โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
ชาวจีนเริ่มอพยพเข้ามาในอุษาคเนย์ตั้งแต่ปลายราชวงศ์ถังแต่มีหลักฐานบ่งชี้น้อยมาก ในสมัยราชวงศ์ซ่งชาวจีนเป็นจำนวนมากเดินทางออกไปค้าขายยังต่างประเทศและมีชุมชนชาวจีนตามเมืองท่าต่างๆ เช่นอ่าวตังเกี๋ย จามปา กัมพูชา ศรีวิชัย เป็นต้น ดังนั้นชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้อาศัยอยู่ร่วมกับชาวพื้นเมือง ซึ่งบางคนอาศัยอยู่มากกว่า 20 ปีหรือไม่ก็แต่งงานกับผู้หญิงพื้นเมืองจนมีลูกมีหลาน บางคนทำการค้าตามเมืองท่าในอุษาคเนย์ ซึ่งการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนย้อนไปถึงสมัยราชวงศ์ซ่ง [Wada 1959; Go Eunmi 2022] เอกสารจีนสมัยราชวงศ์ซ่งมักจะเน้นปัญญาชนและข้าราชการที่ถูกอบรมให้รู้ระบบราชการจีนจึงยากที่จะสรุปว่าพ่อค้าชาวจีนคือคนส่วนใหญ่ของชาวจีนโพ้นทะเลในยุคนั้น แม้ว่าในช่วงต้นราชวงศ์ซ่งจะห้ามชาวจีนที่ไม่ใช่พ่อค้าเดินทางออกนอกประเทศแต่ชาวจีนเริ่มออกเดินเรือตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.1621 จนมีชาวจีนตั้งถิ่นฐานในอุษาคเนย์เป็นจำนวนมากในพุทธศตวรรษที่ 17 [Go Eunmi 2022; Yang 2022]
เนื่องจากราชวงศ์ซ่งอ่อนแอกว่าราชวงศ์ถังจึงไม่สามารถบังคับใช้ระบบบรรณาการที่ให้ประเทศคู่ค้าปฏิบัติตามพิธีการทูตในฐานะเมืองขึ้นของราชสำนักจีนเพื่อได้รับการรับรองได้ มีแต่กษัตริย์เท่านั้นที่สามารถมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนและค้าขายโดยการส่งบรรณาการ [Go Eunmi 2022; Meekanon 2023] ดังนั้นราชวงศ์ซ่งจึงอนุญาตให้พ่อค้าเอกชนค้าขายควบคู่กับรัฐในระบบบรรณาการจนกระทั่งใช้ระบบศุลการกรทางทะเลในต้นพุทธศตวรรษที่ 18 [Suzuki 2012] เพื่อเตรียมรับมือกับการรุกรานจากชนเผ่าต่างๆทางเหนือ ราชสำนักซ่งต้องพึ่งพารายได้จากการค้าต่างประเทศมากจึงเริ่มมีชุมชนชาวจีนหลายแห่งในอุษาคเนย์ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งก่อนหน้านี้พ่อค้าชาวจีนเดินทางไปมาระหว่างจีนกับต่างประเทศเป็นเวลานานจนสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมกับชนชั้นนำในท้องถิ่นได้ ผลประโยชน์ของชาวจีนโดยเฉพาะในอุษาคเนย์มาจากบทบาททางเศรษฐกิจของพ่อค้าเหล่านี้ [Go Eunmi 2022] พ่อค้าชาวจีนได้รับอนุญาตให้เดินเรือไปต่างประเทศตั้งแต่ปีพ.ศ.1532 ในขณะที่ห้ามไม่ให้พ่อค้าเดินทางไปต่างประเทศในปีพ.ศ.1615 ประเทศที่ใช้ระบบราชการของจีนเช่น ไดเวียต โครยอนิยมจ้างชาวจีนที่เข้าใจปรัชญาขงจื้อมาช่วยราชการ [Go Eunmi 2022] ในขณะที่ประเทศที่ไม่รับวัฒนธรรมขงจื้ออย่างศรีวิชัย ชวา จามปาหรือตามพรลิงค์ในภายหลังจะไม่ใช้บุคคลเหล่านี้
