พระไตรปิฎก ฉบับมหาสังคายนาสากลนานา ชาติ ภาษาบาลีอักษรโรมันชุดแรกของโลก ประดิษฐานแล้ว ณ วังเทวะเวสม์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อนพระราชทานอีก 999 ชุดแก่สถาบันสำคัญนานาประเทศทั่วโลก เนื่องในโอกาสครบรอบ 112 ปี มรดกธรรมะในรัชกาลที่ 5
เมื่อวันอาทิตย์ 27 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จ ณ วังเทวะเวสม์ เพื่อเป็นองค์ประธานการปฐมนิเทศ การจาริกพระราชทานพระไตรปิฎก ฉบับมหาสังคายนาสากลนานา ชาติภาษาบาลี พิมพ์อักษรโรมัน ฉบับสมบูรณ์ชุดแรกของโลก จำนวน 1,000 ชุด ไปยังนานาประเทศทั่วโลก โดยชุดแรกได้ประดิษฐาน ณ วังเทวะเวสม์ ธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม กรุงเทพฯ
พระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันซึ่ง 1 ชุดมีจำนวน 40 เล่มนี้ จัดพิมพ์และตรวจทานโดย กองทุนสนทนา ธรรมนำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์ในการดำเนินการจัดพิมพ์ การประดิษฐาน และการเสด็จจาริกพระราชทานพระไตรปิฎกไปยังสถาบันสำคัญในนานาประเทศ 999 แห่ง
ทั้งนี้การพระราชทานพระไตรปิฎกไปยังนานาประเทศ เป็นการดำเนินตามรอยการพระราชทานพระไตรปิฎก ฉบับจุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราช ร.ศ.112 อักษรสยาม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ 112 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ทรงเป็นผู้วางยุทธศาสตร์ในการเลือกสถาบันทั่วโลกเพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก ฉบับ ร.ศ. 112 ได้สำเร็จอย่างงดงาม ยุทธศาสตร์ครั้งนั้นยังผลให้เกิดเครือข่ายคลังบรรณารักษศาสตร์ พระไตรปิฎกบาลี 260 สถาบัน โดยมีสยามประเทศเป็นศูนย์กลาง ก่อให้เกิดสันติภาพขึ้นในภูมิภาค และสัมพันธไมตรีอันดีกับนานาประเทศทั่วโลก
ในโอกาสนี้ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถวายการต้อนรับ กราบบังคมทูลขอพระราชทานเปิดงาน และกล่าวถึง ความปลื้มปีติที่ธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมกับ กองทุนสนทนาธรรมนำสุขฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ที่ได้เสด็จมาพระราชทานพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมัน 40 เล่ม ชุดแรก ของโลก ณ ตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์ เป็นแห่งแรก ก่อนจะทำการเผยแผ่ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ทั้งนี้ก่อนการเสด็จถึง พันตรีสุรธัช บุนนาค นายกกองทุนสนทนาธรรมนำสุขฯ ได้บรรยายแก่แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานให้ทราบถึงความเป็นมา ในการดำเนินการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมัน ซึ่งได้มีการรับรองทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว และยังกล่าวถึงความเชื่อมโยงของพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันกับพระไตรปิฎกอักษรสยาม ร.ศ.112 ทั้งนี้ ได้มีการนำพระไตรปิฎกอักษรสยาม ร.ศ.112 จำนวน 39 เล่ม ที่เป็นชุดเดียวที่ยังคงเหลือสมบูรณ์ที่สุดในไทยมาประดิษฐาน ณ วังเทวะเวสม์ ให้แขกผู้มีเกียรติ ได้ร่วมปีติอีกด้วย
นอกจากนั้น อาจารย์แม่ชีวิมุตติยา ประธานมูลนิธิ วิมุตติยาลัย ดุษฎีบัณฑิตภาษาบาลีคนแรกและคนเดียวในไทย ประธานตรวจทานพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมัน เป็นผู้ทูลเกล้าฯกราบบังคมทูลถวาย รายละเอียดพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมัน ในระหว่าง การเสด็จทอดพระเนตรการประดิษฐานพระไตรปิฎก ภายในตำหนักอีกด้วย
ดังนั้น การพระราชทานพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันฉบับสมบูรณ์ ในโอกาสครบรอบ 112 ปี พระไตรปิฎกบาลีอักษรสยาม ฉบับ ร.ศ.112 นี้ จะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายมาตรฐานความมั่นคงแห่งศีลธรรมและสันติสุขของโลก เฉกเช่นเดียวกับเมื่อครั้งสมเด็จพระปิยมหาราชได้ทรงทำสำเร็จแล้ว
โดยต่อมาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2548 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ได้พระราชทานพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันฉบับสมบูรณ์แก่ประธานาธิบดีจันทริกา กุมาราตุงคะ ระหว่างเสด็จเยือนศรีลังกา
