ตอนที่ 039
สมุทัยควรละ
2. สมุทัยควรละ กิจต่อสมุทัยคือการละหรือปหาน เรื่องนี้มีประเด็นที่สำคัญ 2 ประการคือ (1) สมุทัยที่จะต้องละนั้นคืออะไร (คือตัณหา) และ (2) การละสมุทัยนั้นทำอย่างไร (รู้ทุกข์) มีสาระสำคัญ ดังนี้คือ
2.1 สมุทัยคืออะไร สมุทัยคือตัณหาหรือความทะยานอยากของจิต สมุทัยมีองค์ธรรมอันเดียวคือโลภเจตสิก ช่างน่าทึ่งเสียจริงที่โลภเจตสิกตัวเดียวนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ซึ่งมีองค์ธรรมถึง 160 ประการ นับว่าตัณหาเป็นผู้สร้างโลกได้อย่างแท้จริงทีเดียว
ตัณหาตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทท่านจำแนกไว้ 3 ชนิดคือ (1) กามตัณหา คือความทะยานอยากได้ในกามคุณอารมณ์ (รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ) (2) ภวตัณหา คือความอยากมีอยากเป็น อยากดำรงอยู่อย่างถาวร (สัสสตทิฏฐิ) และ (3) วิภวตัณหา คือความไม่อยากมีไม่อยากเป็น หรืออยากดับสูญ (อุทเฉททิฏฐิ)
แต่สำหรับนักปฏิบัติน่าจะสนใจตัณหาตามนัยที่ทรงแสดงในมหาสติปัฏฐานสูตรดูบ้าง คือทรงแสดงตัณหา 6 ประการ ได้แก่ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น ตัณหาในรส ตัณหาในสิ่งสัมผัสทางกาย และตัณหาในธัมมารมณ์ ในขั้นนี้ฝากเพื่อนนักปฏิบัติให้จำเรื่องตัณหา 6 ไว้ก่อน เมื่อถึงขั้นการปฏิบัติจะได้กล่าวถึงอีกครั้งหนึ่ง
2.2 วิธีการละสมุทัย จะดับทุกข์ต้องดับที่สาเหตุของทุกข์คือ ตัวสมุทัย เมื่อจะดับตัวสมุทัยก็ต้องดับที่สาเหตุของสมุทัยเช่นกัน
ตัณหาหรือความทะยานอยากของจิต เกิดจากความไม่รู้อริยสัจจ์ (อวิชชา) คือ (1) ความไม่รู้ว่ารูปนามเป็นทุกข์ (2) ความไม่รู้ว่าความอยากในรูปนาม (คืออยากได้ อยากมีอยากเป็น ไม่อยากมีไม่อยากเป็น) เป็นเหตุให้จิตใจกระสับกระส่ายเป็นทุกข์อยู่ในปัจจุบัน และเป็นเหตุให้เกิดมีรูปนามใหม่ในอนาคต (3) ความไม่รู้แจ้งสภาวะที่พ้นจากรูปนามเพราะความดับสนิทแห่งตัณหา คือไม่รู้ความดับทุกข์ (นิพพาน) และ (4) ความไม่รู้ข้อปฏิบัติเพื่อดับความทะยานอยากในรูปนาม
ถ้ามองในแง่ว่าตัณหาเกิดจากอะไรดูจะยุ่งยากสักหน่อย จึงควรลองมองกลับด้านดูบ้าง ว่าตัณหาดับได้ด้วยอะไร
แท้จริงแล้วตัณหาดับได้ ด้วยการรู้ทุกข์คือรู้ความจริงของรูปนามเท่านั้นเอง ครูบาอาจารย์วัดป่าท่านมักสอนว่า รู้ทุกข์นั่นแหละเป็นการละสมุทัย หมายความว่าถ้าสามารถรู้ความจริงว่ารูปนามไม่ใช่เรา เราไม่มี เขาไม่มี มีแต่รูปนามที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ตามเหตุตามปัจจัย และรูปนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พอรู้ความจริงอย่างนี้แล้ว ความทะยานอยากทั้งด้านพอใจและไม่พอใจในรูปนามก็จะดับไปโดยอัตโนมัติ
(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/นิโรธควรทำให้แจ้ง)
