ตอนที่ 021
ทางแยก ตอน วิมุตติ
การบรรลุมรรคผลที่ถูกต้อง
6. วิมุตติ/การบรรลุมรรคผลที่ถูกต้อง
เพื่อนนักปฏิบัติบางท่านไปหลงในอาการของจิตบางอย่างว่าเป็นการบรรลุมรรคผล เช่นจิตเกิดดับวูบหมดความรู้สึกไปชั่วขณะ พอเกิดความรู้สึกตัวก็คิดว่าช่วงที่จิตหายไป หรือช่วงที่เหมือนกับไม่มีจิตนั้น เป็นการบรรลุมรรคผลเพราะไม่รู้สึกถึงความมีอยู่ของรูปนาม แท้จริงการไม่รู้รูปนามก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องรู้นิพพาน และในขณะที่เกิดมรรคผลซึ่งมีอารมณ์นิพพานนั้นก็มีจิตและเจตสิก ไม่ใช่ไม่มีจิตและเจตสิก เรื่องนี้พระอภิธรรมจะอธิบายได้อย่างชัดเจนถึงวิถีจิตในขณะที่บรรลุมรรคผล
บางท่านจิตเกิดถ่ายทอดธรรมะขึ้นมาบ้าง จิตเทศน์ให้ตนเองฟังบ้าง ตนเองคลุ้มคลั่งอยากแสดงธรรมะบ้าง จิตวูบวาบหรือมีอาการแปลกๆ อย่างอื่นบ้าง จิตหลงไปเกาะอยู่กับความว่างบ้าง ก็เกิดความสำคัญมั่นหมายว่าได้บรรลุธรรมแล้ว นี้เป็นทางแยกที่น่ากลัวมากทีเดียว
7. เครื่องป้องกันการหลงทาง
แม้ทางแยกที่ชวนให้หลงทางในระหว่างการปฏิบัติจะมีอยู่มาก แต่พวกเราก็มีเครื่องช่วยป้องกันการหลงทางอยู่ 2 ประการคือ
(1) กัลยาณมิตร คือครูบาอาจารย์ที่เคยเดินทางไปก่อนแล้ว และ
(2) โยนิโสมนสิการ คือการรู้จักเฉลียวใจคิดพิจารณาว่า ทางที่เดินอยู่นั้นตรงตามหลักการและวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้หรือไม่ เช่นถ้าสังเกตพบว่ามีตัณหาแทรกอยู่ในระหว่างการปฏิบัติธรรม หรือถ้าไม่รู้ทุกข์คือกายกับใจ แต่พยายามละทุกข์ ก็แสดงว่าปฏิบัติผิดพลาดไปแล้ว เป็นต้น
สำหรับผู้เขียนเองก็มีเครื่องสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง คือถ้าปฏิบัติไขว้เขวออกจากการมีความรู้สึกตัวแล้วตามรู้จิตตนเองเมื่อใด ก็แสดงว่าเดินพลาดแล้ว เช่นถ้ามัวตามจัดการกับกิเลสตัวใดตัวหนึ่ง โดยละทิ้งการรู้จิตใจตนเอง ก็แสดงว่าถูกกิเลสหลอก เพราะพ่อแม่ครูอาจารย์พระป่าท่านมักสอนว่า กิเลสจะพยายามหลอกให้เราเลิกรู้จิตใจตนเองเสมอๆ เนื่องจากหัวหน้ากิเลสมันซ่อนอยู่ที่จิตใจเรานี่เอง
ธรรม 2 ประการนี้สำคัญมากสำหรับผู้ปฏิบัติ ถึงขนาดที่พระ พุทธเจ้าทรงกล่าวว่า กัลยาณมิตรอย่างหนึ่ง และโยนิโสมนสิการอีกอย่างหนึ่ง คือทั้งหมดของพรหมจรรย์ (การประพฤติปฏิบัติธรรม)
(อ่าน/การเจริญสติในชีวิตประจำวัน วันจันทร์หน้า)