ในสมัยราชวงศ์ซ่งเมืองทางตอนใต้ของจีนที่ทำการเกษตรจะเจริญกว่าเมืองทางเหนือที่คนไม่นิยมตั้งถิ่นฐานตามแนวชายแดนเนื่องจากกลัวการรุกรานของชนเผ่าเร่ร่อนต่างๆทั้งในเรื่องเศรษฐกิจและประชากร ทำให้คนจีนเดินทางไปทำมาหากินยังต่างประเทศที่ให้โอกาสที่ดีกว่า [Go Eunmi 2022]
พิธีการทูตของราชวงศ์ซ่งเริ่มจากทูตต่างประเทศจะนำพระราชสาส์นในภาษาท้องถิ่นที่ลงตราลัญฉกรจากหัวแหวนของกษัตริย์ประทับตรา และมีลัญฉกรประทับและพระราชสาส์นภาษาจีน (表文เปี้ยวเหวิน) ถวายให้จักรพรรดิจีน ลัญฉกรภาษาจีนอาจใช้อักษรจีนที่บันทึกไว้ในพงศาวดารและเอกสารจีนต่างๆ ตัวอย่างเช่น กวางโจวสือบันทึกว่าผู้บังคับเรือศรีวิชัยนำการบูร 227 ตำลึงและผ้า 13 ม้วนกับพระราชสาส์นภาษาจีนจากกษัตริย์ศรีวิชัยและพระราชธิดาผู้ดูแลการค้าต่างประเทศ แม้ว่าพระราชสาส์นจะถูกส่งให้ขุนนางในท้องที่ไม่ได้ไปถึงพระหัตถ์องค์จักรพรรดิ แต่เหตุการณ์นี้บ่งชี้ว่าทูตศรีวิชัยใช้ภาษาจีนควบคู่กับภาษามลายูในศรีวิชัยและตามพรลิงค์และพระราชสาส์นที่ส่งให้จักรพรรดิเขียนเป็นภาษาจีน [Heng 2009; Go Eunmi 2022; Meekanon 2023] เช่นเดียวกับราชวงศ์ก่อนๆราชวงศ์ซ่งใช้ระบบสำมโนครัวในการจัดการเรื่องประชากรและการจัดเก็บภาษี ดังนั้นราชสำนักจึงไม่ชอบการอพยพโยกย้ายการตั้งถิ่นฐานมากนักแต่ก็ไม่สามารถห้ามได้ ในที่สุดจึงอนุญาตให้อพยพข้ามเขตได้แต่ต้องรับโทษ 1 ปี [Go Eunmi 2022] ดังนั้นราชวงศ์ซ่งจึงต่างจากราชวงศ์อื่นในเรื่องการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน [Heng 2009; Yang 2022] ราชวงศ์ซ่งออกราชโองการในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.1628 อนุญาตให้ประเทศต่างๆใช้พ่อค้าชาวจีนในการส่งบรรณาการ หลังจากนั้นพ่อค้าจีนเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้นโดยได้รับใบผ่านทางและนำทูตต่างประเทศมายังราชสำนัก ในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.1671 มีการเรียกร้องให้ห้ามพ่อค้าจีนใช้เรือจีนขนส่งทูตและพ่อค้าต่างชาติเข้ามา ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.1672 ราชสำนักซ่งลงโทษพ่อค้าชาวจีนที่ขนทูตต่างชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้แรงงาน 2 ปีและริบทรัพย์สิน
