ตอนที่ 047
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
2.3 จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึงการตั้งมั่นในการตามระลึกรู้จิตอยู่เนืองๆ มีประเด็นที่ควรทราบดังนี้คือ
2.3.1 จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแบ่งเป็น 16 บรรพ ได้แก่
คู่ที่ 1 จิตมีราคะ จิตไม่มีราคะ
คู่ที่ 2 จิตมีโทสะ จิตไม่มีโทสะ
คู่ที่ 3 จิตมีโมหะ จิตไม่มีโมหะ
คู่ที่ 4 จิตมีถีนมิทธะ (หดหู่) จิตมีความฟุ้งซ่าน
คู่ที่ 5 จิตเป็นมหัคคตะ (รูปาวจร อรูปาวจร)
จิตเป็นอมหัคคตะ (กามาวจร)
คู่ที่ 6 จิตเป็นสอุตตระ (มีจิตอื่นยิ่งกว่า/กามาวจร)
จิตเป็นอนุตตระ (ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า/รูปาวจร และอรูปาวจร)
คู่ที่ 7 จิตเป็นสมาธิ จิตไม่เป็นสมาธิ
คู่ที่ 8 จิตประหารกิเลส จิตไม่ประหารกิเลส
ข้อสังเกตของผู้เขียน
ถึงแม้จิตในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานจะมีถึง 8 คู่หรือ 16 บรรพ แต่ในทางปฏิบัติจริงสำหรับผู้ที่ไม่ได้ฌาน ก็ให้ตามระลึกรู้จิตเพียง 4 คู่แรกก็พอแล้ว เพราะจิตที่เกินกว่านั้นไม่ได้เกิดมีขึ้นเนืองๆ
(เชิญอ่านปริยัติธรรมต่อ)
2.3.2 จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ไม่ได้กล่าวถึงโลกุตรจิตเลย เพราะโลกุตรจิตใช้เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานไม่ได้เนื่องจากไม่ได้เกิดเนืองๆ อีกประการหนึ่งโลกุตรจิตไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ จึงไม่ใช่ทุกขสัจจ์ที่จะต้องรู้ตามหลักของการปฏิบัติในเรื่องกิจในอริยสัจจ์
2.3.3 จิตทั้ง 16 บรรพในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานใช้ เจริญวิปัสสนาได้อย่างเดียว ยกเว้นอรูปาวจรจิต 4 ดวงคือ อากาสานัญจายตนกุสลจิต อากาสานัญจายตนกิริยาจิต อากิญจัญญายตนกุสลจิต และอากิญจัญญายตนกิริยาจิต ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถภาวนาได้ด้วย
ข้อสังเกตของผู้เขียน
ก. จิต 4 ดวงนี้เป็นจิตที่รู้อารมณ์ 2 ชนิดคือรู้ช่องว่างอย่างหนึ่ง กับรู้ความไม่มีอะไรเลยอีกอย่างหนึ่ง และถ้าเป็นจิตของผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ยังเป็นจิตที่ไม่พ้นการกระทำกรรมก็เรียกว่ากุสลจิต ถ้าเป็นจิตพระอรหันต์พ้นจากการกระทำกรรมแล้วก็เรียกว่ากิริยาจิต
ข. นักดูจิตส่วนมากมักหลงเพ่งช่องว่าง (ในใจ) บ้างเพ่งความว่าง คือความไม่มีอะไร (ในใจ) บ้างเป็นการหลงไปทำสมถะทั้งที่คิดว่ากำลังเจริญวิปัสสนาอยู่ จุดนี้จะต้องระมัดระวังให้มาก แต่หากมีสตติระลึกรู้จิตที่เพ่งช่องว่างหรือความว่างเป็นอารมณ์ รู้ว่าจิตนั้นเป็นแต่เพียง นามธรรม เมื่อมีเหตุมีปัจจัยก็เกิดขึ้น เมื่อหมดเหตุหมดปัจจัยก็ดับไป อย่างนี้จึงจะเป็นการเจริญวิปัสสนา
