โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
ประวัติศาสตร์ยุคเริ่มต้นของเมืองกลันตันมีที่มาไม่ชัดเจนแต่มีหลักฐานทางโบราณคดีว่ามีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ จากการขุดค้นที่อุลุ กลันตัน มีการค้นพบโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยหินใหม่ และมีโบราณวัตถุฮินดู-พุทธมหายานในสมัยศรีวิชัยจากการขุดค้นที่กัว ชาวาส (Gua Ghawas) กัว เพราลิน (Gua Peralin) หุบเขากัวชา ลังกัน (Gua Cha Langgan) และโกตา ตัมปัน (Kota Tampan) ชาวเงาะป่าหรือโอรัง อัสลี (Orang Asli) ที่เป็นคนพูดภาษาในกลุ่มออสโตรเอเชียติก (มอญ-เขมร) อาศัยอยู่ใกล้กับแม่น้ำสุไหงเนเกอรี ในกลันตัน [Adi Haji Taha 2007]
มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานในตรังกานูมาประมาณ 1 หมื่น 6 พันปีแล้วตั้งแต่ยุคหินมีการพบโครงกระดูกที่กัวเบราห์ ฮูลูตรังกานูในปีพ.ศ.2551 ซึ่งเรียกว่า มนุษย์เบวาห์ ซึ่งเก่าแก่กว่าโครงกระดูที่ค้นพบที่เปรักถึง 5 พันปี จึงถือว่าเป็นโครงกระดูกที่เก่าแก่ที่สุดที่ถูกค้นพบในมาเลเซีย จากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ขวานหินและเครื่องปั้นดินเผาที่พบในภูเขาเบวาห์ มีมนุษย์อาศัยอยู่ที่นั่นตั้งแต่ 3,500 ปีก่อนพุทธกาล [Nik 1998
เนินเขาในรัฐกลันตันและตรังกานูใช้การเพาะปลูกแบบแห้งที่ใช้แรงงานน้อยกว่าการปลูกข้าวยุคบุกเบิกมากและสามารถสร้างผลผลิตที่ดีจากการหว่านเมล็ด แม้ในสภาพอากาศแห้งหรือเปียกชื้น ในสมัยนั้นไม่มีการเพาะปลูกข้าวข้าวมีแต่พืชประเภทหัวมันและสาคูที่ให้แคลอรี่มากกว่าจากพื้นที่ๆเท่ากันและใช้แรงงานน้อยกว่า เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วมันจะเก็บผลผลิตได้ไม่นานนัก แต่การเก็บไว้ในดินทำให้สามารถเพาะปลูกได้อิสระมากขึ้น [Mabbet 1977]
กลันตันและตรังกานูในยุคก่อนสมาพันธรัฐศรีวิชัย
กลันตันในยุคแรกมีความเชื่อมโยงกับพนม กัมพูชาและจามปา [Ludher 2015] กา-หล่า-ตัน (诃罗旦เหอ-หลัว-ตัน) (พ.ศ.973-995) ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในพงศาวดารซ่งชู้ และมีความเกี่ยวข้องทางการเมืองกับกา-หล่า (เคดาห์) เป็นนครรัฐพุทธในแหลมมลายูเนื่องจากในยุคเดียวกันไม่มีนครรัฐพุทธในเกาะชวาและส่งทูตไปราชสำนักหลิวซ่งในปีพ.ศ.973, 976, 977, 978, 979, 980 และ 995 จากนั้นหายไปหลังจากการปรากฏตัวของคันธารีในปีพ.ศ.986 กา-หล่า-ตันมีเหมืองทอง พงศาวดารสุยชู้พรรณนากา-หล่า-ตันในหัวข้อเมืองดินแดง โดยกล่าวว่าอยู่ทางใต้ของเมืองนี้ทำให้นักวิชาการจีนและญี่ปุ่นจับโยงคำอ่านนี้กับกลันตัน เจฟ เวดพยายามเชื่อมโยงกลันตันกับชื่อเมืองในเอกสารจีนอื่นๆแต่ก็ไม่มั่นใจว่าชื่อกลันตันจะถูกใช้ในพุทธศตวรรษที่ 12 [Wade 2004: 61]
ตรังกานูตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าในทะเลจีนใต้มาแต่โบราณ แผนที่ปโตเลมี (Golden Chersonese) เรียกตรังกานูในปัจจุบันว่าเปริมูลา และโคเล โปลิส เชื่อกันว่าเอกสารจีนพูดถึงตรังกานูเป็นครั้งแรกโดยนักเดินเรือชาวจีนในพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยพุทธ-ฮินดู อาจจะอยู่ที่โบราณสถานกัวลาเทเลมองที่อาจอยู่ใต้อิทธิพลลังกาสุกะในพุทธศตวรรษที่ 7
อันดายาเชื่อว่าปัน-ปันน่าจะเป็นรัฐกลันตันหรือตรังกานูในฐานะนครรัฐของชาวพุทธ และตัน-ตันมี 20,000 ครัวเรือนและพราหมณ์ 8 คนปกครอง [Andaya 2001] แต่ว่าทะรุมะนครถูกบรรยายไว้ในหัวข้อของตัน-ตัน ดังนั้น ตัน-ตันจึงน่าจะตั้งอยู่ในเกาะชวา ไม่ใช่ในแหลมมลายู ในขณะที่ปัน-ปันน่าจะตั้งอยู่ทางตอนเหนือของลังกาสุกะที่แม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในประเทศไทย [Wales 1976] ตามเอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถังระบุว่าลั่ว-เย่เป็นเพียงชุมชนเดียวทางตอนใต้ของคาบสมุทร และถูกจดจำว่าเป็นเพียงจุดรวบรวมผลิตภัณฑ์จากป่าเท่านั้น อย่างไรก็ตามไม่มีคำนำหน้าภาษาจีนใดที่ตรงกับชื่อตรังกานูก่อนที่จะถูกกล่าวถึงครั้งแรกในจูฟ่านจื้อในปีพ.ศ.1768 [Andaya 2001]
กลันตันและตรังกานูในยุคสมาพันธรัฐศรีวิชัย
กลันตันถูกบันทึกเป็นทยิต-หลั่น-ถัน (吉兰丹 จี่-หลัน-ตัน) ในจูฟ่านจื้อในปีพ.ศ.1768 เป็นการปรากฏในเอกสารจีนครั้งแรกในหัวข้อศรีวิชัยเป็นเมืองที่ 4 ซึ่งนักวิชาการเกือบทุกท่านมีความเห็นตรงกันว่าคือกลันตันแม้ว่าจะไม่มีคำบรรยายต่อหลังจากนั้น กลันตันอาจจะเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นเมืองในยุคนี้เนื่องจากไม่มีชื่อบันทึกอยู่ในจารึกธิรุกกระไดร์ยูร์ที่โจฬะโจมตีสมาพันธรัฐศรีวิชัยในปี พ.ศ.1568
ในพุทธศตวรรษที่ 13 สมาพันธรัฐศรีวิชัยเข้ายึดลังกาสุกะที่อาจจะเคยปกครองตรังกานู ภายใต้สมาพันธรัฐศรีวิชัยในพุทธศตวรรษที่ 18 ตรังกานูค้าขายกับเมืองอื่นๆในแหลมมลายูบอร์เนียวสุมาตรา จามปา เจนละและจีน หลังจากที่พวกโจฬะถูกขับออกจากศรีวิชัย ตรังกานูถูกบันทึกเป็นทง-แก-เนียง (登牙浓เตื้ง-หย่า-หนง) เชอราติงถูกบันทึกเป็นหยิต-ลา-เท้ง (日罗亭 รื่อ-หลัว-ถิง) และปะกาถูกบันทึกเป็นแปก-แก (迫嘉ป๊า-กา) ในจูฟ่านจื้อ ทั้ง 3 เมืองนี้อยู่ในรัฐตรังกานู ชื่อภาษาจีนเหล่านี้เป็นเมืองขึ้นศรีวิชัยโดยไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม [Wade 2004: 63] แต่นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นตรงกันว่าทงแกเนียงคือตรังกานู ตรังกานูอาจจะเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นเมืองในยุคนี้เนื่องจากไม่มีชื่อบันทึกอยู่ในจารึกธิรุกกระไดร์ยูร์ที่โจฬะโจมตีสมาพันธรัฐศรีวิชัยในปี พ.ศ.1568
