ตอนที่ 044
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
2.1.2 กายานุปัสสนาสติปัฏฐานอีก 3 บรรพคือ (1) อิริยาบถ 4 หรืออิริยาบถใหญ่ เช่นการก้าวไปข้างหน้า ถอยไปข้างหลัง เหลียวซ้ายแลขวา คู้เหยียด เป็นต้น และ (3) ธาตุทั้ง 4 คือดิน น้ำ ไฟ ลม อารมณ์ทั้ง 3 บรรพนี้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาจะนำไปเพ่งให้เกิดฌานจิตไม่ได้
การรู้อิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อยนั้น ต้องมีสติระลึกรู้อิริยาบถ และต้องมีสัมปชัญญะคือความรู้ตัวอยู่ทุกขณะที่เคลื่อนไหวไม่ใช่ทำไปเรื่อยๆโดยไม่รู้สึกตัว อีกนัยหนึ่งต้องเคลื่อนไหวโดยชอบด้วยเหตุผล ไม่ใช่ทำไปตามความอยาก
การระลึกรู้รูปก็เพื่อจะได้เห็นความจริงว่า รูปกายที่เคยยึดว่าเป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขานั้น แท้จริงก็เป็นแต่เพียงรูปธรรมมาประชุมร่วมกันเป็นรูปกาย แม้การเคลื่อนไหวกายก็เป็นไปด้วยอำนาจผลักดันของธาตุลมตามคำสั่งของจิต ไม่ใช่เราเดินหรือเขาเดิน
ข้อสังเกตของผู้เขียน
ก. ผู้ปฏิบัติไม่ควรประมาทว่าอิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อย และธาตุ 4 เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ใช้ทำสมถะไม่ได้ เพราะในความเป็นจริงผู้เขียนสังเกตเห็นว่าผู้ปฏิบัติจำนวนมากไปหลงเพ่งบัญญัติกาย แทนที่จะระลึกรู้รูปและลักษณะไตรลักษณ์ของรูป เช่นเพียรเพ่งมือ เพ่งเท้า เพ่งท้อง และคอยกำหนดบัญญัติถึงการยกการย่างเป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นการเพ่งอารมณ์บัญญัติซึ่งบัญญัติถึงอารมณ์ปรมัตถ์ ไม่ใช่การตามระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์เพื่อจะเห็นลักษณะ จึงควรระมัดระวังให้ดี เพราะจะเป็นการหลงทำสมถะทั้งที่คิดว่ากำลังเจริญวิปัสสนาอยู่ พอเกิดนิมิตหรืออาการของปีติ เช่นเห็นร่างกายเป็นโครงกระดูก ตัวเบา ตัวหนัก ฯลฯ จึงหลงผิดว่าเกิดวิปัสสนาญาณได้
อีกประการหนึ่งการรู้อิริยาบถ 4 เป็นการรู้รูปด้วยใจ หากผู้ปฏิบัติสามารถระลึกรู้จนสัญญากำหนดจดจำรูปได้แม่นยำ บางครั้งแทนที่จะรู้สภาวะของรูปที่เป็นปัจจุบันด้วยความมีสติสัมปชัญญะ กลับไปหลงเพ่งรูปในความจำแทน ซึ่งรูปดังกล่าวก็คืออุคคหนิมิต สามารถเพ่งจนเกิดปฏิภาคนิมิตและฌานจิตได้เช่นเดียวกับการเพ่งปฐวีกสิณนั่นเอง และมีนักปฏิบัติจำนวนมากสามารถเพ่งจนรูประเบิดหรือเกิดแปรสภาพ เป็นโครงกระดูกหรือเพ่งจนรูปกายอันเป็นอุคคหนิมิตในอิริยาบถนั่งนั้น เกิดความใสเป็นแก้ว นึกย่อและขยายได้เป็นปฏิภาคนิมิต จนเกิดความสำคัญผิดว่าพบ "กายพระอริยะ" เข้าแล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วปฏิภาคนิมิตดังกล่าว เกิดอยู่ในระดับของอุปจารสมาธิเท่านั้นเอง หรือบางคนเพ่งรูปทางใจจนดับนามขันธ์ เหลือเพียงรูปกายนั่งแข็งทื่อหมดความรู้สึก เป็นการพลิกไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟักก็มี ดังนั้นจึงไม่ควรประมาทว่า หากระลึกรู้อิริยาบถ 4 แล้ว จะไม่มีทางพลิกไปเป็นการทำสมถภาวนาได้เลย
ข. ประเด็นที่ว่าต้องเคลื่อนไหวไปอย่างมีเหตุผล ไม่ใช่จงใจเคลื่อนไหวด้วยอำนาจของตัณหาและทิฏฐิเป็นเรื่องที่น่ารับฟังมาก และเป็นประเด็นถกเถียงที่สำคัญในระหว่างสำนักปฏิบัติ คือฝ่ายหนึ่งเห็นว่าต้องจงใจทำอิริยาบถไปก่อน หรือกำหนดจังหวะการเคลื่อนไหวไปก่อน เพื่อให้สติที่ยังอ่อนอยู่สามารถตามรู้การเคลื่อนไหวได้ทัน แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าการจงใจเดินจงกรม การจงใจนั่งปฏิบัติธรรม แม้กระทั่ง การจงใจเดินให้ช้าและมีการแยกซอยจังหวะการเดิน ล้วนเป็นการกระทำด้วยตัณหาคือความอยากปฏิบัติทั้งสิ้น จึงควรรู้ทันความอยากแล้วเคลื่อนไหวไปอย่างมีเหตุผล
หากจะถามความเห็นของผู้เขียนว่าทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง ผู้เขียน มีความเห็นส่วนตัวว่า การปฏิบัติธรรมควรจะปลอดจากตัณหาและทิฏฐิ หากจงใจดัดแปลงจิตให้สงบผิดปกติ หรือจงใจดัดแปลงอารมณ์ เช่นเดินให้ช้าลงและเป็นจังหวะ จะทำความทุกข์ทางใจให้เกิดขึ้น เพราะเมื่อมีตัณหาก็ต้องมีทุกข์ นอกจากนี้ความจงใจนั้นเองง่ายที่จะนำไปสู่การเพ่งกาย ดังนั้นแทนที่จิตจะดำเนินไปในแนวทางของวิปัสสนา กลับจะพลิกไปเป็นสมถะเสียอีก ผู้ปฏิบัติจึงเกิดอาการของสมถะกันมาก เช่นรู้สึกตัวเบา ตัวลอย ตัวหนัก ตัวใหญ่ รู้สึกวูบวาบ รู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่ตอมร่างกาย เห็นร่างกายเป็นโครงกระดูก เห็นโครงกระดูกเดินล้อมร่างกาย หรือขาดสติดับความรู้สึกวูบไป เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการปฏิบัติตามรูปแบบก็มีข้อดี คือทำให้ผู้ปฏิบัติสบายใจว่าได้ปฏิบัติธรรม เกิดความพากเพียร ได้ฝึกความอดทนอดกลั้น ที่สำคัญคือบางท่านอาจมองทะลุบัญญัติเข้าไปเห็นสภาวะจริงของรูป ปรมัตถ์ก็เป็นได้เหมือนกัน อย่างเช่นบางท่านจงใจเดินจงกรมหามรุ่ง หามค่ำเพื่อแก้ความง่วงและความขาดสติ เดินไปถึงจุดหนึ่งสติปัญญาเกิดตื่นตัวไปเห็นอารมณ์ปรมัตถ์ก็มี หรือบางท่านเคลื่อนไหวมือเป็นจังหวะแล้วเกิดความรู้สึกตัว จิตก็พ้นจากการครอบงำของความคิดนึกปรุงแต่ง แล้วสามารถเห็นอารมณ์ปรมัตถ์ได้ อย่างนี้ก็มีไม่น้อย ดังนั้น ผู้เขียนจึงไม่โต้แย้งแนวทางจงใจปฏิบัติ จะจงใจก่อนแล้วรู้ทันความจงใจ ในภายหลังก็ได้ เอาเป็นว่าผู้เขียนไม่ถนัดเพราะรู้สึกเป็นภาระก็แล้วกัน แต่ถ้าถามว่าผู้เขียนเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิบ้างหรือไม่ ก็ขอตอบตามตรง ว่าทำบ้าง แต่ทำเพื่อแก้เมื่อย หรือเพื่อให้จิตมีเครื่องอยู่ที่สบายเป็น การพักผ่อนบ้างในบางโอกาส แต่ส่วนมากในระหว่างที่เดินหรือนั่งนั้น ก็รู้สึกตัวแล้วรู้รูปรู้นามไปด้วยตามแต่สิ่งใดจะปรากฏ เพราะจำเป็นต้องเดินและนั่งอยู่แล้ว หากมีสติไปด้วยจะได้ไม่เปลืองเวลาไปเปล่าๆ
ค. ประเด็นที่ว่า ต้องมีสติระลึกรู้อิริยาบถและการเคลื่อนไหวต่างๆ และต้องมีสัมปชัญญะคือความรู้ตัวอยู่ทุกขณะที่เคลื่อนไหวนั้น จัดว่าเป็นหัวใจของการปฏิบัติวิปัสสนาทีเดียว คือต้องมีสติทำหน้าที่ ระลึกรู้อาการปรากฏและความไหว/นิ่งของรูป และขณะที่รู้นั้นจิตต้อง มีสัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นสักว่ารู้รูป ไม่ใช่หลงเพ่ง หรือหลงคิดเรื่อง รูป หรือหลงใจลอยไปถึงเรื่องอื่น แล้วสัมปชัญญะ/ปัญญาก็จะเกิดขึ้น คือเกิดความรู้สึกตัว และเห็นรูปเป็นเพียงสักว่ารูป ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา โดยไม่ต้องคิดนำแต่อย่างใด
(เชิญอ่านปริยัติธรรมต่อ)
(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/ปฏิกูลสัญญาและอสุภะอีก9บรรพ)
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
2.1.2 กายานุปัสสนาสติปัฏฐานอีก 3 บรรพคือ (1) อิริยาบถ 4 หรืออิริยาบถใหญ่ เช่นการก้าวไปข้างหน้า ถอยไปข้างหลัง เหลียวซ้ายแลขวา คู้เหยียด เป็นต้น และ (3) ธาตุทั้ง 4 คือดิน น้ำ ไฟ ลม อารมณ์ทั้ง 3 บรรพนี้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาจะนำไปเพ่งให้เกิดฌานจิตไม่ได้
การรู้อิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อยนั้น ต้องมีสติระลึกรู้อิริยาบถ และต้องมีสัมปชัญญะคือความรู้ตัวอยู่ทุกขณะที่เคลื่อนไหวไม่ใช่ทำไปเรื่อยๆโดยไม่รู้สึกตัว อีกนัยหนึ่งต้องเคลื่อนไหวโดยชอบด้วยเหตุผล ไม่ใช่ทำไปตามความอยาก
การระลึกรู้รูปก็เพื่อจะได้เห็นความจริงว่า รูปกายที่เคยยึดว่าเป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขานั้น แท้จริงก็เป็นแต่เพียงรูปธรรมมาประชุมร่วมกันเป็นรูปกาย แม้การเคลื่อนไหวกายก็เป็นไปด้วยอำนาจผลักดันของธาตุลมตามคำสั่งของจิต ไม่ใช่เราเดินหรือเขาเดิน
ข้อสังเกตของผู้เขียน
