ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาสถิติศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ผศ. ดร. สุรพงษ์ บ้านไกรทอง
วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เมื่อไม่กี่วันมานี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินีไปทรงงานที่จังหวัดอุดรธานี ชาวจังหวัดอุดรธานีรับเสด็จโดยมีช่างฟ้อนหรือที่ทางอีสานเรีบกว่าเซิ้ง แต่งชุดพื้นเมือง มาเซิ้งถวายเป็นหลายร้อยคนสองข้างทาง มีช่างกล้องซอกแซกถ่ายเข้าไปในรถยนต์พระที่นั่งสีงาช้าง ในหลวงทรงเซิ้งหรือทรงฟ้อนตอบช่างฟ้อนที่มาฟ้อนรับเสด็จด้วยพระหัตถ์อ่อนพลิ้วไหว งดงาม ในขณะที่สมเด็จพระราชินีทรงปรบพระหัตถ์อย่างทรงพระสำราญ ช่างฟ้อนที่ฟ้อนถวายอยู่นั้นมองเข้าไปในรถยนต์พระที่นั่งเห็นว่าในหลวงทรงฟ้อนตอบช่างฟ้อนที่มาฟ้อนถวายจริง ถึงกลับหลุดปากออกมาด้วยความดีใจว่า ในหลวงทรงรำตอบด้วย แล้วคลิปนี้ก็เผยแพร่เป็นไวรัลออกไปทั่ว จากมุมกล้องหลายมุม

ทำให้เกิดกระแสโจษจันกันมากมาย เช่น
1. “ไม่คิดว่าในหลวงผู้ทรงเป็นทหาร จะทรงฟ้อนได้พลิ้วไหว อ่อนหวานเช่นนี้ พระหัตถ์นั้นทรงรำได้อย่างถูกต้องด้วยเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจยิ่ง”
2. “เมื่อทอดพระเนตรเด็กเล็ก ๆ มารับเสด็จตะเบ๊ะ ยืดอก ยกไหล่ ส่ายจมูกดุ๊กดิ๊ก ตามพระราชนิยม ในชุดราชปะแตนนุ่งผ้าม่วง ในวัดพระแก้ว ก็ทรงตะเบ๊ะตอบเด็ก
เมื่อทอดพระเนตรช่างฟ้อนรับเสด็จ ก็ทรงฟ้อนตอบช่างฟ้อนและประชาชนที่มารับเสด็จ
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขำ ด้วยเถิด ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม”
3. “ในหลวงทรงพระน่ารักมาก อ่อนโยน อยากเห็นในหลวงในมุมนี้อีกเยอะๆ บ่อยๆ”
สิ่งที่คนทั่วไปไม่เคยทราบกันคือ พระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทั้งสองพระองค์ทรงปลูกฝังให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดดนตรีและนาฏศิลป์ไทยเป็นอย่างยิ่ง ด้วยโปรดให้ในหลวงได้ทรงเรียนวิชาโขนตามที่ในหลวงสนพระทัยด้วยพระองค์เอง จึงทรงส่งเสริมในทันที
โปรดดูคลิปวีดีทัศน์การทรงศึกษาวิชาโขนของในหลวงตั้งแต่ทรงพระเยาว์เมื่อราวพระชันษา 7 ขวบ ที่จัดทำโดยเพจน้ำเงินเข้มด้านล่างนี้ https://www.facebook.com/watch/?v=480475596552034

ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงใส่พระทัยในการศึกษาวิชาโขนและวิชานาฏศิลป์ของในหลวงเป็นอย่างยิ่ง เสด็จมาทอดพระเนตรการเรียนและการซ้อมด้วยพระองค์เอง และเสด็จทอดพระเนตรการแสดงในโรงเรียนจิตรลดาด้วย
