พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นพระอารามในพระบรมมหาราชวัง เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในการนี้ ทรงโปรดให้จิตรกรเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ไว้ที่ระเบียงคต เมื่อได้เดินดูภาพเหล่านี้ ย่อมพบเห็นความชาญฉลาดของผู้กำหนดการวาดภาพที่สามารถเก็บเนื้อหาของเรื่องได้อย่างละเอียด และแนะนำให้จิตรกรวาดภาพได้ดังที่กำหนดไว้ การเดินดูภาพจิตรกรรมแต่ต้นจนจบจึงเหมือนการอ่าน เรื่องรามเกียรติ์โดยตลอด ย่อมทำให้ตระหนักถึงพระอัจฉริยภาพและพระวิสัยทัศน์ที่เปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่ทรงมุ่งหวังให้ชน ชั้นบุตรหลานได้ซึมทราบคติธรรมอันเป็นมงคลชีวิตตามหลักธรรมพระพุทธศาสนาที่แฝงอยู่ในรามเกียรติ์ อันจักเป็นหลักในการดำเนินชีวิตของตนไปสู่ความสำเร็จที่ตนปรารถนา แต่นั้นความจงรักภักดีด้วยกตัญญูกตเวทีจะบังเกิดขึ้นในจิตใจทันที เหมือนดังที่พระเจ้าปเสนทิโกศลระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระพุทธเจ้า
พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต มหาวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑๐ โกศลสูตรที่ ๒ พรรณนาไว้ว่า เมื่อครั้งที่พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จกลับจากการรบชนะสงคราม มาแล้ว พระองค์เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงซบพระเศียรลงที่พระบาททั้งคู่ของพระพุทธองค์ ทรงจุ๊บพระบาททั้งสองด้วยพระโอษฐ์ ทรงนวดพระบาทด้วยพระหัตถ์ และทรงประกาศพระนามว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือ พระเจ้าปเสนทิโกศล..”
พระพุทธองค์ตรัสถามว่า “ดูกรมหาบพิตร ทรงเห็นอำนาจประโยชน์อะไรเล่าจึงทรงทำความนบนอบอย่างยิ่ง มอบถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตา เห็นปานนี้ ในสรีระนี้”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นความกตัญญูกตเวทีในพระองค์ เพราะพระองค์ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก ทรงยังชนหมู่มากให้ ดำรงอยู่ในอริยญายธรรม คือความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนบนอบอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ในพระองค์...ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเป็นผู้มีกิจมาก มีกรณียะมาก ขอถวายบังคมลาไป ณ บัดนี้”
“ดูกรมหาบพิตร ขอมหาบพิตรทรงสำคัญกาลอันควร ในบัดนี้เถิด”
พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกขึ้นจากอาสน์ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำประทักษิณแล้ว เสด็จกลับไป
.........
กตัญญู หมายถึงการระลึกรู้ถึงคุณอันผู้อื่นได้กระทำแล้วต่อตน กตเวที หมายถึงการกระทำเพื่อตอบแทนพระคุณท่านผู้เป็นบุรพการีชนของตน บุรพการี หมายถึง บุคคลผู้กระทำอุปการะก่อน เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ พระมหากษัตริย์ พระพุทธเจ้า เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงลำบากพระวรกายด้วยพระวิริยอุตสาหะเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความเกื้อกูลแก่ชนชาวไทยมาตลอดระยะเวลาที่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นต้นมา น้ำพระราชหฤทัยที่เปี่ยมไปด้วย พระมหากรุณาธิคุณ ได้ไหลหลั่งรดใจพสกนิกร ทั้งในเมืองที่มีความเจริญและชนบทที่ยากไร้ ความทุกข์ยาก คราบน้ำตาที่หลายคนได้พานพบมานาน