เริ่มตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ไทย มีนักวิชาการ หลายท่านชี้ชวนให้เห็นว่าทวารวดีนี้เองที่เป็นอารยธรรมเริ่มแรกของดินแดนไทยในปัจจุบัน ด้วยความเจริญงอกงามในด้านต่างๆ ทำให้อารยธรรมนี้ขยายอาณาเขตเป็นบริเวณกว้าง เมืองสำคัญของอารยธรรมทวาราวดี คืด นครปฐม ราชบุรี และเมืองอู่ทอง
ความรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ที่ทำให้อารยธรรมนี้ ถ่ายทอดงานศิลปกรรมมากมาย เป็นการบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถทราบลึกไปถึงรายละเอียดอย่างเช่นประวัติศาสตร์ของดินแดนในสมัยถัดมา แต่ ก็เป็นการบันทึกที่ดีอย่างหนึ่งว่า ได้มีการยอมรับนับถือพระพุทธศาสนามาแล้วจากประเทศอินเดีย ตรงกับศิลปะแบบคุปตะและหลังคุปตะ(ศิลปะแบบคุปตะเป็นศิลปะที่ยอมรับกันว่างดงามที่สุดของอินเดีย ซึ่งผู้เขียนจะนำรายละเอียดมาเสนอในโอกาส ต่อไป)
สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์อย่างเด่นชัดที่สุดของอารย-ธรรมทวารวดี ต่อพระพุทธศาสนานั้นคือ ‘พระธรรมจักร’ โดยมีการขุดค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นพระธรรมจักรกับกวางหมอบ สัญลักษณ์แห่งการ ตรัสรู้และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระธรรมจักรนี้มีหลายขนาดแตกต่างกัน ทั้งที่เป็นสองด้าน และด้านเดียว เป็นทั้งแบบทึบ และแบบโปร่ง โดยมาก มักพบกวางหมอบบริเวณใกล้เคียง ไม่ก็อยู่คู่กันกับบริเวณที่ค้นพบ ซึ่ง‘กวาง’นั้นหมายถึงสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมจักรกัปวัตนสูตร คือป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (ป่ากวาง)
เมื่อพิจารณาพระธรรมจักรที่ค้นพบก็พอสืบเค้า โครงได้ถึงรูปแบบของศิลปกรรมที่พัฒนามาจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ทั้งนี้มีเหตุผลประกอบคือเป็นช่วงเวลาที่ทั้งสองดินแดนมีอายุคาบเกี่ยวกัน การติดต่อกับอินเดีย รับนับถือพระพุทธศาสนานั้น จึงเป็นการรับเอารูปแบบศิลปกรรมมาโดยปริยาย โดยสิ่งที่เป็นหลักฐานได้เป็นอย่างดีนั่นคือ ‘ลวดลาย’ หลายต่อหลายครั้งที่ลวดลายทำหน้าที่เสมือนจารึกที่ บอกกล่าวถึงอายุของวัตถุต่างๆ ว่าเป็นลวดลายที่เกิด ขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่เท่าไร เป็นช่วงที่อารยธรรมใดรุ่งเรืองอยู่ ประกอบกันเป็นจำนวนที่มากพอให้ได้ สรุปว่าเป็นลวดลายที่รุ่งเรืองในอารยธรรมนั้นๆ พระธรรมจักรก็เช่นกัน ลวดลายไม่เพียงให้เกิดความสมบูรณ์เกิดความงดงาม มีระเบียบ จังหวะที่ลงตัวแล้ว แต่ลวดลายดอกไม้กลม สลับกับลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนป็นสิ่งบ่งชี้ได้ดีที่กล่าวมาข้างต้นว่า อารยธรรมทวารวดี รับอิทธิพลจากอินเดียในศิลปะแบบคุปตะและหลังคุปตะ ซึ่งลายดังกล่าวพบเป็นจำนวนมากในศิลปะแบบนี้ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญประการหนึ่ง
ความหมายของพระธรรมจักรนี้มีนัยแฝงอยู่ประการหนึ่ง เดิมทีสัญลักษณ์แทนการประกาศพระศาสนาของพระพุทธองค์คือพระธรรมจักร และเป็นสัญลักษณ์ที่คงใช้ต่อเรื่อยมา ทั้งนี้ พระธรรมจักรเป็น สัญลักษณ์ที่เข้าใจง่ายและเป็นสากล แม้ไม่มีบริบทอื่นใดประกอบเลย ก็สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้เผย แผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวางและยิ่งใหญ่ ดังปรากฏเสาอโศกอันมีความหมายว่า พระพุทธ-ศาสนาได้เข้ามาถึงดินแดนนั้นแล้ว โดยส่วนยอดของ เสานั้นมีนักวิชากล่าวไว้ว่าเป็นที่ประดิษฐานพระธรรมจักร ซึ่งพ้องกันกับอารยธรรมทวารวดีที่มีอาณา เขตกว้างขวางมาก และดินแดนที่อารยธรรมทวารดีเข้าไปถึงนั้นมักจะพบหลักฐานเป็นพระธรรมจักรอยู่เสมอ
หนังสืออ่านประกอบ
ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จฯกรมพระยา.ตำนานพุทธเจดีย์.กรุงเทพฯ : มติชน, 2545 .
สุภัทรดิศ ดิศกุล,หม่อมเจ้า.ศิลปะในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.
สุภัทรดิศ ดิศกุล,หม่อมเจ้า.ศิลปอินเดีย.กรุง เทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์.ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย.กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.
ความรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ที่ทำให้อารยธรรมนี้ ถ่ายทอดงานศิลปกรรมมากมาย เป็นการบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถทราบลึกไปถึงรายละเอียดอย่างเช่นประวัติศาสตร์ของดินแดนในสมัยถัดมา แต่ ก็เป็นการบันทึกที่ดีอย่างหนึ่งว่า ได้มีการยอมรับนับถือพระพุทธศาสนามาแล้วจากประเทศอินเดีย ตรงกับศิลปะแบบคุปตะและหลังคุปตะ(ศิลปะแบบคุปตะเป็นศิลปะที่ยอมรับกันว่างดงามที่สุดของอินเดีย ซึ่งผู้เขียนจะนำรายละเอียดมาเสนอในโอกาส ต่อไป)
สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์อย่างเด่นชัดที่สุดของอารย-ธรรมทวารวดี ต่อพระพุทธศาสนานั้นคือ ‘พระธรรมจักร’ โดยมีการขุดค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นพระธรรมจักรกับกวางหมอบ สัญลักษณ์แห่งการ ตรัสรู้และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระธรรมจักรนี้มีหลายขนาดแตกต่างกัน ทั้งที่เป็นสองด้าน และด้านเดียว เป็นทั้งแบบทึบ และแบบโปร่ง โดยมาก มักพบกวางหมอบบริเวณใกล้เคียง ไม่ก็อยู่คู่กันกับบริเวณที่ค้นพบ ซึ่ง‘กวาง’นั้นหมายถึงสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมจักรกัปวัตนสูตร คือป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (ป่ากวาง)
เมื่อพิจารณาพระธรรมจักรที่ค้นพบก็พอสืบเค้า โครงได้ถึงรูปแบบของศิลปกรรมที่พัฒนามาจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ทั้งนี้มีเหตุผลประกอบคือเป็นช่วงเวลาที่ทั้งสองดินแดนมีอายุคาบเกี่ยวกัน การติดต่อกับอินเดีย รับนับถือพระพุทธศาสนานั้น จึงเป็นการรับเอารูปแบบศิลปกรรมมาโดยปริยาย โดยสิ่งที่เป็นหลักฐานได้เป็นอย่างดีนั่นคือ ‘ลวดลาย’ หลายต่อหลายครั้งที่ลวดลายทำหน้าที่เสมือนจารึกที่ บอกกล่าวถึงอายุของวัตถุต่างๆ ว่าเป็นลวดลายที่เกิด ขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่เท่าไร เป็นช่วงที่อารยธรรมใดรุ่งเรืองอยู่ ประกอบกันเป็นจำนวนที่มากพอให้ได้ สรุปว่าเป็นลวดลายที่รุ่งเรืองในอารยธรรมนั้นๆ พระธรรมจักรก็เช่นกัน ลวดลายไม่เพียงให้เกิดความสมบูรณ์เกิดความงดงาม มีระเบียบ จังหวะที่ลงตัวแล้ว แต่ลวดลายดอกไม้กลม สลับกับลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนป็นสิ่งบ่งชี้ได้ดีที่กล่าวมาข้างต้นว่า อารยธรรมทวารวดี รับอิทธิพลจากอินเดียในศิลปะแบบคุปตะและหลังคุปตะ ซึ่งลายดังกล่าวพบเป็นจำนวนมากในศิลปะแบบนี้ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญประการหนึ่ง
ความหมายของพระธรรมจักรนี้มีนัยแฝงอยู่ประการหนึ่ง เดิมทีสัญลักษณ์แทนการประกาศพระศาสนาของพระพุทธองค์คือพระธรรมจักร และเป็นสัญลักษณ์ที่คงใช้ต่อเรื่อยมา ทั้งนี้ พระธรรมจักรเป็น สัญลักษณ์ที่เข้าใจง่ายและเป็นสากล แม้ไม่มีบริบทอื่นใดประกอบเลย ก็สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้เผย แผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวางและยิ่งใหญ่ ดังปรากฏเสาอโศกอันมีความหมายว่า พระพุทธ-ศาสนาได้เข้ามาถึงดินแดนนั้นแล้ว โดยส่วนยอดของ เสานั้นมีนักวิชากล่าวไว้ว่าเป็นที่ประดิษฐานพระธรรมจักร ซึ่งพ้องกันกับอารยธรรมทวารวดีที่มีอาณา เขตกว้างขวางมาก และดินแดนที่อารยธรรมทวารดีเข้าไปถึงนั้นมักจะพบหลักฐานเป็นพระธรรมจักรอยู่เสมอ
หนังสืออ่านประกอบ
ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จฯกรมพระยา.ตำนานพุทธเจดีย์.กรุงเทพฯ : มติชน, 2545 .
สุภัทรดิศ ดิศกุล,หม่อมเจ้า.ศิลปะในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.
สุภัทรดิศ ดิศกุล,หม่อมเจ้า.ศิลปอินเดีย.กรุง เทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์.ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย.กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.