ในระยะแรกในหลวงโปรดหนุมานมาก โปรดเล่นโขนเป็นหนุมาน การทรงศึกษาโขนของในหลวงในช่วงแรกจึงทรงศึกษาเพื่อเล่นเป็นตัวลิง โดยมีครูกรี วรศะริน ศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับ เป็นครูผู้สอนถวาย นอกจากนี้ยังมี ครูฉลาด พกุลานนท์ ศิลปินแห่งชาติ ผู้ล่วงลับ เป็นครูผู้ช่วยสอนถวาย ในหลวงร.9 และสมเด็จพระพันปีหลวงฯ โปรดให้แสดงโขนตอนสืบมรรคาที่โรงเรียนจิตรลดาถวายหน้าพระที่นั่ง ในหลวงทรงแสดงเป็นหนุมาน แต่ในบางคราวเมื่อไม่ได้ทรงแสดงก็จะทรงพากย์โขนด้วยพระองค์เอง
ต่อมามีพระบรมวงศานุวงศ์กราบบังคมทูลในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระพันปีหลวงว่า ควรให้ในหลวงทรงเรียนวิชาโขนเป็นตัวยักษ์ มากกว่าเป็นตัวลิง เพราะเป็นเจ้านาย การทรงเรียนโขนเป็นตัวยักษ์จะทำให้มีพระราชกิริยาท่าทางสง่างามมากกว่า ในหลวงร.9 และสมเด็จพระพันปีหลวงทรงเห็นด้วย จึงโปรดให้ในหลวงทรงเรียนโขนเป็นตัวยักษ์ เช่น ทรงหัดโขนเป็นทศกัณฐ์ โดยมีครูต้อยหรือครูจตุพร รัตนวราหะ ศิลปินแห่งชาติ ที่แสดงเป็นตัวยักษ์เป็นผู้ถวายการสอน
เมื่อโปรดโขนก็เป็นเหตุให้โปรดดนตรีไทยไปด้วย โปรดเพลงหน้าพาทย์ เช่น เพลงกราวนอก กราวใน เพลงที่บรรจุและใช้แสดงโขนทรงจดจำได้แทบทั้งสิ้น และโปรดให้บรรเลงเพลงโขนในเวลาทรงออกพระกำลังในพระที่นั่งอัมพรสถานถวาย ในบางครั้งทรงออกพระกำลังอยู่ เสด็จพระดำเนินมาที่วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ทรงขอให้บรรเลงเพลงต่างๆ ถวายโดยทรงบอกชื่อเพลงบ้าง หรือบางครั้งก็ทรงนึกสนุกทรงฮัมเพลงหรือทรงบอกจังหวะเพลงให้นักดนตรีทั้งวงฟัง แล้วหาเพลงที่มีพระราชประสงค์จะทรงฟังให้บรรเลงถวายขณะทรงออกพระกำลังโดยไม่ยอมทรงบอกชื่อเพลง เป็นการทรงเล่นหรือทรงหยอกนักดนตรีด้วยพระเมตตาอย่างคนที่เข้าใจดนตรีไทยด้วยกันจะเข้าใจกันเองได้ โดยไม่ต้องพูด
นอกจากนี้ในทุกปีจะเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโขนพระราชทานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทุกครั้งที่จัดแสดง ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อเสด็จกลับมาถึงพระที่นั่งอัมพรสถาน ในบางครั้ง ทรงอยากจะพระราชทานสอนหรือเล็คเชอร์วิชาโขน ทรงบรรยายพระราชทานข้าราชบริพารและทรงสาธิตท่ารำต่างๆ ของวิชาโขนพระราชทานข้าราชบริพารใกล้ชิดด้วยพระองค์เองอย่างทรงพระสำราญยิ่ง
ในหลวงทรงยึดถือในความกตัญญูกตเวทีต่อครูโขนผู้ถวายการสอน ตามธรรมเนียมไทย ครูโขนที่ถวายการสอนในเวลานี้ น่าจะยังมีชีวิตอยู่เพียงท่านเดียวคือครูต้อย ครูจตุพร รัตนวราหะ ศิลปินแห่งชาติ เมื่อครูต้อยอายุครบ 7 รอบหรือ 84 ปี พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ครูต้อยนั่งรถเข็นวีลแชร์เข้าเฝ้าถวายดอกไม้ธูปเทียนแพ