ในท้องถิ่นของตน ล้วนมลายสิ้นไปเมื่อรอยพระบาทได้ย่างกรายไปถึง ความสุขสำราญในการดำเนินชีวิต ก็ปรากฏขึ้นมาแทนที่ เหตุนี้จึงนำให้พระองค์ทรงเป็นเจ้าชีวิตของชาวไทยตลอดมา พระองค์ทรงเป็น พระราชบุรพการีชนของชาวไทยผู้มีกตัญญูกตเวทิตา ธรรมเสมอมา ควรที่ชาวไทยทั้งหลายจักได้ทำความ นบนอบอย่างยิ่ง และถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาต่อพระองค์ ด้วยการปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีของชาติ ตามขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติไทยและกฎหมายที่ชอบธรรมของประเทศไทย ปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์เป็นธรรม มีความสุจริตใจในตำแหน่งหน้าที่ของตน เมื่อชาวไทยทุกคนสามารถทำได้ดังนี้ สามัคคีธรรมอันนำให้เกิดความวัฒนาสถาพรของชาติไทย ย่อมปรากฏขึ้น สังคมไทยจะเป็นสังคมอุดมคติที่ชนชาติอื่นปรารถนาจะมาเยี่ยมเยียนอยู่เสมอ
หันมองสังคมไทยในปัจจุบันยิ่งน่าเศร้าใจนัก สามัญสำนึกแห่งความกตัญญูกตเวทีในจิตใจคนไทยหลายคนได้จางหายไป ด้วยความหลงใหลในวัฒนธรรมตะวันตก ที่ตนคิดว่าทันสมัย ทำตนเป็นดุจทาสฝรั่ง นิยมยินดีกับคำชมเชยของฝรั่ง แล้วทำลายขนบธรรมเนียมประเพณีไทยด้วยการปฏิรูปการเมืองและการศึกษา จิตใจเขามุ่งแต่กอบโกยผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าเสียสละเพื่อส่วนรวม คนเหล่านี้ต้องเรียกว่า คนอกตัญญูหรือคนทรพี เป็นบุคคลที่สังคมไทยไม่ปรารถนาเลย บุรพชนไทยมักพร่ำสอนลูกหลานอยู่เสมอว่า อย่าทำตนให้เป็นเหมือน ทรพี ด้วยยกคติธรรมจากรามเกียรติ์ ตอน ทรพา-ทรพี มาสอน ดังมีเรื่องย่อว่า
นนทกาลอสูร เป็นยักษ์เฝ้าประตูกำแพงชั้นในเขาไกรลาส อันเป็นที่ประทับของพระอิศวร ได้ล่วงเกินนางมาลี เทพอัปสรผู้มีหน้าที่ร้อยดอกไม้ นางได้นำความไปทูลฟ้องพระอิศวร พระอิศวรจึงสาปให้นนทกาลไปเกิดเป็นควายป่าชื่อทรพา จะพ้นจากคำสาป เมื่อถูกลูกชายชื่อทรพีฆ่า ทรพาเมื่อเติบโตขึ้นเป็นจ่าฝูง มีนางควายป่าเป็นเมียมากมาย เมื่อใดที่นางควาย ตกลูกเป็นตัวผู้ ทรพาจะฆ่าลูกควายตัวนั้นให้ตาย เมื่อนางควายนิลาตั้งครรภ์กับทรพา นางควายก็หลีกจากฝูงไปออกลูกในถ้ำสุรกานต์ นางตกลูกเป็นตัวผู้ จึงฝากลูกให้เทวดารักษาถ้ำเลี้ยง แล้วกลับไปเข้าฝูง เทวดาได้ตั้งชื่อให้ลูกควายว่าทรพี และดูแลรักษาลูก ควายจนเติบใหญ่ขึ้น
ทรพีเมื่อถึงวัยหนุ่มคึกคะนอง ได้ออกจากถ้ำติด ตามหามารดาของตนจนพบ นางควายนิลาจึงเล่าความจริงที่ต้องทิ้งไว้ในถ้ำให้ฟัง และขอให้ทรพีอย่าเข้าใกล้ฝูงควายป่าเพราะจะได้รับอันตรายจากทรพาผู้เป็นพ่อ ทรพีเมื่อทราบความจริงแล้วก็มีความแค้นในทรพา ที่ทำให้ตนต้องพรากจากแม่แต่ยังเยาว์ จึงพยายามติดตามฝูงควายป่าไปห่างๆ และพยายามวัดรอยเท้าของตนกับรอยเท้าของทรพาผู้พ่อ จนวันหนึ่งเมื่อรอยเท้าของตนเท่ากับรอยเท้าของทรพาแล้ว ก็เกิดความฮึกเหิมเข้าไปท้าสู้กับทรพา ฝ่ายทรพาเมื่อ ถูกท้าสู้ก็โจนเข้าขวิดทรพีทันที ควายป่าทั้งสองสู้กันอย่างเต็มกำลังของตน ที่สุดทรพาก็ถูกทรพีขวิดตาย ข้างทรพีเมื่อฆ่าทรพาได้แล้ว ก็เป็นจ่าฝูงแทนและเที่ยว ระรานทั้งมนุษย์และเทวดาจนเดือดร้อนไปทั่ว ส่วนทรพาก็กลับไปเป็นนนทกาลอสูรเฝ้าประตูดังเดิม