กลันตันและตรังกานูในยุคสมาพันธรัฐตามพรลิงค์
กลันตันถูกบันทึกเป็นทยิต-หลั่น-ถัน (吉蘭丹จี่-หลัน-ตัน) ในต้าเต๋อหนานไห่จื้อและเต้าอี้จื้อเลื่อย ต้าเต๋อหนานไห่จื้อบันทึกว่ากลันตันเป็นเมืองขึ้นของตั้น-หม่า-ลิ้งหรือตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) เจฟ เวด เสนอว่าน่าจะมีการศึกษาเมืองกลันตันในช่วงเปลี่ยนผ่านจากเมืองขึ้นของสมาพันธรัฐศรีวิชัยไปเป็นเมืองขึ้นของสมาพันธรัฐตามพรลิงค์ [Wade 2004: 61] จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราช (พ.ศ.1813) โดยศรีมหาราชาและตำนานวัดมหาธาตุนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2171) กล่าวว่ากลันตันเป็นหนึ่งในเมือง 12 นักษัตรของนครศรีธรรมราชหรือลิกอร์ในภาษามลายู [รัชนี 2530; Linehan 1973: 9-10; Munro-Hay 2001]
ตรังกานูถูกบันทึกเป็นติง-เจีย-ลู่ (丁伽蘆) ในต้าเต๋อหนานไห่จื้อ มีการค้นพบศิลาจารึกภาษายะวีดัดแปลงมาจากอักขระอาหรับกล่าวถึงกฎหมายท้องถิ่นที่ได้รับอิทธิพลจากชาริอะห์ที่กัวลาเบรังเมืองตรังกานูลงปีพ.ศ.1846 โดยศรี บาทุกา ตวน (Seri Paduka Tuan) ที่เป็นหลักฐานแสดงการเข้ามาของศาสนาอิสลามในเมืองขึ้นของนครศรีธรรมราชหรือที่จีนยังเรียกว่าตามพรลิงค์ [Miksic & Geok 2017] อยู่ที่กัวลาเบรังและกัวลาเทเลมงจึงนับได้ว่าตรังกานูเป็นเมืองแรกในแหลมมลายูที่นับถืออิสลาม โดยใช้กฎหมายอิสลามควบคู่ไปกับกฎหมายจารีตหรืออาดัตในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-21 หลังจากนั้นเป็นการตีความ บนศิลาจารึกตรังกานูยังมีบันทึกพระนามของกษัตริย์มันดาลิกาด้วย กัวลาเบรังเป็นเมืองหลวงของเขตฮูลูตรังกานู ในยุคนี้ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่าตรังกานูเป็นหนึ่งในเมือง 12 นักษัตรของนครศรีธรรมราชหรือลิกอร์ในภาษามลายู [รัชนี 2530; Linehan 1973: 9-10] ในต้าเต๋อหนานไห่จื้อ เชราติงถูกบันทึกเป็นรื่อ-หลัว-ถิง (日囉亭) และปะกาถูกบันทึกเป็นป๊า-กา (迫嘉) ทั้ง 2 เมืองนี้อยู่ในรัฐตรังกานู และโฝ-หลัว-อันจึงไม่ใช่ กัวลาเบรัง
กลันตันและตรังกานูในยุคการช่วงชิงอิทธิพลระหว่างกรุงศรีอยุธยา มัชปาหิตและมะละกา
ในบทกวีนครเขตร์คามของประพันจาในเกาะชวาในปี พ.ศ. 1908 ระบุว่ากลันตัน ตรังกานู ปะกา เชอราติง และดันกุน อยู่ภายใต้การปกครองของมัชปาหิต กลันตันถูกบันทึกเป็นจี่-หลัน-ตัน (吉蘭丹) ในเต้าอี้จื้อเลื่อยพ.ศ.1890 และจี่-หลัน-ตัน (急蘭丹) ในหมิงสือลู่