ทางแยก ตอน วิมุตติ
การบรรลุมรรคผลที่ถูกต้อง
6. วิมุตติ/การบรรลุมรรคผลที่ถูกต้อง
เพื่อนนักปฏิบัติบางท่านไปหลงในอาการของจิตบางอย่างว่าเป็นการบรรลุมรรคผล เช่นจิตเกิดดับวูบหมดความรู้สึกไปชั่วขณะ พอเกิดความรู้สึกตัวก็คิดว่าช่วงที่จิตหายไป หรือช่วงที่เหมือนกับไม่มีจิตนั้น เป็นการบรรลุมรรคผลเพราะไม่รู้สึกถึงความมีอยู่ของรูปนาม แท้จริงการไม่รู้รูปนามก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องรู้นิพพาน และในขณะที่เกิดมรรคผลซึ่งมีอารมณ์นิพพานนั้นก็มีจิตและเจตสิก ไม่ใช่ไม่มีจิตและเจตสิก เรื่องนี้พระอภิธรรมจะอธิบายได้อย่างชัดเจนถึงวิถีจิตในขณะที่บรรลุมรรคผล
บางท่านจิตเกิดถ่ายทอดธรรมะขึ้นมาบ้าง จิตเทศน์ให้ตนเองฟังบ้าง ตนเองคลุ้มคลั่งอยากแสดงธรรมะบ้าง จิตวูบวาบหรือมีอาการแปลกๆ อย่างอื่นบ้าง จิตหลงไปเกาะอยู่กับความว่างบ้าง ก็เกิดความสำคัญมั่นหมายว่าได้บรรลุธรรมแล้ว นี้เป็นทางแยกที่น่ากลัวมากทีเดียว
7. เครื่องป้องกันการหลงทาง
แม้ทางแยกที่ชวนให้หลงทางในระหว่างการปฏิบัติจะมีอยู่มาก แต่พวกเราก็มีเครื่องช่วยป้องกันการหลงทางอยู่ 2 ประการคือ
(1) กัลยาณมิตร คือครูบาอาจารย์ที่เคยเดินทางไปก่อนแล้ว และ
(2) โยนิโสมนสิการ คือการรู้จักเฉลียวใจคิดพิจารณาว่า ทางที่เดินอยู่นั้นตรงตามหลักการและวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้หรือไม่ เช่นถ้าสังเกตพบว่ามีตัณหาแทรกอยู่ในระหว่างการปฏิบัติธรรม หรือถ้าไม่รู้ทุกข์คือกายกับใจ แต่พยายามละทุกข์ ก็แสดงว่าปฏิบัติผิดพลาดไปแล้ว เป็นต้น
สำหรับผู้เขียนเองก็มีเครื่องสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง คือถ้าปฏิบัติไขว้เขวออกจากการมีความรู้สึกตัวแล้วตามรู้จิตตนเองเมื่อใด ก็แสดงว่าเดินพลาดแล้ว เช่นถ้ามัวตามจัดการกับกิเลสตัวใดตัวหนึ่ง โดยละทิ้งการรู้จิตใจตนเอง ก็แสดงว่าถูกกิเลสหลอก เพราะพ่อแม่ครูอาจารย์พระป่าท่านมักสอนว่า กิเลสจะพยายามหลอกให้เราเลิกรู้จิตใจตนเองเสมอๆ เนื่องจากหัวหน้ากิเลสมันซ่อนอยู่ที่จิตใจเรานี่เอง
ธรรม 2 ประการนี้สำคัญมากสำหรับผู้ปฏิบัติ ถึงขนาดที่พระ พุทธเจ้าทรงกล่าวว่า กัลยาณมิตรอย่างหนึ่ง และโยนิโสมนสิการอีกอย่างหนึ่ง คือทั้งหมดของพรหมจรรย์ (การประพฤติปฏิบัติธรรม)
(อ่าน/การเจริญสติในชีวิตประจำวัน วันจันทร์หน้า)