ก. ผู้ปฏิบัติไม่ควรประมาทว่าอิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อย และธาตุ 4 เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ใช้ทำสมถะไม่ได้ เพราะในความเป็นจริงผู้เขียนสังเกตเห็นว่าผู้ปฏิบัติจำนวนมากไปหลงเพ่งบัญญัติกาย แทนที่จะระลึกรู้รูปและลักษณะไตรลักษณ์ของรูป เช่นเพียรเพ่งมือ เพ่งเท้า เพ่งท้อง และคอยกำหนดบัญญัติถึงการยกการย่างเป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นการเพ่งอารมณ์บัญญัติซึ่งบัญญัติถึงอารมณ์ปรมัตถ์ ไม่ใช่การตามระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์เพื่อจะเห็นลักษณะ จึงควรระมัดระวังให้ดี เพราะจะเป็นการหลงทำสมถะทั้งที่คิดว่ากำลังเจริญวิปัสสนาอยู่ พอเกิดนิมิตหรืออาการของปีติ เช่นเห็นร่างกายเป็นโครงกระดูก ตัวเบา ตัวหนัก ฯลฯ จึงหลงผิดว่าเกิดวิปัสสนาญาณได้
อีกประการหนึ่งการรู้อิริยาบถ 4 เป็นการรู้รูปด้วยใจ หากผู้ปฏิบัติสามารถระลึกรู้จนสัญญากำหนดจดจำรูปได้แม่นยำ บางครั้งแทนที่จะรู้สภาวะของรูปที่เป็นปัจจุบันด้วยความมีสติสัมปชัญญะ กลับไปหลงเพ่งรูปในความจำแทน ซึ่งรูปดังกล่าวก็คืออุคคหนิมิต สามารถเพ่งจนเกิดปฏิภาคนิมิตและฌานจิตได้เช่นเดียวกับการเพ่งปฐวีกสิณนั่นเอง และมีนักปฏิบัติจำนวนมากสามารถเพ่งจนรูประเบิดหรือเกิดแปรสภาพ เป็นโครงกระดูกหรือเพ่งจนรูปกายอันเป็นอุคคหนิมิตในอิริยาบถนั่งนั้น เกิดความใสเป็นแก้ว นึกย่อและขยายได้เป็นปฏิภาคนิมิต จนเกิดความสำคัญผิดว่าพบ "กายพระอริยะ" เข้าแล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วปฏิภาคนิมิตดังกล่าว เกิดอยู่ในระดับของอุปจารสมาธิเท่านั้นเอง หรือบางคนเพ่งรูปทางใจจนดับนามขันธ์ เหลือเพียงรูปกายนั่งแข็งทื่อหมดความรู้สึก เป็นการพลิกไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟักก็มี ดังนั้นจึงไม่ควรประมาทว่า หากระลึกรู้อิริยาบถ 4 แล้ว จะไม่มีทางพลิกไปเป็นการทำสมถภาวนาได้เลย
ข. ประเด็นที่ว่าต้องเคลื่อนไหวไปอย่างมีเหตุผล ไม่ใช่จงใจเคลื่อนไหวด้วยอำนาจของตัณหาและทิฏฐิเป็นเรื่องที่น่ารับฟังมาก และเป็นประเด็นถกเถียงที่สำคัญในระหว่างสำนักปฏิบัติ คือฝ่ายหนึ่งเห็นว่าต้องจงใจทำอิริยาบถไปก่อน หรือกำหนดจังหวะการเคลื่อนไหวไปก่อน เพื่อให้สติที่ยังอ่อนอยู่สามารถตามรู้การเคลื่อนไหวได้ทัน แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าการจงใจเดินจงกรม การจงใจนั่งปฏิบัติธรรม แม้กระทั่ง การจงใจเดินให้ช้าและมีการแยกซอยจังหวะการเดิน ล้วนเป็นการกระทำด้วยตัณหาคือความอยากปฏิบัติทั้งสิ้น จึงควรรู้ทันความอยากแล้วเคลื่อนไหวไปอย่างมีเหตุผล
หากจะถามความเห็นของผู้เขียนว่าทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง ผู้เขียน มีความเห็นส่วนตัวว่า การปฏิบัติธรรมควรจะปลอดจากตัณหาและทิฏฐิ หากจงใจดัดแปลงจิตให้สงบผิดปกติ หรือจงใจดัดแปลงอารมณ์ เช่นเดินให้ช้าลงและเป็นจังหวะ จะทำความทุกข์ทางใจให้เกิดขึ้น เพราะเมื่อมีตัณหาก็ต้องมีทุกข์ นอกจากนี้ความจงใจนั้นเองง่ายที่จะนำไปสู่การเพ่งกาย ดังนั้นแทนที่จิตจะดำเนินไปในแนวทางของวิปัสสนา กลับจะพลิกไปเป็นสมถะเสียอีก ผู้ปฏิบัติจึงเกิดอาการของสมถะกันมาก เช่นรู้สึกตัวเบา ตัวลอย ตัวหนัก ตัวใหญ่ รู้สึกวูบวาบ รู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่ตอมร่างกาย เห็นร่างกายเป็นโครงกระดูก เห็นโครงกระดูกเดินล้อมร่างกาย หรือขาดสติดับความรู้สึกวูบไป เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการปฏิบัติตามรูปแบบก็มีข้อดี คือทำให้ผู้ปฏิบัติสบายใจว่าได้ปฏิบัติธรรม เกิดความพากเพียร ได้ฝึกความอดทนอดกลั้น ที่สำคัญคือบางท่านอาจมองทะลุบัญญัติเข้าไปเห็นสภาวะจริงของรูป ปรมัตถ์ก็เป็นได้เหมือนกัน อย่างเช่นบางท่านจงใจเดินจงกรมหามรุ่ง หามค่ำเพื่อแก้ความง่วงและความขาดสติ เดินไปถึงจุดหนึ่งสติปัญญาเกิดตื่นตัวไปเห็นอารมณ์ปรมัตถ์ก็มี หรือบางท่านเคลื่อนไหวมือเป็นจังหวะแล้วเกิดความรู้สึกตัว จิตก็พ้นจากการครอบงำของความคิดนึกปรุงแต่ง แล้วสามารถเห็นอารมณ์ปรมัตถ์ได้ อย่างนี้ก็มีไม่น้อย ดังนั้น ผู้เขียนจึงไม่โต้แย้งแนวทางจงใจปฏิบัติ จะจงใจก่อนแล้วรู้ทันความจงใจ ในภายหลังก็ได้ เอาเป็นว่าผู้เขียนไม่ถนัดเพราะรู้สึกเป็นภาระก็แล้วกัน แต่ถ้าถามว่าผู้เขียนเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิบ้างหรือไม่ ก็ขอตอบตามตรง ว่าทำบ้าง แต่ทำเพื่อแก้เมื่อย หรือเพื่อให้จิตมีเครื่องอยู่ที่สบายเป็น การพักผ่อนบ้างในบางโอกาส แต่ส่วนมากในระหว่างที่เดินหรือนั่งนั้น ก็รู้สึกตัวแล้วรู้รูปรู้นามไปด้วยตามแต่สิ่งใดจะปรากฏ เพราะจำเป็นต้องเดินและนั่งอยู่แล้ว หากมีสติไปด้วยจะได้ไม่เปลืองเวลาไปเปล่าๆ
ค. ประเด็นที่ว่า ต้องมีสติระลึกรู้อิริยาบถและการเคลื่อนไหวต่างๆ และต้องมีสัมปชัญญะคือความรู้ตัวอยู่ทุกขณะที่เคลื่อนไหวนั้น จัดว่าเป็นหัวใจของการปฏิบัติวิปัสสนาทีเดียว คือต้องมีสติทำหน้าที่ ระลึกรู้อาการปรากฏและความไหว/นิ่งของรูป และขณะที่รู้นั้นจิตต้อง มีสัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นสักว่ารู้รูป ไม่ใช่หลงเพ่ง หรือหลงคิดเรื่อง รูป หรือหลงใจลอยไปถึงเรื่องอื่น แล้วสัมปชัญญะ/ปัญญาก็จะเกิดขึ้น คือเกิดความรู้สึกตัว และเห็นรูปเป็นเพียงสักว่ารูป ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา โดยไม่ต้องคิดนำแต่อย่างใด
(เชิญอ่านปริยัติธรรมต่อ)
(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/ปฏิกูลสัญญาและอสุภะอีก9บรรพ)