เมื่อวันอาทิตย์ 27 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จ ณ วังเทวะเวสม์ เพื่อเป็นองค์ประธานการปฐมนิเทศ การจาริกพระราชทานพระไตรปิฎก ฉบับมหาสังคายนาสากลนานา ชาติภาษาบาลี พิมพ์อักษรโรมัน ฉบับสมบูรณ์ชุดแรกของโลก จำนวน 1,000 ชุด ไปยังนานาประเทศทั่วโลก โดยชุดแรกได้ประดิษฐาน ณ วังเทวะเวสม์ ธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม กรุงเทพฯ
พระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันซึ่ง 1 ชุดมีจำนวน 40 เล่มนี้ จัดพิมพ์และตรวจทานโดย กองทุนสนทนา ธรรมนำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์ในการดำเนินการจัดพิมพ์ การประดิษฐาน และการเสด็จจาริกพระราชทานพระไตรปิฎกไปยังสถาบันสำคัญในนานาประเทศ 999 แห่ง
ทั้งนี้การพระราชทานพระไตรปิฎกไปยังนานาประเทศ เป็นการดำเนินตามรอยการพระราชทานพระไตรปิฎก ฉบับจุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราช ร.ศ.112 อักษรสยาม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ 112 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ทรงเป็นผู้วางยุทธศาสตร์ในการเลือกสถาบันทั่วโลกเพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก ฉบับ ร.ศ. 112 ได้สำเร็จอย่างงดงาม ยุทธศาสตร์ครั้งนั้นยังผลให้เกิดเครือข่ายคลังบรรณารักษศาสตร์ พระไตรปิฎกบาลี 260 สถาบัน โดยมีสยามประเทศเป็นศูนย์กลาง ก่อให้เกิดสันติภาพขึ้นในภูมิภาค และสัมพันธไมตรีอันดีกับนานาประเทศทั่วโลก
ในโอกาสนี้ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถวายการต้อนรับ กราบบังคมทูลขอพระราชทานเปิดงาน และกล่าวถึง ความปลื้มปีติที่ธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมกับ กองทุนสนทนาธรรมนำสุขฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ที่ได้เสด็จมาพระราชทานพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมัน 40 เล่ม ชุดแรก ของโลก ณ ตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์ เป็นแห่งแรก ก่อนจะทำการเผยแผ่ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ทั้งนี้ก่อนการเสด็จถึง พันตรีสุรธัช บุนนาค นายกกองทุนสนทนาธรรมนำสุขฯ ได้บรรยายแก่แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานให้ทราบถึงความเป็นมา ในการดำเนินการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมัน ซึ่งได้มีการรับรองทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว และยังกล่าวถึงความเชื่อมโยงของพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันกับพระไตรปิฎกอักษรสยาม ร.ศ.112 ทั้งนี้ ได้มีการนำพระไตรปิฎกอักษรสยาม ร.ศ.112 จำนวน 39 เล่ม ที่เป็นชุดเดียวที่ยังคงเหลือสมบูรณ์ที่สุดในไทยมาประดิษฐาน ณ วังเทวะเวสม์ ให้แขกผู้มีเกียรติ ได้ร่วมปีติอีกด้วย
นอกจากนั้น อาจารย์แม่ชีวิมุตติยา ประธานมูลนิธิ วิมุตติยาลัย ดุษฎีบัณฑิตภาษาบาลีคนแรกและคนเดียวในไทย ประธานตรวจทานพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมัน เป็นผู้ทูลเกล้าฯกราบบังคมทูลถวาย รายละเอียดพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมัน ในระหว่าง การเสด็จทอดพระเนตรการประดิษฐานพระไตรปิฎก ภายในตำหนักอีกด้วย
ดังนั้น การพระราชทานพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันฉบับสมบูรณ์ ในโอกาสครบรอบ 112 ปี พระไตรปิฎกบาลีอักษรสยาม ฉบับ ร.ศ.112 นี้ จะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายมาตรฐานความมั่นคงแห่งศีลธรรมและสันติสุขของโลก เฉกเช่นเดียวกับเมื่อครั้งสมเด็จพระปิยมหาราชได้ทรงทำสำเร็จแล้ว
โดยต่อมาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2548 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ได้พระราชทานพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันฉบับสมบูรณ์แก่ประธานาธิบดีจันทริกา กุมาราตุงคะ ระหว่างเสด็จเยือนศรีลังกา