โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
ปาหังถูกบันทึกเป็นเผิง-เหิง (彭亨) ในต้าหมิงอี้ถงจื้อ (大明一统志) ในปีพ.ศ.2004 และต้าหมิงฮุ่ยเตี่ยน (大明会典) เล่มที่ 98 ในปี พ.ศ.2046 และในหนังสือซี๊หยางเฉาก๊งเตี้ยนลู่ (西洋朝貢典錄 ) ในปี พ.ศ.2063 กล่าวถึงปาหังไว้ดังนี้
其國在廣大海之南,石崖環之如城。其王好怪,雕香木以為神,以人為牲而禱。其土氣溫和。其王妃以金為圈,四五飾於頂髮。其民下以五色燒珠圈飾之。其男女椎髻,服以長衫,繫以單衣
其利魚鹽。其土沃,其穀宜稻。有椰子酒,多花錫、降香、沉香。有樹焉,其狀如杉,其子如豆蔻,皮有甲錯,其脂名曰片腦,一曰龍腦,食之已痔
[Chinese Text Project: ctext.org]
ประเทศนี้ตั้งอยู่ในทะเลใต้ที่กว้างใหญ่ล้อมรอบด้วยหน้าผาหินเหมือนกำแพงรอบเมือง กษัตริย์ทรงเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และทรงแกะสลักไม้หอมเป็นรูปเทพเจ้าและใช้คนและสัตว์มาบูชายัญ ดินฟ้าอากาศอบอุ่น เจ้าหญิงสวมห่วงทองคำ 4 หรือ 5 ห่วงเป็นเครื่องประดับรัดผมมวยผมของเธอ ผู้หญิงชาวบ้านรัดมวยผมด้วยห่วงลูกปัดเผาห้าสี ทั้งชายและหญิงไว้มวยผมด้านหลัง (ผู้ชายไว้มวยผมข้างล่าง ผู้หญิงไว้มวยผมข้างบน) สวมเสื้อยาวและนุ่งโสร่งหรือผ้าถุง
ประชาชนอาศัยเกลือและปลาเป็นอาหาร พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์และมีการปลูกข้าว มีทั้งเหล้าที่ทำจากน้ำตาลมะพร้าว ดอกไม้หลากสี แร่ดีบุก ว่านหางจระเข้ และไม้กฤษณา มีต้นไม้รูปร่างคล้ายต้นซีดาร์มีเมล็ดคล้ายกระวานมีเปลือกไม้คล้ายเกราะ มีน้ำมันที่เรียกว่า เปี้ยน-เหนา หรือ หลง-เนา กินเป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร (แปลโดยผู้เขียน)
ซึ่งมีเนื้อหาคัดลอกมาจากเอกสารในยุคก่อนๆ เช่นเต้าอี้จื้อเลื่อย หมิงสือลู่ ซึ่งเอกสารจีนกล่าวว่าส่งบรรณาการไม่สม่ำเสมอ จากซิ่งฉาเซิ่งหลั่น และซีหยางเฉาจะเห็นว่าปาหังเริ่มทำการปลูกข้าวในช่วงปลายราชวงศ์หยวนต่อต้นราชวงศ์หมิง ในพุทธศตวรรษที่ 20 กษัตริย์ปาหังเป็นเครือญาติจากการแต่งงานกับผู้ก่อตั้งมะละกาปรเมศวรทีเคยปกครองทูมาสิกมาก่อน พ่อค้าชอบมาแวะที่ท่าเรือปาหัง ปาหังมีเหมืองทองที่ใหญ่ที่สุด กษัตริย์ปาหังหรือปัตตานีที่ปกครองทูมาสิกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาผ่านกษัตริย์ปัตตานี ปรเมศวรสังหารพระญาติกษัตริย์ปาหังที่ทูมาสิกและอบูแกร์กกล่าวว่าปรเมศวรสังหารทามากีพระญาติของกษัตริย์ปัตตานีที่ทูมาสิกมีการสันนิษฐานว่าศาสนาอิสลามมาถึงปัตตานีก่อนที่เมกัตบุตรชายของปรเมศวรจะเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในปีพ.ศ.1957 แต่ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับศาสนาอิสลามก่อนปีพ.ศ.1997 ซึ่งเป็นความจริง