เนื่องจากพ่อค้าจีนได้รับอนุญาตให้ค้าขายได้กับทั้งจีนและต่างประเทศ จึงมีเรือจีนแล่นออกไปค้าขายมากขึ้นทั้งขาไปและขากลับ โดยพาทูตต่างชาติเข้ามาและส่งกลับไปหลังภารกิจเสร็จสิ้น [Go Eunmi 2022] เมื่อติดต่อกับต่างประเทศบ่อยๆพ่อค้าเหล่านี้จึงสร้างเครือข่ายและสามารถมีอิทธิพลในราชสำนักเพื่อประโยชน์ทางการค้าของตน [Heng 2009] ดังนั้นจนกระทั่งสิ้นสุดราชวงศ์ซ่งพ่อค้าชาวจีนจึงได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานตามเมืองท่าต่างๆของสมาพันธรัฐตามพรลิงค์เข้าร่วมแม้กระทั่งประเพณีแห่พระที่พัทลุงตามที่บันทึกไว้ในเอกสารจูฟ่านจื้อ เต้าอี้จาจื้อและอี้หยู่จื้อ เมื่อราชวงศ์ซ่งใช้ระบบศุลกากรทางทะเลก็ตั้งสำนักงานศุลกากร (ฉือป๋อจื้อ市舶司) ดูแลการนำเข้าส่งออกและพิธีการศุลกากรที่กว่างโจวและฉวนโจวเพื่อดูแลการค้ากับอุษาคเนย์ [Suzuki 2012; Go Eunmi 2022] จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปัญญาชนที่ยากจนในชนบทมักจะลงทะเบียนเป็นพ่อค้าเพื่อเดินทางไปค้าขายต่างประเทศ ทำให้มีราชโองการในปีพ.ศ.1655 ห้ามบุคคลที่เคยสอบเข้ารับราชการหรือเรียนหนังสือกับโรงเรียนในท้องที่ออกเรือเดินทางไปต่างประเทศ ดังนั้นกลาสีชาวจีนมักจะหนีไปเมื่อไม่ต้องแต่งชุดจีนในต่างประเทศเพื่อหาอาหาร แต่งงานอยู่กินกับชาวพื้นเมือง หาที่อยู่อาศัยและค้าขายได้สะดวก [Go Eunmi 2022]
การตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในสมาพันธรัฐนครศรีธรรมราชช่วงราชวงศ์หยวน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการค้าในช่องแคบมะละกาสมัยราชวงศ์หยวนได้แก่ จารึกภาษาทมิฬที่ฉวนโจว (พ.ศ.1824) ที่แสดงการตั้งถิ่นฐานของชาวทมิฬ ต้าเต๋อหนานไห่จื้อ (พ.ศ.1847) ที่เป็นบันทึกเมืองท่ากว่างโจว บันทึกการเดินทางของมาร์โค โปโลและอิบึน บาตตูต้า และฮิกายัต ราชา ปาไซ ในสมัยราชวงศ์ซ่งสมาพันธรัฐศรีวิชัยเป็นคู่ค้าสำคัญของจีนที่คุมช่องแคบมะละกาเอาไว้แต่ในสมัยราชวงศ์หยวนชื่อศรีวิชัยแทบจะไม่ปรากฏเพราะถูกบันทึกเอาไว้แค่ 3 ครั้งในต้าเต๋อหนานไห่จื้อ เต้าอี้จื้อเลื้อยในเล่ม 208-210 ที่ไม่ได้พูดถึงประเทศใดๆในช่องแคบมะละกา และหยวนสือที่บันทึกครั้งเดียวในเล่มที่ 11 แม้ว่าราชสำนักหยวนจะไม่รับรู้ว่าศรีวิชัยอยู๋ในทะเลใต้เหมือนรับที่คนท้องถิ่นรับรู้จนสิ้นสุดราชวงศ์ซ่ง เมื่อราชวงศ์หยวนครองภาคใต้ของจีนได้ทั้งหมดในปีพ.ศ.1818 ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางกับพ่อค้าท้องถิ่นในฝูเจี้ยนที่มีเชื้อสายอาหรับ เปอร์เซียหรือเอเชียกลางที่ยังคงมีอิทธิพลจึงเริ่มขึ้น หลังจากแก้ปัญหาได้แล้วจึงบันทึกชื่อศรีวิชัยในหยวนสือในปีพ.ศ.1823 พ่อค้าเหล่านี้ต้องการควบคุมเครื่องบรรณาการจากศรีวิชัยเหมือนในสมัยราชวงศ์ซ่งแต่ราชสำนักหยวนไม่เห็นด้วยเพราะต้องการเก็บภาษีจากพ่อค้าเอกชนที่ไปค้าขายต่างประเทศมากขึ้นจึงไม่จำเป็นต้องถือว่าศรีวิชัยเป็นเมืองขึ้น [Fukami 2004b; Heng 2005] สมาพันธรัฐตามพรลิงค์ซึ่งแยกตัวจากศรีวิชัยในปีพ.ศ.1773 ได้กลายเป็นนครศรีธรรมราชหลังจากราชวงศ์ซ่งล่มสลายแต่เอกสารจีนในสมัยราชวงศ์หยวนยังคงบันทึกเป็นตามพรลิงค์ 2 ครั้ง ในอี้หยูจื้อบันทึกว่าราชวงศ์หยวนเรียกร้องบรรณาการจากตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) แต่ถูกปฏิเสธ ในต้าเต๋อหนานไห่จื้อบันทึกว่าตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) มีเมืองขึ้น 12 เมืองอยู่ในแหลมมลายู ในยุคราชวงศ์หยวนพ่อค้าจีนเป็นตัวกลางอย่างเป็นทางการในเรื่องบรรณาการและการค้าต่างประเทศ จำนวนพ่อค้าจีนที่ไปต่างประเทศมีมากขึ้น มีเรือเดินทางไประหว่างประเทศมากขึ้นทำให้มีชุมชนชาวจีนหลายแห่งในสมาพันธรัฐนครศรีธรรมราช และเรือจากจีนและอุษาคเนย์แวะไปเมืองท่าในอินเดียใต้มากกว่าในสมัยราชวงศ์ซ่งเนื่องจากพัฒนาการความรู้ในเรื่องการเดินเรือที่ก้าวหน้ามากขึ้น [Fukami 2004b; Heng 2009]
เอกสารอ้างอิง
Fukami Sumio, 深見純生. (2004). Passage of Emporium: The Malacca Straits during the Yuan Period 元代のマラッカ海峡-通路か拠点か. Southeast Asia: History and Culture, 33, 100–118.
Go, E. (2022). Characteristics of Overseas Chinese Residents and the Background behind the Formation of Their Settlements in the Song Period. International Journal of Asian Studies, 20(2), 459–476.
Heng, D. T. S. (2005). Economic Interaction between China and the Malacca Straits Region: Tenth to Fourteenth A.D. [Doctoral Thesis]. University of Hull.
Heng, D. T. S. (2009). Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.
Meekanon, K. (2023). Srivijaya Routes: The Greatest Trade Network in Ancient Southeast Asia. Pattaya: White Lotus.
Suzuki Takashi 铃木峻. (2012). The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Mekong.
Wada Hisanori 和田久徳. 1959. “‘Tōnan Ajia ni okeru shoki kakyō shakai (960–1279)’ 東南アジアにおける初期華僑社会(九六〇-一二七九) [Early Overseas Chinese Communities in Southeast Asia (960–1279)].” Tōyō gakuhō 東洋學報 (The Journal of the Research Department of the Toyo Bunko), 42 (1): 76–106
Yang, S. 楊劭允. (2022). Unauthorised Exchanges: Restrictions on Foreign Trade and Intermarriage in the Tang and Northern Song Empire. T’oung Pao, 108 (56).
