โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
ก่อนที่ฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัย มีหลักฐานจีนและอินเดียกล่าวถึงเคดาห์ จากพงศาวดารหนานฉีชู้ กษัตริย์กา-หล่าส่งทูตไปราชสำนักหนานฉีในเดือนพฤษภาคมพ.ศ.1022 และในปีพ.ศ.1213 ดังนั้นเกียต-ต้าและกา-หล่าคือสำเนียงจีนยุคกลางที่ใช้เรียกเคดาห์และอาจจะเป็นเกอลาห์ในจริตตา ปราฮยังกัน จารึกทมิฬปัตตินภาลัย (Pattinappalai) บรรทัดที่ 185-192 กล่าวว่าเคดาห์ติดต่อกับกะเวริปูมปัตตินัมในยุคก่อนศรีวิชัยโดยมีเมืองปาลูร์ที่เจริญมาก่อนนาคปฏินัม กลิงคะปัตตนัม อลากันคูลัมด้วย จารึกพุทธคุปตะในพุทธศตวรรษที่ 10 แถวเคดาห์กล่าวถึงรักตมฤติกาที่สทิงพระ จารึกนี้ยืนยันว่าเคดาห์ได้เจริญขึ้นมาเป็นท่าเปลี่ยนเรือจากจีนไปอินเดียที่ช่องแคบมะละกาที่พระภิกษุอี้จิงเคยมาแวะ [Chen Yan 2020: 80; Sen 2014b: 48, 50-51] นอกจากคฑารัมแล้ว นครรัฐเคดาห์ยังเป็นที่รู้จักในวรรณคดีอินเดียจากยุคต่างๆ เช่น คฑะหะ-นคระ (ในละครเกามุดี มโหตสะวะ), อันดา-คฑหะ (ในอัคนีปุราณะ), คฑหะ-ทวีป (ในสมะไรจักราฮา) และคฑะหะ (ในกถาสฤษการ) [Subrizain.org] ด้วยเหตุนี้ เคดาห์จึงส่งเรือไปยังอินเดียใต้
เก๋อหลัวคือกาหล่า คือเคดาห์ นักเดินเรืออาหรับกล่าวถึงกาหล่า มาซูดี้ใน อบูซัยอิด อบู ดูลัฟ อดริซี ซินแบด มุฆาตาซะ อัล-อจาอิด อบูฟิดะ [Wheatley 1961; 59]

นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10-18 เคดาห์มีแต่ซากวัดมีขนาดเล็กไม่ใหญ่เหมือนในกัมพูชา พม่า ชวา หรือจามปาในเวียดนาม พ่อค้าชาวต่างชาติและในท้องถิ่นช่วยกันอุปถัมภ์วัดแห่งนี้ ในขณะที่พระอวโลกิเตศวรเป็นผู้ปกป้องชาวเรือในพุทธศตวรรษที่ 9 พระพุทธเจ้าทีปังกรก็เป็นผู้ปกป้องชาวเรือในพุทธศตวรรษที่ 10 ชุมชนในหุบเขาบูจังเจริญขึ้นตามธรรมชาติโดยไม่ได้มีการวางแผนผังที่ดีเมื่อมีศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาอยู่ร่วมกัน เคดาห์จึงเป็นนครรัฐนานาชาติที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ โดยมีชาวอินเดีย มลายู อาหรับ พราหมณ์และชาวพุทธ [Murphy 2018]
ฮุสเซน ซาอุดและอุสมานิสันนิษฐานว่านครรัฐเคดาห์โบราณครอบคลุมพื้นที่กัวลาบาหัง กัวลาบารา กัวลาปิลา และเมอร์ปาห์ โดยมีชาวอินเดียกลุ่มหนึ่งตั้งถิ่นฐานที่เคดาห์ประมาณปีพ.ศ.713 ในขณะที่ชาวออสโตรเอเชียติก (มอญ-เขมร) จากทางเหนือ ชาวออสโตรนีเซียนจากเกาะใกล้เคียงและพ่อค้าชาวอาหรับและเปอร์เซียได้เดินทางมาถึงในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามหลักฐานทางโบราณคดีขัดแย้งกับสมมติฐานของพวกเขา เนื่องจากการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่นี้มีมานานมาก พ่อค้าจากอินเดีย เปอร์เซีย และคาบสมุทรอาหรับที่เดินเรือมาถึงบริเวณปากช่องแคบมะละกา มักใช้ยอดเขาเจไรที่สูง 1,200 เมตรเป็นจุดสังเกตการณ์ [Husain, Saud & Usmani 2011]
