ความสำคัญแห่งวันมาฆบูชา นั้น เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวพุทธโดยทั่วกันว่า นอกจากจะเป็น วันจาตุรงคสันนิบาต อันเนื่องจากได้เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ประกอบด้วยองค์ 4 กล่าว คือ เป็นวันที่พระสงฆ์สาวกจำนวน 1,250 รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยไม่ได้นัดหมาย โดยพระสงฆ์ทุกรูป ล้วนได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา และพระสงฆ์ทุกรูปล้วนเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6 อีกทั้งวันนั้น ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ มาฆะ หรือ เดือน 3 วันดังกล่าว ยังเป็นวันที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ เพื่อให้พุทธบริษัทนำไปประพฤติปฏิบัติ เนื้อหาสำคัญของโอวาทปาติโมกข์ ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง แบ่งได้เป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 3 หลักการ 4 อุดมการณ์ และ 6 วิธีการ
ในด้านหลักการ นั้น หลักการที่ 1 ได้แก่ การไม่ทำบาป หรือความชั่วทั้งปวง คือ การงดเว้น การลด ละ เลิก จากการทำบาปทั้งปวง อันเป็นทางแห่งความชั่วสิบประการ ทั้งทางกาย ทางใจ ทางวาจา ดังปรากฏอยู่ใน อกุศลกรรมบท 10
หลักที่สอง ได้แก่ การทำความดีให้ถึงพร้อม คือการทำความดีทุกอย่าง ทั้งทางกาย วาจา และใจ ความไม่เบียดเบียน ด้วยการงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือเบียดเบียนผู้อื่น ความสงบ ในการปฏิบัติตนทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ และนิพพานอันหมายถึงการดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตตามมรรคที่ประกอบด้วยองค์ 8
ส่วน 6 วิธีการ จากโอวาทปาติโมกข์ เป็นการตรัสถึงวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสร้างศรัทธาแก่ประชาชน ได้แก่ ผู้แสดงธรรม ไม่ควรกล่าวร้ายแก่ใคร, ผู้แสดงธรรม ต้องไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง รู้จักประมาณในอาหาร, ผู้แสดงธรรม ต้องรักษาความสงบ ไม่ติดอยู่ในสถานที่ใดที่หนึ่ง, ผู้แสดงธรรม ต้องบำเพ็ญสมาธิภาวนา อบรมจิตใจให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
หากชาวพุทธจะพิจารณาให้วันมาฆบูชา เป็นวาระของการสำรวจตนเอง เพื่อทำความเข้าใจให้ชัดแจ้งถึงความบกพร่องจากหลักธรรมที่นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ก็จะเป็นผลดีต่อตนเองอย่างยิ่ง จะได้ปรับปรุงแก้ไข ให้การประพฤติปฏิบัติมั่นคงอยู่บนเส้นทางของการ ไม่ทำบาปหรือความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส อันเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ให้ดำรงอยู่คู่กับสถาบันชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของประเทศชาติสืบไป
ในด้านหลักการ นั้น หลักการที่ 1 ได้แก่ การไม่ทำบาป หรือความชั่วทั้งปวง คือ การงดเว้น การลด ละ เลิก จากการทำบาปทั้งปวง อันเป็นทางแห่งความชั่วสิบประการ ทั้งทางกาย ทางใจ ทางวาจา ดังปรากฏอยู่ใน อกุศลกรรมบท 10
หลักที่สอง ได้แก่ การทำความดีให้ถึงพร้อม คือการทำความดีทุกอย่าง ทั้งทางกาย วาจา และใจ ความไม่เบียดเบียน ด้วยการงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือเบียดเบียนผู้อื่น ความสงบ ในการปฏิบัติตนทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ และนิพพานอันหมายถึงการดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตตามมรรคที่ประกอบด้วยองค์ 8
ส่วน 6 วิธีการ จากโอวาทปาติโมกข์ เป็นการตรัสถึงวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสร้างศรัทธาแก่ประชาชน ได้แก่ ผู้แสดงธรรม ไม่ควรกล่าวร้ายแก่ใคร, ผู้แสดงธรรม ต้องไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง รู้จักประมาณในอาหาร, ผู้แสดงธรรม ต้องรักษาความสงบ ไม่ติดอยู่ในสถานที่ใดที่หนึ่ง, ผู้แสดงธรรม ต้องบำเพ็ญสมาธิภาวนา อบรมจิตใจให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
หากชาวพุทธจะพิจารณาให้วันมาฆบูชา เป็นวาระของการสำรวจตนเอง เพื่อทำความเข้าใจให้ชัดแจ้งถึงความบกพร่องจากหลักธรรมที่นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ก็จะเป็นผลดีต่อตนเองอย่างยิ่ง จะได้ปรับปรุงแก้ไข ให้การประพฤติปฏิบัติมั่นคงอยู่บนเส้นทางของการ ไม่ทำบาปหรือความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส อันเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ให้ดำรงอยู่คู่กับสถาบันชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของประเทศชาติสืบไป