ตอนที่ 041
มรรคควรทำให้เจริญ
4. มรรคควรทำให้เจริญ กิจต่อมรรคคือการทำให้เจริญหรือภาวนา มีประเด็นสำคัญ 3 ประการคือ (1) ความหมายของมรรค (ทางดับทุกข์) (2) มรรคที่ควรเจริญ (มรรค 2 ประเภท) และ (3) วิธี การเจริญมรรค (การเจริญสติปัฏฐาน)
4.1 ความหมายของมรรค มรรคโดยทั่วไปหมายถึงทาง ซึ่งรวมถึงทางไปสู่ทุคติ สุคติ และนิพพานด้วย แต่มรรคในที่นี้หมายเฉพาะถึง "ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง เป็นทางให้ถึงพระนิพพาน คือถึงซึ่งความดับตัณหา เป็นผลให้ทุกข์ทั้งปวงสิ้นไป" บางตำราท่านก็ว่า มรรคคือ "ธรรมชาติที่ประหารกิเลสแล้วย่อมถึงพระนิพพาน" มรรคนี้มีชื่อเรียกได้หลายอย่างคือ มัคคสัจจ์ มัคคอริยสัจจ์ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ เป็นต้น
มรรคมีหนึ่งหมายความว่า ทางที่ให้ถึงความดับทุกข์มีทางเดียวนี้เท่านั้น ไม่มีทางที่สอง แต่มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (วาจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) สัมมาสติ (สติชอบ) และสัมมาสมาธิ (สมาธิชอบ)
4.2 มรรคที่ควรเจริญ มรรคที่ควรเจริญเพื่อถึงนิพพานมี 2 ประเภท ดังนี้
4.2.1 มรรคที่มีรูปหรือนามเป็นอารมณ์ มรรคชนิดนี้จัดเป็นโลกียมรรค มีองค์ประกอบ 8 ประการประชุมกันโดยมีอารมณ์อันเดียวคือรูปหรือนาม ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง คือในขณะใดมีสัมมาสติระลึกรู้รูปหรือนามอันใดอันหนึ่งอยู่ ในขณะนั้นจัดว่าเป็นการรู้ทุกข์เป็นส่วนของสัมมาทิฏฐิ ในขณะนั้นย่อมมีสัมมาสังกัปปะคือมีดำริออกจากกาม ดำริไม่พยาบาทและดำริไม่เบียดเบียน ในขณะนั้นย่อมมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ ในขณะนั้นย่อมมีสัมมาวายามะ คือมีความเพียรชอบ เพราะในระหว่างที่มีสติอยู่นั้นกิเลสที่มีอยู่จะดับไป กิเลสใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้ และเมื่อมีสติอยู่นั้นได้ชื่อว่ากำลังทำกุศลให้เกิดขึ้นและพัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป และในขณะนั้นย่อมมีสัมมาสมาธิ คือมีจิตตั้งมั่นใน การระลึกรู้อารมณ์รูปหรือนาม โดยจิตไม่ถลำลงไปในสิ่งที่ถูกรู้นั้น (ไม่หลง ดู ฟัง คิด เพ่ง ฯลฯ) จิตเป็นเพียงผู้ดูละครเรื่องรูปนามไม่ใช่ผู้แสดงละครเสียเอง
ทั้งนี้สัมมาสมาธิที่จำเป็นสำหรับการเจริญวิปัสสนาคือขณิกสมาธิ เป็นสภาพความตั้งมั่นของจิตในชั่วขณะของการรู้อารมณ์รูปหรือนาม โดย (1) จิตไม่ซัดส่ายหรือคลาดจากอารมณ์รูปหรือนามที่สติไประลึกรู้อยู่นั้น ไปที่อื่น และ (2) ในระหว่างที่รู้อารมณ์รูปหรือนามอยู่นั้น จิต เป็นตัวของตัวเอง ไม่หลง ไม่ไหลไปทางทวารทั้ง 6 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ถลำเข้าไปเพ่งจ้องหรือจมแช่อยู่กับอารมณ์รูปหรือนามที่สติไประลึกรู้เข้า พูดง่ายๆ ก็คือจิตตั้งมั่นไม่ถลำไปด้วยอำนาจของตัณหา 6 ประการนั่นเอง และจุดนี้เองที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโลท่านกล่าวสอนอยู่เสมอว่า "อย่าส่งจิตออกนอก"
คำว่า อย่าส่งจิตออกนอก หมายถึงการไม่หลงไปตามอำนาจของตัณหาในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ แต่พ่อแม่ครูอาจารย์อีกรูปหนึ่งของผู้เขียนคือ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี แห่งวัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย ท่านแยกแยะคำว่าส่งจิตออกนอก ออกเป็น ส่งนอก กับส่งใน คำว่าส่งนอกหมายถึงการขาดสติแล้วจิตทะยานหลงไปทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย ส่วนคำว่าส่งในหมายถึงการขาดสติแล้วจิตหลงไปทางใจ เช่นหลงคิด หลงเคลิ้ม หลง นิมิต หลงแสวงหา หลงเพ่ง หลงยินดี หลงยินร้าย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ เป็นศัตรูของการเจริญสติทั้งสิ้น
ถ้าจิตมีสัมมาสมาธิสนับสนุนอยู่ จิตก็จะไม่หลงส่งนอกส่งใน จิตจะตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นตัวของตัวเองในขณะที่รู้อารมณ์ แล้วจะเห็นอารมณ์ตรงตามความเป็นจริงได้ จุดนี้เองที่ตำราปริยัติธรรม ท่านสอนว่าสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ขอเน้นว่าต้องเป็นสัมมาสมาธิคือสมาธิที่ประกอบด้วยสติปัญญาเท่านั้นจึงจะใช้เจริญสติ สัมปชัญญะได้ ส่วนมิจฉาสมาธิอันประกอบด้วยโมหะและโลภะนั้นเป็นอาการหลง จัดเป็นศัตรูตัวฉกาจของการเจริญสติทีเดียว
4.2.2 มรรคที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ มรรคชนิดนี้คือ อริยมรรค เกิดขึ้นครั้งละขณะจิตเดียว และเกิดในผู้ปฏิบัติคนหนึ่งได้เพียง 4 ครั้งเท่านั้น มีองค์ประกอบ 8 ประการเช่นเดียวกับโลกียมรรค แต่มีนิพพานเป็นอารมณ์ เราไม่จำเป็นต้องพยายามทำมรรคชนิดนี้ให้เกิดขึ้น เพียงหมั่นเจริญวิปัสสนาหรือเจริญโลกียมรรคตามข้อ 4.2.1 เข้าไว้ แล้ววันหนึ่งก็จะเกิดอริยมรรคเอง
4.3 วิธีการเจริญมรรค ได้แก่การรู้ทุกข์ ด้วยการเจริญสติปัฏฐานในส่วนที่เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งก็คือการเจริญโลกียมรรคเพื่อให้บรรลุถึงอริยมรรคนั่นเอง
(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/
การเจริญสติปัฏฐาน)
มรรคควรทำให้เจริญ
4. มรรคควรทำให้เจริญ กิจต่อมรรคคือการทำให้เจริญหรือภาวนา มีประเด็นสำคัญ 3 ประการคือ (1) ความหมายของมรรค (ทางดับทุกข์) (2) มรรคที่ควรเจริญ (มรรค 2 ประเภท) และ (3) วิธี การเจริญมรรค (การเจริญสติปัฏฐาน)
4.1 ความหมายของมรรค มรรคโดยทั่วไปหมายถึงทาง ซึ่งรวมถึงทางไปสู่ทุคติ สุคติ และนิพพานด้วย แต่มรรคในที่นี้หมายเฉพาะถึง "ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง เป็นทางให้ถึงพระนิพพาน คือถึงซึ่งความดับตัณหา เป็นผลให้ทุกข์ทั้งปวงสิ้นไป" บางตำราท่านก็ว่า มรรคคือ "ธรรมชาติที่ประหารกิเลสแล้วย่อมถึงพระนิพพาน" มรรคนี้มีชื่อเรียกได้หลายอย่างคือ มัคคสัจจ์ มัคคอริยสัจจ์ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ เป็นต้น
มรรคมีหนึ่งหมายความว่า ทางที่ให้ถึงความดับทุกข์มีทางเดียวนี้เท่านั้น ไม่มีทางที่สอง แต่มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (วาจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) สัมมาสติ (สติชอบ) และสัมมาสมาธิ (สมาธิชอบ)
4.2 มรรคที่ควรเจริญ มรรคที่ควรเจริญเพื่อถึงนิพพานมี 2 ประเภท ดังนี้
4.2.1 มรรคที่มีรูปหรือนามเป็นอารมณ์ มรรคชนิดนี้จัดเป็นโลกียมรรค มีองค์ประกอบ 8 ประการประชุมกันโดยมีอารมณ์อันเดียวคือรูปหรือนาม ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง คือในขณะใดมีสัมมาสติระลึกรู้รูปหรือนามอันใดอันหนึ่งอยู่ ในขณะนั้นจัดว่าเป็นการรู้ทุกข์เป็นส่วนของสัมมาทิฏฐิ ในขณะนั้นย่อมมีสัมมาสังกัปปะคือมีดำริออกจากกาม ดำริไม่พยาบาทและดำริไม่เบียดเบียน ในขณะนั้นย่อมมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ ในขณะนั้นย่อมมีสัมมาวายามะ คือมีความเพียรชอบ เพราะในระหว่างที่มีสติอยู่นั้นกิเลสที่มีอยู่จะดับไป กิเลสใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้ และเมื่อมีสติอยู่นั้นได้ชื่อว่ากำลังทำกุศลให้เกิดขึ้นและพัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป และในขณะนั้นย่อมมีสัมมาสมาธิ คือมีจิตตั้งมั่นใน การระลึกรู้อารมณ์รูปหรือนาม โดยจิตไม่ถลำลงไปในสิ่งที่ถูกรู้นั้น (ไม่หลง ดู ฟัง คิด เพ่ง ฯลฯ) จิตเป็นเพียงผู้ดูละครเรื่องรูปนามไม่ใช่ผู้แสดงละครเสียเอง
ทั้งนี้สัมมาสมาธิที่จำเป็นสำหรับการเจริญวิปัสสนาคือขณิกสมาธิ เป็นสภาพความตั้งมั่นของจิตในชั่วขณะของการรู้อารมณ์รูปหรือนาม โดย (1) จิตไม่ซัดส่ายหรือคลาดจากอารมณ์รูปหรือนามที่สติไประลึกรู้อยู่นั้น ไปที่อื่น และ (2) ในระหว่างที่รู้อารมณ์รูปหรือนามอยู่นั้น จิต เป็นตัวของตัวเอง ไม่หลง ไม่ไหลไปทางทวารทั้ง 6 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ถลำเข้าไปเพ่งจ้องหรือจมแช่อยู่กับอารมณ์รูปหรือนามที่สติไประลึกรู้เข้า พูดง่ายๆ ก็คือจิตตั้งมั่นไม่ถลำไปด้วยอำนาจของตัณหา 6 ประการนั่นเอง และจุดนี้เองที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโลท่านกล่าวสอนอยู่เสมอว่า "อย่าส่งจิตออกนอก"
คำว่า อย่าส่งจิตออกนอก หมายถึงการไม่หลงไปตามอำนาจของตัณหาในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ แต่พ่อแม่ครูอาจารย์อีกรูปหนึ่งของผู้เขียนคือ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี แห่งวัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย ท่านแยกแยะคำว่าส่งจิตออกนอก ออกเป็น ส่งนอก กับส่งใน คำว่าส่งนอกหมายถึงการขาดสติแล้วจิตทะยานหลงไปทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย ส่วนคำว่าส่งในหมายถึงการขาดสติแล้วจิตหลงไปทางใจ เช่นหลงคิด หลงเคลิ้ม หลง นิมิต หลงแสวงหา หลงเพ่ง หลงยินดี หลงยินร้าย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ เป็นศัตรูของการเจริญสติทั้งสิ้น
ถ้าจิตมีสัมมาสมาธิสนับสนุนอยู่ จิตก็จะไม่หลงส่งนอกส่งใน จิตจะตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นตัวของตัวเองในขณะที่รู้อารมณ์ แล้วจะเห็นอารมณ์ตรงตามความเป็นจริงได้ จุดนี้เองที่ตำราปริยัติธรรม ท่านสอนว่าสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ขอเน้นว่าต้องเป็นสัมมาสมาธิคือสมาธิที่ประกอบด้วยสติปัญญาเท่านั้นจึงจะใช้เจริญสติ สัมปชัญญะได้ ส่วนมิจฉาสมาธิอันประกอบด้วยโมหะและโลภะนั้นเป็นอาการหลง จัดเป็นศัตรูตัวฉกาจของการเจริญสติทีเดียว
4.2.2 มรรคที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ มรรคชนิดนี้คือ อริยมรรค เกิดขึ้นครั้งละขณะจิตเดียว และเกิดในผู้ปฏิบัติคนหนึ่งได้เพียง 4 ครั้งเท่านั้น มีองค์ประกอบ 8 ประการเช่นเดียวกับโลกียมรรค แต่มีนิพพานเป็นอารมณ์ เราไม่จำเป็นต้องพยายามทำมรรคชนิดนี้ให้เกิดขึ้น เพียงหมั่นเจริญวิปัสสนาหรือเจริญโลกียมรรคตามข้อ 4.2.1 เข้าไว้ แล้ววันหนึ่งก็จะเกิดอริยมรรคเอง
4.3 วิธีการเจริญมรรค ได้แก่การรู้ทุกข์ ด้วยการเจริญสติปัฏฐานในส่วนที่เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งก็คือการเจริญโลกียมรรคเพื่อให้บรรลุถึงอริยมรรคนั่นเอง
(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/
การเจริญสติปัฏฐาน)