วันหนึ่งทรพีได้เดินทางไปท้าสู้กับพระอิศวรที่เขาไกรลาศ พระอิศวรจึงบอกให้ทรพีไปสู้กับพาลี ซึ่งเป็นพญาลิง ทรพีจึงไปท้าสู้กับพาลี พาลีหลอกทรพีเข้าไปสู้ในถ้ำ แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะทรพีได้ จึงพิจารณาถึงความสามารถของทรพี พบว่าเกิดจากฤทธิ์ ของเทวดาที่รักษาทรพีอยู่ จึงวางอุบายให้ทรพีลบ หลู่เทวดาเหล่านั้น ทรพีไม่รู้กลด้วยสำคัญว่าตนเก่งกาจด้วยความสามารถของตน จึงกล่าววาจาดูแคลน เทวดา พาลีจึงกล่าวให้เทวดาเห็นถึงความเป็นพาลของทรพี เทวดาเหล่านั้นเมื่อได้ทราบแจ้งชัดแก่ใจว่า ทรพีเป็นผู้อกตัญญู จึงพากันถอนเทวฤทธิ์กลับสู่วิมานของตน พาลีจึงมีชัยแก่ทรพีได้ในที่สุด
พิจารณาจากเรื่องที่เล่ามานี้ ย่อมทราบว่า ทรพาผู้พ่อเป็นคนเลวที่จ้องทำลายชีวิตของลูกชาย ด้วยหวังในสุขที่เกิดจากราคะของตน ทรพีเป็นพาลชนที่ไม่สำนึกถึงคุณของพ่อผู้ให้กำเนิดและบุรพการี เช่น เทวดาที่รักษาตน ด้วยความแค้นที่มีต่อทรพาอันฝังลึกในจิตใจ ทรพีจึงวัดรอยเท้าทรพา เพื่อดูรูปร่างของ ตน เมื่อเห็นว่าเท่ากันแล้ว ก็ไปท้าสู้ จนได้รับชัยชนะ บุรพชนไทยได้นำคติธรรมเรื่องนี้มาสอนบุตรหลานว่า อย่าทำตนเหมือนทรพี อย่าวัดรอยเท้าผู้ใหญ่ ด้วยหวังให้บุตรหลานเป็นผู้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรมในจิตใจ
เหตุนี้ ในพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต โศภณวรรคที่ ๒ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ๑ ผู้นั้นเหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ ความเป็นคนกตัญญูกตเวที ๑ ผู้นั้นเหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์
คนที่ประพฤติตนทำกายทุจริต คือ ฆ่าสัตว์ ๑ ลักฉ้อ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ คือ ชอบทำตนผิดศีลข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓, วจีทุจริต คือ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑ คือ ชอบทำตนผิดศีลข้อ ๔, มโนทุจริต คือ โลภอยากได้ของเขา ๑ พยาบาทปองร้ายเขา ๑ เห็นผิดจากคลองธรรม ๑, ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที คือ ไม่รู้จักอุปการคุณ ที่บุรพการีได้ทำแล้วแก่ตน และไม่รู้จักตอบแทนคุณ ท่าน คนที่มีปกตินิสัยประพฤติเช่นนี้ ย่อมเป็นพาลชน ที่ชอบแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนบนความเดือดร้อนของผู้อื่น ถ้าคนประเภทนี้มีตำแหน่งอำนาจหน้า ที่ตามกฎหมาย ย่อมสร้างทุกข์ร้อนใจให้เกิดขึ้นแก่ผู้ ที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ ตราบใดที่กรรมชั่วที่เขาก่อขึ้น ยังไม่ให้ผล เขาย่อมคิดว่านี้คือบุญของเขา แต่ในความเป็นจริงเขาดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความหวาดระแวง กลัวถูกทำร้ายจากคนที่เขาไปสร้างความเดือดร้อนให้ นี่คือนรก ความทุกข์ใจที่เขาได้รับในขณะที่มีลมหาย ใจอยู่ ยามอยู่ก็มีแต่คนรังเกียจ ยามตายไปก็มีแต่คน แช่งด่า มองดูในสังคมไทยตามสื่อสารมวลชน จะพบเห็นคนประเภทนี้ได้มากในขณะนี้ พาลชนที่เป็นพ่อ ทำทุจริตทุกอย่างเพื่อลูก ลูกที่เขารักก็ประพฤติทุจริตเหมือนกับเขา ต่อให้คนทั้งหมดว่าลูกเขาเลว แต่ เขาบอกสังคมว่าลูกตนดี กรณีที่ตากใบเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคมที่ผ่านมา ก็เป็นผลงานของคนประเภทนี้เหมือนกัน นี้คือภัยอันร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตคนอื่น ด้วยการอ้างคำสอนในศาสนามาหลอกลวงศาสนิกชนให้หลงเชื่อ แล้วทำตามคำแนะนำของตน เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ต้องโทษพาลชนที่มีอำนาจบริหารประเทศที่มุ่งแต่แสวงหาผลประโยชน์ ทางการเมือง โดยเอื้อผลประโยชน์ให้แก่คนกลุ่มนี้ นรกจึงปรากฏที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในขณะนี้ มันเป็นวิบากกรรมของประเทศไทยจริงๆ
คนที่ประพฤติตนทำกายสุจริต คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ เว้นจากการลักฉ้อ ๑ เว้นจากการประพฤติ
ผิดในกาม ๑ คือ ประพฤติตนให้มีศีลข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓, วจีสุจริต คือ เว้นจากการพูดเท็จ ๑ เว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ เว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ คือ ประพฤติตนให้มีศีลข้อ ๔, มโนสุจริต คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ๑ ไม่พยาบาท ปองร้ายเขา ๑ เห็นชอบตามคลองธรรม ๑, ความเป็นคนกตัญญูกตเวที คือ รู้จักอุปการคุณที่บุรพการีได้ทำแล้วแก่ตน และรู้จักตอบแทนคุณท่าน คนที่มีปกติ นิสัยประพฤติเช่นนี้ ย่อมเป็นบัณฑิตชนชอบแสวงหา ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีอัธยาศัยชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น สามารถมีความสุข ทุกข์ร่วมกับผู้อื่นได้ มีความจริงใจที่จะประพฤติตนอยู่ใน กรอบแห่งธรรม ไปอยู่ที่ไหนก็มีคนรักใคร่นิยม นับถือ หลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ชีวิตเหมือนอยู่บนสวรรค์ ยามอยู่ก็มีคนรักใคร่ ยามตายไปก็มีคนห่วงหาอาทร คิดถึง สังคมใดที่มีบัณฑิตชนอยู่มาก สังคมนั้นย่อม มีความผาสุกอยู่เสมอ สันติสุขจะเกิดขึ้นได้ในสังคม ก็ด้วยความกตัญญูกตเวทีของคนในสังคมนั้น
๕๘ ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล-อดุลยเดชมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมา พระเสโทที่ไหลหลั่งรดแผ่นดินไทย จากเหนือจรดใต้ ตะวันออกจรดตะวันตก ด้วยพระราชปณิธานที่จะสร้างประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม พระมหากรุณาธิคุณที่แผ่ไพศาลโดยเสมอกันทุกท้องถิ่น สามัญสำนึกแห่งบัณฑิตชนย่อมตระหนักถึงความเป็นพระราชบุพการีชนของพระองค์ ควรที่คนไทยทุกคนจักได้ทำตนให้เป็นบัณฑิตชน แสดงความกตัญญูกตเวทีให้ปรากฏ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๗ พรรษา ในปีนี้เป็นต้นไป ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ ให้ตรงตามธรรมที่ศาสดาของตนได้กำหนด สั่งสอนไว้ในคัมภีร์หลักของศาสนา ผู้บริหารประเทศ ต้องละเลิกความเป็นพาลชนในจิตใจ ทำตนให้เป็นบัณฑิตชนตัวอย่างของประชาชนทุกหมู่เหล่าตามรอยพระบาท แต่นั้นสันติสุขในประเทศไทยก็จะบังเกิดขึ้น รอยพระสรวลด้วยความสุขในพระราช หฤทัยของพระองค์ อันเป็นที่รักยิ่งของเราทั้งหลายก็จะปรากฏตลอดไป
พระองค์จักทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน สมดังคำถวายพระพรว่า ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา
พระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต มหาวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑๐ โกศลสูตรที่ ๒ พรรณนาไว้ว่า เมื่อครั้งที่พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จกลับจากการรบชนะสงคราม มาแล้ว พระองค์เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงซบพระเศียรลงที่พระบาททั้งคู่ของพระพุทธองค์ ทรงจุ๊บพระบาททั้งสองด้วยพระโอษฐ์ ทรงนวดพระบาทด้วยพระหัตถ์ และทรงประกาศพระนามว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือ พระเจ้าปเสนทิโกศล..”