ชาวจีนเริ่มอพยพเข้ามาในอุษาคเนย์ตั้งแต่ปลายราชวงศ์ถังแต่มีหลักฐานบ่งชี้น้อยมาก ในสมัยราชวงศ์ซ่งชาวจีนเป็นจำนวนมากเดินทางออกไปค้าขายยังต่างประเทศและมีชุมชนชาวจีนตามเมืองท่าต่างๆ เช่นอ่าวตังเกี๋ย จามปา กัมพูชา ศรีวิชัย เป็นต้น ดังนั้นชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้อาศัยอยู่ร่วมกับชาวพื้นเมือง ซึ่งบางคนอาศัยอยู่มากกว่า 20 ปีหรือไม่ก็แต่งงานกับผู้หญิงพื้นเมืองจนมีลูกมีหลาน บางคนทำการค้าตามเมืองท่าในอุษาคเนย์ ซึ่งการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนย้อนไปถึงสมัยราชวงศ์ซ่ง [Wada 1959; Go Eunmi 2022] เอกสารจีนสมัยราชวงศ์ซ่งมักจะเน้นปัญญาชนและข้าราชการที่ถูกอบรมให้รู้ระบบราชการจีนจึงยากที่จะสรุปว่าพ่อค้าชาวจีนคือคนส่วนใหญ่ของชาวจีนโพ้นทะเลในยุคนั้น แม้ว่าในช่วงต้นราชวงศ์ซ่งจะห้ามชาวจีนที่ไม่ใช่พ่อค้าเดินทางออกนอกประเทศแต่ชาวจีนเริ่มออกเดินเรือตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.1621 จนมีชาวจีนตั้งถิ่นฐานในอุษาคเนย์เป็นจำนวนมากในพุทธศตวรรษที่ 17 [Go Eunmi 2022; Yang 2022]
เนื่องจากราชวงศ์ซ่งอ่อนแอกว่าราชวงศ์ถังจึงไม่สามารถบังคับใช้ระบบบรรณาการที่ให้ประเทศคู่ค้าปฏิบัติตามพิธีการทูตในฐานะเมืองขึ้นของราชสำนักจีนเพื่อได้รับการรับรองได้ มีแต่กษัตริย์เท่านั้นที่สามารถมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนและค้าขายโดยการส่งบรรณาการ [Go Eunmi 2022; Meekanon 2023] ดังนั้นราชวงศ์ซ่งจึงอนุญาตให้พ่อค้าเอกชนค้าขายควบคู่กับรัฐในระบบบรรณาการจนกระทั่งใช้ระบบศุลการกรทางทะเลในต้นพุทธศตวรรษที่ 18 [Suzuki 2012] เพื่อเตรียมรับมือกับการรุกรานจากชนเผ่าต่างๆทางเหนือ ราชสำนักซ่งต้องพึ่งพารายได้จากการค้าต่างประเทศมากจึงเริ่มมีชุมชนชาวจีนหลายแห่งในอุษาคเนย์ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งก่อนหน้านี้พ่อค้าชาวจีนเดินทางไปมาระหว่างจีนกับต่างประเทศเป็นเวลานานจนสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมกับชนชั้นนำในท้องถิ่นได้ ผลประโยชน์ของชาวจีนโดยเฉพาะในอุษาคเนย์มาจากบทบาททางเศรษฐกิจของพ่อค้าเหล่านี้ [Go Eunmi 2022] พ่อค้าชาวจีนได้รับอนุญาตให้เดินเรือไปต่างประเทศตั้งแต่ปีพ.ศ.1532 ในขณะที่ห้ามไม่ให้พ่อค้าเดินทางไปต่างประเทศในปีพ.ศ.1615 ประเทศที่ใช้ระบบราชการของจีนเช่น ไดเวียต โครยอนิยมจ้างชาวจีนที่เข้าใจปรัชญาขงจื้อมาช่วยราชการ [Go Eunmi 2022] ในขณะที่ประเทศที่ไม่รับวัฒนธรรมขงจื้ออย่างศรีวิชัย ชวา จามปาหรือตามพรลิงค์ในภายหลังจะไม่ใช้บุคคลเหล่านี้