และพระราชทานน้ำพระมหาสังข์แก่ครูที่ได้สอนถ่ายทอดวิชานาฏศิลป์ไทยมา ด้วยทรงดำรงตั้งมั่นในกตัญญุตาธรรมตามธรรมเนียมของคนในวงการนาฏศิลป์ดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่ง หลังเข้าเฝ้า ครูต้อยได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ไว้ ก็ทรงพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานให้ตามที่ครูต้อยขอมา
เมื่อครูต้อยป่วย ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ในหลวงให้ผู้แทนพระองค์ไปเยี่ยมครูต้อยที่โรงพยาบาล พระราชทานดอกไม้และของเยี่ยม สอบถามอาการเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูล ทรงดูแลครูนาฏศิลป์ด้วยความยึดมั่นในกตัญญุตาธรรมยิ่ง อันเป็นแบบอย่างที่งดงามยิ่งในวงการนาฏศิลป์ไทย





ในหลวงนอกจากจะทรงมีพระราชกตัญญุตาธรรมต่อครูนาฏศิลป์และดนตรีไทยแล้ว ยังทรงส่งเสริมการศึกษานาฏศิลป์และดนตรีไทย โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศูนย์การเรียนรู้ดนตรีไทย-นาฏศิลป์ หน่วยราชการในพระองค์ขึ้น โดยโปรดให้สอนวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ไทยให้กับบุตรหลานข้าราชบริพาร ทั้งนี้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทยมาสอนโดยเป็นจิตอาสาไม่ได้รับค่าตอบแทน แต่พระราชทานรถยนต์ของสำนักพระราชวังให้ไปรับไปส่งครูในการมาสอนทุกครั้ง พระราชทานอาหารเลี้ยงและของว่างทั้งครูและนักเรียนทุกมื้อ พระราชทานรถในการรับส่งนักเรียนเมื่อออกไปแสดงภายนอก เช่น เมื่อนักเรียนออกไปแสดงที่อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง https://www.youtube.com/watch?v=vOPdVN7Cutw เป็นต้น
เมื่อสิ้นปีการศึกษา จะมีการสอบวัดระดับความรู้ในวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ทรงสนับสนุนกิจกรรมของบุตรหลานข้าราชบริพาร โดยพระราชทานรางวัลให้เด็กนักเรียนที่ผ่านการสอบตามมาตรฐาน เช่น ถ้าเรียนรำ จะพระราชทานผ้านุ่งโจงแดง ถ้าเรียนขิม จะพระราชทานไม้ขิม ถ้าเรียนระนาด จะพระราชทานไม้ตีระนาด เด็กนักเรียนที่ได้รับพระราชทานสิ่งของเหล่านี้ มักจะไม่นำสิ่งของพระราชทานมาใช้เรียนหรือสอน ด้วยกลัวว่าจะเสียหายและชำรุด ถือว่าเป็นของสูง เด็กกลับนำไปเก็บไว้ที่หัวนอนหรือวางไว้บนพานบูชาบนหิ้งพระมากกว่าที่จะนำใช้ฝึกซ้อมตามพระราชประสงค์






หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้พี่น้องคนไทยเข้าใจได้ว่าทำไมในหลวงจึงทรงรำหรือทรงฟ้อนได้อ่อนช้อยงดงาม และทรงพระสำราญกับดนตรี-นาฏศิลป์ไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นทั้งพระราชนิยมส่วนพระองค์และเป็นสิ่งที่ทรงสืบสาน-รักษา-ต่อยอด มาจากพระบรมชนกนาถและพระบรมราชชนนีพันปีหลวงนั่นเอง
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาสถิติศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ผศ. ดร. สุรพงษ์ บ้านไกรทอง
วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เมื่อไม่กี่วันมานี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินีไปทรงงานที่จังหวัดอุดรธานี ชาวจังหวัดอุดรธานีรับเสด็จโดยมีช่างฟ้อนหรือที่ทางอีสานเรีบกว่าเซิ้ง แต่งชุดพื้นเมือง มาเซิ้งถวายเป็นหลายร้อยคนสองข้างทาง มีช่างกล้องซอกแซกถ่ายเข้าไปในรถยนต์พระที่นั่งสีงาช้าง ในหลวงทรงเซิ้งหรือทรงฟ้อนตอบช่างฟ้อนที่มาฟ้อนรับเสด็จด้วยพระหัตถ์อ่อนพลิ้วไหว งดงาม ในขณะที่สมเด็จพระราชินีทรงปรบพระหัตถ์อย่างทรงพระสำราญ ช่างฟ้อนที่ฟ้อนถวายอยู่นั้นมองเข้าไปในรถยนต์พระที่นั่งเห็นว่าในหลวงทรงฟ้อนตอบช่างฟ้อนที่มาฟ้อนถวายจริง ถึงกลับหลุดปากออกมาด้วยความดีใจว่า ในหลวงทรงรำตอบด้วย แล้วคลิปนี้ก็เผยแพร่เป็นไวรัลออกไปทั่ว จากมุมกล้องหลายมุม
ทำให้เกิดกระแสโจษจันกันมากมาย เช่น
1. “ไม่คิดว่าในหลวงผู้ทรงเป็นทหาร จะทรงฟ้อนได้พลิ้วไหว อ่อนหวานเช่นนี้ พระหัตถ์นั้นทรงรำได้อย่างถูกต้องด้วยเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจยิ่ง”
2. “เมื่อทอดพระเนตรเด็กเล็ก ๆ มารับเสด็จตะเบ๊ะ ยืดอก ยกไหล่ ส่ายจมูกดุ๊กดิ๊ก ตามพระราชนิยม ในชุดราชปะแตนนุ่งผ้าม่วง ในวัดพระแก้ว ก็ทรงตะเบ๊ะตอบเด็ก
เมื่อทอดพระเนตรช่างฟ้อนรับเสด็จ ก็ทรงฟ้อนตอบช่างฟ้อนและประชาชนที่มารับเสด็จ
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขำ ด้วยเถิด ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม”
3. “ในหลวงทรงพระน่ารักมาก อ่อนโยน อยากเห็นในหลวงในมุมนี้อีกเยอะๆ บ่อยๆ”
สิ่งที่คนทั่วไปไม่เคยทราบกันคือ พระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทั้งสองพระองค์ทรงปลูกฝังให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดดนตรีและนาฏศิลป์ไทยเป็นอย่างยิ่ง ด้วยโปรดให้ในหลวงได้ทรงเรียนวิชาโขนตามที่ในหลวงสนพระทัยด้วยพระองค์เอง จึงทรงส่งเสริมในทันที
โปรดดูคลิปวีดีทัศน์การทรงศึกษาวิชาโขนของในหลวงตั้งแต่ทรงพระเยาว์เมื่อราวพระชันษา 7 ขวบ ที่จัดทำโดยเพจน้ำเงินเข้มด้านล่างนี้ https://www.facebook.com/watch/?v=480475596552034
ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงใส่พระทัยในการศึกษาวิชาโขนและวิชานาฏศิลป์ของในหลวงเป็นอย่างยิ่ง เสด็จมาทอดพระเนตรการเรียนและการซ้อมด้วยพระองค์เอง และเสด็จทอดพระเนตรการแสดงในโรงเรียนจิตรลดาด้วย