พระพุทธองค์ตรัสถามว่า “ดูกรมหาบพิตร ทรงเห็นอำนาจประโยชน์อะไรเล่าจึงทรงทำความนบนอบอย่างยิ่ง มอบถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตา เห็นปานนี้ ในสรีระนี้”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นความกตัญญูกตเวทีในพระองค์ เพราะพระองค์ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก ทรงยังชนหมู่มากให้ ดำรงอยู่ในอริยญายธรรม คือความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนบนอบอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ในพระองค์...ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเป็นผู้มีกิจมาก มีกรณียะมาก ขอถวายบังคมลาไป ณ บัดนี้”
“ดูกรมหาบพิตร ขอมหาบพิตรทรงสำคัญกาลอันควร ในบัดนี้เถิด”
พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกขึ้นจากอาสน์ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำประทักษิณแล้ว เสด็จกลับไป
.........
กตัญญู หมายถึงการระลึกรู้ถึงคุณอันผู้อื่นได้กระทำแล้วต่อตน กตเวที หมายถึงการกระทำเพื่อตอบแทนพระคุณท่านผู้เป็นบุรพการีชนของตน บุรพการี หมายถึง บุคคลผู้กระทำอุปการะก่อน เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ พระมหากษัตริย์ พระพุทธเจ้า เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงลำบากพระวรกายด้วยพระวิริยอุตสาหะเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความเกื้อกูลแก่ชนชาวไทยมาตลอดระยะเวลาที่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นต้นมา น้ำพระราชหฤทัยที่เปี่ยมไปด้วย พระมหากรุณาธิคุณ ได้ไหลหลั่งรดใจพสกนิกร ทั้งในเมืองที่มีความเจริญและชนบทที่ยากไร้ ความทุกข์ยาก คราบน้ำตาที่หลายคนได้พานพบมานาน ในท้องถิ่นของตน ล้วนมลายสิ้นไปเมื่อรอยพระบาทได้ย่างกรายไปถึง ความสุขสำราญในการดำเนินชีวิต ก็ปรากฏขึ้นมาแทนที่ เหตุนี้จึงนำให้พระองค์ทรงเป็นเจ้าชีวิตของชาวไทยตลอดมา พระองค์ทรงเป็น พระราชบุรพการีชนของชาวไทยผู้มีกตัญญูกตเวทิตา ธรรมเสมอมา ควรที่ชาวไทยทั้งหลายจักได้ทำความ นบนอบอย่างยิ่ง และถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาต่อพระองค์ ด้วยการปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีของชาติ ตามขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติไทยและกฎหมายที่ชอบธรรมของประเทศไทย ปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์เป็นธรรม มีความสุจริตใจในตำแหน่งหน้าที่ของตน เมื่อชาวไทยทุกคนสามารถทำได้ดังนี้ สามัคคีธรรมอันนำให้เกิดความวัฒนาสถาพรของชาติไทย ย่อมปรากฏขึ้น สังคมไทยจะเป็นสังคมอุดมคติที่ชนชาติอื่นปรารถนาจะมาเยี่ยมเยียนอยู่เสมอ
หันมองสังคมไทยในปัจจุบันยิ่งน่าเศร้าใจนัก สามัญสำนึกแห่งความกตัญญูกตเวทีในจิตใจคนไทยหลายคนได้จางหายไป ด้วยความหลงใหลในวัฒนธรรมตะวันตก ที่ตนคิดว่าทันสมัย ทำตนเป็นดุจทาสฝรั่ง นิยมยินดีกับคำชมเชยของฝรั่ง แล้วทำลายขนบธรรมเนียมประเพณีไทยด้วยการปฏิรูปการเมืองและการศึกษา จิตใจเขามุ่งแต่กอบโกยผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าเสียสละเพื่อส่วนรวม คนเหล่านี้ต้องเรียกว่า คนอกตัญญูหรือคนทรพี เป็นบุคคลที่สังคมไทยไม่ปรารถนาเลย บุรพชนไทยมักพร่ำสอนลูกหลานอยู่เสมอว่า อย่าทำตนให้เป็นเหมือน ทรพี ด้วยยกคติธรรมจากรามเกียรติ์ ตอน ทรพา-ทรพี มาสอน ดังมีเรื่องย่อว่า
นนทกาลอสูร เป็นยักษ์เฝ้าประตูกำแพงชั้นในเขาไกรลาส อันเป็นที่ประทับของพระอิศวร ได้ล่วงเกินนางมาลี เทพอัปสรผู้มีหน้าที่ร้อยดอกไม้ นางได้นำความไปทูลฟ้องพระอิศวร พระอิศวรจึงสาปให้นนทกาลไปเกิดเป็นควายป่าชื่อทรพา จะพ้นจากคำสาป เมื่อถูกลูกชายชื่อทรพีฆ่า ทรพาเมื่อเติบโตขึ้นเป็นจ่าฝูง มีนางควายป่าเป็นเมียมากมาย เมื่อใดที่นางควาย ตกลูกเป็นตัวผู้ ทรพาจะฆ่าลูกควายตัวนั้นให้ตาย เมื่อนางควายนิลาตั้งครรภ์กับทรพา นางควายก็หลีกจากฝูงไปออกลูกในถ้ำสุรกานต์ นางตกลูกเป็นตัวผู้ จึงฝากลูกให้เทวดารักษาถ้ำเลี้ยง แล้วกลับไปเข้าฝูง เทวดาได้ตั้งชื่อให้ลูกควายว่าทรพี และดูแลรักษาลูก ควายจนเติบใหญ่ขึ้น
ทรพีเมื่อถึงวัยหนุ่มคึกคะนอง ได้ออกจากถ้ำติด ตามหามารดาของตนจนพบ นางควายนิลาจึงเล่าความจริงที่ต้องทิ้งไว้ในถ้ำให้ฟัง และขอให้ทรพีอย่าเข้าใกล้ฝูงควายป่าเพราะจะได้รับอันตรายจากทรพาผู้เป็นพ่อ ทรพีเมื่อทราบความจริงแล้วก็มีความแค้นในทรพา ที่ทำให้ตนต้องพรากจากแม่แต่ยังเยาว์ จึงพยายามติดตามฝูงควายป่าไปห่างๆ และพยายามวัดรอยเท้าของตนกับรอยเท้าของทรพาผู้พ่อ จนวันหนึ่งเมื่อรอยเท้าของตนเท่ากับรอยเท้าของทรพาแล้ว ก็เกิดความฮึกเหิมเข้าไปท้าสู้กับทรพา ฝ่ายทรพาเมื่อ ถูกท้าสู้ก็โจนเข้าขวิดทรพีทันที ควายป่าทั้งสองสู้กันอย่างเต็มกำลังของตน ที่สุดทรพาก็ถูกทรพีขวิดตาย ข้างทรพีเมื่อฆ่าทรพาได้แล้ว ก็เป็นจ่าฝูงแทนและเที่ยว ระรานทั้งมนุษย์และเทวดาจนเดือดร้อนไปทั่ว ส่วนทรพาก็กลับไปเป็นนนทกาลอสูรเฝ้าประตูดังเดิม
วันหนึ่งทรพีได้เดินทางไปท้าสู้กับพระอิศวรที่เขาไกรลาศ พระอิศวรจึงบอกให้ทรพีไปสู้กับพาลี ซึ่งเป็นพญาลิง ทรพีจึงไปท้าสู้กับพาลี พาลีหลอกทรพีเข้าไปสู้ในถ้ำ แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะทรพีได้ จึงพิจารณาถึงความสามารถของทรพี พบว่าเกิดจากฤทธิ์ ของเทวดาที่รักษาทรพีอยู่ จึงวางอุบายให้ทรพีลบ หลู่เทวดาเหล่านั้น ทรพีไม่รู้กลด้วยสำคัญว่าตนเก่งกาจด้วยความสามารถของตน จึงกล่าววาจาดูแคลน เทวดา พาลีจึงกล่าวให้เทวดาเห็นถึงความเป็นพาลของทรพี เทวดาเหล่านั้นเมื่อได้ทราบแจ้งชัดแก่ใจว่า ทรพีเป็นผู้อกตัญญู จึงพากันถอนเทวฤทธิ์กลับสู่วิมานของตน พาลีจึงมีชัยแก่ทรพีได้ในที่สุด
พิจารณาจากเรื่องที่เล่ามานี้ ย่อมทราบว่า ทรพาผู้พ่อเป็นคนเลวที่จ้องทำลายชีวิตของลูกชาย ด้วยหวังในสุขที่เกิดจากราคะของตน ทรพีเป็นพาลชนที่ไม่สำนึกถึงคุณของพ่อผู้ให้กำเนิดและบุรพการี เช่น เทวดาที่รักษาตน ด้วยความแค้นที่มีต่อทรพาอันฝังลึกในจิตใจ ทรพีจึงวัดรอยเท้าทรพา เพื่อดูรูปร่างของ ตน เมื่อเห็นว่าเท่ากันแล้ว ก็ไปท้าสู้ จนได้รับชัยชนะ บุรพชนไทยได้นำคติธรรมเรื่องนี้มาสอนบุตรหลานว่า อย่าทำตนเหมือนทรพี อย่าวัดรอยเท้าผู้ใหญ่ ด้วยหวังให้บุตรหลานเป็นผู้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรมในจิตใจ
เหตุนี้ ในพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต โศภณวรรคที่ ๒ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ๑ ผู้นั้นเหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ ความเป็นคนกตัญญูกตเวที ๑ ผู้นั้นเหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์
คนที่ประพฤติตนทำกายทุจริต คือ ฆ่าสัตว์ ๑ ลักฉ้อ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ คือ ชอบทำตนผิดศีลข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓, วจีทุจริต คือ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑ คือ ชอบทำตนผิดศีลข้อ ๔, มโนทุจริต คือ โลภอยากได้ของเขา ๑ พยาบาทปองร้ายเขา ๑ เห็นผิดจากคลองธรรม ๑, ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที คือ ไม่รู้จักอุปการคุณ ที่บุรพการีได้ทำแล้วแก่ตน และไม่รู้จักตอบแทนคุณ ท่าน คนที่มีปกตินิสัยประพฤติเช่นนี้ ย่อมเป็นพาลชน ที่ชอบแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนบนความเดือดร้อนของผู้อื่น ถ้าคนประเภทนี้มีตำแหน่งอำนาจหน้า ที่ตามกฎหมาย ย่อมสร้างทุกข์ร้อนใจให้เกิดขึ้นแก่ผู้ ที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ ตราบใดที่กรรมชั่วที่เขาก่อขึ้น ยังไม่ให้ผล เขาย่อมคิดว่านี้คือบุญของเขา แต่ในความเป็นจริงเขาดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความหวาดระแวง กลัวถูกทำร้ายจากคนที่เขาไปสร้างความเดือดร้อนให้ นี่คือนรก ความทุกข์ใจที่เขาได้รับในขณะที่มีลมหาย ใจอยู่ ยามอยู่ก็มีแต่คนรังเกียจ ยามตายไปก็มีแต่คน แช่งด่า มองดูในสังคมไทยตามสื่อสารมวลชน จะพบเห็นคนประเภทนี้ได้มากในขณะนี้ พาลชนที่เป็นพ่อ ทำทุจริตทุกอย่างเพื่อลูก ลูกที่เขารักก็ประพฤติทุจริตเหมือนกับเขา ต่อให้คนทั้งหมดว่าลูกเขาเลว แต่ เขาบอกสังคมว่าลูกตนดี กรณีที่ตากใบเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคมที่ผ่านมา ก็เป็นผลงานของคนประเภทนี้เหมือนกัน นี้คือภัยอันร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตคนอื่น ด้วยการอ้างคำสอนในศาสนามาหลอกลวงศาสนิกชนให้หลงเชื่อ แล้วทำตามคำแนะนำของตน เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ต้องโทษพาลชนที่มีอำนาจบริหารประเทศที่มุ่งแต่แสวงหาผลประโยชน์ ทางการเมือง โดยเอื้อผลประโยชน์ให้แก่คนกลุ่มนี้ นรกจึงปรากฏที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในขณะนี้ มันเป็นวิบากกรรมของประเทศไทยจริงๆ