地勢博大,山瘠而田少,夏熱而倍收。氣候平熱,風俗尚禮。男女束髮,繫短衫布皂縵。每遇四時節序、生辰、婚嫁之類,衣紅布長衫為慶
民煮海為鹽,織木綿為業。有酋長。地產上等沉速、粗降眞香、黃蠟、龜筒、鶴頂、檳榔。外有小港,索遷極深,水鹹魚美。出花錫,貨用塘頭市布、占城布、靑盤、花碗、紅緑焇珠、琴、阮、鼓、板之屬。
[Chinese Text Project: ctext.org]
จากบันทึกเต้าอี้จื่อเลื่อยกลันตันมีภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ มีภูเขาแห้งแล้งและมีทุ่งนาไม่กี่แห่ง ฤดูร้อนจะร้อนแต่จะได้ผลผลิตจะสุกงอมเป็นสองเท่า ภูมิอากาศร้อนปานกลาง และพวกเขามีธรรมเนียมไว้ผมมวยทั้งชายและหญิง (ผู้ชายไว้มวยด้านหลังข้องล่าง ผู้หญิงไว้มวยด้านหลังข้างบน) และสวมเสื้อสั้นในช่วงเทศกาลและเมื่อเฉลิมฉลองวันเกิดหรือการแต่งงาน ฯลฯ พวกเขานุ่งโสร่งหรือผ้านุ่งสีแดงและเสื้อคลุมยาวเพื่อเฉลิมฉลอง ชาวบ้านต้มน้ำทะเลเพื่อทำเกลือและทอฝ้ายเป็นอาชีพ มีหัวหน้า เมืองนี้ผลิตไม้การูชั้นดี ไม้ลากาหยาบ ขี้ผึ้ง เปลือกเต่า กระดอง และหมาก มีท่าเรือเล็กๆ อยู่ด้านนอกซึ่งมีน้ำลึกมาก มีปลาเค็มเป็นสินค้า สินค้านำเข้า ได้แก่ เสื้อผ้าเมืองถังโถว ผ้าจามปา จานชามกระเบื้องจีนสีฟ้าขาว ลูกปัดสีแดงและสีเขียว พิณ เรือน กลองและไม้กระดาน (แปลโดยผู้เขียน)
เอกสารอ้างอิง
ม.จ. จันทร์จิรายุ รัชนี (2530). อาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยา. กรุงเทพฯ: อรุณวิทยา.
Adi Haji Taha. (2007). Archeology of Ulu Kelantan. Jabatan Muzium Malaysia.
Andaya, L. Y. (2001). The Search for the ‘Origins’ of Melayu. Journal of Southeast Asian Studies, 32(3), 315–330.
Linehan, W. (1973). History of Pahang. MBRAS.
Ludher, S (2015). They came to Malaysia. Bloomington, IN: Xlibris Corporation.
Mabbett, I. W. (1977). The ‘Indianization’ of Southeast Asia: Reflections on the Prehistoric Sources. Journal of Southeast Asian Studies, 8(1), 1–14.
Miksic, J. N., & Geok, Y. G. (2017). Ancient Southeast Asia. London: Routledge.
Munro-Hay, S. (2001). Nakhon Sri Thammarat: The Archeology, History and Legends of a Southern Thai Town. White Lotus.
Nik Hassan Shuhaimi Abdul Rahman (1998). The Encyclopedia of Malaysia: Early History (Vol. 4). Archipelago Press.
Wade, G. (2004). From Chaiya to Pahang: The Eastern Seaboard of the Peninsula as Recorded in Classical Chinese Texts. In D. Perret, A. Sisuchat, & T. Sombun, Études sur l'histoire du sultanat de Patani (pp. 37-78). Paris: EFEO.
Wales, H. G. Q. (1976). The Malay Peninsula in Hindu Time. London: Bernard Quaritch Ltd.
ประวัติศาสตร์ยุคเริ่มต้นของเมืองกลันตันมีที่มาไม่ชัดเจนแต่มีหลักฐานทางโบราณคดีว่ามีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ จากการขุดค้นที่อุลุ กลันตัน มีการค้นพบโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยหินใหม่ และมีโบราณวัตถุฮินดู-พุทธมหายานในสมัยศรีวิชัยจากการขุดค้นที่กัว ชาวาส (Gua Ghawas) กัว เพราลิน (Gua Peralin) หุบเขากัวชา ลังกัน (Gua Cha Langgan) และโกตา ตัมปัน (Kota Tampan) ชาวเงาะป่าหรือโอรัง อัสลี (Orang Asli) ที่เป็นคนพูดภาษาในกลุ่มออสโตรเอเชียติก (มอญ-เขมร) อาศัยอยู่ใกล้กับแม่น้ำสุไหงเนเกอรี ในกลันตัน [Adi Haji Taha 2007]
มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานในตรังกานูมาประมาณ 1 หมื่น 6 พันปีแล้วตั้งแต่ยุคหินมีการพบโครงกระดูกที่กัวเบราห์ ฮูลูตรังกานูในปีพ.ศ.2551 ซึ่งเรียกว่า มนุษย์เบวาห์ ซึ่งเก่าแก่กว่าโครงกระดูที่ค้นพบที่เปรักถึง 5 พันปี จึงถือว่าเป็นโครงกระดูกที่เก่าแก่ที่สุดที่ถูกค้นพบในมาเลเซีย จากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ขวานหินและเครื่องปั้นดินเผาที่พบในภูเขาเบวาห์ มีมนุษย์อาศัยอยู่ที่นั่นตั้งแต่ 3,500 ปีก่อนพุทธกาล [Nik 1998
เนินเขาในรัฐกลันตันและตรังกานูใช้การเพาะปลูกแบบแห้งที่ใช้แรงงานน้อยกว่าการปลูกข้าวยุคบุกเบิกมากและสามารถสร้างผลผลิตที่ดีจากการหว่านเมล็ด แม้ในสภาพอากาศแห้งหรือเปียกชื้น ในสมัยนั้นไม่มีการเพาะปลูกข้าวข้าวมีแต่พืชประเภทหัวมันและสาคูที่ให้แคลอรี่มากกว่าจากพื้นที่ๆเท่ากันและใช้แรงงานน้อยกว่า เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วมันจะเก็บผลผลิตได้ไม่นานนัก แต่การเก็บไว้ในดินทำให้สามารถเพาะปลูกได้อิสระมากขึ้น [Mabbet 1977]
กลันตันและตรังกานูในยุคก่อนสมาพันธรัฐศรีวิชัย
กลันตันในยุคแรกมีความเชื่อมโยงกับพนม กัมพูชาและจามปา [Ludher 2015] กา-หล่า-ตัน (诃罗旦เหอ-หลัว-ตัน) (พ.ศ.973-995) ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในพงศาวดารซ่งชู้ และมีความเกี่ยวข้องทางการเมืองกับกา-หล่า (เคดาห์) เป็นนครรัฐพุทธในแหลมมลายูเนื่องจากในยุคเดียวกันไม่มีนครรัฐพุทธในเกาะชวาและส่งทูตไปราชสำนักหลิวซ่งในปีพ.ศ.973, 976, 977, 978, 979, 980 และ 995 จากนั้นหายไปหลังจากการปรากฏตัวของคันธารีในปีพ.ศ.986 กา-หล่า-ตันมีเหมืองทอง พงศาวดารสุยชู้พรรณนากา-หล่า-ตันในหัวข้อเมืองดินแดง โดยกล่าวว่าอยู่ทางใต้ของเมืองนี้ทำให้นักวิชาการจีนและญี่ปุ่นจับโยงคำอ่านนี้กับกลันตัน เจฟ เวดพยายามเชื่อมโยงกลันตันกับชื่อเมืองในเอกสารจีนอื่นๆแต่ก็ไม่มั่นใจว่าชื่อกลันตันจะถูกใช้ในพุทธศตวรรษที่ 12 [Wade 2004: 61]
ตรังกานูตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าในทะเลจีนใต้มาแต่โบราณ แผนที่ปโตเลมี (Golden Chersonese) เรียกตรังกานูในปัจจุบันว่าเปริมูลา และโคเล โปลิส เชื่อกันว่าเอกสารจีนพูดถึงตรังกานูเป็นครั้งแรกโดยนักเดินเรือชาวจีนในพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยพุทธ-ฮินดู อาจจะอยู่ที่โบราณสถานกัวลาเทเลมองที่อาจอยู่ใต้อิทธิพลลังกาสุกะในพุทธศตวรรษที่ 7
อันดายาเชื่อว่าปัน-ปันน่าจะเป็นรัฐกลันตันหรือตรังกานูในฐานะนครรัฐของชาวพุทธ และตัน-ตันมี 20,000 ครัวเรือนและพราหมณ์ 8 คนปกครอง [Andaya 2001] แต่ว่าทะรุมะนครถูกบรรยายไว้ในหัวข้อของตัน-ตัน ดังนั้น ตัน-ตันจึงน่าจะตั้งอยู่ในเกาะชวา ไม่ใช่ในแหลมมลายู ในขณะที่ปัน-ปันน่าจะตั้งอยู่ทางตอนเหนือของลังกาสุกะที่แม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในประเทศไทย [Wales 1976] ตามเอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถังระบุว่าลั่ว-เย่เป็นเพียงชุมชนเดียวทางตอนใต้ของคาบสมุทร และถูกจดจำว่าเป็นเพียงจุดรวบรวมผลิตภัณฑ์จากป่าเท่านั้น อย่างไรก็ตามไม่มีคำนำหน้าภาษาจีนใดที่ตรงกับชื่อตรังกานูก่อนที่จะถูกกล่าวถึงครั้งแรกในจูฟ่านจื้อในปีพ.ศ.1768 [Andaya 2001]
กลันตันและตรังกานูในยุคสมาพันธรัฐศรีวิชัย
กลันตันถูกบันทึกเป็นทยิต-หลั่น-ถัน (吉兰丹 จี่-หลัน-ตัน) ในจูฟ่านจื้อในปีพ.ศ.1768 เป็นการปรากฏในเอกสารจีนครั้งแรกในหัวข้อศรีวิชัยเป็นเมืองที่ 4 ซึ่งนักวิชาการเกือบทุกท่านมีความเห็นตรงกันว่าคือกลันตันแม้ว่าจะไม่มีคำบรรยายต่อหลังจากนั้น กลันตันอาจจะเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นเมืองในยุคนี้เนื่องจากไม่มีชื่อบันทึกอยู่ในจารึกธิรุกกระไดร์ยูร์ที่โจฬะโจมตีสมาพันธรัฐศรีวิชัยในปี พ.ศ.1568
ในพุทธศตวรรษที่ 13 สมาพันธรัฐศรีวิชัยเข้ายึดลังกาสุกะที่อาจจะเคยปกครองตรังกานู ภายใต้สมาพันธรัฐศรีวิชัยในพุทธศตวรรษที่ 18 ตรังกานูค้าขายกับเมืองอื่นๆในแหลมมลายูบอร์เนียวสุมาตรา จามปา เจนละและจีน หลังจากที่พวกโจฬะถูกขับออกจากศรีวิชัย ตรังกานูถูกบันทึกเป็นทง-แก-เนียง (登牙浓เตื้ง-หย่า-หนง) เชอราติงถูกบันทึกเป็นหยิต-ลา-เท้ง (日罗亭 รื่อ-หลัว-ถิง) และปะกาถูกบันทึกเป็นแปก-แก (迫嘉ป๊า-กา) ในจูฟ่านจื้อ ทั้ง 3 เมืองนี้อยู่ในรัฐตรังกานู ชื่อภาษาจีนเหล่านี้เป็นเมืองขึ้นศรีวิชัยโดยไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม [Wade 2004: 63] แต่นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นตรงกันว่าทงแกเนียงคือตรังกานู ตรังกานูอาจจะเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นเมืองในยุคนี้เนื่องจากไม่มีชื่อบันทึกอยู่ในจารึกธิรุกกระไดร์ยูร์ที่โจฬะโจมตีสมาพันธรัฐศรีวิชัยในปี พ.ศ.1568
กลันตันและตรังกานูในยุคสมาพันธรัฐตามพรลิงค์
กลันตันถูกบันทึกเป็นทยิต-หลั่น-ถัน (吉蘭丹จี่-หลัน-ตัน) ในต้าเต๋อหนานไห่จื้อและเต้าอี้จื้อเลื่อย ต้าเต๋อหนานไห่จื้อบันทึกว่ากลันตันเป็นเมืองขึ้นของตั้น-หม่า-ลิ้งหรือตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) เจฟ เวด เสนอว่าน่าจะมีการศึกษาเมืองกลันตันในช่วงเปลี่ยนผ่านจากเมืองขึ้นของสมาพันธรัฐศรีวิชัยไปเป็นเมืองขึ้นของสมาพันธรัฐตามพรลิงค์ [Wade 2004: 61] จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราช (พ.ศ.1813) โดยศรีมหาราชาและตำนานวัดมหาธาตุนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2171) กล่าวว่ากลันตันเป็นหนึ่งในเมือง 12 นักษัตรของนครศรีธรรมราชหรือลิกอร์ในภาษามลายู [รัชนี 2530; Linehan 1973: 9-10; Munro-Hay 2001]
ตรังกานูถูกบันทึกเป็นติง-เจีย-ลู่ (丁伽蘆) ในต้าเต๋อหนานไห่จื้อ มีการค้นพบศิลาจารึกภาษายะวีดัดแปลงมาจากอักขระอาหรับกล่าวถึงกฎหมายท้องถิ่นที่ได้รับอิทธิพลจากชาริอะห์ที่กัวลาเบรังเมืองตรังกานูลงปีพ.ศ.1846 โดยศรี บาทุกา ตวน (Seri Paduka Tuan) ที่เป็นหลักฐานแสดงการเข้ามาของศาสนาอิสลามในเมืองขึ้นของนครศรีธรรมราชหรือที่จีนยังเรียกว่าตามพรลิงค์ [Miksic & Geok 2017] อยู่ที่กัวลาเบรังและกัวลาเทเลมงจึงนับได้ว่าตรังกานูเป็นเมืองแรกในแหลมมลายูที่นับถืออิสลาม โดยใช้กฎหมายอิสลามควบคู่ไปกับกฎหมายจารีตหรืออาดัตในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-21 หลังจากนั้นเป็นการตีความ บนศิลาจารึกตรังกานูยังมีบันทึกพระนามของกษัตริย์มันดาลิกาด้วย กัวลาเบรังเป็นเมืองหลวงของเขตฮูลูตรังกานู ในยุคนี้ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่าตรังกานูเป็นหนึ่งในเมือง 12 นักษัตรของนครศรีธรรมราชหรือลิกอร์ในภาษามลายู [รัชนี 2530; Linehan 1973: 9-10] ในต้าเต๋อหนานไห่จื้อ เชราติงถูกบันทึกเป็นรื่อ-หลัว-ถิง (日囉亭) และปะกาถูกบันทึกเป็นป๊า-กา (迫嘉) ทั้ง 2 เมืองนี้อยู่ในรัฐตรังกานู และโฝ-หลัว-อันจึงไม่ใช่ กัวลาเบรัง
กลันตันและตรังกานูในยุคการช่วงชิงอิทธิพลระหว่างกรุงศรีอยุธยา มัชปาหิตและมะละกา
ในบทกวีนครเขตร์คามของประพันจาในเกาะชวาในปี พ.ศ. 1908 ระบุว่ากลันตัน ตรังกานู ปะกา เชอราติง และดันกุน อยู่ภายใต้การปกครองของมัชปาหิต กลันตันถูกบันทึกเป็นจี่-หลัน-ตัน (吉蘭丹) ในเต้าอี้จื้อเลื่อยพ.ศ.1890 และจี่-หลัน-ตัน (急蘭丹) ในหมิงสือลู่