ในระยะแรกในหลวงโปรดหนุมานมาก โปรดเล่นโขนเป็นหนุมาน การทรงศึกษาโขนของในหลวงในช่วงแรกจึงทรงศึกษาเพื่อเล่นเป็นตัวลิง โดยมีครูกรี วรศะริน ศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับ เป็นครูผู้สอนถวาย นอกจากนี้ยังมี ครูฉลาด พกุลานนท์ ศิลปินแห่งชาติ ผู้ล่วงลับ เป็นครูผู้ช่วยสอนถวาย ในหลวงร.9 และสมเด็จพระพันปีหลวงฯ โปรดให้แสดงโขนตอนสืบมรรคาที่โรงเรียนจิตรลดาถวายหน้าพระที่นั่ง ในหลวงทรงแสดงเป็นหนุมาน แต่ในบางคราวเมื่อไม่ได้ทรงแสดงก็จะทรงพากย์โขนด้วยพระองค์เอง
ต่อมามีพระบรมวงศานุวงศ์กราบบังคมทูลในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระพันปีหลวงว่า ควรให้ในหลวงทรงเรียนวิชาโขนเป็นตัวยักษ์ มากกว่าเป็นตัวลิง เพราะเป็นเจ้านาย การทรงเรียนโขนเป็นตัวยักษ์จะทำให้มีพระราชกิริยาท่าทางสง่างามมากกว่า ในหลวงร.9 และสมเด็จพระพันปีหลวงทรงเห็นด้วย จึงโปรดให้ในหลวงทรงเรียนโขนเป็นตัวยักษ์ เช่น ทรงหัดโขนเป็นทศกัณฐ์ โดยมีครูต้อยหรือครูจตุพร รัตนวราหะ ศิลปินแห่งชาติ ที่แสดงเป็นตัวยักษ์เป็นผู้ถวายการสอน
เมื่อโปรดโขนก็เป็นเหตุให้โปรดดนตรีไทยไปด้วย โปรดเพลงหน้าพาทย์ เช่น เพลงกราวนอก กราวใน เพลงที่บรรจุและใช้แสดงโขนทรงจดจำได้แทบทั้งสิ้น และโปรดให้บรรเลงเพลงโขนในเวลาทรงออกพระกำลังในพระที่นั่งอัมพรสถานถวาย ในบางครั้งทรงออกพระกำลังอยู่ เสด็จพระดำเนินมาที่วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ทรงขอให้บรรเลงเพลงต่างๆ ถวายโดยทรงบอกชื่อเพลงบ้าง หรือบางครั้งก็ทรงนึกสนุกทรงฮัมเพลงหรือทรงบอกจังหวะเพลงให้นักดนตรีทั้งวงฟัง แล้วหาเพลงที่มีพระราชประสงค์จะทรงฟังให้บรรเลงถวายขณะทรงออกพระกำลังโดยไม่ยอมทรงบอกชื่อเพลง เป็นการทรงเล่นหรือทรงหยอกนักดนตรีด้วยพระเมตตาอย่างคนที่เข้าใจดนตรีไทยด้วยกันจะเข้าใจกันเองได้ โดยไม่ต้องพูด
นอกจากนี้ในทุกปีจะเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโขนพระราชทานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทุกครั้งที่จัดแสดง ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อเสด็จกลับมาถึงพระที่นั่งอัมพรสถาน ในบางครั้ง ทรงอยากจะพระราชทานสอนหรือเล็คเชอร์วิชาโขน ทรงบรรยายพระราชทานข้าราชบริพารและทรงสาธิตท่ารำต่างๆ ของวิชาโขนพระราชทานข้าราชบริพารใกล้ชิดด้วยพระองค์เองอย่างทรงพระสำราญยิ่ง
ในหลวงทรงยึดถือในความกตัญญูกตเวทีต่อครูโขนผู้ถวายการสอน ตามธรรมเนียมไทย ครูโขนที่ถวายการสอนในเวลานี้ น่าจะยังมีชีวิตอยู่เพียงท่านเดียวคือครูต้อย ครูจตุพร รัตนวราหะ ศิลปินแห่งชาติ เมื่อครูต้อยอายุครบ 7 รอบหรือ 84 ปี พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ครูต้อยนั่งรถเข็นวีลแชร์เข้าเฝ้าถวายดอกไม้ธูปเทียนแพ