ในสมัยราชวงศ์ซ่งเมืองทางตอนใต้ของจีนที่ทำการเกษตรจะเจริญกว่าเมืองทางเหนือที่คนไม่นิยมตั้งถิ่นฐานตามแนวชายแดนเนื่องจากกลัวการรุกรานของชนเผ่าเร่ร่อนต่างๆทั้งในเรื่องเศรษฐกิจและประชากร ทำให้คนจีนเดินทางไปทำมาหากินยังต่างประเทศที่ให้โอกาสที่ดีกว่า [Go Eunmi 2022]
พิธีการทูตของราชวงศ์ซ่งเริ่มจากทูตต่างประเทศจะนำพระราชสาส์นในภาษาท้องถิ่นที่ลงตราลัญฉกรจากหัวแหวนของกษัตริย์ประทับตรา และมีลัญฉกรประทับและพระราชสาส์นภาษาจีน (表文เปี้ยวเหวิน) ถวายให้จักรพรรดิจีน ลัญฉกรภาษาจีนอาจใช้อักษรจีนที่บันทึกไว้ในพงศาวดารและเอกสารจีนต่างๆ ตัวอย่างเช่น กวางโจวสือบันทึกว่าผู้บังคับเรือศรีวิชัยนำการบูร 227 ตำลึงและผ้า 13 ม้วนกับพระราชสาส์นภาษาจีนจากกษัตริย์ศรีวิชัยและพระราชธิดาผู้ดูแลการค้าต่างประเทศ แม้ว่าพระราชสาส์นจะถูกส่งให้ขุนนางในท้องที่ไม่ได้ไปถึงพระหัตถ์องค์จักรพรรดิ แต่เหตุการณ์นี้บ่งชี้ว่าทูตศรีวิชัยใช้ภาษาจีนควบคู่กับภาษามลายูในศรีวิชัยและตามพรลิงค์และพระราชสาส์นที่ส่งให้จักรพรรดิเขียนเป็นภาษาจีน [Heng 2009; Go Eunmi 2022; Meekanon 2023] เช่นเดียวกับราชวงศ์ก่อนๆราชวงศ์ซ่งใช้ระบบสำมโนครัวในการจัดการเรื่องประชากรและการจัดเก็บภาษี ดังนั้นราชสำนักจึงไม่ชอบการอพยพโยกย้ายการตั้งถิ่นฐานมากนักแต่ก็ไม่สามารถห้ามได้ ในที่สุดจึงอนุญาตให้อพยพข้ามเขตได้แต่ต้องรับโทษ 1 ปี [Go Eunmi 2022] ดังนั้นราชวงศ์ซ่งจึงต่างจากราชวงศ์อื่นในเรื่องการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน [Heng 2009; Yang 2022] ราชวงศ์ซ่งออกราชโองการในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.1628 อนุญาตให้ประเทศต่างๆใช้พ่อค้าชาวจีนในการส่งบรรณาการ หลังจากนั้นพ่อค้าจีนเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้นโดยได้รับใบผ่านทางและนำทูตต่างประเทศมายังราชสำนัก ในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.1671 มีการเรียกร้องให้ห้ามพ่อค้าจีนใช้เรือจีนขนส่งทูตและพ่อค้าต่างชาติเข้ามา ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.1672 ราชสำนักซ่งลงโทษพ่อค้าชาวจีนที่ขนทูตต่างชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้แรงงาน 2 ปีและริบทรัพย์สิน