地勢博大,山瘠而田少,夏熱而倍收。氣候平熱,風俗尚禮。男女束髮,繫短衫布皂縵。每遇四時節序、生辰、婚嫁之類,衣紅布長衫為慶
民煮海為鹽,織木綿為業。有酋長。地產上等沉速、粗降眞香、黃蠟、龜筒、鶴頂、檳榔。外有小港,索遷極深,水鹹魚美。出花錫,貨用塘頭市布、占城布、靑盤、花碗、紅緑焇珠、琴、阮、鼓、板之屬。
[Chinese Text Project: ctext.org]
จากบันทึกเต้าอี้จื่อเลื่อยกลันตันมีภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ มีภูเขาแห้งแล้งและมีทุ่งนาไม่กี่แห่ง ฤดูร้อนจะร้อนแต่จะได้ผลผลิตจะสุกงอมเป็นสองเท่า ภูมิอากาศร้อนปานกลาง และพวกเขามีธรรมเนียมไว้ผมมวยทั้งชายและหญิง (ผู้ชายไว้มวยด้านหลังข้องล่าง ผู้หญิงไว้มวยด้านหลังข้างบน) และสวมเสื้อสั้นในช่วงเทศกาลและเมื่อเฉลิมฉลองวันเกิดหรือการแต่งงาน ฯลฯ พวกเขานุ่งโสร่งหรือผ้านุ่งสีแดงและเสื้อคลุมยาวเพื่อเฉลิมฉลอง ชาวบ้านต้มน้ำทะเลเพื่อทำเกลือและทอฝ้ายเป็นอาชีพ มีหัวหน้า เมืองนี้ผลิตไม้การูชั้นดี ไม้ลากาหยาบ ขี้ผึ้ง เปลือกเต่า กระดอง และหมาก มีท่าเรือเล็กๆ อยู่ด้านนอกซึ่งมีน้ำลึกมาก มีปลาเค็มเป็นสินค้า สินค้านำเข้า ได้แก่ เสื้อผ้าเมืองถังโถว ผ้าจามปา จานชามกระเบื้องจีนสีฟ้าขาว ลูกปัดสีแดงและสีเขียว พิณ เรือน กลองและไม้กระดาน (แปลโดยผู้เขียน)
เอกสารอ้างอิง
ม.จ. จันทร์จิรายุ รัชนี (2530). อาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยา. กรุงเทพฯ: อรุณวิทยา.
Adi Haji Taha. (2007). Archeology of Ulu Kelantan. Jabatan Muzium Malaysia.
Andaya, L. Y. (2001). The Search for the ‘Origins’ of Melayu. Journal of Southeast Asian Studies, 32(3), 315–330.
Linehan, W. (1973). History of Pahang. MBRAS.
Ludher, S (2015). They came to Malaysia. Bloomington, IN: Xlibris Corporation.
Mabbett, I. W. (1977). The ‘Indianization’ of Southeast Asia: Reflections on the Prehistoric Sources. Journal of Southeast Asian Studies, 8(1), 1–14.
Miksic, J. N., & Geok, Y. G. (2017). Ancient Southeast Asia. London: Routledge.
Munro-Hay, S. (2001). Nakhon Sri Thammarat: The Archeology, History and Legends of a Southern Thai Town. White Lotus.
Nik Hassan Shuhaimi Abdul Rahman (1998). The Encyclopedia of Malaysia: Early History (Vol. 4). Archipelago Press.
Wade, G. (2004). From Chaiya to Pahang: The Eastern Seaboard of the Peninsula as Recorded in Classical Chinese Texts. In D. Perret, A. Sisuchat, & T. Sombun, Études sur l'histoire du sultanat de Patani (pp. 37-78). Paris: EFEO.
Wales, H. G. Q. (1976). The Malay Peninsula in Hindu Time. London: Bernard Quaritch Ltd.