พุทธศาสนามหายานเจริญรุ่งเรืองที่เคดาห์ [Suzuki 2012: 35] ซูซูกิเชื่อมโยงกาล่าห์กับเคดาห์โบราณ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 เคดาห์เคยเป็นเมืองท่าการค้าระหว่างประเทศ พ่อค้าทำการค้าขายกับจีนผ่านทางชายฝั่งตะวันออกของแหลมมลายูเพื่อทำการขนถ่ายสินค้า และกูนุง เจไรก็เป็นจุดสังเกตการณ์ของนักเดินเรือที่โดดเด่น เคดาห์ผลิตแท่งดีบุก เตาหลอมเหล็ก และลูกปัด อย่างไรก็ตาม เมืองท่าที่มีประชากรเบาบาง เช่น จามปา ตามพรลิงค์ และเคดาห์ในคาบสมุทรมลายู ศรีวิชัย และเมืองท่าอื่นๆ ในเกาะสุมาตราด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และจุดค้าขายริมชายฝั่งในเกาะบอร์เนียวมีพื้นที่ทำการเกษตรที่จำกัด [Lieberman 2010]
เคดาห์ในยุคราชวงศ์ศรีชัยนาศ
หลังจากฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัยแล้วเคดาห์ถูกบันทึกเป็น กา-หล่า (迦罗เจี้ย-หลัว) ในชินถังชู้ เล่มที่ 222 เหวินเซี่ยนท๊งเข่าเล่มที่ 331 และไท่ผิงหวนยู่จี๊ เล่มที่ 176-179 แต่ในบันทึกหนานไห่ของพระภิกษุอี้จิงเรียกว่าเกียต-ตา (羯茶เจี้ย-ฉา) และเรียกว่า กาล่าห์ในภาษาอาหรับ ดังนั้นทั้งกา-หล่าและเกียต-ตาตามสำเนียงจีนยุคกลางคือเคดาห์ แม้ว่าวอลเตอร์จะบอกว่าอยู่บนเกาะชวา กา-หล่าควรเป็นคำเรียกเมืองเคดาห์ทั้งในภาษาจีนยุคกลางและอาหรับ ศรีวิชัยเอาชนะเคดาห์ได้ในปีพ.ศ.1238 [Wolters 1967: 169, 1970: 235]
สมาพันธรัฐศรีวิชัยเป็นสมาพันธ์เมืองท่า ประกอบด้วย เช่น วิชัย (ปาเลมบัง) เคดาห์ จัมบิ (ที่ตั้งของจัณฑิ กุมปุง) และอื่นๆ หนังสือจากยุคศรีวิชัยเพียงเล่มเดียวที่เหลือรอดได้ถูกแปลเป็นภาษาทิเบต เกี่ยวกับการทำปัญญาให้บริบูรณ์ ของพระธรรมกีรติพระอาจารย์ของพระอติศา [Woodward 2004] ในพุทธศตวรรษที่ 12 และ 13 เมืองเคดาห์อยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างหลวมๆ ของสมาพันธรัฐศรีวิชัย [Meekanon 2023] ศรีวิชัยปราบเคดาห์ในปีพ.ศ.1228 [Wolters 1970: 235] และกา-หล่าน่าจะเป็นเกอร์ลาห์ในจริตาหรือเรื่องเล่าปราฮยังกันของซุนดา
หุบเขาบูจังเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการค้าศรีวิชัยซึ่งประกอบด้วยท่าเรือและที่แลกเปลี่ยนสินค้าที่มีเครือข่ายพันธมิตรในระบบแบบอุปถัมภ์ที่เป็นศูนย์กลางมณฑล โอคอนเนอร์และเกียรติกำจร มีขนอน [O’ Conner 1975; Meekanon 2023] ได้เปรียบเทียบสมาพันธรัฐศรีวิชัยกับสันนิบาตฮันเซียติก และพบความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างสองสมาพันธรัฐเมืองท่านี้ การทำเครื่องกระเบื้อง แก้ว ลูกปัด พระพุทธรูปและเทวรูปฮินดูและสิ่งของอื่นๆ บ่งบอกว่าหุบเขาบูจังเป็นส่วนหนึ่งเส้นทางการค้าระหว่างจีนกับอินเดีย และภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย [Murphy 2018] พระภิกษุอี้จิงแวะเคดาห์ 2 ครั้งคือ พ.ศ.1216 และ พ.ศ.1230 [Suzuki 2012: 94] สมาพันธรัฐศรีวิชัยเข้ายึดเมืองเคดาห์ ประมาณปี พ.ศ.1228-1232 เพราะเมื่อพระภิกษุอี้จิงกลับจากอินเดียมาที่ศรีวิชัยอีกครั้งในปีพ.ศ.1232 พบว่าเมืองมลายูได้ขึ้นกับสมาพันธรัฐศรีวิชัยแล้ว
เอกสารอ้างอิง
Chen Yan 陈炎. (2020). The Maritime Silk Road and Cultural Communication between China and the West. (H. Mu, C. Gao, & C. Chen, Trans.) Lanham, MD: Lexington Book.
