18-22 พ.ค. 2548 ณ หอประชุมใหญ่พุทธมณฑล จ.นครปฐม และที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กทม. โดยจะมีการประชุมวิชาการเชิง ปฏิบัติการพระพุทธศาสนานานาชาติ อาทิ เรื่อง “เอกภาพและความร่วมมือ มุมมองเพื่อการปฏิบัติ” ในประเด็นว่าด้วยองค์กรชาวพุทธ การศึกษาพระพุทธศาสนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การปกป้อง คุ้มครองพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนากับการสังคมสงเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวสุนทรพจน์ ของประมุขสงฆ์และผู้นำประเทศ การบรรยายธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับโลกในยุคปัจจุบัน อาทิ บรรยายพิเศษเรื่อง “ความร่วมมือวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล”, การอภิปรายเรื่อง “ความร่วมมือของชาวพุทธ ในอนาคต” สุดท้ายเป็นการประกอบพิธีวิสาขบูชานานาชาติ
พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ และเลขานุการอธิการดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) เปิดเผยถึงขอบ ข่ายของกิจกรรมที่จะจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ(ประเทศไทย)ว่า
“จะมีการประชุมนานาชาติ นิทรรศการและกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิชาการ ศึกษาพระธรรม หลักคำสอน แสดงนิทรรศการ จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่แสดงถึงหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา และวิถีชีวิต ของชุมชนชาวพุทธ และได้แนวทางความร่วมมือในการจรรโลงพระพุทธศาสนา และการจัดกิจกรรมนานา ชาติประจำปีเนื่องในวันวิสาขบูชา ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับในการจัดงานในครั้งนี้ คือ 1.ได้ร่วมเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของสหประชาชาติ พร้อมกับสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ 2.ชาวพุทธในภูมิ ภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลก ผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชน ไปสู่เวทีโลก 3.มีความร่วมมืออันดีของบุคคล กลุ่มและองค์กรชาวพุทธ ตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติ ตามนโยบายของรัฐบาล 4.ได้ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ทางพระพุทธศาสนาของชาติไทยแก่นานาชาติ” ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์กล่าว
.....
นอกจากการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาของส่วนกลางในจุดหลักๆดังกล่าวแล้ว ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศไทยก็จะมีการจัดงานเนื่องในวันวิสาขบูชาขึ้นด้วย ช่วงเวลาอันดีงามอย่างนี้ เชื่อว่าพุทธศาสนิกชนทุกท่านคงได้ร่วมประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาอย่างพร้อมเพรียงกัน
ทุกปีในวันวิสาขบูชา ภาครัฐและเอกชนได้มีการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาขึ้น สำหรับปี 2548 นี้ ได้มีการจัดงานวิสาขบูชา ในจุดหลักๆ 3 แห่งด้วยกัน คือ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง, พุทธมณฑล และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ (ประเทศไทย)
ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวงนั้น กระทรวงมหาด ไทย, กรุงเทพมหานคร และศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้กำหนดจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ระหว่างวันที่ 16-22 พฤษภาคม ซึ่งปีนี้ นับเป็นที่ที่ 22 แล้ว โดยใช้ชื่องานครั้งนี้ว่า “วันวิสาขบูชา วันสันติสุขโลก” ซึ่งจะมีกิจกรรมต่างๆมากมาย เช่น พิธีกวนข้าวทิพย์ การแสดงพระธรรมเทศนามหา ชาติทำนองหลวง การปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนา การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ การทอดผ้าป่าสี่มุมเมือง การประกวดสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะระดับนักเรียนทั่วประเทศ ประกวดวาดภาพตามคติทางพุทธศาสนา ประกวดบรรยายธรรม ประกวดเล่า เรื่องพุทธประวัติภาคภาษาอังกฤษ ประกวดรีวิวประกอบเพลงศีลธรรม ประกวดอ่านข่าวพระพุทธศาสนา การแสดงวัฒนธรรมธรรมบันเทิง ประกวดโต๊ะหมู่บูชา การจุดดอกไม้พุ่ม 9 ต้น การแสดงแสงสีเสียง และพิธีเวียนเทียนรอบพระบรมสารีริกธาตุ รวมทั้งนิทรรศการเกี่ยวกับพุทธประวัติ พุทธศาสนา อีกมากมาย