สมุทัยควรละ
2. สมุทัยควรละ กิจต่อสมุทัยคือการละหรือปหาน เรื่องนี้มีประเด็นที่สำคัญ 2 ประการคือ (1) สมุทัยที่จะต้องละนั้นคืออะไร (คือตัณหา) และ (2) การละสมุทัยนั้นทำอย่างไร (รู้ทุกข์) มีสาระสำคัญ ดังนี้คือ
2.1 สมุทัยคืออะไร สมุทัยคือตัณหาหรือความทะยานอยากของจิต สมุทัยมีองค์ธรรมอันเดียวคือโลภเจตสิก ช่างน่าทึ่งเสียจริงที่โลภเจตสิกตัวเดียวนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ซึ่งมีองค์ธรรมถึง 160 ประการ นับว่าตัณหาเป็นผู้สร้างโลกได้อย่างแท้จริงทีเดียว
ตัณหาตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทท่านจำแนกไว้ 3 ชนิดคือ (1) กามตัณหา คือความทะยานอยากได้ในกามคุณอารมณ์ (รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ) (2) ภวตัณหา คือความอยากมีอยากเป็น อยากดำรงอยู่อย่างถาวร (สัสสตทิฏฐิ) และ (3) วิภวตัณหา คือความไม่อยากมีไม่อยากเป็น หรืออยากดับสูญ (อุทเฉททิฏฐิ)
แต่สำหรับนักปฏิบัติน่าจะสนใจตัณหาตามนัยที่ทรงแสดงในมหาสติปัฏฐานสูตรดูบ้าง คือทรงแสดงตัณหา 6 ประการ ได้แก่ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น ตัณหาในรส ตัณหาในสิ่งสัมผัสทางกาย และตัณหาในธัมมารมณ์ ในขั้นนี้ฝากเพื่อนนักปฏิบัติให้จำเรื่องตัณหา 6 ไว้ก่อน เมื่อถึงขั้นการปฏิบัติจะได้กล่าวถึงอีกครั้งหนึ่ง
2.2 วิธีการละสมุทัย จะดับทุกข์ต้องดับที่สาเหตุของทุกข์คือ ตัวสมุทัย เมื่อจะดับตัวสมุทัยก็ต้องดับที่สาเหตุของสมุทัยเช่นกัน
ตัณหาหรือความทะยานอยากของจิต เกิดจากความไม่รู้อริยสัจจ์ (อวิชชา) คือ (1) ความไม่รู้ว่ารูปนามเป็นทุกข์ (2) ความไม่รู้ว่าความอยากในรูปนาม (คืออยากได้ อยากมีอยากเป็น ไม่อยากมีไม่อยากเป็น) เป็นเหตุให้จิตใจกระสับกระส่ายเป็นทุกข์อยู่ในปัจจุบัน และเป็นเหตุให้เกิดมีรูปนามใหม่ในอนาคต (3) ความไม่รู้แจ้งสภาวะที่พ้นจากรูปนามเพราะความดับสนิทแห่งตัณหา คือไม่รู้ความดับทุกข์ (นิพพาน) และ (4) ความไม่รู้ข้อปฏิบัติเพื่อดับความทะยานอยากในรูปนาม
ถ้ามองในแง่ว่าตัณหาเกิดจากอะไรดูจะยุ่งยากสักหน่อย จึงควรลองมองกลับด้านดูบ้าง ว่าตัณหาดับได้ด้วยอะไร
แท้จริงแล้วตัณหาดับได้ ด้วยการรู้ทุกข์คือรู้ความจริงของรูปนามเท่านั้นเอง ครูบาอาจารย์วัดป่าท่านมักสอนว่า รู้ทุกข์นั่นแหละเป็นการละสมุทัย หมายความว่าถ้าสามารถรู้ความจริงว่ารูปนามไม่ใช่เรา เราไม่มี เขาไม่มี มีแต่รูปนามที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ตามเหตุตามปัจจัย และรูปนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พอรู้ความจริงอย่างนี้แล้ว ความทะยานอยากทั้งด้านพอใจและไม่พอใจในรูปนามก็จะดับไปโดยอัตโนมัติ
(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/นิโรธควรทำให้แจ้ง)