Husain, M., Akhtar, S. S., & Usmani, B. D. (2011). A Concise History of Islam. Vij Books India.
Lieberman, V. (2010). Maritime Influence in Southeast Asia c900-1300: Some Further Thoughts. ๋Journal of Southeast Asian Studies, 41(3), 529–539.
Meekanon, K. (2023). Srivijaya Routes: The Greatest Trade Network in Ancient Southeast Asia. White Lotus.
Murphy, S. A. (2018). Revisiting the Bujang Valley: A Southeast Asian Entrepôt Complex on the Maritime Trade Route. Journal of the Royal Asiatic Society, 28(2), 335–389.
O’Connor, S. J. (1975). Tambralinga and the Khmer Empire. Journal of the Siam Society, 63, 161–175.
Sen, Tansen. (2014). Maritime Southeast Asia between South Asia and China to the Sixteenth Centuries. TRaNS -Regional and -National Studies of Southeast Asia 2:31–59.
Suzuki Takashi 铃木峻. (2012). The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Mekong.
Wheatley, P. (1961). The Golden Khersonese: Studies in the Historical Geography of Malay Peninsula before AD1500. University of Malaya Press.
Wolters, O. W. (1967). Early Indonesian Commerce: A Study of the Origins of Srivijaya. Cornell University Press.
Wolters, O. W. (1970). The Fall of Srivijaya in Malay History. Cornell University Press.
Woodward, H. (2004). Esoteric Buddhism in Southeast Asia in the Light of Recent Scholarship. Journal of Southeast Asian Studies, 35(2), 329–354.
ก่อนที่ฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัย มีหลักฐานจีนและอินเดียกล่าวถึงเคดาห์ จากพงศาวดารหนานฉีชู้ กษัตริย์กา-หล่าส่งทูตไปราชสำนักหนานฉีในเดือนพฤษภาคมพ.ศ.1022 และในปีพ.ศ.1213 ดังนั้นเกียต-ต้าและกา-หล่าคือสำเนียงจีนยุคกลางที่ใช้เรียกเคดาห์และอาจจะเป็นเกอลาห์ในจริตตา ปราฮยังกัน จารึกทมิฬปัตตินภาลัย (Pattinappalai) บรรทัดที่ 185-192 กล่าวว่าเคดาห์ติดต่อกับกะเวริปูมปัตตินัมในยุคก่อนศรีวิชัยโดยมีเมืองปาลูร์ที่เจริญมาก่อนนาคปฏินัม กลิงคะปัตตนัม อลากันคูลัมด้วย จารึกพุทธคุปตะในพุทธศตวรรษที่ 10 แถวเคดาห์กล่าวถึงรักตมฤติกาที่สทิงพระ จารึกนี้ยืนยันว่าเคดาห์ได้เจริญขึ้นมาเป็นท่าเปลี่ยนเรือจากจีนไปอินเดียที่ช่องแคบมะละกาที่พระภิกษุอี้จิงเคยมาแวะ [Chen Yan 2020: 80; Sen 2014b: 48, 50-51] นอกจากคฑารัมแล้ว นครรัฐเคดาห์ยังเป็นที่รู้จักในวรรณคดีอินเดียจากยุคต่างๆ เช่น คฑะหะ-นคระ (ในละครเกามุดี มโหตสะวะ), อันดา-คฑหะ (ในอัคนีปุราณะ), คฑหะ-ทวีป (ในสมะไรจักราฮา) และคฑะหะ (ในกถาสฤษการ) [Subrizain.org] ด้วยเหตุนี้ เคดาห์จึงส่งเรือไปยังอินเดียใต้
เก๋อหลัวคือกาหล่า คือเคดาห์ นักเดินเรืออาหรับกล่าวถึงกาหล่า มาซูดี้ใน อบูซัยอิด อบู ดูลัฟ อดริซี ซินแบด มุฆาตาซะ อัล-อจาอิด อบูฟิดะ [Wheatley 1961; 59]