เนื่องจากพ่อค้าจีนได้รับอนุญาตให้ค้าขายได้กับทั้งจีนและต่างประเทศ จึงมีเรือจีนแล่นออกไปค้าขายมากขึ้นทั้งขาไปและขากลับ โดยพาทูตต่างชาติเข้ามาและส่งกลับไปหลังภารกิจเสร็จสิ้น [Go Eunmi 2022] เมื่อติดต่อกับต่างประเทศบ่อยๆพ่อค้าเหล่านี้จึงสร้างเครือข่ายและสามารถมีอิทธิพลในราชสำนักเพื่อประโยชน์ทางการค้าของตน [Heng 2009] ดังนั้นจนกระทั่งสิ้นสุดราชวงศ์ซ่งพ่อค้าชาวจีนจึงได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานตามเมืองท่าต่างๆของสมาพันธรัฐตามพรลิงค์เข้าร่วมแม้กระทั่งประเพณีแห่พระที่พัทลุงตามที่บันทึกไว้ในเอกสารจูฟ่านจื้อ เต้าอี้จาจื้อและอี้หยู่จื้อ เมื่อราชวงศ์ซ่งใช้ระบบศุลกากรทางทะเลก็ตั้งสำนักงานศุลกากร (ฉือป๋อจื้อ市舶司) ดูแลการนำเข้าส่งออกและพิธีการศุลกากรที่กว่างโจวและฉวนโจวเพื่อดูแลการค้ากับอุษาคเนย์ [Suzuki 2012; Go Eunmi 2022] จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปัญญาชนที่ยากจนในชนบทมักจะลงทะเบียนเป็นพ่อค้าเพื่อเดินทางไปค้าขายต่างประเทศ ทำให้มีราชโองการในปีพ.ศ.1655 ห้ามบุคคลที่เคยสอบเข้ารับราชการหรือเรียนหนังสือกับโรงเรียนในท้องที่ออกเรือเดินทางไปต่างประเทศ ดังนั้นกลาสีชาวจีนมักจะหนีไปเมื่อไม่ต้องแต่งชุดจีนในต่างประเทศเพื่อหาอาหาร แต่งงานอยู่กินกับชาวพื้นเมือง หาที่อยู่อาศัยและค้าขายได้สะดวก [Go Eunmi 2022]
การตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในสมาพันธรัฐนครศรีธรรมราชช่วงราชวงศ์หยวน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการค้าในช่องแคบมะละกาสมัยราชวงศ์หยวนได้แก่ จารึกภาษาทมิฬที่ฉวนโจว (พ.ศ.1824) ที่แสดงการตั้งถิ่นฐานของชาวทมิฬ ต้าเต๋อหนานไห่จื้อ (พ.ศ.1847) ที่เป็นบันทึกเมืองท่ากว่างโจว บันทึกการเดินทางของมาร์โค โปโลและอิบึน บาตตูต้า และฮิกายัต ราชา ปาไซ ในสมัยราชวงศ์ซ่งสมาพันธรัฐศรีวิชัยเป็นคู่ค้าสำคัญของจีนที่คุมช่องแคบมะละกาเอาไว้แต่ในสมัยราชวงศ์หยวนชื่อศรีวิชัยแทบจะไม่ปรากฏเพราะถูกบันทึกเอาไว้แค่ 3 ครั้งในต้าเต๋อหนานไห่จื้อ เต้าอี้จื้อเลื้อยในเล่ม 208-210 ที่ไม่ได้พูดถึงประเทศใดๆในช่องแคบมะละกา และหยวนสือที่บันทึกครั้งเดียวในเล่มที่ 11 แม้ว่าราชสำนักหยวนจะไม่รับรู้ว่าศรีวิชัยอยู๋ในทะเลใต้เหมือนรับที่คนท้องถิ่นรับรู้จนสิ้นสุดราชวงศ์ซ่ง เมื่อราชวงศ์หยวนครองภาคใต้ของจีนได้ทั้งหมดในปีพ.ศ.1818 ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางกับพ่อค้าท้องถิ่นในฝูเจี้ยนที่มีเชื้อสายอาหรับ เปอร์เซียหรือเอเชียกลางที่ยังคงมีอิทธิพลจึงเริ่มขึ้น หลังจากแก้ปัญหาได้แล้วจึงบันทึกชื่อศรีวิชัยในหยวนสือในปีพ.ศ.1823 พ่อค้าเหล่านี้ต้องการควบคุมเครื่องบรรณาการจากศรีวิชัยเหมือนในสมัยราชวงศ์ซ่งแต่ราชสำนักหยวนไม่เห็นด้วยเพราะต้องการเก็บภาษีจากพ่อค้าเอกชนที่ไปค้าขายต่างประเทศมากขึ้นจึงไม่จำเป็นต้องถือว่าศรีวิชัยเป็นเมืองขึ้น [Fukami 2004b; Heng 2005] สมาพันธรัฐตามพรลิงค์ซึ่งแยกตัวจากศรีวิชัยในปีพ.