ในปีพ.ศ.1989 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ส่งอาวี จักรีหรือพระยาจักรีไปโจมตีมะละกาโดยความช่วยเหลือของปาหังในสมัยมุซซัฟฟาร์ ซยาห์แต่พ่ายแพ้และต้องยกทัพกลับ ในปีพ.ศ.1997 มันซูร์ ซยาห์ยกกองทัพเรือบุกปาหัง กษัตริย์ปาหังชื่อมหาเทวาสุระเหมือนกับกษัตริย์นครศรีธรรมราชในปีพ.ศ.2043 เทวาสุระหนีเข้าป่าโดยที่พระธิดา ปุตรี วานัง ศรีถูกจับ ต่อมามะละกาจับเทวาสุระได้และแต่งตั้งให้ศรี ปิยะ ธิราชาเป็นเจ้าเมืองปาหังและต้องเข้าเฝ้ามันซูร์ ซยาห์ปีละครั้งในฐานะเมืองขึ้น ต่อมามันซูร์ ซยาห์แต่งงานกับปุตรี วานัง (โอนัง) ศรีและภายหลังแต่งตั้งบุตรชายของตนไปเป็นเจ้าเมืองปาหังโดยมีตุน ฮัมซะห์ที่เป็นบุตรชายของบันดาหรา ศรี อมารี ธิราชาแห่งมะละกาที่ต่อมากลายเป็นบันดาหราของปาหัง ปาหังไม่ใช่เมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาในกฎมณเทียรบาล พ.ศ.2011 ราชามูฮัมหมัดซยาห์ขึ้นครองราชย์ที่ปาหังในปีพ.ศ.2013 เป็นสุลต่านมูฮัมหมัด ซยาห์และสิ้นพระชนม์ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2018 ราชามูฮัมหมัดได้สังหารบุตรชายของบันดาหรา บาทุกา ราชา ก่อนขึ้นครองราชย์ [Iskandar 1980] ต่อมาน้องชายร่วมมารดา ราชาอาหมัดขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านอาหมัด ซยาห์แล้วแต่งงานกับธิดาของตุน ฮัมซะห์ บันดาหรา ศรี อมาร์ ธิราชาและมีบุตรคือ ราชามันซูร์ [Linehan 1973]
ในปี พ.ศ.2020 ตุน ตลาไนเป็นทายาทของเจ้าเมืองตรังกานู สุลต่านอาหมัดส่งศรี อการ์ ราชาไปฆ่าตุนตลาไน ทำให้ปาหังขัดแย้งกับมะละกา หลังจากสุลต่านอลาอุดดินแห่งมะละกาสิ้นพระชนม์ที่ปาโก๊ะริมแม่น้ำมูอาร์ ตุนเตชาบุตรสาวของบันดาหราแห่งปาหังเป็นผู้หญิงที่สวย ฮิกายัต ฮังตัวห์บันทึกว่าเธอก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเมกัต ปันหยี อลัม เจ้าชายแห่งตรังกานูกับสุลต่านแห่งมะละกา ในอีกด้านหนึ่งเธอก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างปาหังกับมะละกาตามที่พงศาวดารมลายูได้บันทึกเอาไว้ ระหว่างปีพ.ศ.1998-2036 ราชาฟาติมะห์ เจ้าหญิงแห่งมะละกาพี่หรือน้องสาวมารดาเดียวกับสุลต่านมาห์มูด ซยาห์แต่งงานกับเจ้าชายแห่งปาหังและสิ้นพระชนม์ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2038 หลังจากสุลต่าน อาหมัดสละราชสมบัติ ราชาจามัลได้ปกครองปาหังร่วมกับบุตรชายของอาหมัด สุลต่านมันซูร์ [Linehan 1973]
ในปีพ.ศ.2043 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 มีพระราชโองการให้มหาราชาเทวาสุระเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชยกทัพบุกปาหังเพื่อขยายอำนาจ เทวาสุระยกกองทัพผ่านกลันตันและสุไหงเทมเบลิง สุลต่านมาห์มูด ซยาห์ส่งกองทัพมะละกาภายใต้การนำของบันดาหรา ศรีมหาราชมาป้องกันปาหัง มีแม่ทัพเรือชื่อลักษมณา โคจา ฮัสซัน มีนายกองชื่อสัง เซเตีย สัง นายา สัง กุนา สัง ชัยพิกรมและตุน เบียจิด โดยสร้างป้อมค่ายที่ปาหัง หลังจากสงครามเทวาสุระถอยทัพกลับ หลังจากโปรตุเกสยึดมะละกาได้ เมืองขึ้นของมะละกาหลายเมืองกลายเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาตามเดิม ปาหังส่งบรรณาการให้โปรตุเกสที่มะละกาในปีพ.ศ.2061 และกรุงศรีอยุธยาหลังจากนั้น [Linehan 1973]
รัฐสุลต่านปาหังที่เปกันก่อตั้งในพุทธศตวรรษที่ 20-21 ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดเมืองนี้มีอำนาจปกครองแอ่งที่ราบปาหังทั้งหมด มีอาณาเขตติดกับรัฐสุลต่านปัตตานีทางเหนือและรัฐสุลต่านยะโฮร์ทางใต้ ขยายอิทธิพลไปถึงรัฐสะลังงอร์และเนกรีเซมบิลัน [Linehan 1973: 31] โดยมีต้นกำเนิดมาจากการเป็นเมืองขึ้นของมะละกา สุลต่านองค์แรกคือเจ้าชายโมฮัมหมัด ชาห์หลานตาของเทวาสุระกษัตริย์ปาหังก่อนเป็นเมืองขึ้นของมะละกา [Linehan 1973: 31] หลายปีต่อมาปาหังเป็นอิสระจากมะละกาจนถึงจุดหนึ่งกลายเป็นคู่แข่งของมะละกา [Ahmad 2014] และถูกบันทึกเป็น ปัง-หัง (邦項) ในไห่กั๋วเหวินเจี้ยนลู่ (海國聞見錄) ประมาณพ.ศ.2273ในสมัยราชวงศ์ชิง
สุลต่านบันซู เจ้าชายแห่งปาหังแต่งงานกับธิดาของสุลต่านอิสคานดาร์ มูดาแห่งอาเจะห์และกลายเป็นสุลต่านอิสคานดาร์ ธานีตามที่บันทึกในบุสตานู ซาลาตินที่อาเจะห์ (พ.ศ.2150-2179) [Iskandar 1980] จากข้อมูลในพงศาวดารมลายู ความสัมพันธ์ระหว่างสุลต่านมาห์มูดกับประเทศราชมีลำดับสันตติวงศ์ดังนี้ สุลต่านมันซูร์ แห่งปาหัง ระเด่นกาลุห์ สุลต่านมันซูร์ แห่งมะละกา สุลต่านอลาอุดดิน แห่งมะละกา สุลต่านมูฮัมหมัด แห่งปาหัง สุลต่านมาห์มูด แห่งมะละกา สุลต่านอับดุล จามาลแห่งปาหัง สุลต่านมันซูร์ แห่งปาหังต่อมาถูกจับเป็นนักโทษมีผู้ปกครองที่เก่งขึ้นปกครองแทน [De Jong & Van Vijk 1960]
เอกสารอ้างอิง
Abu Talib Ahmad. (2014). Museums, History and Culture in Malaysia. NUS Press.
De Josselin De Jong, P. E., & Van Wijk, H. L. A. (1960). The Malacca Sultanate. Journal of Southeast Asian History, 1(2), 20–29. https://doi.org/doi:10.1017/S0217781100000119
Linehan, W. (1973). History of Pahang. MBRAS.
Iskandar, T. A. (1980). Documents concering the Birth of Iskandar Muda. Archipel, 20, 213–224.