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10-18 เคดาห์มีแต่ซากวัดมีขนาดเล็กไม่ใหญ่เหมือนในกัมพูชา พม่า ชวา หรือจามปาในเวียดนาม พ่อค้าชาวต่างชาติและในท้องถิ่นช่วยกันอุปถัมภ์วัดแห่งนี้ ในขณะที่พระอวโลกิเตศวรเป็นผู้ปกป้องชาวเรือในพุทธศตวรรษที่ 9 พระพุทธเจ้าทีปังกรก็เป็นผู้ปกป้องชาวเรือในพุทธศตวรรษที่ 10 ชุมชนในหุบเขาบูจังเจริญขึ้นตามธรรมชาติโดยไม่ได้มีการวางแผนผังที่ดีเมื่อมีศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาอยู่ร่วมกัน เคดาห์จึงเป็นนครรัฐนานาชาติที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ โดยมีชาวอินเดีย มลายู อาหรับ พราหมณ์และชาวพุทธ [Murphy 2018]
ฮุสเซน ซาอุดและอุสมานิสันนิษฐานว่านครรัฐเคดาห์โบราณครอบคลุมพื้นที่กัวลาบาหัง กัวลาบารา กัวลาปิลา และเมอร์ปาห์ โดยมีชาวอินเดียกลุ่มหนึ่งตั้งถิ่นฐานที่เคดาห์ประมาณปีพ.ศ.713 ในขณะที่ชาวออสโตรเอเชียติก (มอญ-เขมร) จากทางเหนือ ชาวออสโตรนีเซียนจากเกาะใกล้เคียงและพ่อค้าชาวอาหรับและเปอร์เซียได้เดินทางมาถึงในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามหลักฐานทางโบราณคดีขัดแย้งกับสมมติฐานของพวกเขา เนื่องจากการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่นี้มีมานานมาก พ่อค้าจากอินเดีย เปอร์เซีย และคาบสมุทรอาหรับที่เดินเรือมาถึงบริเวณปากช่องแคบมะละกา มักใช้ยอดเขาเจไรที่สูง 1,200 เมตรเป็นจุดสังเกตการณ์ [Husain, Saud & Usmani 2011]
พุทธศาสนามหายานเจริญรุ่งเรืองที่เคดาห์ [Suzuki 2012: 35] ซูซูกิเชื่อมโยงกาล่าห์กับเคดาห์โบราณ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 เคดาห์เคยเป็นเมืองท่าการค้าระหว่างประเทศ พ่อค้าทำการค้าขายกับจีนผ่านทางชายฝั่งตะวันออกของแหลมมลายูเพื่อทำการขนถ่ายสินค้า และกูนุง เจไรก็เป็นจุดสังเกตการณ์ของนักเดินเรือที่โดดเด่น เคดาห์ผลิตแท่งดีบุก เตาหลอมเหล็ก และลูกปัด อย่างไรก็ตาม เมืองท่าที่มีประชากรเบาบาง เช่น จามปา ตามพรลิงค์ และเคดาห์ในคาบสมุทรมลายู ศรีวิชัย และเมืองท่าอื่นๆ ในเกาะสุมาตราด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และจุดค้าขายริมชายฝั่งในเกาะบอร์เนียวมีพื้นที่ทำการเกษตรที่จำกัด [Lieberman 2010]
เคดาห์ในยุคราชวงศ์ศรีชัยนาศ
หลังจากฑปุนดา หิยัม ศรีชยนาศก่อตั้งสมาพันธรัฐศรีวิชัยแล้วเคดาห์ถูกบันทึกเป็น กา-หล่า (迦罗เจี้ย-หลัว) ในชินถังชู้ เล่มที่ 222 เหวินเซี่ยนท๊งเข่าเล่มที่ 331 และไท่ผิงหวนยู่จี๊ เล่มที่ 176-179 แต่ในบันทึกหนานไห่ของพระภิกษุอี้จิงเรียกว่าเกียต-ตา (羯茶เจี้ย-ฉา) และเรียกว่า กาล่าห์ในภาษาอาหรับ ดังนั้นทั้งกา-หล่าและเกียต-ตาตามสำเนียงจีนยุคกลางคือเคดาห์ แม้ว่าวอลเตอร์จะบอกว่าอยู่บนเกาะชวา กา-หล่าควรเป็นคำเรียกเมืองเคดาห์ทั้งในภาษาจีนยุคกลางและอาหรับ ศรีวิชัยเอาชนะเคดาห์ได้ในปีพ.ศ.1238 [Wolters 1967: 169, 1970: 235]
สมาพันธรัฐศรีวิชัยเป็นสมาพันธ์เมืองท่า ประกอบด้วย เช่น วิชัย (ปาเลมบัง) เคดาห์ จัมบิ (ที่ตั้งของจัณฑิ กุมปุง) และอื่นๆ หนังสือจากยุคศรีวิชัยเพียงเล่มเดียวที่เหลือรอดได้ถูกแปลเป็นภาษาทิเบต เกี่ยวกับการทำปัญญาให้บริบูรณ์ ของพระธรรมกีรติพระอาจารย์ของพระอติศา [Woodward 2004] ในพุทธศตวรรษที่ 12 และ 13 เมืองเคดาห์อยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างหลวมๆ ของสมาพันธรัฐศรีวิชัย [Meekanon 2023] ศรีวิชัยปราบเคดาห์ในปีพ.ศ.1228 [Wolters 1970: 235] และกา-หล่าน่าจะเป็นเกอร์ลาห์ในจริตาหรือเรื่องเล่าปราฮยังกันของซุนดา
หุบเขาบูจังเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการค้าศรีวิชัยซึ่งประกอบด้วยท่าเรือและที่แลกเปลี่ยนสินค้าที่มีเครือข่ายพันธมิตรในระบบแบบอุปถัมภ์ที่เป็นศูนย์กลางมณฑล โอคอนเนอร์และเกียรติกำจร มีขนอน [O’ Conner 1975; Meekanon 2023] ได้เปรียบเทียบสมาพันธรัฐศรีวิชัยกับสันนิบาตฮันเซียติก และพบความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างสองสมาพันธรัฐเมืองท่านี้ การทำเครื่องกระเบื้อง แก้ว ลูกปัด พระพุทธรูปและเทวรูปฮินดูและสิ่งของอื่นๆ บ่งบอกว่าหุบเขาบูจังเป็นส่วนหนึ่งเส้นทางการค้าระหว่างจีนกับอินเดีย และภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย [Murphy 2018] พระภิกษุอี้จิงแวะเคดาห์ 2 ครั้งคือ พ.ศ.1216 และ พ.ศ.1230 [Suzuki 2012: 94] สมาพันธรัฐศรีวิชัยเข้ายึดเมืองเคดาห์ ประมาณปี พ.ศ.1228-1232 เพราะเมื่อพระภิกษุอี้จิงกลับจากอินเดียมาที่ศรีวิชัยอีกครั้งในปีพ.ศ.1232 พบว่าเมืองมลายูได้ขึ้นกับสมาพันธรัฐศรีวิชัยแล้ว
เอกสารอ้างอิง
Chen Yan 陈炎. (2020). The Maritime Silk Road and Cultural Communication between China and the West. (H. Mu, C. Gao, & C. Chen, Trans.) Lanham, MD: Lexington Book.
Husain, M., Akhtar, S. S., & Usmani, B. D. (2011). A Concise History of Islam. Vij Books India.
Lieberman, V. (2010). Maritime Influence in Southeast Asia c900-1300: Some Further Thoughts. ๋Journal of Southeast Asian Studies, 41(3), 529–539.
Meekanon, K. (2023). Srivijaya Routes: The Greatest Trade Network in Ancient Southeast Asia. White Lotus.
Murphy, S. A. (2018). Revisiting the Bujang Valley: A Southeast Asian Entrepôt Complex on the Maritime Trade Route. Journal of the Royal Asiatic Society, 28(2), 335–389.
O’Connor, S. J. (1975). Tambralinga and the Khmer Empire. Journal of the Siam Society, 63, 161–175.
Sen, Tansen. (2014). Maritime Southeast Asia between South Asia and China to the Sixteenth Centuries. TRaNS -Regional and -National Studies of Southeast Asia 2:31–59.
Suzuki Takashi 铃木峻. (2012). The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Mekong.
Wheatley, P. (1961). The Golden Khersonese: Studies in the Historical Geography of Malay Peninsula before AD1500. University of Malaya Press.
Wolters, O. W. (1967). Early Indonesian Commerce: A Study of the Origins of Srivijaya. Cornell University Press.
Wolters, O. W. (1970). The Fall of Srivijaya in Malay History. Cornell University Press.
Woodward, H. (2004). Esoteric Buddhism in Southeast Asia in the Light of Recent Scholarship. Journal of Southeast Asian Studies, 35(2), 329–354.