ศ.1773 ได้กลายเป็นนครศรีธรรมราชหลังจากราชวงศ์ซ่งล่มสลายแต่เอกสารจีนในสมัยราชวงศ์หยวนยังคงบันทึกเป็นตามพรลิงค์ 2 ครั้ง ในอี้หยูจื้อบันทึกว่าราชวงศ์หยวนเรียกร้องบรรณาการจากตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) แต่ถูกปฏิเสธ ในต้าเต๋อหนานไห่จื้อบันทึกว่าตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) มีเมืองขึ้น 12 เมืองอยู่ในแหลมมลายู ในยุคราชวงศ์หยวนพ่อค้าจีนเป็นตัวกลางอย่างเป็นทางการในเรื่องบรรณาการและการค้าต่างประเทศ จำนวนพ่อค้าจีนที่ไปต่างประเทศมีมากขึ้น มีเรือเดินทางไประหว่างประเทศมากขึ้นทำให้มีชุมชนชาวจีนหลายแห่งในสมาพันธรัฐนครศรีธรรมราช และเรือจากจีนและอุษาคเนย์แวะไปเมืองท่าในอินเดียใต้มากกว่าในสมัยราชวงศ์ซ่งเนื่องจากพัฒนาการความรู้ในเรื่องการเดินเรือที่ก้าวหน้ามากขึ้น [Fukami 2004b; Heng 2009]
เอกสารอ้างอิง
Fukami Sumio, 深見純生. (2004). Passage of Emporium: The Malacca Straits during the Yuan Period 元代のマラッカ海峡-通路か拠点か. Southeast Asia: History and Culture, 33, 100–118.
Go, E. (2022). Characteristics of Overseas Chinese Residents and the Background behind the Formation of Their Settlements in the Song Period. International Journal of Asian Studies, 20(2), 459–476.
Heng, D. T. S. (2005). Economic Interaction between China and the Malacca Straits Region: Tenth to Fourteenth A.D. [Doctoral Thesis]. University of Hull.
Heng, D. T. S. (2009). Sino-Malay Trade and Diplomacy: From Tenth through the Fourteenth Century. Singapore: ISEAS.
Meekanon, K. (2023). Srivijaya Routes: The Greatest Trade Network in Ancient Southeast Asia. Pattaya: White Lotus.
Suzuki Takashi 铃木峻. (2012). The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Mekong.
Wada Hisanori 和田久徳. 1959. “‘Tōnan Ajia ni okeru shoki kakyō shakai (960–1279)’ 東南アジアにおける初期華僑社会(九六〇-一二七九) [Early Overseas Chinese Communities in Southeast Asia (960–1279)].” Tōyō gakuhō 東洋學報 (The Journal of the Research Department of the Toyo Bunko), 42 (1): 76–106
Yang, S. 楊劭允. (2022). Unauthorised Exchanges: Restrictions on Foreign Trade and Intermarriage in the Tang and Northern Song Empire. T’oung Pao, 108 (56).