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านเคยสอนผู้เขียนไว้ว่า ผู้ดูจิตบางคน สามารถจะได้อรูปฌานโดยอัตโนมัติคือไม่ต้องฝึกหัดเป็นการเฉพาะ ก็เพราะจิตพลิกไปมาระหว่างการทำสมถะและวิปัสสนาอย่างนี้เอง(เชิญอ่านปริยัติธรรมต่อ)
2.3.4 การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานทำให้รู้ว่า (1) จิตที่ปรากฏอยู่นั้นเป็นจิตชนิดใด เช่นจิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง และไม่ใช่เราโลภ เราโกรธ เราหลง (2) เมื่อเจริญสติมากเข้าก็จะรู้ความจริงที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีกว่า สภาวะของโลภ โกรธ หลงที่ปรากฏอยู่นั้นเป็นเพียงอาการของจิต หรือเป็นสิ่งที่เข้ามาประกอบจิต (เจตสิก) ยังไม่ใช่จิต ส่วนจิตเป็นนามธรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งทำหน้าที่รู้อารมณ์ และจิตก็ไม่ใช่เราด้วย และ (3) จิตเป็นสิ่งที่เกิดดับรวดเร็วมากและบังคับไม่ได้ คือจะห้ามไม่ให้จิตอย่างนั้นเกิดก็ไม่ได้ จะให้เกิดแต่จิตอย่างนี้ก็ไม่ได้ จะห้ามไม่ให้ดับก็ไม่ได้ เพราะจิตย่อมเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยปรุงแต่งเมื่อหมดเหตุหมดปัจจัยปรุงแต่งจิตก็ดับไป
2.3.5 จิตทั้ง 16 บรรพมีองค์ธรรมอันเดียวคือจิต ซึ่งเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ เวลาปฏิบัติจึงตามรู้จิตทั้ง 16 บรรพหรือ 8 คู่ไปได้เลย ไม่ต้องแยกย่อยตามรู้เฉพาะบรรพใดบรรพหนึ่ง แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ฌานก็ดูจิตเพียง 8 บรรพแรกหรือ 4 คู่แรก เพราะมีจิตเกิดอยู่จริงเพียงเท่านั้น
2.3.6 คำว่า "จิตในจิต" "จิตในจิตอันเป็นภายใน" "จิต ในจิตอันเป็นภายนอก" มีความหมายทำนองเดียวกับกายในกาย ฯลฯ นั่นเอง
2.3.7 กล่าวโดยสรุป จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานเมื่อเจริญแล้ว ย่อมทำให้เห็นความเป็นจริงว่า จิตไม่ใช่เรา แล้วละความยึดถือจิตเสียได้ และทำให้เห็นความจริงว่า จิตเกิดดับเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นการทำลายวิปัลลาสที่เห็นว่าจิตเที่ยงลงได้
ข้อสังเกตของผู้เขียน
ก. การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น แม้จะได้ชื่อว่าเป็น การมีสติระลึกรู้จิตเนืองๆ แต่เมื่อปฏิบัติมากเข้าก็จะพบว่า บรรดาราคะ โทสะ โมหะ ความฟุ้งซ่าน และความหดหู่นั้นไม่ใช่จิต หากแต่เป็นธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่สามารถปรุงแต่งจิตได้ (เจตสิก) ตัวจิตเองมีลักษณะเพียงอย่างเดียวคือเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ไม่ดีหรือชั่วด้วยตัวเอง แต่ดีหรือชั่วไปตามเจตสิก เปรียบเหมือนน้ำที่สะอาดปราศจากสี กลิ่น รส แต่มีสี กลิ่น รส ไปตามสิ่งที่ปะปนเข้ามา จิตที่เป็นธรรมชาติรู้อารมณ์นี้บางทีนักปฏิบัติก็นิยมเรียกกันว่าจิตผู้รู้ และบางท่านเกิดความสำคัญผิดว่าจิตผู้รู้เที่ยงคือไม่แตกดับ แท้จริงจิตก็ไม่ได้มีอยู่ดวงเดียว แต่จิตเกิดดับอยู่ทางทวารทั้ง 6 สืบเนื่องกันไปไม่ขาดสาย (มีข้อยกเว้นบ้างบางกรณีที่มีการเข้าสมาบัติบางอย่างที่จิตดับ แต่ก็ดับได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น)
ข. ผู้ปฏิบัติที่เห็นความจริงว่าจิตเกิดดับอยู่ทางทวารทั้ง 6 ไม่ใช่มีจิตดวงเดียวที่ไม่เกิดไม่ดับ จะหมดความสนใจที่จะรักษาจิตให้ดีตลอดไปเพราะรู้ว่าจิตไม่เที่ยง และไม่ต้องหาทางดับอกุศลจิตด้วยเพราะถึงไม่หาทางดับ มันก็ดับของมันเองเมื่อเหตุเมื่อปัจจัยเปลี่ยนไป
ค. เบื้องต้นที่เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น กำลังของสติปัญญายังไม่แก่กล้าพอ ผู้ปฏิบัติก็อาจรู้สึกว่าจิตกำลังมีกิเลส เช่นจิตกำลังมีราคะ แต่เมื่อสติปัญญาแก่กล้าขึ้นก็จะพบว่า ทันทีที่เกิดสติหรือเกิดความรู้สึกตัว จิตไม่มีกิเลสเสียแล้ว แต่ก็รู้ได้ว่าจิตในอดีตที่เพิ่งดับไปแล้วนั้นเป็น "จิตมีราคะ" ส่วนจิตที่รู้สึกตัวอยู่เป็น "จิตไม่มีราคะ" นี้คือการเห็นจิตมีราคะ และจิตไม่มีราคะเป็นของคู่กัน สำหรับจิตมีโทสะและจิตไม่มีโทสะ กับจิตมีโมหะและจิตไม่มีโมหะ ก็มีลักษณะทำนองเดียวกันนี้
ง. การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแม้จะทำลายนิจจสัญญาคือความเห็นผิดว่าจิตเที่ยง และทำให้รู้ความจริงว่าจิตไม่เที่ยงหรือเป็นอนิจจังก็ตามแต่ผู้ปฏิบัติบางคนได้รู้ได้เข้าใจว่าจิตเป็นอนัตตาก็มีเหมือนกัน ไม่มีข้อจำกัดว่าจะเห็นได้เฉพาะจิตเป็นอนิจจังเท่านั้น
(เชิญอ่านปริยัติธรรมต่อ)
(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
2.3 จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึงการตั้งมั่นในการตามระลึกรู้จิตอยู่เนืองๆ มีประเด็นที่ควรทราบดังนี้คือ
2.3.1 จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแบ่งเป็น 16 บรรพ ได้แก่
คู่ที่ 1 จิตมีราคะ จิตไม่มีราคะ
คู่ที่ 2 จิตมีโทสะ จิตไม่มีโทสะ
คู่ที่ 3 จิตมีโมหะ จิตไม่มีโมหะ
คู่ที่ 4 จิตมีถีนมิทธะ (หดหู่) จิตมีความฟุ้งซ่าน
คู่ที่ 5 จิตเป็นมหัคคตะ (รูปาวจร อรูปาวจร)
จิตเป็นอมหัคคตะ (กามาวจร)
คู่ที่ 6 จิตเป็นสอุตตระ (มีจิตอื่นยิ่งกว่า/กามาวจร)
จิตเป็นอนุตตระ (ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า/รูปาวจร และอรูปาวจร)
คู่ที่ 7 จิตเป็นสมาธิ จิตไม่เป็นสมาธิ
คู่ที่ 8 จิตประหารกิเลส จิตไม่ประหารกิเลส
ข้อสังเกตของผู้เขียน
ถึงแม้จิตในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานจะมีถึง 8 คู่หรือ 16 บรรพ แต่ในทางปฏิบัติจริงสำหรับผู้ที่ไม่ได้ฌาน ก็ให้ตามระลึกรู้จิตเพียง 4 คู่แรกก็พอแล้ว เพราะจิตที่เกินกว่านั้นไม่ได้เกิดมีขึ้นเนืองๆ
(เชิญอ่านปริยัติธรรมต่อ)
2.3.2 จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ไม่ได้กล่าวถึงโลกุตรจิตเลย เพราะโลกุตรจิตใช้เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานไม่ได้เนื่องจากไม่ได้เกิดเนืองๆ อีกประการหนึ่งโลกุตรจิตไม่จัดเป็นอุปาทานขันธ์ จึงไม่ใช่ทุกขสัจจ์ที่จะต้องรู้ตามหลักของการปฏิบัติในเรื่องกิจในอริยสัจจ์
