xs
xsm
sm
md
lg

ประทีปส่องธรรม : วิธีปฏิบัติในขั้นการเจริญปัญญา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ตอนที่ 035 ขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม

2. ขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม
ภายใต้แม่บทหลักของการปฏิบัติธรรมดังกล่าว ท่านพระสารีบุตรได้แสดงขั้นตอนของการปฏิบัติธรรมไว้ 7 ขั้นตอน คือธรรมชื่อวิสุทธิ 7 ปรากฏในบทสนทนาอันเลื่องชื่อกับท่านพระปุณณมันตานีบุตร (รถวินีตสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎกเล่ม 4 พระไตรปิฎกเล่ม 12) สาระโดยสรุปของวิสุทธิ 7 ก็คือไตรสิกขาหรือเรื่องศีล สมาธิ และปัญญา นั่นเอง เพียงแต่ซอยขั้นตอนของปัญญาสิกขาให้ละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

3. วิธีปฏิบัติในขั้นการเจริญปัญญา
พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องการเจริญสติปัฏฐานไว้ (มหาสติปัฏฐานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระสุตตันตปิฎกเล่ม 2 พระไตรปิฎกเล่ม 10)

4. พัฒนาการทางด้านปัญญา
เมื่อเจริญสติปัฏฐานอย่างถูกต้องแล้ว จิตจะเกิดพัฒนาการทางด้านปัญญา คือเกิดความรู้ถูกเข้าใจถูก จนถึงขั้นการประหารกิเลสไปตามลำดับ ปรากฏในหลักธรรมเรื่องโสฬสญาณ (โสฬสญาณเป็นคำสอนในชั้นหลังพุทธกาลค่อนข้างมาก และมีส่วนที่แตกต่างจากคำสอนในชั้นพระไตรปิฎก อันปรากฏในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎกเล่ม 23 พระไตรปิฎกเล่ม 31 อยู่บ้าง จึงควรศึกษาด้วยวิจารณญาณให้มากสักหน่อย)
จากการสำรวจหลักธรรมสำคัญในภาคปฏิบัติข้างต้น ผู้เขียนขอเสนอให้เพื่อนนักปฏิบัติเลือกศึกษาเฉพาะหลักธรรมที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อการปฏิบัติเท่านั้น ประกอบด้วย (1) หลักของการปฏิบัติธรรมได้แก่ หลักธรรมเรื่องกิจในอริยสัจจ์ และ (2) วิธีการปฏิบัติธรรม ได้แก่หลักธรรมเรื่องสติปัฏฐาน ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นคำสอนตรงของพระพุทธเจ้า สำหรับเรื่องขั้นตอนของการปฏิบัติและพัฒนาการทางด้านปัญญานั้น จะเว้นไว้ศึกษาในภายหลังก็พอได้ เพราะถ้ารู้หลักของการปฏิบัติธรรมและวิธีการปฏิบัติธรรมชัดเจน ก็พอจะเริ่มลงมือปฏิบัติได้แล้ว อย่างไรก็ตามก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมในเรื่อง (3) รูปนามที่นักปฏิบัติจำเป็นต้องทราบ เพราะรูปนามนี้แหละคือทุกข์ที่จะต้องรู้ตามกิจในอริยสัจจ์ และคืออารมณ์ วิปัสสนาในสติปัฏฐานด้วย เพียงเข้าใจธรรม 3 เรื่องนี้ก็สามารถลงมือปฏิบัติธรรมอย่างไม่หลงทางได้แล้ว

(อ่านต่อวันจันทร์หน้า/
แม่บทหลักของการปฏิบัติธรรม)
กำลังโหลดความคิดเห็น