โดยจะมีพิธีเปิดวันแรกคือวันที่ 16 พ.ค. ช่วงเช้า มีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากพระบรมมหา ราชวังมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ มณฑป ภาย ในมณฑลพิธีท้องสนามหลวง พร้อมทั้งขบวนรถเอก ลักษณ์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา จากนั้นเวลา 17.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา และพระราชทานรางวัลเสมาธรรมจักรให้กับผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งปีนี้มีผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้ารับพระราชทานจำนวน 159 คน/รูป โดยมีพระสงฆ์และคฤหัสถ์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี เข้ารับพระราชทานในครั้งนี้ด้วย อาทิ พระมหาไพเราะ ฐิตสีโล ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย(มจร.) สาขาส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ, พระครูเกษมธรรมทัต วัดมเหยงคณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเภทส่งเสริมการปฏิบัติธรรม, คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร ประเภทส่งเสริมกิจการ คณะสงฆ์, พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประเภทสงเคราะห์ประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา, พระเทพวิสุทธิกวี วัดราชาธิวาส กทม. ประเภทสื่อมวลชนที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา, มูลนิธิสวนแก้ว วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี ประเภทสมาคม องค์การ มูลนิธิ สถาบัน และหน่วยงาน ที่มีกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา, นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี ประเภทผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณธรรม และส่งเสริมพระพุทธศาสนา เป็นต้น
สำหรับกิจกรรมวันที่ 17 เริ่มตั้งแต่เวลา 09.30 น. มีการอภิปรายวิชาการทางพระพุทธศาสนา เรื่อง “วันพุทธมหามงคล”, เทศน์คาถาพัน, เทศนากัณฑ์ทศพร, เทศนากัณฑ์หิมพานต์, เทศนากัณฑ์ทานกัณฑ์ และเทศนากัณฑ์วนประเวศน์
กิจกรรมวันที่ 18 เริ่มตั้งแต่เวลา 09.30 น. การอภิปรายเรื่อง“เปิดโลกเทคโนโลยี ตามวิถีพุทธ”, เทศนากัณฑ์ชูชก, เทศนากัณฑ์จุลพน, กัณฑ์มหาพน
กิจกรรมวันที่ 19 เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. พระธุดงค์ 560 รูป ออกบิณฑบาตรอบสนามหลวง, เทศน์แจง 1 กัณฑ์, การอภิปรายเรื่อง “พระพุทธศาสนากับ การแก้ปัญหาชาติ”, เทศนากัณฑ์กุมาร, เทศนากัณฑ์ มัทรี และเทศนากัณฑ์สักกบรรพ
กิจกรรมวันที่ 20 เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. พระธุดงค์ 560 รูป ออกบิณฑบาตรอบสนามหลวง, การอภิปรายเรื่อง “พระพุทธศาสนาเป็นสื่อกลางแก้ไข ปัญหาวัยรุ่นได้อย่างไร”, เทศนากัณฑ์มหาราช, เทศนา กัณฑ์ฉกษัตริย์, เทศนากัณฑ์นครกัณฑ์
กิจกรรมวันที่ 21 เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. พระธุดงค์ 560 รูป ออกบิณฑบาตรอบสนามหลวง, การอภิปรายเรื่อง “พระพุทธศาสนากับสถาบันพระมหากษัตริย์”, เทศน์มหาชาติภาคใต้, เทศน์มหาชาติภาค เหนือ และเทศน์มหาชาติภาคอีสาน
และกิจกรรมวันที่ 22 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา งานจะเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. โดยพระธุดงค์ 560 รูป บิณฑบาตรอบสนามหลวง, การอภิปรายเรื่อง “วันวิสาขบูชา สร้างสันติภาพโลกได้อย่างไร”, เทศนากัณฑ์ อริยสัจจ์ 4 และเวลา 18.00 น. นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในพิธีีนำกล่าวแสดงตนเป็นพุทธมามกะ และประกอบพิธีเวียนเทียน และสุดท้ายเป็นการทอด ผ้าป่าสี่มุมเมือง
พลเอกธงชัย เกื้อสกุล ประธานจัดเตรียมงานวิสาขบูชา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เปิดเผยถึง การเตรียมงานว่า กิจกรรมที่จะจัดขึ้นที่ท้องสนามหลวงในปีนี้ใช้งบประมาณราว 25 ล้านบาท โดยวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พร้อมทั้งเพื่อ ส่งเสริมการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์มาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง
“สิ่งที่ถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สุด คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวที่ ท้องสนามหลวง เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา รวมทั้งได้นิมนต์พระธุดงค์ 590 รูปจากทั่วประเทศ มาปักกลดปฏิบัติธรรมที่ท้องสนามหลวง และสนทนาธรรมกับพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมงาน และที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของงานอีกอย่างหนึ่งก็คือพิธีกวนข้าวทิพย์กระทะใหญ่ที่สุดในโลกจำนวน 100 กระทะ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 9-22 พ.ค. การเทศน์มหาชาติทำนองหลวง ซึ่งเป็นการเทศน์ลักษณะของทางภาคเหนือ กลาง ใต้ และอีสาน เป็นรูปแบบท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการทั่วท้องสนามหลวง ประมาณ 300 กว่าเต็นท์ ที่หน่วยงานต่างๆกว่า 200 หน่วยงานเข้ามาช่วยกันจัด และยังมีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปอย่างเช่นมีการจำลองพระพุทธรูป ที่สำคัญๆ ตามวัดต่างๆที่อยู่ทั่วประเทศไทย ประมาณ 150 องค์ หน้าตักประมาณ 9 นิ้ว เช่น พระพุทธชินราช พระแก้วมรกต หลวงพ่อโสธร เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสมาสักการะ และยังมีการเล่าถึงประวัติความเป็นมาว่าสำคัญอย่างไร ประดิษฐานอยู่ที่ไหน นอกจากนี้ก็มีการออกร้านขายของรอบสนามหลวงที่เราจะให้เน้นเรื่องของเทปธรรมะ หนังสือธรรมะ จะไม่อนุญาตให้นำวัตถุมงคลต่างๆมาขายโดย เด็ดขาด อันเป็นแนวทางที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา โอกาสนี้ยังมีการตัดแว่นให้กับพระภิกษุสงฆ์ ที่มีปัญหาทางสายตาฟรีอีกด้วย รวมทั้งในปีนี้ยังส่งเสริมให้ประชาชนประดับธงชาติ ธงธรรมจักร และธง ภปร. เพื่อให้สำนึกถึงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” พลเอกธงชัยกล่าว
ส่วนการจัดกิจกรรมวันวิสาขบูชาที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม นั้น มหาเถรสมาคมมีมติให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้จัดขึ้น ในงานนี้จะเปิด โอกาสให้พุทธศาสนิกชนเข้าร่วมปฏิบัติธรรมตั้งแต่วันที่ 22-30 พ.ค. โดยพิธีเปิดงานจะมีขึ้นในวันที่ 22 พ.ค. เริ่มตั้งแต่เวลา 07.30 น. มีการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 300 รูป, การบรรยายธรรมและแสดงพระธรรมเทศนา และพิธีเวียนเทียน ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ศูนย์วัฒนธรรมและสภาวัฒนธรรมในเขต กทม. ร่วมประดับโคมแขวน ที่บริเวณลานรอบองค์พระประธานพุทธมณฑล
น.พ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เผยถึงการเตรียมงาน วันวิสาขบูชา ที่พุทธมณฑลว่า “สำนักพุทธฯมีงบประมาณในการจัดงานครั้งนี้ประมาณแปดแสนบาท นายกรัฐมนตรีอยากให้สำนักพุทธฯ นำเยาวชนเข้าร่วมในการปฏิบัติธรรมจำนวนมากๆ เพราะปีที่ผ่านๆ มาส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุที่เข้ามาร่วมกิจกรรม ในปีนี้เราเลยมองว่าจะเน้นเรื่องการปฏิบัติธรรมให้มากขึ้น และในวันสุดท้ายของการปฏิบัติธรรมคือวันที่ 30 จะจัดให้มีการจำลองพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า หรือที่เรียกว่าอัฐมีบูชา เพื่อเป็นการน้อม จิตรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีการบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร และสวดพระอภิธรรมด้วย”
สำหรับการจัดงานวันวิสาขบูชา ณ สำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2548 นี้ประเทศศรีลังกาจะเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเมื่อปี 2547 ประเทศไทยเคยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในปี 2548 นี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย(มจร.) ร่วมกับผู้นำชาวพุทธนานาชาติ ภายใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบาลและองค์กรชาวพุทธในประเทศไทย จะเป็นเจ้าภาพจัดงานวิสาขบูชา ณ องค์การสหประชาชาติ (ประเทศไทย) ถนนราชดำเนินนอก กทม. โดยมีเป้าหมายเพื่อเชิญผู้นำชาวพุทธ นักปราชญ์และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาจากนานาชาติ และเอกอัครราชทูตประเทศชาวพุทธในประเทศไทย และพุทธศาสนิกชนทั้งเถรวาทและมหายานจาก 38 ประเทศ จำนวน 1,800 รูป/คน มาประชุมและจัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 18-22 พ.ค. 2548 ณ หอประชุมใหญ่พุทธมณฑล จ.นครปฐม และที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กทม. โดยจะมีการประชุมวิชาการเชิง ปฏิบัติการพระพุทธศาสนานานาชาติ อาทิ เรื่อง “เอกภาพและความร่วมมือ มุมมองเพื่อการปฏิบัติ” ในประเด็นว่าด้วยองค์กรชาวพุทธ การศึกษาพระพุทธศาสนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การปกป้อง คุ้มครองพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนากับการสังคมสงเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวสุนทรพจน์ ของประมุขสงฆ์และผู้นำประเทศ การบรรยายธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับโลกในยุคปัจจุบัน อาทิ บรรยายพิเศษเรื่อง “ความร่วมมือวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล”, การอภิปรายเรื่อง “ความร่วมมือของชาวพุทธ ในอนาคต” สุดท้ายเป็นการประกอบพิธีวิสาขบูชานานาชาติ
พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ และเลขานุการอธิการดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) เปิดเผยถึงขอบ ข่ายของกิจกรรมที่จะจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ(ประเทศไทย)ว่า
“จะมีการประชุมนานาชาติ นิทรรศการและกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิชาการ ศึกษาพระธรรม หลักคำสอน แสดงนิทรรศการ จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่แสดงถึงหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา และวิถีชีวิต ของชุมชนชาวพุทธ และได้แนวทางความร่วมมือในการจรรโลงพระพุทธศาสนา และการจัดกิจกรรมนานา ชาติประจำปีเนื่องในวันวิสาขบูชา ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับในการจัดงานในครั้งนี้ คือ 1.ได้ร่วมเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของสหประชาชาติ พร้อมกับสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ 2.ชาวพุทธในภูมิ ภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลก ผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชน ไปสู่เวทีโลก 3.มีความร่วมมืออันดีของบุคคล กลุ่มและองค์กรชาวพุทธ ตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติ ตามนโยบายของรัฐบาล 4.ได้ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ทางพระพุทธศาสนาของชาติไทยแก่นานาชาติ” ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์กล่าว
.....
นอกจากการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาของส่วนกลางในจุดหลักๆดังกล่าวแล้ว ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศไทยก็จะมีการจัดงานเนื่องในวันวิสาขบูชาขึ้นด้วย ช่วงเวลาอันดีงามอย่างนี้ เชื่อว่าพุทธศาสนิกชนทุกท่านคงได้ร่วมประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาอย่างพร้อมเพรียงกัน