2.3.3 จิตทั้ง 16 บรรพในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานใช้ เจริญวิปัสสนาได้อย่างเดียว ยกเว้นอรูปาวจรจิต 4 ดวงคือ อากาสานัญจายตนกุสลจิต อากาสานัญจายตนกิริยาจิต อากิญจัญญายตนกุสลจิต และอากิญจัญญายตนกิริยาจิต ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถภาวนาได้ด้วย
ข้อสังเกตของผู้เขียน
ก. จิต 4 ดวงนี้เป็นจิตที่รู้อารมณ์ 2 ชนิดคือรู้ช่องว่างอย่างหนึ่ง กับรู้ความไม่มีอะไรเลยอีกอย่างหนึ่ง และถ้าเป็นจิตของผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ยังเป็นจิตที่ไม่พ้นการกระทำกรรมก็เรียกว่ากุสลจิต ถ้าเป็นจิตพระอรหันต์พ้นจากการกระทำกรรมแล้วก็เรียกว่ากิริยาจิต
ข. นักดูจิตส่วนมากมักหลงเพ่งช่องว่าง (ในใจ) บ้างเพ่งความว่าง คือความไม่มีอะไร (ในใจ) บ้างเป็นการหลงไปทำสมถะทั้งที่คิดว่ากำลังเจริญวิปัสสนาอยู่ จุดนี้จะต้องระมัดระวังให้มาก แต่หากมีสตติระลึกรู้จิตที่เพ่งช่องว่างหรือความว่างเป็นอารมณ์ รู้ว่าจิตนั้นเป็นแต่เพียง นามธรรม เมื่อมีเหตุมีปัจจัยก็เกิดขึ้น เมื่อหมดเหตุหมดปัจจัยก็ดับไป อย่างนี้จึงจะเป็นการเจริญวิปัสสนา
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านเคยสอนผู้เขียนไว้ว่า ผู้ดูจิตบางคน สามารถจะได้อรูปฌานโดยอัตโนมัติคือไม่ต้องฝึกหัดเป็นการเฉพาะ ก็เพราะจิตพลิกไปมาระหว่างการทำสมถะและวิปัสสนาอย่างนี้เอง(เชิญอ่านปริยัติธรรมต่อ)
2.3.4 การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานทำให้รู้ว่า (1) จิตที่ปรากฏอยู่นั้นเป็นจิตชนิดใด เช่นจิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง และไม่ใช่เราโลภ เราโกรธ เราหลง (2) เมื่อเจริญสติมากเข้าก็จะรู้ความจริงที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีกว่า สภาวะของโลภ โกรธ หลงที่ปรากฏอยู่นั้นเป็นเพียงอาการของจิต หรือเป็นสิ่งที่เข้ามาประกอบจิต (เจตสิก) ยังไม่ใช่จิต ส่วนจิตเป็นนามธรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งทำหน้าที่รู้อารมณ์ และจิตก็ไม่ใช่เราด้วย และ (3) จิตเป็นสิ่งที่เกิดดับรวดเร็วมากและบังคับไม่ได้ คือจะห้ามไม่ให้จิตอย่างนั้นเกิดก็ไม่ได้ จะให้เกิดแต่จิตอย่างนี้ก็ไม่ได้ จะห้ามไม่ให้ดับก็ไม่ได้ เพราะจิตย่อมเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยปรุงแต่งเมื่อหมดเหตุหมดปัจจัยปรุงแต่งจิตก็ดับไป
2.3.5 จิตทั้ง 16 บรรพมีองค์ธรรมอันเดียวคือจิต ซึ่งเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ เวลาปฏิบัติจึงตามรู้จิตทั้ง 16 บรรพหรือ 8 คู่ไปได้เลย ไม่ต้องแยกย่อยตามรู้เฉพาะบรรพใดบรรพหนึ่ง แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ฌานก็ดูจิตเพียง 8 บรรพแรกหรือ 4 คู่แรก เพราะมีจิตเกิดอยู่จริงเพียงเท่านั้น