และพระราชทานน้ำพระมหาสังข์แก่ครูที่ได้สอนถ่ายทอดวิชานาฏศิลป์ไทยมา ด้วยทรงดำรงตั้งมั่นในกตัญญุตาธรรมตามธรรมเนียมของคนในวงการนาฏศิลป์ดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่ง หลังเข้าเฝ้า ครูต้อยได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ไว้ ก็ทรงพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานให้ตามที่ครูต้อยขอมา
เมื่อครูต้อยป่วย ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ในหลวงให้ผู้แทนพระองค์ไปเยี่ยมครูต้อยที่โรงพยาบาล พระราชทานดอกไม้และของเยี่ยม สอบถามอาการเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูล ทรงดูแลครูนาฏศิลป์ด้วยความยึดมั่นในกตัญญุตาธรรมยิ่ง อันเป็นแบบอย่างที่งดงามยิ่งในวงการนาฏศิลป์ไทย
ในหลวงนอกจากจะทรงมีพระราชกตัญญุตาธรรมต่อครูนาฏศิลป์และดนตรีไทยแล้ว ยังทรงส่งเสริมการศึกษานาฏศิลป์และดนตรีไทย โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศูนย์การเรียนรู้ดนตรีไทย-นาฏศิลป์ หน่วยราชการในพระองค์ขึ้น โดยโปรดให้สอนวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ไทยให้กับบุตรหลานข้าราชบริพาร ทั้งนี้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทยมาสอนโดยเป็นจิตอาสาไม่ได้รับค่าตอบแทน แต่พระราชทานรถยนต์ของสำนักพระราชวังให้ไปรับไปส่งครูในการมาสอนทุกครั้ง พระราชทานอาหารเลี้ยงและของว่างทั้งครูและนักเรียนทุกมื้อ พระราชทานรถในการรับส่งนักเรียนเมื่อออกไปแสดงภายนอก เช่น เมื่อนักเรียนออกไปแสดงที่อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง https://www.youtube.com/watch?v=vOPdVN7Cutw เป็นต้น
เมื่อสิ้นปีการศึกษา จะมีการสอบวัดระดับความรู้ในวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ทรงสนับสนุนกิจกรรมของบุตรหลานข้าราชบริพาร โดยพระราชทานรางวัลให้เด็กนักเรียนที่ผ่านการสอบตามมาตรฐาน เช่น ถ้าเรียนรำ จะพระราชทานผ้านุ่งโจงแดง ถ้าเรียนขิม จะพระราชทานไม้ขิม ถ้าเรียนระนาด จะพระราชทานไม้ตีระนาด เด็กนักเรียนที่ได้รับพระราชทานสิ่งของเหล่านี้ มักจะไม่นำสิ่งของพระราชทานมาใช้เรียนหรือสอน ด้วยกลัวว่าจะเสียหายและชำรุด ถือว่าเป็นของสูง เด็กกลับนำไปเก็บไว้ที่หัวนอนหรือวางไว้บนพานบูชาบนหิ้งพระมากกว่าที่จะนำใช้ฝึกซ้อมตามพระราชประสงค์
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้พี่น้องคนไทยเข้าใจได้ว่าทำไมในหลวงจึงทรงรำหรือทรงฟ้อนได้อ่อนช้อยงดงาม และทรงพระสำราญกับดนตรี-นาฏศิลป์ไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นทั้งพระราชนิยมส่วนพระองค์และเป็นสิ่งที่ทรงสืบสาน-รักษา-ต่อยอด มาจากพระบรมชนกนาถและพระบรมราชชนนีพันปีหลวงนั่นเอง