คนที่ประพฤติตนทำกายสุจริต คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ เว้นจากการลักฉ้อ ๑ เว้นจากการประพฤติ
ผิดในกาม ๑ คือ ประพฤติตนให้มีศีลข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓, วจีสุจริต คือ เว้นจากการพูดเท็จ ๑ เว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ เว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ คือ ประพฤติตนให้มีศีลข้อ ๔, มโนสุจริต คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ๑ ไม่พยาบาท ปองร้ายเขา ๑ เห็นชอบตามคลองธรรม ๑, ความเป็นคนกตัญญูกตเวที คือ รู้จักอุปการคุณที่บุรพการีได้ทำแล้วแก่ตน และรู้จักตอบแทนคุณท่าน คนที่มีปกติ นิสัยประพฤติเช่นนี้ ย่อมเป็นบัณฑิตชนชอบแสวงหา ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีอัธยาศัยชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น สามารถมีความสุข ทุกข์ร่วมกับผู้อื่นได้ มีความจริงใจที่จะประพฤติตนอยู่ใน กรอบแห่งธรรม ไปอยู่ที่ไหนก็มีคนรักใคร่นิยม นับถือ หลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ชีวิตเหมือนอยู่บนสวรรค์ ยามอยู่ก็มีคนรักใคร่ ยามตายไปก็มีคนห่วงหาอาทร คิดถึง สังคมใดที่มีบัณฑิตชนอยู่มาก สังคมนั้นย่อม มีความผาสุกอยู่เสมอ สันติสุขจะเกิดขึ้นได้ในสังคม ก็ด้วยความกตัญญูกตเวทีของคนในสังคมนั้น
๕๘ ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล-อดุลยเดชมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมา พระเสโทที่ไหลหลั่งรดแผ่นดินไทย จากเหนือจรดใต้ ตะวันออกจรดตะวันตก ด้วยพระราชปณิธานที่จะสร้างประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม พระมหากรุณาธิคุณที่แผ่ไพศาลโดยเสมอกันทุกท้องถิ่น สามัญสำนึกแห่งบัณฑิตชนย่อมตระหนักถึงความเป็นพระราชบุพการีชนของพระองค์ ควรที่คนไทยทุกคนจักได้ทำตนให้เป็นบัณฑิตชน แสดงความกตัญญูกตเวทีให้ปรากฏ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๗ พรรษา ในปีนี้เป็นต้นไป ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ ให้ตรงตามธรรมที่ศาสดาของตนได้กำหนด สั่งสอนไว้ในคัมภีร์หลักของศาสนา ผู้บริหารประเทศ ต้องละเลิกความเป็นพาลชนในจิตใจ ทำตนให้เป็นบัณฑิตชนตัวอย่างของประชาชนทุกหมู่เหล่าตามรอยพระบาท แต่นั้นสันติสุขในประเทศไทยก็จะบังเกิดขึ้น รอยพระสรวลด้วยความสุขในพระราช หฤทัยของพระองค์ อันเป็นที่รักยิ่งของเราทั้งหลายก็จะปรากฏตลอดไป
พระองค์จักทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน สมดังคำถวายพระพรว่า ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา