วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ หรือวันเพ็ญกลางเดือน 3 ปกติจะอยู่ในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ แต่หากเป็นปีอธิกมาส หรือปีที่มีเดือน 8 สองหน วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 4 หรือประมาณเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นวันที่ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ ซึ่งปีนี้ตรงกับวันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2548
คำว่า มาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า มาฆปุรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 3 ถือเป็นวันจาตุรงคสันนิบาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ 4 ซึ่งเป็นเหตุการณ์อัศจรรย์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล คือ
มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ซึ่งจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แควันมคธ เป็นการมาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
พระสงฆ์ 1,250 รูปเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ และได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้าโดยตรง เรียกว่าเอหิภิกขุอุปสัมปทา
และวันที่มาประชุมตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา อันเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาติโมกข์
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และสั่งสอนพระธรรมมาเป็นระยะเวลา 45 ปี พระองค์ทรงปลงมายุสังขาร คือตั้งพระทัยว่า ต่อแต่นี้ไปอีก 3 เดือน เราจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน การปลงอายุสังขาร ตรงกับวันมาฆบูชาในปีที่พระพุทธองค์มีพระชนมายุ 80 พรรษา
ด้วยเหตุนี้ในวันมาฆบูชา ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้ารวม 2 ประการ คือเป็นวันปลงอายุสังขาร และเป็นวันที่แสดงโอวาทปาติโมกข์
โอวาทปาติโมกข์ คือข้อธรรมย่ออันเป็นหลักหรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา 3 ประการ ได้แก่ ละเว้นความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส เป็นทั้งหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติ ที่นำไปใช้ได้ทุกสังคม
หลักการ ๓ ได้แก่
การไม่ทำบาปทั้งปวง ไม่ว่าจะด้วยกาย วาจาและใจ
การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่าง
การทำจิตใจให้ผ่องใส ด้วยการละบาปทั้งปวง ถือศีลและบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติสมถะและ
วิปัสสนาจนถึงขั้นบรรลุอรหันตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง
อุดมการณ์ ๔ ได้แก่
ความอดทน คือการอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา ใจ
ความไม่เบียดเบียน คือ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวนหรือเบียดเบียนผู้อื่น
ความสงบ คือ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย วาจาและใจ
นิพพาน คือ การดับทุกข์ที่เป็นเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘
วิธีการ ๖ ได้แก่
ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือโจมตีใคร
ไม่ทำร้าย คือ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
สำรวมในปาติโมกข์ คือ ความเคารพระเบียบวินัย กติกา กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของสังคม
รู้จักประมาณ คือ รู้จักพอดี พอกินพออยู่
อยู่ในสถานที่ที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่สงบและมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
.ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือการฝึกจิต หมั่นทำสมาธิภาวนา
การประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ พิธีหลวงหรือพระราชพิธี พิธีราษฎร์ และพิธีสงฆ์
สำหรับการประกอบพระราชพิธี สำนักพระราชวังจะมีหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันมาฆบูชา ออกประกาศให้ทราบโดยทั่วกันทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปบำเพ็ญพระราชกุศลที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้แทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์
สำหรับพิธีสงฆ์ในวันมาฆบูชา พระสงฆ์จะให้โอวาท สวดมนต์ และเป็นผู้นำในการเวียนเทียน มีการแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวันมาฆบูชา และมีการนั่งสมาธิเจริญภาวนา
ส่วนการเวียนเทียนสำหรับประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่ทางวัดจะจัดพิธีในตอนบ่ายหรือเย็น เครื่องสักการบูชาที่ต้องเตรียมไว้ ได้แก่ ดอกไม้ ธูป เทียน ในการเดินเวียนเทียนรอบโบสถ์
และในโอกาสที่วันมาฆบูชาเวียนมาอีกครั้งในปีนี้ นอกเหนือไปจากการทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแล้ว ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่านได้หันมาศึกษาและน้อมนำหลักธรรมของพระพุทธองค์ไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วย เพื่อเป็นการสืบถอดพระพุทธศาสนาต่อไป
คำว่า มาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า มาฆปุรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 3 ถือเป็นวันจาตุรงคสันนิบาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ 4 ซึ่งเป็นเหตุการณ์อัศจรรย์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล คือ
มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ซึ่งจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แควันมคธ เป็นการมาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
พระสงฆ์ 1,250 รูปเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ และได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้าโดยตรง เรียกว่าเอหิภิกขุอุปสัมปทา
และวันที่มาประชุมตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา อันเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาติโมกข์
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และสั่งสอนพระธรรมมาเป็นระยะเวลา 45 ปี พระองค์ทรงปลงมายุสังขาร คือตั้งพระทัยว่า ต่อแต่นี้ไปอีก 3 เดือน เราจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน การปลงอายุสังขาร ตรงกับวันมาฆบูชาในปีที่พระพุทธองค์มีพระชนมายุ 80 พรรษา
ด้วยเหตุนี้ในวันมาฆบูชา ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้ารวม 2 ประการ คือเป็นวันปลงอายุสังขาร และเป็นวันที่แสดงโอวาทปาติโมกข์
โอวาทปาติโมกข์ คือข้อธรรมย่ออันเป็นหลักหรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา 3 ประการ ได้แก่ ละเว้นความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส เป็นทั้งหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติ ที่นำไปใช้ได้ทุกสังคม
หลักการ ๓ ได้แก่
การไม่ทำบาปทั้งปวง ไม่ว่าจะด้วยกาย วาจาและใจ
การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่าง
การทำจิตใจให้ผ่องใส ด้วยการละบาปทั้งปวง ถือศีลและบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติสมถะและ
วิปัสสนาจนถึงขั้นบรรลุอรหันตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง
อุดมการณ์ ๔ ได้แก่
ความอดทน คือการอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา ใจ
ความไม่เบียดเบียน คือ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวนหรือเบียดเบียนผู้อื่น
ความสงบ คือ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย วาจาและใจ
นิพพาน คือ การดับทุกข์ที่เป็นเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘
วิธีการ ๖ ได้แก่
ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือโจมตีใคร
ไม่ทำร้าย คือ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
สำรวมในปาติโมกข์ คือ ความเคารพระเบียบวินัย กติกา กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของสังคม
รู้จักประมาณ คือ รู้จักพอดี พอกินพออยู่
อยู่ในสถานที่ที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่สงบและมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
.ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือการฝึกจิต หมั่นทำสมาธิภาวนา
การประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ พิธีหลวงหรือพระราชพิธี พิธีราษฎร์ และพิธีสงฆ์
สำหรับการประกอบพระราชพิธี สำนักพระราชวังจะมีหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันมาฆบูชา ออกประกาศให้ทราบโดยทั่วกันทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปบำเพ็ญพระราชกุศลที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้แทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์
สำหรับพิธีสงฆ์ในวันมาฆบูชา พระสงฆ์จะให้โอวาท สวดมนต์ และเป็นผู้นำในการเวียนเทียน มีการแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวันมาฆบูชา และมีการนั่งสมาธิเจริญภาวนา
ส่วนการเวียนเทียนสำหรับประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่ทางวัดจะจัดพิธีในตอนบ่ายหรือเย็น เครื่องสักการบูชาที่ต้องเตรียมไว้ ได้แก่ ดอกไม้ ธูป เทียน ในการเดินเวียนเทียนรอบโบสถ์
และในโอกาสที่วันมาฆบูชาเวียนมาอีกครั้งในปีนี้ นอกเหนือไปจากการทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแล้ว ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่านได้หันมาศึกษาและน้อมนำหลักธรรมของพระพุทธองค์ไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วย เพื่อเป็นการสืบถอดพระพุทธศาสนาต่อไป