2.3.6 คำว่า "จิตในจิต" "จิตในจิตอันเป็นภายใน" "จิต ในจิตอันเป็นภายนอก" มีความหมายทำนองเดียวกับกายในกาย ฯลฯ นั่นเอง
2.3.7 กล่าวโดยสรุป จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานเมื่อเจริญแล้ว ย่อมทำให้เห็นความเป็นจริงว่า จิตไม่ใช่เรา แล้วละความยึดถือจิตเสียได้ และทำให้เห็นความจริงว่า จิตเกิดดับเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นการทำลายวิปัลลาสที่เห็นว่าจิตเที่ยงลงได้
ข้อสังเกตของผู้เขียน
ก. การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น แม้จะได้ชื่อว่าเป็น การมีสติระลึกรู้จิตเนืองๆ แต่เมื่อปฏิบัติมากเข้าก็จะพบว่า บรรดาราคะ โทสะ โมหะ ความฟุ้งซ่าน และความหดหู่นั้นไม่ใช่จิต หากแต่เป็นธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่สามารถปรุงแต่งจิตได้ (เจตสิก) ตัวจิตเองมีลักษณะเพียงอย่างเดียวคือเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ไม่ดีหรือชั่วด้วยตัวเอง แต่ดีหรือชั่วไปตามเจตสิก เปรียบเหมือนน้ำที่สะอาดปราศจากสี กลิ่น รส แต่มีสี กลิ่น รส ไปตามสิ่งที่ปะปนเข้ามา จิตที่เป็นธรรมชาติรู้อารมณ์นี้บางทีนักปฏิบัติก็นิยมเรียกกันว่าจิตผู้รู้ และบางท่านเกิดความสำคัญผิดว่าจิตผู้รู้เที่ยงคือไม่แตกดับ แท้จริงจิตก็ไม่ได้มีอยู่ดวงเดียว แต่จิตเกิดดับอยู่ทางทวารทั้ง 6 สืบเนื่องกันไปไม่ขาดสาย (มีข้อยกเว้นบ้างบางกรณีที่มีการเข้าสมาบัติบางอย่างที่จิตดับ แต่ก็ดับได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น)
ข. ผู้ปฏิบัติที่เห็นความจริงว่าจิตเกิดดับอยู่ทางทวารทั้ง 6 ไม่ใช่มีจิตดวงเดียวที่ไม่เกิดไม่ดับ จะหมดความสนใจที่จะรักษาจิตให้ดีตลอดไปเพราะรู้ว่าจิตไม่เที่ยง และไม่ต้องหาทางดับอกุศลจิตด้วยเพราะถึงไม่หาทางดับ มันก็ดับของมันเองเมื่อเหตุเมื่อปัจจัยเปลี่ยนไป
ค. เบื้องต้นที่เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น กำลังของสติปัญญายังไม่แก่กล้าพอ ผู้ปฏิบัติก็อาจรู้สึกว่าจิตกำลังมีกิเลส เช่นจิตกำลังมีราคะ แต่เมื่อสติปัญญาแก่กล้าขึ้นก็จะพบว่า ทันทีที่เกิดสติหรือเกิดความรู้สึกตัว จิตไม่มีกิเลสเสียแล้ว แต่ก็รู้ได้ว่าจิตในอดีตที่เพิ่งดับไปแล้วนั้นเป็น "จิตมีราคะ" ส่วนจิตที่รู้สึกตัวอยู่เป็น "จิตไม่มีราคะ" นี้คือการเห็นจิตมีราคะ และจิตไม่มีราคะเป็นของคู่กัน สำหรับจิตมีโทสะและจิตไม่มีโทสะ กับจิตมีโมหะและจิตไม่มีโมหะ ก็มีลักษณะทำนองเดียวกันนี้
ง. การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแม้จะทำลายนิจจสัญญาคือความเห็นผิดว่าจิตเที่ยง และทำให้รู้ความจริงว่าจิตไม่เที่ยงหรือเป็นอนิจจังก็ตามแต่ผู้ปฏิบัติบางคนได้รู้ได้เข้าใจว่าจิตเป็นอนัตตาก็มีเหมือนกัน ไม่มีข้อจำกัดว่าจะเห็นได้เฉพาะจิตเป็นอนิจจังเท่านั้น
(เชิญอ่านปริยัติธรรมต่อ)
(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน)